เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล - อาจจะมีคนในโลกนี้อีกตั้งมากมายที่อยากเป็นเพื่อนและอยากมีเพื่อน แต่เขาก็ไม่อาจเป็นเพื่อนกันได้สมใจ มันเหมือนกับมีอะไรบางอย่างมากั้นขวางพวกเขาไว้ สมัยก่อน เมื่อเวลาที่เราพูดถึงเรื่องนี้ เราพูดกันว่า เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ชนชั้น เป็นเครื่องกีดกั้นไม่ให้คนรู้จักกัน เดี๋ยวนี้มันกลับมีอะไรมากกว่านั้น อะไรบางอย่างซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนว่าเราเองจะตอบไม่ได้ด้วยซ้ำ - เพราะเราต่างระแวงกันและกันใช่ไหมคะ - ก็คงทำนองนั้นแหละ ผมไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันว่ามีอะไรที่ทำให้คนต้องเพิ่มความระแวงซึ่งกันและกัน (วิทยากร เชียงกูล, บทสนทนาทางโทรศัพท์ในค่ำคืนแห่งความว้าเหว่ 2514) ผมเดาความรู้สึกของคุณวิทยากร เชียงกูล ผู้เขียนเรื่องสั้นที่ผมยกบางส่วนมาข้างต้นไม่ถูกจริงๆ ว่าจะเป็นไปในลักษณะไหน เมื่อพบว่าหลังจากสี่สิบปีผ่านไป สังคมไทยกลับเต็มไปด้วยความแปลกแยก ความหวาดระแวง และวิตกจริตมากกว่าเดิมขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันเท่าเช่นทุกวันนี้ และที่น่าประหลาดใจไม่น้อยไปกว่ากันก็คือสาเหตุของการแตกแยกนั้นก็ยังคงเป็นเรื่องเดิมๆ คือเป็นเรื่องของ ความรักชาติ เป็นเรื่องของ ชาติ ที่แต่ละฝ่ายต่างมีนิยามของตนเอง แล้วก็พยายามที่จะทำให้คำว่าชาติของฝ่ายตรงข้ามกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย โดยละเลยที่จะตรวจสอบความเป็นมาของคำๆ นี้อย่างละเอียด ว่าแท้ที่จริงแล้วความเป็น ชาติ นั้นเริ่มต้นที่ตรงไหน อย่างไร และเกิดขึ้นมาได้ด้วยสาเหตุอะไร เพราะแน่นอนว่าอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรายังไม่มีประเทศไทย และนั่นย่อมหมายความว่าเรายังไม่มีคำว่า ชาติไทย ใช้กันด้วย การศึกสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยาแบบที่ปรากฏในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ฟอร์มยักษ์หลายๆ เรื่องที่มักอ้างว่าเป็นการศึกสงครามเพื่อเทิดทูนและรักษาเอกราชของ ชาติไทย นั้นจึงเป็นเพียงเรื่องโกหกแหกตากันทั้งสิ้น (การศึกสงครามในสมัยก่อนมีเพียงสำนึกร่วมของความเป็นคนกลุ่มเดียวกัน โดยไม่เคยมีเส้นแบ่งในเรื่องของเชื้อชาติมาก่อน ดังจะเห็นได้จากการที่ในสมัยหนึ่ง คนอยุธยาก็ยอมรับว่าพระเจ้าบุเรงนองนั้นทรงอยู่ในสถานะของจักรพรรดิราช - ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงความสำนึกและสถานะที่อยู่เหนือจากเส้นแบ่งทางเชื้อชาติโดยสิ้นเชิง) เพราะตามหลักฐานแล้ว สำนึกของความเป็นชาติแบบในปัจจุบัน เริ่มขึ้นในยุโรป ผ่านเทคโนโลยีการพิมพ์ ที่หล่อมหลอมให้ผู้คนในสังคมเดียวกันเริ่มมีจิตสำนึกแบบเดียวกัน ซึ่งปรากฏรูปชัดเจนราวๆ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในสยาม แนวคิดแบบชาตินิยมได้รับการนำเข้ามาโดยชนชั้นนำของสยามในราวๆ ช่วงปี พ.ศ. 2450 ดังนั้นจึงมีลักษณะที่พิเศษไม่เหมือนกับชาตินิยมในยุโรปที่เริ่มก่อตัวขึ้นจากแนวคิดของประชาชนคนชั้นกลาง ความแตกต่างอยู่ที่ความเป็น ชาติ แบบในยุโรปนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับแนวคิดว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ (ซึ่งย่อมหมายรวมไปถึงความเสมอภาค) ความเป็นชาตินิยมของยุโรปจึงเป็นชาตินิยมที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับความเป็นสากลนิยม นั่นคือการบอกว่าตนเองมี ชาติ นั้น ย่อมหมายถึงการยอมรับนับถือการดำรงอยู่ของ ชาติ เพื่อนบ้านอื่นๆ ไปด้วยในขณะเดียวกัน ยิ่งเนื้อร้องของเพลงอย่าง L'Internationale ที่ถูกเขียนขึ้นในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยพวกฝ่ายซ้ายในฝรั่งเศสนั้นยิ่งเป็นการเน้นย้ำอุดมการณ์นี้อย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุด แต่ชาตินิยมของไทยนั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์เบน แอนเดอร์สันเรียกว่า ชาตินิยมแบบทางการ เพราะเป็นแนวคิดที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองในหมู่ประชาชน แต่ถูกปลูกฝังในแนวดิ่งลงมาจากผู้ปกครองเบื้องบน ชาตินิยมแบบทางการของไทยจึงไม่มีอะไรที่สัมพันธ์กับแนวคิดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยแต่อย่างใด ชาตินิยมของไทยจึงไม่ได้หมายถึงความเป็นสากลนิยม แต่หมายถึงการเชื่อผู้นำ หมายถึงอาการคลั่งชาติ หลงชาติ หลงบรรพบุรุษว่าวิเศษเลิศเลอไม่มีที่ติ และดูถูกดูหมิ่นเพื่อนบ้านรอบๆ ตัวอย่างเต็มไปด้วยอคติ แนวคิดชาตินิยมแบบไทยๆ จึงสัมพันธ์อยู่กับแนวคิดแบบอนุรักษนิยม และมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวไปสู่การเป็นลัทธิความเชื่อที่มอมเมาผู้คนจำนวนมากให้ลุ่มหลงยินดีอยู่กับอดีต ปฏิเสธที่จะปรับตัวเปลี่ยนแปลงตามกระแสของโลก นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความรุนแรง ดังที่เราได้เห็นจากโศกนาฏกรรม 6 ตุลา 19 อย่างน่าสยดสยอง ชาติไทยและ ความมั่นคง ของชาติไทย จึงกลายเป็นสิ่งที่อ่อนไหว เกินกว่าเหตุ ในสายตาของสมาชิกลัทธิผู้คลั่งไคล้ จนถึงขนาดทำให้เรื่องบางเรื่อง (ที่ไม่ควรจะเป็นเรื่อง) กลายเป็นปัญหาใหญ่ชนิดคอขาดบาดตาย ทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่บางคนในบ้านเมืองหวาดระแวงจนถึงกับขาดสติออกปากไล่นักวิชาการผู้หวังดีต่อสถาบันต่างๆ ในประเทศไทยให้อพยพไปอยู่ประเทศอื่น และถึงกับทำให้เด็กผู้หญิงคนหนึ่งต้องเสียเวลาเรียนไปหนึ่งปี แล้วมิหนำซ้ำยังตามกัดตามจิกจนกลายเป็นลัทธิพิธีล่าแม่มด ถึงเวลาหรือยัง ที่เราจะหันหน้าเข้าหากันอย่างจริงใจ แล้วนั่งลงพูดคุยทำความเข้าใจกันและกันด้วยเหตุด้วยผลแบบผู้มีอารยธรรมเสียที รวมเรื่องสั้นของวิทยากร เชียงกูล |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |