คอลัมน์เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล บทกวีกับการเผยแพร่ความคิดทางการเมืองน่าจะเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานมากแล้ว เพียงแต่ขอบเขตของการเผยแพร่นั้นน่าจะเป็นไปอย่างจำกัดด้วยสังคมสมัยก่อนนั้นเป็นสังคมที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ แต่ขณะเดียวกันการเผยแพร่เพลงร้อง (หรือบทกวีนั่นเอง) ผ่านวิธีมุขปาฐะ กลับน่าจะเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและเห็นผลรวดเร็วกว่า ซึ่งตามประวัติศาสตร์ก็มีร่องรอยการเผยแพร่ความคิดทางการเมืองในลักษณะนี้ให้เห็นอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย ผมเข้าใจว่าในการแต่งฉันท์หรือโคลงสรรเสริญพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในสมัยก่อนๆ ไม่น่าจะเป็นงานเขียนที่แพร่หลายไปในวงกว้าง ด้วยข้อจำกัดของสังคมสมัยก่อนที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้หนังสือ (illiterate) ดังนั้นจุดประสงค์ของการประพันธ์งานประเภทนี้จึงเป็นไปในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าที่จะมีความหมายไปใช้ในทางปฏิบัติให้เกิดการสรรเสริญพระเกียรติในหมู่ประชาราษฎรจริงๆ หรือไม่ก็ใช้เป็นเครื่องแสดงความจงรักภักดีที่กวีมีต่อกษัตริย์ ให้เป็นที่ทราบกันในหมู่ชนชั้นสูง ด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือไม่ก็คงเพื่อประโยชน์โภชน์ผลส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ นอกเหนือไปจากเรื่องของขนบประเพณีแล้ว โคลงอย่างโองการแช่งน้ำที่ถือเป็นโคลงศักดิ์สิทธิ์นั้นมีไว้เพื่อเป้าหมายทางการเมืองอย่างเห็นได้ชัด และความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่าก็มีวิวัฒนาการของมัน นั่นคือถ้าสังเกตการใช้คำต่างๆ ในโองการแช่งน้ำแล้วจะพบว่า ส่วนมากเป็นการใช้คำไทยโบราณ มีปนเขมรและสันสกฤตแบบถูกๆ ผิดๆ อยู่บ้างในจำนวนน้อยมาก ซึ่งแสดงให้เห็นจุดประสงค์ที่จะให้ผู้ฟังโองการนี้ฟังได้อย่าง เข้าใจ และเกิดความหวาดกลัวที่จะกระทำการฝ่าฝืนคำสัตย์ปฏิญาณ (ดู โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ของจิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน พ.ศ. 2547) ความศักดิ์สิทธิ์เริ่มเปลี่ยนผ่านจากความ เข้าใจ ไปสู่ความ ไม่จำเป็นต้องเข้าใจ ในเวลาต่อมา ที่เริ่มมีการใช้คำภาษาสันสกฤตยากๆ ในงานประพันธ์ชั้นหลังจากนั้น ซึ่งที่จริงเรื่องนี้ก็เป็นเหมือนกับเรื่องอื่นๆ นั่นแหละ ที่ความรู้อันศักดิ์สิทธิ์นั้นจะต้องเป็นความลับเท่านั้น และความลับก็คือความรู้ขั้นสูงที่ต้องปกปิด ความศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความ เข้าใจ แต่เกิดขึ้นจากการ รับรู้ ถึงความศักดิ์สิทธิ์นั้นเองต่างหาก ความศักดิ์สิทธิ์ของโคลงและฉันท์สรรเสริญพระเกียรติทั้งหลายจึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำ ความเข้าใจ และไม่จำเป็นต้องฟังรู้เรื่องหรืออ่านออก เพราะมันศักดิ์สิทธิ์โดยตัวของมันเองอยู่แล้วโดยลำพัง ที่จริงยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมากในเรื่องนี้ก็คือ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง นั่นเอง เพราะชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ได้มีไว้อ่านให้คนฟัง แต่ว่ามีไว้อ่านให้ช้างฟัง แต่งานกวีที่เผยแพร่ไปในหมู่ประชาชนทุกลำดับนั้นก็ดำรงอยู่ด้วยเช่นกัน ในสยาม ถ้าเพลงยาวพยากรณ์เป็นงานเขียนในสมัยพระนารายณ์จริง ก็ต้องนับเป็นงานเขียนที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ในหมู่ประชาชนจำนวนมากโดยหวังผลทางการเมืองชิ้นแรกเท่าที่ค้นพบ (ตรงนี้ขอให้สังเกตว่าฉันทลักษณ์ที่เลือกใช้ในการเผยแพร่อยู่ในรูปของกลอน - ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่และง่ายต่อการทำความเข้าใจมากกว่าฉันทลักษณ์อย่างฉันท์หรือโคลงมาก) เพราะเพลงยาวพยากรณ์เป็นงานเขียนที่กระตุ้นเร้าให้ก่อเกิดการปฏิวัติ โดยมุ่งโจมตีไปที่กลุ่มอำนาจเก่าอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในข้อความที่ว่า : คราทีนั้นฝูงสัตว์ทั้งหลาย / จะเกิดความอันตรายเป็นแม่นมั่น / ด้วยพระมหากษัตริย์มิได้ทรงทศพิธราชธรรม์ / จึงเกิดเข็ญเป็นมหัศจรรย์สิบหกประการ เพลงยาวนี้จบลงอย่างไร้ทางออก ไม่มีวิธีแก้ปัญหา ราวกับว่าสิ่งที่ทำนายไว้นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นชะตากรรมที่ทุกคนจำต้องเผชิญร่วมกัน : กรุงศรีอยุธยาเขษมสุข / แสนสนุกยิ่งล้ำเมืองสวรรค์ / จะเป็นเมืองแพศยาอาธรรม์ / นับวันจะเสื่อมสูญเอย ฯ ข้อความท้ายเพลงยาวที่ระบุว่า จบเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้านพบุรีทำนายกรุงแต่เพียงเท่านี้ จึงเป็นเรื่องไม่จริง เพราะพระนารายณ์จะทำนายกรุงที่ตนเองเป็นผู้ปกครองให้เลวร้ายขนาดนี้ไปได้อย่างไร? ความเป็นมาของเพลงยาวบทนี้น่าจะเป็นแบบที่นิธิ เอียวศรีวงศ์เคยวิเคราะห์เอาไว้มากกว่า คือเป็นไปตามที่บันทึกไว้ในคำให้การของชาวกรุงเก่าที่ว่าพระเจ้าเสือเป็นคนแต่ง (ดูการเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ ของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ สำนักพิมพ์มติชน) พระเจ้าเสือน่าจะใช้เพลงยาวนี้ในการปฏิวัติรัฐบาลของพระนารายณ์ร่วมกับพระเพทราชา ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เราก็จะเห็นว่าเนื้อหาทั้งหมดของเพลงยาวนี้ไม่ถึงกับไร้ทางออกจากภัยพิบัติโดยสิ้นเชิง และชี้เป็นนัยยะไว้ตั้งแต่แรกๆ ว่าทางรอดทางเดียวก็คือทางที่ต้องกระทำผ่านช่องทางการปฏิวัติของพระเพทราชาเท่านั้น จากตัวอย่างข้างต้น ผมจึงคิดว่ากวีกับการเมืองไม่เคยแยกออกจากกันมาก่อน เพียงแต่ประเด็นก็คือบทกวีบทหนึ่งๆ จะรับใช้อุดมการณ์แบบไหนเท่านั้นเอง ความเคลื่อนไหวของกลุ่ม กวีราษฎร์ ที่จัดการอ่านบทกวีและกิจกรรมอื่นๆ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในช่วงวันที่ 15-22 มกราคมนี้เป็นเรื่องน่าสนใจ โดยทางกลุ่มมีการแถลงอย่างชัดเจนว่ารวมตัวและจัดงานนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนแนวทางคณะนิติราษฎร์ นี่คือความเคลื่อนไหวที่ ปรากฏ ขึ้นแล้วของกวีผู้มีจิตสำนึกทางการเมืองในโลกปัจจุบัน กิจกรรม กลับสู่แสงสว่าง ของกลุ่มกวีราษฎร์ 15-22 มกราคม 2555 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |