เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 อติภพ ภัทรเดชไพศาล ![]() เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีข่าวว่า ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ได้ออกมาเปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ ที่มีชื่อน่าสยดสยองว่า ทัศนคติอันตรายว่าด้วยการยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น กับความกังวลของสาธารณชนต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ใจความสำคัญที่สื่อรายงานว่าเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือประเด็นที่คนส่วนใหญ่ (64.6 %) บอกว่ายอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ทำให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย (ข่าวจาก http://www.thannews.th.com) โดยโพลล์ยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่าในจำนวนผู้ที่ยอมรับได้กับรัฐบาลทุจริตนี้ กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่มีสัดส่วนสูงที่สุดคือ ร้อยละ 73.3 ในกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 73.7 ในกลุ่มอายุระหว่าง 20 29 ปี โดยผู้ตอบแบบสอบถามให้เหตุผลว่า ผู้ใหญ่ในสังคมหลายคนได้ดีมีหน้ามีตา ร่ำรวยมากมาย ก็มาจากการต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ มีอำนาจทางการเมืองก็รับเงินซื้อขายตำแหน่ง จะก้าวหน้าได้เลื่อนชั้นยศเลื่อนตำแหน่งก็ต้องจ่ายเงินหรือเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้ผู้บังคับบัญชา และจะทำธุรกิจทำเลทองก็ต้องจ่ายให้เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น ผมไม่รู้และไม่เข้าใจระเบียบวิธีการในการทำโพลล์นัก และไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์อะไรมาก นอกจากขอตั้งข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ว่าดูเหมือนหัวข้อ ยอมรับได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ทำให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย ที่เป็นคำถามนี้ออกจะขัดแย้งกันอยู่ในตัวเอง เพราะถ้ารัฐบาล ทุจริตคอรัปชั่น จริง ซึ่งถ้าพูดอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด - ก็หมายถึงการเอาเงินภาษีอากรของราษฎรไปเป็นเงินของตัวนั่นเอง ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการนี้ก็คือตัวนักการเมืองหรือพรรคพวกที่ทำการทุจริตโกงเงินไปแล้วเท่านั้น ส่วนประชาชนทั่วไปที่ตอบแบบสอบถาม ถ้าไม่ได้เป็นญาติหรือพรรคพวกเดียวกับนักการเมืองคนนั้น ตามหลักก็จะต้องเป็นฝ่ายที่ เสียผลประโยชน์ อยู่แล้ว จะมาบอกว่าตัวเอง ได้ประโยชน์ จากการที่นักการเมืองคอรัปชั่นได้อย่างไร ผมพยายามตีความต่อไปว่า คำว่า ได้ประโยชน์ ในที่นี้ คงหมายถึงระบบสาธารณประโยชน์ที่ทั่วถึงและทันสมัยกระมัง ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดี และรัฐบาลทุกรัฐบาลควรจะทำอยู่แล้ว ส่วนรัฐบาลจะโกงหรือไม่โกงนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกัน ดังนั้นการตั้งคำถามชนิดนี้จึงเป็นการเสนอทางเลือกที่ผิดฝาผิดตัว เช่นถ้าเกิดมีใครมาถามผมว่ายอมรับได้ไหมกับรัฐบาลที่ โกงแต่ทำงาน คำถามนี้โดยตัวมันเองแล้วชี้นำให้ผมคิดไปถึงอีกทางเลือกหนึ่งโดยอัตโนมัติว่า - หรือเราจะเอารัฐบาลที่ ไม่โกงแต่ไม่ทำงานอะไรเลย ซึ่งผมเชื่อว่าทุกๆ คนคงอยากจะเลือกเอาคนที่ทำงานไว้ก่อนอยู่แล้ว คำถามชนิดนี้จึงเป็นการชี้นำความคิด และใช้การโยงเรื่องสองเรื่องที่ไม่เกี่ยวอะไรกันเลยมาสร้างเป็นทางเลือกที่ไม่จำเป็นต้องเลือก และทำให้ผู้ถูกถามรู้สึกยากที่จะสรรหาคำตอบที่ถูกต้องได้ ในกรณีแบบนี้ ผมเชื่อว่าถ้าเปลี่ยนการตั้งคำถาม เช่นเปลี่ยนมาถามว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่น คำตอบที่ได้รับจะออกมาแตกต่างจากผลสำรวจครั้งนี้โดยสิ้นเชิง ยิ่งกว่านั้น ถ้าเราสังเกตเหตุผลที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ไว้ ถึงค่านิยมในการจ่ายเงินใต้โต๊ะบ้าง การซื้อขายตำแหน่งหน้าที่การงานบ้าง ก็จะพบว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่อย่างเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วในสังคมไม่ว่าจะในยุคสมัยใดหรือในประเทศใด ยิ่งกว่านั้นในบางยุคบางสมัย เรื่องเหล่านี้ยังจัดเป็นสิ่งที่ ถูกต้อง ตามระเบียบหรือประเพณีของสังคมด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงไม่ใช่ประเด็นที่ว่าเราจะ รับได้ หรือ รับไม่ได้ กับการกระทำแบบนี้ เพราะไม่ว่าเราจะรับได้หรือไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ก็จะยังคงดำรงอยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทุกๆ คนจึงรู้อยู่ว่าเราไม่ควรคาดหวังที่จะให้คนโกงหมดไปจากโลก เพราะนั่นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่เราควรจะคาดหวังถึงกลไกตรวจสอบการบริหารงบประมาณต่างๆ อย่างโปร่งใสและเชื่อถือได้ต่างหาก โดยเฉพาะในกรณีของสื่อต่างๆ นั้นสมควรจะมีบทบาทมากกว่าเดิมในเรื่องเหล่านี้เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นผมยังคิดว่าการทำหน้าที่ของเอแบคโพลล์นี้ออกจะเกินเลยความจำเป็นไปสักหน่อย เพราะโพลล์ที่ดี (ตามความเข้าใจของผม) ควรจะนำเสนอเพียงข้อมูลดิบเป็นตัวเลขเท่านั้น ผู้ทำการสำรวจไม่ควรวิเคราะห์ลงไปอย่างน่าหวาดเสียวถึงขนาดที่เรียกความคิดนี้ว่าเป็น ทัศนคติอันตราย แต่อย่างใด เพราะนั่นหมายความว่าท่านกำลังตัดสินและประเมินผลสำรวจด้วยมาตรวัดของท่านเอง นอกจากนั้นแล้ว ถ้าจะให้ดี ผมคิดว่าควรจะมีการนำแบบสอบถามที่ใช้ในการทำโพลล์จริงๆ มาลงเผยแพร่ประกอบด้วย (ผมพยายามสืบค้นในอินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานมาก แต่ด้อยความสามารถเกินกว่าจะค้นพบ) เพราะอย่างที่เรารู้ๆ ว่าในหลายๆ ครั้ง คำถามนั้นก็คือคำตอบในตัวเองอยู่แล้ว ดังนั้นการพิเคราะห์คำถามที่ถูกใช้ในการสำรวจควบคู่ไปกับการอ่านรายงานตัวเลขผลสำรวจจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมที่ทุกๆ อย่างถูกบิดเบือนและกล่าวร้ายกันอย่างสลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนจนเกินกว่าจะไหวตัวทันแบบทุกวันนี้
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |