เวิ้งวิภาษ หนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน ฉบับประจำวันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม 2557 อติภพ ภัทรเดชไพศาล นิยายเรื่อง Il Coure (แปลว่า Heart หรือดวงใจ) แต่งโดย Edmondo de Amicis นักเขียนอิตาเลียนเมื่อปี พ.ศ. 2429 โดยผู้แต่งระบุว่านิยายเรื่องนี้เหมาะกับเยาวชนอายุระหว่าง 9-13 ปี นิยายเรื่องนี้เขียนจากมุมมองของตัวละครเอก คือเด็กชาย Enricco Bottini เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เขาพบเจอในช่วงปี พ.ศ. 2424-2425 มีตัวละครเป็นเด็กๆ เพื่อนร่วมชั้นเรียน ผู้ปกครอง และครู ในอิตาลีช่วงนั้น ถือเป็นยุคแห่งการสร้างชาติและสำนึกแบบชาตินิยม ดังนั้น เนื้อหาในนิยายสำหรับเยาวชนเรื่องนี้จึงมีลักษณะชาตินิยมอย่างเต็มตัว การเกิดขึ้นของโรงเรียนที่จัดการโดยรัฐ เป็นเสมือนเบ้าหลอมเด็กหลายๆ ประเภทที่มาจากชนชั้นที่ต่างๆ กัน ทั้งคนรวย คนจน กรรมกร ช่างทาสี ไปจนถึงคนชายขอบที่มาจากจังหวัดอันห่างไกล การปะทะทางชนชั้นที่เกิดขึ้นในโรงเรียนจึงเป็นปัญหาที่ไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่การสร้าง “ชาติ” อันหมายความถึง “ความเท่าเทียมกันของประชาชน” ก็เป็นอุดมการณ์สำคัญที่สามารถหลอมรวมเด็กๆ จากชนชั้นต่างๆ นั้นเข้าด้วยกันให้เป็นหนึ่งเดียวได้ ด้วยคำว่า “ชาติอิตาลี” นั่นเอง สำนึกแบบชาตินิยมถูกปลูกฝังลงในนิยาย ผ่านเรื่องเล่าในโรงเรียนที่แทรกอยู่เป็นระยะๆ (นิยายเขียนขึ้นในรูปแบบบันทึกประจำวัน แต่ทุกๆ เดือนจะมีการแทรกเรื่องเล่าพิเศษเรื่องหนึ่ง ที่ Enricco จดจำมาจากคำบอกเล่าของครูอีกทีหนึ่ง) เช่นเรื่องเล่าถึงเด็กชายชาวอิตาเลียนคนหนึ่งที่ได้รับเหรียญเงินจากชาวต่างชาติ แต่ก็กลับขว้างเหรียญเหล่านั้นใส่หน้าชาวต่างชาติเหล่านั้นในภายหลัง เมื่อได้ยินคนพวกนั้นพูดถึงประเทศอิตาลีในแง่ลบ หรือเรื่องที่กล่าวถึงการพลีชีพเพื่อชาติของเด็กชายชาวอิตาเลียน โดยการปีนต้นไม้ขึ้นไปสอดแนมดูข้าศึกจากระยะไกล จนสุดท้ายถูกยิงตกลงมาเสียชีวิต ท่ามกลางความเศร้าโศกและภาคภูมิใจของเหล่าทหารหาญชาวอิตาเลียน นอกจากประเด็นเรื่องชาติ นิยายเรื่องนี้ยังเน้นเรื่องของความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ครูอาจารย์ การรู้จักหน้าที่ของตนเอง ความขยันขันแข็งและอดทน และที่สำคัญ ยังมีแนวคิดที่ค่อนๆ ไปทางฝ่ายซ้าย ในเรื่องของการเห็นอกเห็นใจคนจนและผู้ด้อยโอกาส ดังที่ตัวละครเองในเรื่องจะไม่รีรอเลยที่จะยกของเล่นให้เพื่อนที่ยากจน นิยายเรื่องนี้ยังขับเน้นเรื่องอุดมคติเรื่องความเท่าเทียมของประชาชน โดยแสดงให้เห็นว่าบิดาของตัวละครตัวหนึ่งถึงกับตำหนิบุตรชายของตนอย่างรุนแรง เมื่อเด็กชายดูถูกเพื่อนนักเรียนที่ยากจนกว่า Il Coure เป็นที่จับใจของผู้อ่านจำนวนมาก และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย ทั้งภาษาจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน ฯลฯ (นิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมาก จนเมื่อปี 2524 ยังมีการดัดแปลงนิยายเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ animation อีกด้วย) ในภาษาไทย Il Coure ได้รับการแปลโดยซิม วีระไวทยะ ใน พ.ศ. 2487 ในชื่อเรื่องว่า “ดวงใจ” โดยในฉบับพิมพ์ครั้งแรกมีการตีพิมพ์คำนิยมของพระยาอนุมานราชธนประกอบไว้ด้วย ในส่วนคำนำของผู้เขียน คุณซิมยังกล่าวยกย่องนิยายเรื่องนี้ไว้ว่า “หนังสือเล่มนี้ให้ความสะเทือนใจแก่ข้าพเจ้าอย่างยิ่ง โรงเรียนในต่างประเทศได้ใช้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านในโรงเรียน ต้นฉบับพิมพ์แล้วกว่า 300 ครั้ง ฉบับภาษาจีนพิมพ์ครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2468 และครั้งที่ 18 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2477” โดยในการแปล ผู้แปลได้ “เรียบเรียงเป็นเรื่องไทย อาศัยเค้าโครงของฉบับเดิม” ดังนั้น ชื่อของเด็กชาย Enricco จึงถูกเปลี่ยนเป็นเด็กชาย “ประเสริฐ” ตัวละครประกอบอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คือถูกเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนสัญชาติหมด แต่พฤติกรรมและนิสัยใจคอยังคงยึดตามต้นฉบับอยู่อย่างเคร่งครัด ส่วนชาตินิยมอิตาลี ก็ถูกแปลงร่างให้มาเป็น “ชาตินิยมไทย” อย่างพอเหมาะพอดีกับช่วงเวลานั้น ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการ กับ จอมพล ป. พิบูลสงครามกำลังคร่ำเคร่งสร้างความเป็นไทยกันอย่างรีบด่วน ความเป็นชาตินิยมไทยในนิยายเรื่องนี้จึงปรากฏขึ้นอย่างไม่เคอะเขินแม้แต่น้อย ดังข้อความบางส่วนที่บิดาของประเสริฐสั่งสอนลูกชายไว้ ดังนี้ “ทำไมเราจึงรักประเทศของเรา ปัญหาข้อนี้คงจะเกิดคำตอบสำหรับเจ้าขึ้นตั้งหลายร้อยข้อทีเดียว แต่สำหรับพ่อนั้น พ่อรักชาติไทย เพราะแม่ของพ่อเป็นคนไทย เพราะเลือดที่ไหลอยู่ในท่อโลหิตของพ่อเป็นเลือดไทย... ภาษาที่พ่อพูดและหนังสือที่พ่อเร่ียนเป็นภาษาไทย พี่น้องของพ่อ เพื่อนฝูงของพ่อ มหาบุรุษในสมัยของพ่อ ธรรมชาติอันสวยงามที่อยู่รอบข้างพ่อตลอดจนสิ่งที่พ่อรัก พ่อเรียนและพ่อชมเชยทุกสิ่งทุกอย่างนี้ ล้วนเป็นไทย - ไทยทั้งสิ้น ฉะนั้นพ่อจึงรักชาติไทย พ่อจึงรักเมืองไทย” (ตัวละครบางตัวในเรื่อง “ดวงใจ” ยังถูกวางให้เป็นลูกคนจีนที่มักถูกดูหมิ่น แต่ได้รับการปฏิบัติจากตัวละครฝ่ายดีอย่างให้เกียรติเท่าเทียมกันอีกด้วย) อย่างไรก็ตาม กระแสชาตินิยมขวาจัดก็อาจถูกลัทธิเผด็จการช่วงใช้ได้โดยง่าย ดังนั้นในช่วงเวลาของรัฐเผด็จการอิตาลี หนังสือเล่มนี้จึงได้รับความยกย่องชื่นชมยิ่ง (ไม่ผิดจากจีนและญี่ปุ่นที่ปลูกฝังลัทธิชาตินิยมอย่างเข้มข้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน) นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2505 นักเขียนอิตาเลียนชื่อดังคือ Umberto Eco ยังเคยเขียนบทความวิจารณ์ตัวละครเอกในนิยายเรื่องนี้ว่าเป็นพวกหัวอ่อน และมีแนวโน้มที่จะนิยมชมชอบระบอบเผด็จการ ขณะที่เด็กชายตัวโกงในเรื่องที่ชื่อ Franti กลับเป็นคนที่มีลักษณะเป็นนักปฏิวัติมากกว่า |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
กาลเมื่อก่อนนั้นก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีแลคนเที่ยวไปมาหากันบ่ขาด... | ||
![]() |
||
Thailand Philharmonic Orchestra 10 November 2007 |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |