ไม่เจอกันตั้งนานนะครับ
วันนี้ขอเสนอสารคดี Jazz Profiles ของ NPR ที่ว่าด้วยผลงานของศิลปินแจ๊สคนสำคัญของอเมริกา ไมล์ส เดวิส คือหนึ่งในบรรดาศิลปินเหล่านั้น โดยเฉพาะอัลบั้ม Kind of Blue ถือผลงานชิ้นสำคัญของเขา ก็เลยนำมาให้ฟังกันนะครับ เสียงบรรยายโดยนักร้องสาวใหญ่ แนนซี วิลสัน ส่วนเรื่องประกอบก็มาจาก NPR ผมแปลเองดีไม่ดียังไงติชมได้ครับ อัลบั้มแจ๊สขายดีตลอดกาลที่คนฟังไม่ว่าจะเป็นแนวแจ๊ส ร็อกหรือคลาสสิกต่างรู้กันว่าเป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ก็คือ Kind of Blue ของ ไมล์ส เดวิส Kind of Blue รวมนักดนตรีดาวรุ่งฝีมือดีเจ็ดคนที่ต่อมากลายเป็นตำนานเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ จอห์น โคลเทรน-เทเนอร์แซ็กซ์ จูเลี่ยน "แคนนอนบอล" แอดเดอร์ลีย์-อัลโตแซ็กซ์ บิลล์ อีแวนส์ และวินตัน เคลลี่-เปียโน พอล เชมเบอร์ส-เบส จิมมี่ ค็อบบ์-กลอง และที่ขาดไม่ได้ ไมล์ส เดวิส-ทรัมเป็ต เดวิสกับสำเนียงทรัมเป็ตอันเยือกเย็นเป็นที่กล่าวถึงในวงการแจ๊สตั้งแต่กลางทศวรรษ 1940 กระทั่งปี 1958 ขณะอายุได้ 32 ปี เขาก็กลายเป็นดาราแจ๊สระดับโลกผู้สร้างมาตรฐานทางดนตรีแจ๊สแก่นักดนตรียุคนั้น
แม้ว่าก่อนหน้าอัลบั้ม Kind of Blue จะถือกำเนิดขึ้น ไมล์ส เดวิส ได้เคยทดลอง "โมดัล" แจ๊ส มาแล้ว ปล่อยให้แบล็คกราวนด์เรียบง่ายขณะที่ผู้โซโล่เล่นทำนองที่คิดมาจากโมดหรือสเกล แทนที่จะนำมาจากคอร์ดโพรเกรสชั่นอันยุ่งเหยิงตามแบบเดิมๆ บิลล์ อีแวนส์ เป็นผู้นำไมล์สให้รู้จักผลงานคีตกวีอย่าง เบลา บาร์ต็อก และมัวริซ ราเวล ที่ใช้ "โมดัลลิตี้" ในการประพันธ์เพลงคลาสสิก นอกจากนี้ไมล์สยังรู้ซึ้งถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของโมดจากดนตรีบลูส์อีกด้วย เดวิสกับอีแวนส์ร่วมกันร่างเพลงไว้สำหรับบันทึกเสียงจำนวนหนึ่ง และเมื่อบรรดานักดนตรีมาถึงสตูดิโอในวันที่ 2 มีนาคม 1959 พวกเขาก็ได้รับแจกโน้ตเหล่านั้น เดวิสต้องการเก็บไอเดียสดๆที่ได้จากนักดนตรีชั้นเยี่ยมเหล่านี้ เขาจึงให้อัดเทคแรกกันเลย เพลงแรกที่บันทึกเสียงคือ Freddie Freeloader เป็นตัวแทนของบรรยากาศการอัด "เทคแรก" โดดเด่นด้วยเสียงเปียโนออกสวิงอย่างมีความสุขของ วินตัน เคลลี นักเปียโนที่เพิ่งมาร่วมวงหกชิ้นได้ไม่นาน เพลงที่สองที่บันทึกเสียงกันในวันนั้นและจบลงด้วยดีเช่นเดียวกับเพลงแรกก็คือ So What ซึ่งน่าจะเป็นแทรคที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดของอัลบั้มนี้ เปิดขึ้นมาด้วยเสียงเบสของ พอล เชมเบอร์ส เล่นทำนองโดยมีอีแวนส์เล่นคอร์ดเปียโนค่อนข้างประหลาดคอยรับอยู่ เพลงนี้ทำหน้าที่คล้ายกับแฟนแฟร์หรือเพลงโหมโรงก่อนที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสความแปลกใหม่ที่กำลังจะค่อยๆเปิดฉากในไม่ช้า เดวิสเข้าสู่จุดพีคทางดนตรีในช่วงทศวรรษ 1950 เขามีไอเดียที่กลายมาเป็น Kind of Blue อยู่ในหัวตั้งนานแล้ว ก่อนหน้านี้หนึ่งปี เดวิสยื่นกระดาษโน้ตที่เขียนคอร์ด G minor และ A augmented ให้อีแวนส์ดูแล้วพูดว่า "ดูซิว่าเราจะทำอะไรกับมันได้บ้าง" อีแวนส์ก็สร้างกลุ่มคอร์ดที่กลายเป็นกรอบสำหรับโซโล่ในเพลง Blue in Green อีกเจ็ดสัปดาห์ต่อมาถึงได้ฤกษ์บันทึกเสียงกันต่อเป็นวันที่สองแต่คราวนี้ไม่มี วินตัน เคลลี แล้ว เล่นกลุ่มเพลงสำเนียงฟลามิงโกและสเกลแบบแอฟริกาเหนือ แอชลีย์ คาห์น ผู้เขียนหนังสือ Kind of Blue: The Making of the Miles Davis Masterpiece กล่าวไว้ว่า ผลงานที่ได้จากการบันทึกเสียงวันนั้นเต็มไปด้วยจิตวิญญาณของนักดนตรีที่อุทิศให้แก่บทเพลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการบรรเลงของ จอห์น โคลเทรน สำหรับ All Blues เดวิสก็เล่นอย่างเรียบง่ายเช่นเคย เขานำโครงสร้างบลูส์อัตรา 4/4 มาใส่ฟิลแบบวอลต์ซด้วยอัตรา 6/8 อีแวนส์เอ่ยปากชมว่านี่คือส่วนหนึ่งในความอัจฉริยะของไมล์ส เดวิส ที่สามารถเพิ่มความน่าสนใจด้วยสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ ขณะที่ตัวเพลงก็เปิดช่องให้ แคนนอนบอล แอดเดอร์ลีย์ กลับสู่รากของเขาคือบิ๊กแบนด์
So What กลายเป็นเพลงที่นักดนตรีทุกคนไม่เฉพาะนักดนตรีแจ๊สเท่านั้นที่ต้องรู้จักเพลงนี้ ส่วนเพลงอื่นๆในอัลบั้มกลายเป็นเพลงแสตนดาร์ด ขณะที่ท่อนโซโล่ต่างๆของบรรดานักดนตรีระดับตำนานก็กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่นักดนตรีจนมาถึงยุคปัจจุบัน นักดนตรีแทบทุกแนวต้องเคยบรรเลง บันทึกเสียงและศึกษาบทเพลงจากอัลบั้มนี้มาแล้ว บทเพลงในชุดนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมดนตรีอย่างไม่หยุดหย่อน ค็อบบ์ มือกลองพูดถึงสาเหตุเบื้องหลังว่าทำไม Kind of Blue ถึงยังคงได้รับความสำเร็จอย่างสูงมาโดยตลอด สิ่งนั้นคือ "ความเรียบง่าย" นั่นเอง ส่วนนักประวัติศาสตร์อย่าง แดน มอร์เกนสเติร์น เสริมไว้ว่า ความสมดุลนั่นแหละที่ทำให้ Kind of Blue ยังได้รับความนิยมอย่างไม่สร่างซา Track lists
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
52nd Street | ||
![]() |
||
The Golden age of Jazz |
||
View All ![]() |
Pat Metheny - Lone Jack | ||
![]() |
||
Lone Jack เพลงเก่าของ Metheny บรรเลงใหม่โดยทีมใหม่ของเขา |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |