เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556 อติภพ ภัทรเดชไพศาล
กล่าวกันว่าในหมู่นักวิจารณ์วรรณคดีรัสเซีย ให้การยกย่องบทละครเรื่อง Revizer เป็นอย่างมากว่า - หากรัสเซียจะมีนิยายชวนหัว (comedy) อยู่สักเรื่องหนึ่งละก็ เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้นอกจาก Revizor บทละครเรื่อง Revizor เป็นงานประพันธ์ของ Nikolai Gogol (1809-1852) คำว่า Revizor แปลได้ประมาณว่า ‘ผู้ตรวจการ’ บทละครเรื่องนี้มีทั้งหมด 5 องก์ เล่าถึงเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในชนบท เป็นการสะท้อนภาพของสังคมรัสเซียทั้งหมด ผ่านเรื่องเล่าที่ตลกขบขัน เนื้อเรื่องย่อๆ มีว่า เจ้าเมืองเมืองนั้นเกิดได้รับจดหมายเตือนจากเพื่อนคนหนึ่ง ว่าในเวลาอันใกล้จะมีผู้ตรวจการเดินทางมาจากนครหลวงอย่างลับๆ เพื่อสืบสวนการทำงานของข้าราชการอย่างไม่ให้ใครรู้ เจ้าเมืองจึงควรจะเตรียมตัวจัดการดูแลสิ่งต่างๆ ให้เรียบร้อยแต่เนิ่นๆ แต่ปรากฎว่าเวลานั้น มีชายแปลกหน้าคนหนึ่ง (กับคนรับใช้ประจำตัว) มาพักอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองพอดี และด้วยความที่ชายผู้นั้นเป็นหนุ่มเจ้าสำรวย เพิ่งเดินทางมาจากเมืองหลวง (ซังต์ ปีเตอร์บูร์ก) การแต่งกายและกิริยาจึงทำให้บริวารของเจ้าเมืองคิดไปเองว่าชายคนนี้เป็นผู้ตรวจการที่เดินทางมาสืบราชการอย่างลับๆ (ทั้งที่จริงๆ แล้ว ชายคนนี้เป็นเพียงพนักงานคัดลอกเอกสาร ที่ไม่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและถูกบิดาเรียกตัวกลับบ้าน) เจ้าเมืองจึงถึงกับไปรับรองชายผู้นี้ด้วยตนเองเพราะเข้าใจผิด และถึงกับพามาพำนักที่บ้าน โดยทำการประจบประแจงเอาใจทุกอย่าง และแกล้งทำเหมือนกับว่าตนเองเป็นเจ้าเมืองที่ดี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วรับสินบน และใช้อำนาจในทางมิชอบอยู่เป็นประจำ ชาบหนุ่มได้รับการรับรองอย่างดี (จากตอนแรกที่ไม่มีปัญญาจะจ่ายค่าโรงแรมด้วยซ้ำ) และคาดเดาเรื่องออกว่าเกิดจากความเข้าใจผิด จึงถือโอกาสนี้รีดไถเงินสินบนจากข้าราชการจำนวนมาก ที่ทยอยกันมาเข้าพบเพื่อประจบเอาใจ สุดท้ายแล้ว ชายหนุ่มถึงกับขอแต่งงานกับลูกสาวเจ้าเมือง ซึ่งยังความยินดีให้กับเจ้าเมืองเป็นอันมาก เพราะคิดว่าได้สัมพันธ์กับบุคคลผู้มีความสำคัญ เจ้าเมืองถึงกับคิดวาดฝันว่าด้วยสถานะของพ่อตา ลูกเขยคงหาช่องทางให้ตนเองได้เลื่อนชั้นเป็นถึงนายพลในเมืองหลวงได้แน่ๆ คืนนั้นเอง ที่ชายหนุ่มหนีจากไปด้วยรถม้า และฝากบุรุษไปรษณีย์ส่งจดหมายไปถึงเพื่อนคนหนึ่งที่เมืองหลวง โดยในจดหมายนั้น ชายหนุ่มได้เล่าเรื่องความเข้าใจผิดที่เขาพบเจอไว้อย่างขบขัน เมื่อนายไปรษณีย์แอบเปิดจดหมายออกอ่าน ความจึงแตกว่า เหล่าข้าราชการทุกคนในเมืองนั้นถูกชายหนุ่มหลอกต้มจนหมดท่า บทละครเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องราวที่เสียดสีระบบราชการของรัสเซียอย่างเจ็บแสบ ความหน้าไหว้หลังหลอก ความปลิ้นปล้อนของพวกข้าราชการ และความฉ้อฉล ถูกนำมาเปิดโปงและทำให้กลายเป็นเรื่องตลก ด้วยฝีมือการประพันธ์ชั้นเยี่ยมยอด Gogol ขัดเกลาละครเรื่องนี้แล้วๆ เล่าๆ เป็นเวลาถึงแปดปี (1834-1842) ก่อนที่จะมาเป็นฉบับที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน กล่าวกันว่าในการแสดงครั้งแรกๆ ละครเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาก จากปัญญาชนหัวอนุรักษนิยมที่อยู่ฝ่ายรัฐ จน Gogol รู้สึกผิดหวังมาก แต่ปัญญาชนอีกส่วนหนึ่งก็เข้าข้างงานของ Gogol อย่างหนักแน่น ซึ่งในจำนวนนี้มี Pushkin รวมอยู่ด้วย ผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีกล่าวว่า ละครเรื่อง Revizor นี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนของวรรณกรรมรัสเซียเลยทีเดียว เพราะก่อนหน้านั้น วรรณกรรมรัสเซียมักจะไม่คิดพล็อตเอง แต่ลอกแบบมาจากวรรณกรรมยุโรปอีกที (แม้กระทั่งงานของ Pushkin จำนวนมากก็เป็นอย่างนั้น) Revizor เป็นการสร้างบทละครแบบใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน ที่สำคัญคือบทละครยังเล่าถึงเรื่องที่ใกล้ตัวประชาชน บอกเล่าถึงความคับแค้นที่ประชาชนได้รับจากระบบการปกครองที่เน่าเฟะและเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น ดังนั้นถึงบทละครจะเป็นเรื่องชวนหัวขบขัน แต่ความขบขันนั้นกลับยืนอยู่บนหยาดน้ำตา ยืนอยู่บนความทุกข์ทนของประชาชนคนชั้นล่างที่ถูกกลั่นแกล้งจากผู้มีอำนาจ ความจริงข้อนี้เอง ที่ทำให้บทละครเรื่องนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยนักวิจารณ์ส่วนหนึ่งเชื่อว่างานชิ้นนี้ส่งผลเป็นอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมรัสเซียในเวลาต่อมา ซึ่งเริ่มปรากฏคนชั้นกลางในปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล ระบอบซาร์ ที่เต็มไปด้วยการทุจริตฉ้อฉลในหมู่ข้าราชการเป็นสิ่งที่บทละครนี้กล่าวเปรียบเทียบถึงอย่างชัดเจน และการฉ้อฉลนั้นก็เป็นที่ยอมรับไม่ได้จากราษฎรมากขึ้นทุกวันๆ จนในที่สุดนำไปสู่การปฏิวัติล้มล้างระบอบซาร์ในปี 1917 นี่แหละ พลังของวรรณกรรม Nikolai Gogol |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |