เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2555 อติภพ ภัทรเดชไพศาล พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคือการครอบงำและควบคุมการใช้ภาษาให้อยู่ในอำนาจของชนชั้นนำอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด เพราะภาษาหมายถึงวัฒนธรรม ภาษาเป็นสิ่งที่ใช้สื่อความคิดความอ่าน หากควบคุมภาษาได้ย่อมหมายถึงการมีอำนาจควบคุมความคิดของผู้คนในสังคมนั่นเอง ภาษาย่อมมีระดับชั้นวรรณณะ เช่นภาษาละตินที่เชื่อมโยงอยู่กับคริสต์ศาสนาอย่างแนบแน่นในยุคกลาง ย่อมถูกจัดเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ ที่มีไว้สำหรับนักบวชและชนชั้นสูงเท่านั้น สำหรับในสยาม มีร่องรอยปรากฏชัดว่าภาษาศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อมโยงกับศาสนาและชนชั้นสูงคือภาษาขอม ดังปรากฏการใช้ตัวขอมในเอกสารที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเอกสารสำคัญอื่นๆ และยังทิ้งหลักฐานปรากฏชัดด้วยการกลายมาเป็นคำราชาศัพท์ทุกวันนี้ (ซึ่งไม่มีใครเข้าใจอีกต่อไป) มีข้อสันนิษฐานว่า ภาษาตระกูลไทย-ลาว อย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เพิ่งมาได้รับความนิยมในช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา และอาจมีสาเหตุมาจากการเสื่อมอำนาจของชนชั้นนำรุ่นก่อนที่เป็นขอม ชนชั้นนำรุ่นใหม่ในสมัยนั้นน่าจะเป็นคนในตระกูลภาษาไทย-ลาว จึงเริ่มนำภาษาไทยมาใช้ในพิธีการสำคัญๆ แทนที่ภาษาขอม ดังมีหลักฐานเป็นโคลงและร่าย โองการแช่งน้ำ ซึ่งประกอบไปด้วยคำไทยจำนวนมาก ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลสะเทือนต่อภาษาอย่างรุนแรง คือเทคโนโลยีการพิมพ์ เพราะการพิมพ์สามารถเผยแพร่เอกสารต่างๆ ในวงกว้างกว่าที่เคย และทำให้ภาษาต่างๆ เกิดรูปแบบที่ชัดเจนขึ้น ทั้งในเรื่องของการสะกดคำ เรื่องของไวยากรณ์ และการวางรูปประโยค แต่แน่นอนว่าการพิมพ์นั้นย่อมไม่มีมาตรฐานเดียว การสะกดคำต่างๆ ย่อมเป็นไปคนละทิศละทางอย่างเปะปะ คำคำเดียวจึงถูกสะกดอย่างแตกต่างกันออกไป เช่นคำว่าลูกศิษย์ อาจถูกสะกดเป็น สิษ หรือ ศิษ ก็ได้ การสร้างมาตรฐานโดยชนชั้นนำหรือโดยรัฐ จึงเข้ามาจัดระเบียบให้การสะกดเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะการสะกดที่แตกต่างกันย่อมหมายถึงความหลากหลาย และความหลากหลายนั้นก็ไปกันไม่ได้กับการปกครองโดยรัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้อำนาจแบบรวมศูนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐบาลที่อยู่ในระบอบราชาธิปไตย ในสยาม การควบคุมภาษาไทยให้อยู่ใน แบบแผน จึงอยู่ภายใต้การกำกับของราชสำนักมาแต่แรก และเห็นได้ชัดเจนที่สุดเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ ตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้น เพื่อจัดการนิยามว่าวรรณคดีเรื่องไหนดีหรือไม่ดี ซึ่งก็คือการนิยามว่าการใช้ภาษาแบบใดที่จัดว่าไพเราะหรือไม่ไพเราะนั่นเอง ราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งมีนายกคนแรกคือสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ นั้นจึงมลังเมลืองไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์แบบราชสำนักอย่างไม่น่าแปลกใจ แต่ภาษานั้นไม่เคยเป็นสมบัติของใครอย่างแท้จริง คำหยาบ คำผวน คำสแลง จึงยังปรากฏอยู่ในสังคมไทยเรื่อยมาอย่างที่ทางการไม่อาจควบคุมบังคับ ยิ่งในโลกอินเตอร์เน็ต ภาษาไทยกลายรูปกลายร่างไปไกลอย่างชนิดที่คงสร้างความขนพองสยองเกล้าให้กับเหล่าชนชั้นนำอนุรักษนิยมไม่น้อย ผมจึงพบว่า ขณะนี้กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกำลังมีประกาศคัดเลือกผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น โดยแบ่งออกเป็นสี่ประเภทคือ 1) ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2) ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น แบ่งย่อยออกเป็นคนไทยและคนต่างชาติ 3) ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และ 4) ผู้มีคณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ผมคิดว่าการประกวดประชันครั้งนี้น่าสนใจมาก เพราะส่วนหนึ่งดูเหมือนจะมีเป้าหมายเพื่อการดึงภาษาไทยให้กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์เช่นเมื่อก่อน เช่นคุณสมบัติของผู้สมัครข้อหนึ่งถึงกับระบุไว้เลยว่า ต้องเป็นผู้ มีคุณธรรมและไม่เคยมีประวัติเสียหาย เท่านั้น การใช้ภาษาจึงถูกเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องของคุณธรรมจริยธรรม หมายความว่าผู้ที่ใช้ภาษาไทยได้ดีจะต้องเป็นคนดี มีศีลธรรม สมควรแก่การเคารพบูชาเท่านั้น ผมขอฟันธงเลยว่าตำแหน่งปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยต้องตกเป็นของพ่อขุนรามคำแหงแน่ๆ ตำแหน่งผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่เป็นคนไทยคงไม่พ้นอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ ผู้สามารถใช้ภาษาไทยสร้างความประหลาดใจให้กับสังคมได้อยู่เรื่อยๆ ส่วนตำแหน่งผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่เป็นคนต่างชาตินั้นผมไม่รู้ แต่เดาเอาว่าคงไม่ใช่พวกแรงงานพม่าหรือเขมร และน่าจะเป็นคนอเมริกันมากกว่า เพราะปัจจุบันฝรั่งจำนวนมาก นอกจากจะนิยมผู้หญิงไทยแล้วยังนิยมพูดภาษาไทยอีกด้วย ผมเคยรู้จักฝรั่งคนหนึ่งที่เล่าให้ฟังถึงประโยชน์ในการพูดภาษาไทยว่า การพูดภาษาไทยกับคนเชียร์แขกในสถานบริการย่านรัชดาฯ นั้น ทำให้เขาไม่ถูกชาร์จค่าบริการเพิ่มอีกหนึ่งพันบาทแบบฝรั่งทั่วๆ ไป ส่วนตำแหน่งผู้ใช้ภาษาไทยถิ่น (หมายถึงอะไร?) นั้น ผมเดาว่าคงตกเป็นของน้องกระแต อาร์สยาม เจ้าของเพลงดัง ฮักนะฉึกฉึก ตำแหน่งผู้มีคณูปการต่อภาษาไทย คงหมายถึงหน่วยงานหรือใครก็ตามที่สนับสนุนการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ซึ่งตามหลักก็น่าจะเป็นราชบัณฑิตสถานนั่นเอง แต่ด้วยความที่เป็นหน่วยงานรัฐเหมือนกัน จะมาแจกรางวัลกันเองคงดูกระไรอยู่ ผมเลยเดาเล่นๆ ว่าตำแหน่งนี้น่าจะตกเป็นของอาจารย์สอนภาษาไทยบางคนที่ทำหน้าที่เป็น ยามเฝ้าภาษา อยู่อย่างตาแข็งไม่เป็นอันหลับอันนอนนั่นเอง โอ๋ๆๆ อย่าโกดนะตะเอง เค้าล้อเล่งอ่าาาาา 555 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |