เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2556 อติภพ ภัทรเดชไพศาล
ผมคิดว่าสังคมที่เราอยู่ทุกวันนี้ น่าจะเรียกว่าเป็น “สังคมสมัยใหม่” หรืออาจเรียกว่าเรากำลังอยู่ในยุค modern แต่ในความเป็นจริง เรากลับพบความเชื่อลี้ลับแพร่หลายอย่างกว้างขวาง ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เราพบการบนบานศาลกล่าว พบความงมงายกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ในแบบศาสนาผีอยู่เต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด ไม่ผิดไปจากในยุคกลาง หรือสมัยโบราณแต่อย่างใด กระทั่งพระหลายๆ รูปก็ยังกล่าวอ้างถึงเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ นานา ทั้งที่นั่นไม่เคยเป็นประเด็นหรือความเชื่อแบบในศาสนาพุทธเลยแม้แต่น้อย ที่น่าสนใจคือเรื่องพวกนี้ไม่ได้พบแค่ในสังคมไทย แต่ยังพบในสังคมเกือบทุกแห่งในโลก ที่ความก้าวหน้าทางวิทยาการไม่สามารถทดแทนความเชื่อดั้งเดิม ที่มีต้นกำเนิดมาจากความไม่มั่นคงทางจิตใจอันเป็นปมทางจิตวิตยาของมนุษย์ได้ ในหนังสือ Neo-Mythologism in Music ของ Victoria Adamenko กล่าวถึงดนตรีสมัยใหม่ หรือ Modern Music ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ว่าถึงแม้ว่าดนตรีในปัจจุบันจะถูกเรียกว่าเป็นดนตรี “สมัยใหม่” ก็ตาม แต่ในเนื้อแท้แล้ว ความเป็นสมัยใหม่นั้นกลับมีเนื้อหาสาระที่แฝงไปด้วยความเชื่อใน “มายาคติ” (myth) ที่เชื่อมโยงกับไสยศาสตร์หรือศาสนา Adamenko ยังอ้างถึงงานวรรณกรรมในช่วงไล่ๆ กัน ว่างานวรรณกรรม modern จำนวนมาก ก็ล้วนแล้วแต่ยืนอยู่บนฐานความคิดที่ใช้ myth เป็นตัวขับเคลื่อน เช่น ในงานสัจจะนิยมมหัศจรรย์ของ Gabriel Garcia Marquez เป็นต้น ส่วนในดนตรีนั้น Adamennko บอกว่าเราสามารถพบร่องรอยแรกๆ ของกระแส Neo-Mythologism ได้ตั้งแต่ในงานของ Richard Wagner ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มมีการใช้ตำนานโบราณต่างๆ มาสร้างใหม่ในรูปของ opera การรื้อฟื้นความเชื่อเก่าแก่หรือมายาคติเหล่านี้ไม่ได้เป็นไปในลักษณะเดิมแบบโบราณกาล (เช่น อยู่ดีๆ คนคงจะกลับไปบูชายัญหรือดำน้ำเสกตะกรุดแบบสมัยก่อนไม่ได้แน่ๆ) แต่การรื้อฟื้นความเชื่อเหล่านี้ในงานศิลปะ จะเป็นไปในรูปของการใช้ “สัญลักษณ์” และ myth ความเชื่อโบราณเหล่านี้ก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนเมื่อสมัยก่อนเสียทีเดียว เพราะในโลกสมัยใหม่ - ที่ศิลปินแยกตัวเองออกจากสังคมอย่างโดยสิ้นเชิงแล้ว - การผลิตความเชื่อในมายาคติเหล่านี้จึงเป็นไปในลักษณะปัจเจก ไม่ได้เชื่อมโยงกับศรัทธาของสังคมโดยรวมแต่ประการใด ดังนั้น Adamenko จึงเรียกลักษณะของ Myth ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “Creative Mythologism” ตัวอย่างของการผลิตงานศิลปะสมัยใหม่ผ่านสัญลักษณ์แบบ Neo-Mythologism มีตัวอย่างเช่น งานเพลงของ Arnold Schoenberg ชุด Pierrot Lunaire (เขียนในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20) ที่ผู้แต่งเพลงจงใจแบ่งเพลงออกเป็น 3 กลุ่มย่อยๆ และแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยเพลงจำนวน 7 เพลง เพราะเลข 7 และเลข 3 เป็นเลขสำคัญของศาสนาหลายศาสนา เช่นเดียวกับที่เลข 13 มักถูกมองเป็นหมายเลขแห่งความโชคร้าย ดังนั้น ชื่อ opera เรื่อง “Moses and Aaron” จึงถูก Schoenberg แก้ให้ผิดหลักภาษาเป็น “Moses and Aron” เพราะความเชื่อที่ว่าจำนวนตัวอักษร 13 ตัวในชื่อแบบเดิมจะนำมาซึ่งโชคร้าย ตัวเลขศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ได้รับการใช้งานจากนักแต่งเพลงสมัยใหม่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบัน เช่นในกรณีของ George Crumb (เกิด ค.ศ. 1929) ที่เขียนเพลง Black Angels โดยมีโครงสร้างสำคัญจากตัวเลข 7 และ 13 นอกจากนั้น ยังมีกรณีอย่าง John Cage (ค.ศ. 1912-1992) ที่ใช้วิธีทอดลูกเต๋าหรือการเสี่ยงทายกำหนดค่าหรือตัวเลขแล้วนำมาแปลงเป็นโน้ตเพลงอีกที ก็ต้องถือเป็นการใช้ Myth ในการสร้างงานด้วยเช่นกัน สัญลักษณ์ของ Neo-Mythologism อีกรูปหนึ่ง คือเครื่องหมายหรือรูปทรงต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น รูปวงกลม ก็เป็นรูปที่นักแต่งเพลงนิยมนำมาใช้ ตัวอย่างในภาพที่ผมแสดงไว้ คืองานของ George Crumb เช่นกัน โดยนักแต่งเพลงจงใจบันทึกโน้ตในรูปของวงกลม ซึ่งถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าวงกลมนั้นถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (เลข 4 คือความหมายของทิศทั้งสี่) และแต่ละส่วนเพลง (A B C D) ยังถูกคั่นด้วยความเงียบเป็นเวลา 4 วินาทีทุกๆ ส่วนอีกด้วย โดยทั้งหมดนี้ Crumb เองก็ยอมรับ ว่าเขาเห็นดนตรีของเขาเกี่ยวพันอยู่กับแนวคิดที่ว่าด้วย Myth เป็นอย่างมาก แต่ทั้งตัวเลขและรูปลักษณ์ต่างๆ นั้นก็เป็นเพียงสัญลักษณ์ของ Myth และเป็นเพียงภาพแทนที่แสนจะพร่าเลือน และการจะอธิบายถึงสาเหตุที่นักแต่งเพลง “เลือก” สัญลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้มาใช้ ก็ยังมีคำอธิบายที่หลากหลาย และคำอธิบายของหลายๆ คนก็ยังเป็นเรื่องของการเลือกที่เป็น “ส่วนตัว” มากๆ และไม่ได้แฝงไปด้วยความเชื่อหรือศรัทธาอันรุนแรงแบบในยุคโบราณแต่อย่างใด (ที่จริงนักแต่งเพลงสมัยใหม่ที่เขียนงานเหล่านี้ หลายคนเป็นผู้ไม่ศรัทธาในศาสนาใดเลยด้วยซ้ำ) สถานะของนักแต่งเพลงสมัยใหม่ จึงเป็นสถานะของผู้ที่ “ผลิต” มายาคติหรือ Myth เหล่านี้ขึ้นมานั่นเอง
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |