เวิ้งวิภาษ หนังสือพิม์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล เป็นเรื่องน่าสนใจว่าเพลงชาติไทยนั้นมีท่วงทำนองแบบสากลด้วยความจงใจของทางคณะราษฎร ซึ่งสาเหตุสำคัญก็คงจะเป็นความต้องการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยไปในทางที่ทัดเทียมกับนานาอารยะประเทศนั่นเอง แต่เนื้อร้องเพลงชาติ กลับมีลักษณะที่เป็นกลอนสุภาพแบบขนบนิยมอย่างชัดเจน ซึ่งผลจากการนี้ ทำให้เนื้อร้องบางแห่งต้องถูกออกเสียงอย่างผิดเพี้ยนไม่ลงกับท่วงทำนอง เช่นวรรคที่ว่า อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี จะเห็นว่าคำว่า ล้วน ที่จงใจให้สัมผัสกับคำว่า มวล นั้นเป็นปัญหาอย่างยิ่งในการร้อง และทำให้การออกเสียงร้องคำๆ นี้จริงๆ กลายเป็นคำว่า ล่วน ไปอย่างผิดความหมายโดยสิ้นเชิง ส่วนคำว่า สามัคคี ในท้ายวรรคนั้นก็เป็นคำที่จำเป็นต้องจบด้วยเสียงสามัญ เพราะเป็นวรรคสุดท้ายของฉันทลักษณ์กลอนสุภาพ แต่ผลจากการนั้นทำให้คำๆ นี้ถูกออกเสียงในการร้องจริงว่า สามัคขี่ ไปเสียเฉยๆ ตามประวัติ ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงชาติฉบับนี้คือหลวงสารานุประพันธ์ บันทึกของขุนวิจิตรมาตรา ผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติฉบับแรก กล่าวถึงหลวงสารานุประพันธ์ว่าเป็นคนสนิทของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อยู่ในกลุ่มคนสนิท 4 คนของจอมพล ป. คือ ยูร เถียร เพียร นวล (นวลเป็นชื่อของหลวงสารานุประพันธ์) ขุนวิจิตรฯ บันทึกถึงการแต่งเพลงชาติของหลวงสาราฯ ว่า แกบอกว่าแกแต่งเลียนแบบข้าพเจ้าคือไม่ได้ดูทำนอง ข้าพเจ้าแต่งไว้อย่างไรก็พยายามให้เสียงเป็นอย่างนั้น และมีตอนหนึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนว่าใช้ กลอนสุภาพ เป็นแนวทางในการแต่งเนื้อร้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งหน้าที่ทางการงานและความเป็นคนสนิทของจอมพล ป. หลวงสาราฯ มีโอกาสได้ใช้วงดนตรีของกองทัพในการขัดเกลาเนื้อร้องเพลงชาติเป็นเวลาพอสมควรทีเดียว จึงเมื่อพิจารณาจากเนื้อร้องทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวด (ซึ่งผมเดาว่าผู้ส่งเข้าประกวดส่วนมากไม่น่าจะอ่านโน้ตเพลงที่พระเจนฯ เขียนได้) เนื้อร้องฉบับของหลวงสาราฯ นั้นมีความลงตัวมากกว่าฉบับอื่นๆ จริง (อย่างน้อยก็ในความเห็นของคณะกรรมการ) นอกจากนั้นยังควรทราบด้วยว่า ในปี พ.ศ. 2476 มีความพยายามที่จะคัดเลือกเพลงชาติแบบ ไทย ขึ้นใช้คู่กับเพลงชาติแบบสากลด้วย โดยมีการจัดการประกวดและลงมติรับรองเพลงชาติแบบไทยของจางวางทั่ว พาทยโกศล ไว้แล้วอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มีนาคม 2476 เมื่อดูจากชื่อผู้แต่งแล้ว ผมเดาว่าเพลงชาติแบบไทยนี้น่าจะเล่นด้วยเครื่องดนตรีไทยนั่นเอง แต่เรื่องนี้ผมอาจจะเดาผิดก็ได้ เพราะในบันทึกแห่งหนึ่ง มีการเรียกเพลงๆ นี้ว่า เพลงไทยดัดแปลง จึงอาจหมายถึงการใช้เครื่องสากลเล่นทำนองไทยที่จางวางทั่วเขียนก็เป็นได้ แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 กลับมีการยกเลิกเพลงชาติแบบไทยนี้ โดยให้เหตุผลว่า คณะกรรมาธิการเห็นว่าเพลงไทยดัดแปลงนี้ ยังไม่สะดวกแก่การเดินแถวนัก และไม่เข้ากับคุณสมบัติของเพลงชาติที่ได้ตั้งไว้เป็นหลักใหญ่สองข้อคือ 1) จะต้องเป็นเพลงปลุกใจพลเรือน และ 2) จะต้องเป็นเพลงมีจังหวะเป็นเพลงเดินแถวของทหาร ซึ่งคุณสมบัติข้อแรกนั้นคงเป็นเรื่องยากมากที่จะแต่งเฉพาะแนวทำนองขึ้นมาแล้วบอกว่าเป็นการปลุกใจ ส่วนข้อสองนั้นก็จะเห็นว่ายิ่งเป็นไปไม่ได้เลยกับบุคลิกของดนตรีไทยทั่วๆ ไป (น่าสนใจว่าถ้าต้องการให้เป็นเพลง เดินแถว ตั้งแต่แรก แล้วทำไมปัจจุบันนี้เราจึงถูกบังคับให้ต้อง ยืนตรง หยุดนิ่งอยู่กับที่เมื่อได้ยินเพลงชาติ?) นอกจากนั้นยังมีเกร็ดเล็กๆ เกี่ยวกับเพลงชาติมหาชัย ที่มักถูกเข้าใจว่าเป็นเพลงชาติเพลงแรก (แต่งใน พ.ศ. 2475) ซึ่งในงานเขียนของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลได้วิเคราะห์ไว้อย่างรอบด้านแล้วว่าเป็นความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง (ดูบทความ ความเป็นมาของเพลงชาติไทยปัจจุบัน วารสารธรรมศาสตร์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1) เพลงชาติมหาชัยนี้มีเนื้อร้องแปดวรรค โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านเกาะแก่งเพราะเพื่อชาติพ้นภัย ผมเขียนถึงเนื้อร้องเพลงๆ นี้ขึ้นมาตรงนี้ก็เพราะเพิ่งได้ฟังการอภิปรายของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ที่ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 กุมภาฯ ที่ผ่านมาในหัวข้อ ปรีดี พนมยงค์ กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์เกษียรกล่าวถึงเนื้อร้องเพลงนี้ที่ให้แนวคิดว่าชาวสยามนำ รัฐ ไทยในลักษณะของการขับเรือ ดังที่เรายังมักพูดติดปากกันในปัจจุบันถึงรัฐบาลว่าเป็น นาวารัฐ อาจารย์เกษียรตั้งคำถามว่าประชาชนจะนำรัฐ (หรือจะขับเคลื่อนนาวารัฐ) ได้อย่างไร ถ้าประชาชนไทยยังขับเรือไม่เป็น? และสรุปทิ้งท้ายไว้ได้อย่างน่าประทับใจว่า ก็ ธรรมศาสตร์ นี่แหละไม่ใช่หรือ ที่ทำหน้าที่สอนให้ประชาชนขับเรือ สอนให้ประชาชนเข้าใจในระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และนั่นเองที่เป็นหัวใจและหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ที่แต่เดิมมีชื่อพ่วงท้ายว่า และการเมือง) มติของกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ที่ห้ามไม่ให้กลุ่มนิติราษฎร์ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยในการเคลื่อนไหวเชิงวิชาการเกี่ยวกับการแก้มาตรา 112 จึงเป็นเรื่องที่ออกจะน่าประหลาดใจอยู่ทีเดียว ประกาศเรื่องเพลงชาติในปี พ.ศ. 2482 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 |