คอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล ความแตกต่างระหว่างเพลงชาติกับเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เห็นได้ชัดเจนมีอยู่สามประการคือ 1) เนื้อเพลงของเพลงชาติเลือกใช้คำง่ายๆ ที่เป็นภาษาสามัญ โดยมีจุดประสงค์ให้ประชาชนในชาติ (ซึ่งประกอบไปด้วยคนที่มีการศึกษาทั้งสูงและต่ำ) ฟังเข้าใจได้เหมือนๆ กัน ใช้ถ้อยคำตรงๆ ไม่ต้องตีความแปลความกันลึกซึ้ง ขณะที่เพลงสรรเสริญฯ นั้นจงใจเลือกใช้ถ้อยคำที่สวยหรู เป็นภาษาชั้นสูงของผู้มีการศึกษา ปนเปไปด้วยคำบาลีสันสกฤตเป็นจำนวนมาก 2) ในส่วนของการขับร้องเพลง เพลงชาติจะเน้นที่ความเป็นหน่ึงเดียวกัน โดยจะมีทำนองหลักเพียงทำนองเดียว แต่เพลงสรรเสริญฯ นั้น มีการแยกทำนองเสียงร้องประสานต่างๆ ออกมาหลายแนว 3) ทำนองเพลงชาติถูกเขียนขึ้นด้วยท่วงทำนองที่จำง่าย ร้องง่าย (ซึ่งเพลงชาติส่วนใหญ่ทั่วโลกก็เป็นแบบเดียวกันนี้) ผิดกับเพลงสรรเสริญฯ ที่มีท่วงทำนองที่จำยาก ซับซ้อน ยิ่งในช่วงสองวรรคหลังยังมีการเคลื่อนโน้ตขึ้นไปอยู่ในระดับสูงจนยากต่อการขับร้องเป็นอย่างยิ่ง (ที่จริงผมคิดว่าสำหรับคนเกือบทั้งหมดในสังคมไทย เพลงสรรเสริญฯ ท่อนก่อนจะจบนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะขับร้องออกมาอย่างถูกต้อง) ซึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเพลงสรรเสริญฯ นั้นไม่ได้ถูกออกแบบให้ประชาชนใช้ในการขับร้องมาตั้งแต่ต้น แต่มีจุดประสงค์เพียงเพื่อให้ประชาชนยืนเคารพอย่างสงบเสงี่ยมเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น ถ้าเราลองสืบค้นประวัติความเป็นมาของเพลงชาติดู จะพบว่าการถือกำเนิดขึ้นของเพลงชาตินั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยเป็นความคิดของทางคณะราษฎรที่ต้องการให้ประชาชนมีเพลงประจำชาติสำหรับระบอบการปกครองแบบใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าแนวคิดนี้ย่อมต้องปะทะขัดแย้งกับขั้วอำนาจเก่าแบบกษัตริย์นิยมที่ยึดโยงอยู่กับเพลงสรรเสริญฯ เดิมอย่างแนบแน่น พระเจนดุริยางค์จึงต้องประสบกับความหนักใจอย่างยิ่งเมื่อสหายของท่านผู้หนึ่งที่อยู่ในกลุ่มคณะราษฎรมาขอร้องให้ท่านประพันธ์ทำนองเพลงชาติ โดยระบุว่าให้อาศัยทำนองและบุคลิกของเพลงชาติฝรั่งเศสเป็นต้นแบบ กรณีนี้ย่อมทำให้พระเจนฯ หนักใจอยู่มากทีเดียว เนื่องด้วยในขณะนั้นแม้ว่าคณะราษฎรจะทำการปฏิวัติสำเร็จ แต่ก็ยังมีขั้วอำนาจเก่าดำรงตำแหน่งสูงๆ อยู่มากและยังคงมีอิทธิพลในทางการเมืองอยู่ไม่น้อยโดยเฉพาะในระบบราชการ ท่านจึงขอให้ทางคณะราษฎรปกปิดชื่อของท่านไว้ ไม่ให้ใครทราบว่าท่านเป็นผู้แต่งเพลงๆ นี้ แต่ผลปรากฏว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งลงข่าวว่าพระเจนฯ เป็นผู้แต่งเพลงนี้ ซึ่งทำให้ท่านต้องถูกเสนาบดีกระทรวงวัง (เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์) เรียกเข้าไปต่อว่าเป็นการใหญ่ และตวาดถามว่าท่าน ไปทำอะไรไว้ในเรื่องเพลงชาติ รู้หรือไม่ว่าพระเจ้าแผ่นดินเรายังอยู่ (บันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์) จึงเห็นได้ว่า การปรากฏขึ้นของ เพลงชาติ ในประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องของการปะทะกันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมืองสองแบบอย่างชัดเจน เป็นเรื่องน่าสนใจว่าในประเทศต้นแบบระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างสหราชอาณาจักรนั้น กลับไม่มีกฎหรือข้อบังคับการใช้เพลงเคารพอย่างเป็นทางการ (เช่นเดียวกับที่ไม่มีรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ) นั่นคือเพลง God Save the Queen ที่เรามักจะคิดว่าเป็นเพลงชาติของสหราชอาณาจักรนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ และเพลง God Save the Queen ในปัจจุบันก็มักจะใช้กันอยู่แต่ในทีมกีฬาของชาวอังกฤษเท่านั้น เพราะชาวสก็อตและไอริชก็ล้วนแล้วแต่มีเพลงประจำชาติของตัวเองต่างหากออกไปทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ในเทศกาล Commonwealth Games ประจำปี 2553 ที่จัดขึ้นในอินเดียนั้น ทางอังกฤษได้จัดทำประชาพิจารณ์ว่าประชาชนอยากให้เพลงอะไรเป็นเพลงประจำชาติ โดยมีตัวเลือกอยู่สามเพลงคือ 1) God Save the Queen 2) Jerusalem และ 3) Land of Hope and Glory ซึ่งผลปรากฏว่าเพลงที่ได้รับการเลือกให้เป็นเพลงประจำชาติของทีมกีฬาในปีนั้นคือเพลง Jerusalem (เป็นเพลงเก่าที่เขียนขึ้นจากบทกวีของ William Blake) ในแง่นี้ เพลง God Save the Queen ที่อังกฤษจึงไม่ได้อยู่ในสถานะที่สูงส่งหรือเป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์อะไรในปัจจุบันนัก เพราะระบอบประชาธิปไตยนั้นเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้เพลงอื่นๆ ได้เสมอ ตรงกันข้ามกับในประเทศไทยที่เพลงสรรเสริญพระบารมีดูจะยิ่งคงความศักดิ์สิทธิ์และแตะต้องไม่ได้มากขึ้นทุกวันๆ จนถึงขนาดที่ว่าการไม่ยืนตรงเคารพ เพลงสรรเสริญฯ ในโรงหนังนั้นก็อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ ซึ่งการใช้กฎหมายมาตรานี้ก็เป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าอาจส่งผลให้คนธรรมดาๆ ต้องโทษจำคุกได้เป็นเวลานานถึง 20 ปีเลยทีเดียว ![]() พระเจนดุริยางค์ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |