คนริมเลขอเล่าเรื่องราวของเกาะลิบง สถานที่ซึ่งมีตำนานและความสำคัญของจังหวัดตรัง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับท่านที่สนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลที่จังหวัดตรังในช่วงวันที่ ๑๕-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลตรัง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง สำหรับพื้นที่ตำบลเกาะลิบงประกอบด้วยชุมชนจำนวน ๘ หมู่บ้าน อยู่บนแผ่นดินใหญ่จำนวน ๓ หมู่บ้านได้แก่บ้านเจ้าไหม บ้านสุไหงบาตู และบ้านมดตะนอย โดยมีบ้านเกาะมุกด์เป็น ๑ หมู่บ้านที่แยกอิสระอยู่บนเกาะมุกด์ ส่วนที่เหลือจำนวน ๔ หมู่บ้าน ตั้งอยู่บนเกาะลิบงได้แก่บ้านโคกสะท้อน บ้านหลังเขา บ้านบาตูปูเต๊ะ และบ้านทรายแก้ว เมื่อเอ่ยเกาะลิบงก็จะมีเป็นที่รู้กันดีของผู้คนทั่วไป เนื่องจากเกาะลิบงมีเสน่ห์และอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรมากมาย มีทั้งประเภททรัพยากรประมงที่มีคุณค่า และสร้างอาชีพประมงชายฝั่งแก่ชุมชนบนเกาะลิบงมาอย่างยาวนาน เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์มากที่สุด มีฝูงพะยูนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย นอกจากความโดดเด่นในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น เกาะลิบงยังเป็นสถานที่ซึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีบันทึกเรื่องราวมานานนับ ๒๐๐ ปี
ชื่อของเกาะลิบงได้ปรากฏอยู่ในเอกสารหลายแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งได้เรียกผิดเพี้ยนแตกต่างกันไป เช่น ปูเลาลิบง,ตะลิงโบง,ปลิบง,ตาลิบง, ลิบอง, ปูลูติลิบอง และ ตะลิบง หนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้อธิบายความหมายของ เกาะลิบงเอาไว้ว่า…เกาะลิบงได้ชื่อมาจากต้นเหลาชะโอน ซึ่งเป็นภาษามลายูเรียกว่าลิบง…เพราะแต่เดิมเกาะนี้มีต้นเหลาชะโอนมาก ส่วนคำว่า “ปูเลา หรือปูลู” นั้นก็เป็นภาษามลายูซึ่งแปลว่า “เกาะ” เมื่อนำเอาคำว่าปูลู มารวมเข้ากับคำว่า ลิบงแล้วก็มีความหมายว่า เกาะที่มีต้นเหลาชะโอน
เกาะลิบงในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๐๔ ตรงกับปลายสมัยอยุธยาถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้น ที่เมืองเคดาห์(ไทรบุรี) ก็ได้ตรงกับรัชสมัยของตนกู ลิ ล้าฯให้พระราชโอรส ๒ พระองค์ออกไปปกครองเมืองเกาะในทะเล โดยโปรดเกล้าฯให้ตนกูอะตาอินลา มะหะหมัด ชะ(Tunku Attaullah Mohamad Shah) เสด็จออกไปปกครองเมือง ปูเลาปินัง (เกาะลิบง) (โดยน่าจะตั้งเมืองขึ้นที่บ้านพร้าว ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเตาเผาถ่านซึ่งอยู่ในเขตท้องที่หมู่ ๑ ตำบลเกาะลิบง) การที่ทางเมืองไทรบุรีได้ส่งพระราชบุตรมาตั้งเมืองขึ้นที่เกาะลิบงตามพงศาวดารนี้ ได้สอดคล้องกับนิทานพื้นบ้านที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมาว่า "พระยาแขกที่สร้างเมืองลิบง กับเมืองปินังนั้นได้มีประสงค์ที่จะทำให้เมืองทั้งสองนี้ให้ยิ่งใหญ่คู่กัน แต่โหรได้ทำนายเอาไว้ว่าเมืองทั้งสองนี้จะอยู่คู่กันไม่ได้ หากเมืองหนึ่งเจริญ เมืองหนึ่งก็ต้องร้างผู้คน แต่ปัจจุบันเมืองปินังเจริญรุ่งเรือง เมืองเกาะลิบงก็ต้องทรุดโทรมไปตามคำทำนาย" เนื่องจากตามเกาะหลายแห่งในน่านน้ำแถบนี้ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าหลายอย่างโดยเฉพาะรังนกนางแอ่นนั้นเป็นสินค้าที่คนจีนมีความต้องการสูง ทุกๆ ปีจะมีเรือของชาวไทรบุรีเป็นจำนวนมากถึง ๑,๐๐๐ ลำ ที่เข้ามาเก็บรังนกนางแอ่น และปลิงทะเล โดยมีลักษณะเป็นเจ้าภาษีที่จะคอยจัดเก็บภาษีอากรอีกทอดหนึ่ง
ตนกู อะหมัดตายุดดินมัด รำชะ(Tunku Ahmad Tajudin Halim Shah) ปกครองเมืองนี้อยู่จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๒๔๙ ก็ได้เสด็จกลับไปครองราชเป็นสุลต่านปกครองเมืองเคดาห์อยู่เป็นเวลาประมาณ ๒ ปี ก็เสด็จสวรรคต สำหรับเมืองเกาะลิบงนั้นพระองค์คงจะมอบหมายให้ผู้ที่ไว้วางพระหฤทัยทำการปกครองสืบมา ความเป็นมาของเกาะลิบงดำรงอยู่มาได้ยาวนานแค่ไหนไม่ปรากฎหลักฐานชัดเจน แต่มีนิทานพื้นบ้านได้กล่าวถึงการล่มสลายของเมืองนี้เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
“เมื่อพระยาแขก มาตั้งเมืองขึ้นที่บ้านพร้าวแล้ว เมืองนี้ก็รุ่งเรืองมากและ ได้มีสัมพันธไมตรีกับเมืองพม่า ต่อมาบุตรชายของเจ้าเมืองทั้งสองก็ได้เป็นเกลอกัน”
ประวัติศาสตร์เกาะลิบง มีตำนานให้ศึกษาเรียนรู้มากมาย มีนิทานที่เล่าสืบต่อกันมา ที่มีเค้าโครงสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ อย่างไรก็ตามหลักฐานปรากฏในรัชสมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วง พ.ศ. ๒๓๕๒ สมัยที่เกิดศึกถลาง ครั้นนั้นหลวงฤทธิสงครามได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง ฝ่ายไทยระดมกำลังจากหัวเมืองต่างๆ มารับศึกพม่า โดยให้เกาะลิบงเป็นชุมชนทัพเรือจากเมืองต่างๆ ในฝ่ายใต้ ยกพลไปรบพม่าจนได้ชัยชนะในที่สุด พอถึง พ.ศ. ๒๓๕๔ หลวงฤทธิสงครามถึงแก่กรรม เกาะลิบงจึงคลายความสำคัญลง ประวัติที่น่าศึกษาเรียนรู้คือพระยาลิบง เจ้าเมืองปกครองที่สร้างเมืองลิบงให้เจริญรุ่งเรืองมาในครั้งอดีต แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยังรอคอยการพัฒนาเพื่อรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของเกาะลิบง ให้ทุกคนไปค้นหา
หากท่านมาเยือนเกาะลิบง ตำนานจากผู้เฒ่าผู้แก่ และร่องรอยเรื่องราวบนเกาะลิบงจะเป็นหลักฐานให้ชวนค้นหา แล้วเจอกัน ปลูกหญ้าทะเล@ทะเลตรัง
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | สิงหาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |