*/
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
อย่าพูดถึงข่าวที่ดนดัง เว็บใหญ่ โดนมือดีขโมย ยึด เปลี่ยนแปลงข้อมูล ใส่ XSS Code เพื่อ Redirect ผู้เข้าชมไปอีกเพจหนึ่ง แถมหลอกให้ใส่ User , password เพื่อเอาไปใช้ในทางผิดๆเลย พูดถึงเรื่องธรรมดาๆ ของคนธรรมดาที่มีชีวิตบนอินเทอร์เน็ตดีกว่า ผมเจอหลายคน ที่อยู่ดีๆก็ขอให้ช่วย เพราะเข้า Facebook ไม่ได้ , E-mail ถูก Hack ไป , แอดมินเพจใน Facebook บางคน ถูกขโมยเพจดื้อๆ ซะงั้น ชีวิตในโลกออนไลน์ ชักจะอยู่ยากขึ้นทุกวัน แต่ทุกคนก็ต้องรับความเสี่ยง ถ้าหากจะใช้บริการ Two-Factor Authentication ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมานานแล้ว ยกตัวอย่าง เมื่อสมัยที่ผมไปขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบ สด.8 นั้น นอกจากต้องเอาบัตรประจำตัวประชาชน ที่มีรูปถ่ายตรงกับใบหน้าอันหล่อมากของผม ไปแสดงให้สัสดีเห็น สัสดียังให้เซ็นต์ซื่อ หลังจากนั้นจะรับใบกลับ เขายังให้พิมพ์ลายนิ้วมือ ไว้ที่ต้นขั้วอีก นี่คือ Multi-Factor Authentication แบบหนึ่ง เพราะถ้าหากมีคดีความ เกิดขึ้น ทางการจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า ไม่ผิดตัวแน่ เวลาไปทำธุรกรรมที่ธนาคารเหมือนกัน นอกจาก บัตรประชาชนแล้วยังต้องมีลายเซ็นต์ด้วย 2 อย่างคู่กัน ถ้าไม่ตรงกัน ก็ทำธุรกรรมไม่ได้ แต่ชีวิตบนเน็ตไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะบนเน็ตเราไม่มีบัตรประชาชนอินเทอร์เน็ต แม้ว่าจะมีกฎหมายว่าด้วย "Personally identifiable information" (PII) แต่ก็ยังไม่ได้มีผลใช้ในทุกประเทศ โดยเฉพาะฝั่ง AEC ยังไม่มีใครบรรจุเป็นกฎหมาย ดังนั้น ชีวิตบนเน็ต จึงเป็นชีวิตที่ค่อนข้างจะเถื่อนนิดหน่อย หมายถึง ทรัพย์สินไอที ที่เรามีนั้น มันก็ระบุไม่ได้ว่าชัดเจน ว่าของเรา ยกตัวอย่าง e-mail address , facebook page จะระบุได้อย่างไรในทางกฎหมายว่าเป็นของเรา ? แต่ในทางพฤตินัย มันคือทรัพย์สินไอทีของเรา เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมัน เพราะถ้ามันเสียหายไป เราเดือดร้อน! ทรัพย์สินไอที? ผมระบุคำนี้เอง อย่าง Blog ที่ผมเขียนนี่ก็ของผม เป็นทรัพย์สินทางปัญญา , e-mail address ที่ผมใช้สื่อสาร , LINE ID โอ้ย ของผมทั้งนั้นแหละครับ การสูญเสียการควบคุมอีเมล์ ของผม จะเกิดผลอะไรตามมาบ้าง ผมเอาอีเมล์ไปผูกไว้กับ E-Banking , Facebook, EBay , เว็บไซต์ช็อปปิ้งอื่นๆ ลองวาดรูปแบบของความเกี่ยวข้องของอีเมล์ของคุณดูสิครับ มันเกี่ยวข้องกับเว็บไหนบ้าง? หลายคนไม่เคยถามตัวเอง ก็ลองถามนะครับ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหาก E-Mail เราโดย Hack ไม่เฉพาะบรรดาบริการออนไลน์ที่เราเอาอีเมล์ไปผูก แม้กระทั่งเนื้อหาของอีเมล์ ที่อาจจะเป็นลับส่วนตัวของเรา ก็ตกอยู่ในอันตราย ดังนั้น การมีเพียง User name, E-mail address, password แล้วก็ Log-in เข้าใช้งาน นั้น ไม่ปลอดภัยเพียงพอ และใครก็ตามที่ไม่เคยเปลี่ยน password ในการเข้าใช้บริการในโลกออนไลน์ คุณกำลังอยู่ในความเสี่ยง การพิสูจน์ตัวตน ว่าใครเป็นเจ้าของ Facebook ชื่อะไร หรือเจ้าของอีเมล์ชื่ออะไร คือ การใส่ User name, e-mail address พร้อมด้วยรหัสผ่าน กด Log-in ก็เข้าไปใช้งานได้ เราเรียกว่า 1 factor authenticate คือ ใช้สิ่งที่เรามี (อีเมล์) และสิ่งที่เรารู้ คือ password คู่กัน แต่เมื่อมันไม่ปลอดภัยเพียงพอ เราจึงต้องการ Factor ที่ 2 Factor ที่ 2 คืออะไร คือ การตรวจสอบในขั้นที่ 2 ที่จะช่วยระบุว่าเราคือ เจ้าของทรัพย์สินไอทีนั้น จริงๆ ไม่ใช่ตัวปลอม บางเว็บก็ใช้การส่ง One time password เข้ามือถือ เพื่อให้เรายืนยัน วางเว็บก็จะส่ง security code มาทางอีเมล์ เพื่อให้เราใส่ยืนยัน นี่เรียกว่าเป็นการตรวจสอบตัวตน 2 ชั้น ตอนนี้ Google, Hotmail, Yahoo, Facebook, twitter , Dropbox , Paypal มีฟังก์ชัน Two-Factor Authentication หมดแล้ว โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการ Generate code แล้วส่งให้ทางหมายเลขโทรศัพท์ของเรา เพื่อให้เรายืนยัน ส่งให้ทางหมายเลขโทรศัพท์ ปลอดภัยหรือ? พวกโปรแกรมเมอร์ก็คิดตรรกะในการตรวจสอบ ทำอย่างไรจะรู้ว่า โทรศัพท์นั้นเป็นของ User จริง ก็จะต้องให้ user นั้นไปลงทะเบียนเบอร์โทรศัพท์ให้ผูกติดกับบัญชีไว้ก่อน แล้วต้องผ่านการ Verify ก่อน โดยการส่ง code มาให้เรายืนยันกลับ แค่นี้ก็ปลอดภัยในระดับหนึ่ง เพราะการขอ SIM หมายเลขเดิมแทน Sim ที่หายไปจาก Telephone Operator มีกระบวนการตรวจสอบตัวตนแล้วระดับหนึ่ง ไม่ใช่ใครจะโร่ไปขอก็ได้ กลวิธี ในการตรวจสอบ ยืนยันตัวตนเพิ่มเติม นอกจากมีแค่ user name ,password แล้ว ผู้ให้บริการออนไลน์แต่ละแห่งก็คิดกลวิธีแตกต่างกันออกไป เช่น ให้ลงทะเบียนเบอร์มือถือ ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการเงิน อาจจะใช้หมายเลขบัตรเครดิตในการตรวจสอบยืนยันก็ได้ แต่ผู้ให้บริการอีเมล์คงไม่สามารถทำได้ เพราะกรอบของกฎหมายกำหนดไว้ระดับหนึ่ง ยากมั้ย ถ้าหากจะใช้ Two-Factor Authentication ไม่ยากครับ โดยส่วนใหญ่ จะอยู่ใน Account Setting , Security Setting ประมาณนั้น ยกตัวอย่างสัก 3 แห่ง Google ให้ใช้โทรศัพท์มือถือ Facebook ไม่เรียกว่า การตรวจสอบ 2 ขั้นตอน แต่เรียกว่า การอนุมัติเข้าสู่ระบบ เขาอธิบายไว้อย่างเข้าใจง่ายๆ วิธีการ setup ของ Facebook ก็ไม่ยาก ทำตามภาพเลยครับ Microsoft เพิ่งทำมาหลังเพื่อน ถ้าผมจำไม่ผิด เพราะเคยพยายามหาอยู่พักหนึ่ง ไม่เห็น วันนี้มีแล้ว แถมก้าวหน้ากว่ารายอื่น คือ ให้ใช้ทั้งโทรศัพท์ , Application และ การรับรหัสจากอีเมล์ที่ลงทะเบียนและตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว แล้วใช้งานยุ่งยากมั้ย พวกฝ่ายรักษาความปลอดภัยของผู้ให้บริการออนไลน์ คิดและตระหนักอย่างดีกว่า ถ้ามันใช้งานยุ่งยาก เจ็บปวด ใครจะไปใช้ ดังนั้น แม้ว่าจะ เปิดระบบการตรวจสอบ 2 ขั้นตอนแล้ว ก็ยังมีข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องใส่ code เช่น เอาคอมพิวเตอร์ส่วนตัวไปลงทะเบียนไว้ หรือเลือกลงทะเบียนบราวเซอร์ที่เราใช้ประจำ ซึ่งจะลดความซับซ้อนได้ คุณล่ะ พร้อมจะปกป้องทรัพย์สินไอทีของคุณหรือยัง?? |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |