เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2556 อติภพ ภัทรเดชไพศาล
ละคร มีต้นกำเนิดมาจากการละเล่นของผู้คนแต่บรรพกาล ที่เริ่มจากการตีเกราะเคาะไม้ และร้องรำทำเพลงเป็นถ้อยคำต่างๆ การเล่นเพลงต่างๆ นี้ยังมีตัวอย่างหลงเหลือเช่นเพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เป็นต้น การละเล่นเหล่านี้ มีพัฒนาการและแปรรูปมาเป็นละครในสมัยไหนไม่อาจทราบได้ แต่ข้อใหญ่ใจความคือ “ลักษณะสำคัญของการเล่นเพลงส่วนมากคือการโต้ตอบ และการโต้ตอบเกือบทั้งหมดมักจำลองการทะเลาะวิวาทระหว่างชาย-หญิง อันนำไปสู่การด่าว่าเปรียบเปรยเยาะเย้ยถากถางอย่างถึงพริกถึงขิง เมื่อการเล่นเพลงมีพัฒนาการเป็นละครชาวบ้านแล้ว แนวทางทะเลาะวิวาทก็ติดตามเข้าไปอยู่ในละครด้วย” (สุจิตต์ วงษ์เทศ, ร้องรำทำเพลง ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ พ.ศ. 2532) ละครชาวบ้านจะเข้าไปเป็นละครราชสำนักเมื่อไร ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่มีบันทึกของราชทูตชาวฝรั่งเศส ลา ลูแบร์ ที่เดินทางเข้ามาอยุธยาในสมัยของพระนารายณ์ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2199-2231) เขียนไว้ว่า “ละคร (Lacone) นั้นเป็นบทกวีนิพนธ์ สดุดีความกล้าหาญแกมนาฏศิลป์ ใช้เวลาแสดงถึง 3 วัน ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 7 โมงเย็น ตัวเรื่องนั้นเป็นคำกลอนแสดงให้เห็นเป็นจริงจัง และตัวแสดงที่อยู่ในฉากนั้นหลายคนจะผลัดกันร้องเมื่อถึงบทของตัว ” แน่นอนว่าคำให้การนี้อาจหมายถึงเพียงส่วนหนึ่งของละครในสมัยนั้นที่ลา ลูแบร์มีโอกาสได้เห็น และละครที่พูดถึงในบันทึกก็น่าจะเป็นละครของราชสำนัก เพราะถูกปรับเนื้อหาให้กลายเป็นเรื่องเล่าศักดิ์สิทธิ์จากชาดกหรือคัมภีร์อื่นๆ ไปแล้ว ละครเหล่านี้ แม้ว่าจะกลายรูปแบบเคร่งครัดขึ้นและจับเรื่องชาดกหรือประวัติพระพุทธเจ้ามาแสดง แต่พบว่าส่วนใหญ่ยังคงบุคลิกแบบพื้นเมืองดั้งเดิม นั่นคือมักเดินเรื่องอย่างสนุกสนานด้วยบทวิวาทด่าทอ ดังปรากฏในบทละครมโนราสมัยกรุงเก่า เช่นตอนที่แม่นางมโนราด่าลูกสาวว่า “อีนี่ใจแข็งปากกล้า กูจะพลิ้วหิ้วขา หน้าตากูจะตบให้ยับไป... รู้มากอีปากกล้า มึงไปได้มาแต่ไหน พระพายพัดไป สมเพชลมพัดอีดอกทอง” เท่าที่ผมทราบ ละครโทรทัศน์ไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2499 สืบเนื่องมาจากการสร้างภาพยนตร์ แล้วนับย้อนหลังไปได้ถึงการแสดงละครเวที ทั้งละครร้อง และละครร้องสลับพูด ที่มีมาตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ 5 แล้ว ละครร้องได้รับอิทธิพลจากโอเปราแบบฝรั่ง แต่มาปรุงให้เป็นไทยๆ ด้วยบทและเพลงดนตรี ละครโทรทัศน์ในยุคแรกก็ได้แบบอย่างมาจากละครโทรทัศน์ของฝรั่งเช่นเดียวกัน บทที่ใช้แสดงจึงมักเป็นเรื่องแต่งขึ้นใหม่ ความก้าวหน้าในงานเขียนบทละครโทรทัศน์ช่วง พ.ศ. 2500-2510 เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะปรากฏบทละครโทรทัศน์หลายชิ้นที่นำเสนอในแนว เสียดเย้ย (parody) นิยายน้ำเน่า ที่ผมเคยผ่านตามีตัวอย่างเช่นเรื่อง ‘นิดจ๋า’ โดยอุษณา เพลิงธรรม (ละครเรื่องนี้ล้อเลียนเรื่อง วนิดา ของวรรณสิริ โดยเปลี่ยนให้นางเอก (นิด) ไม่ใช่สาวน้อย แต่เป็นสาวใหญ่ที่ยังไม่มีชายแต่งงานด้วย แล้วยังเปลี่ยนโครงเรื่องจากที่เกิดในครอบครัวชนชั้นผู้ดี ให้กลายเป็นครอบครัวของสามัญชนจนๆ ใช้ชีวิตอยู่ในตรอกเล็กๆ) นอกจากนั้น กล่าวกันว่าในช่วงหลังปี พ.ศ. 2524 ละครโทรทัศน์ของทางช่อง 7 ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นไปในแนวทางก้าวหน้า และข้ามพ้นไปจากโครงเรื่องนิยายน้ำเน่า ดังเห็นได้จากมีการคัดเลือกบทละครที่จะนำมาสร้างจากนิยายที่ล้วนแล้วแต่มีคุณภาพ เช่น ห้วงรักเหวลึก (หลวงวิจิตรวาทการ) จดหมายจากเมืองไทย (โบตั๋น) และ ข้าวนอกนา (สีฟ้า) เป็นต้น จึงเป็นเรื่องออกจะน่าประหลาดใจ ที่ปัจจุบันบทละครโทรทัศน์ไทย กลับมีคุณภาพในเชิงแนวคิดที่ตกต่ำลงเป็นอย่างมาก และย้อนกลับไปสู่ขนบการเขียนบทชนิดให้ตัวละครตบตีด่าทอกันอย่างหยาบคายแบบเดียวกับการละเล่นของชาวบ้านดึกดำบรรพ์ แล้วยังประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามอีกด้วย นอกจากนั้นแนวคิดหลักของละครโทรทัศน์เหล่านี้ แทบจะร้อยทั้งร้อยกลับย้อนไปวนเวียนอยู่กับพล็อตเรื่องในแวดวงชนชั้นสูง เน้นเหตุการณ์ความรักระหว่างชายสูงศักดิ์ระดับหม่อมราชวงศ์กับหญิงสาวชาวบ้าน แบบเดียวกับนิยายน้ำเน่าในสมัยก่อนแทบไม่ผิดเพี้ยน โดยในปัจจุบันแทบจะไม่มีละครโทรทัศน์เรื่องใดเลยที่นำเสนอเรื่องของสามัญชน ผิดกับละครโทรทัศน์ของประเทศอื่นๆ ที่ก้าวไปข้างหน้าด้วยกลวิธีการเขียนบทที่ซับซ้อน น่าติดตาม และเน้นเรื่องราวที่อิงอยู่บนฐานคิดแบบ realistic ผูกอยู่กับเรื่องราวของสามัญชนคนธรรมดาทั้งสิ้น จึงพูดได้ว่าการชมละครโทรทัศน์ไทยในยุคปัจจุบันนั้นแทบไม่แตกต่างไปจากการดูลิเกหรือละครจักรๆ วงศ์ๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นแหละ นี่สินะ ที่เรียกกันว่า “ความเป็นไทย”
ฉากทะเลาะในละครสมัยก่อน เรื่องไกรทอง |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |