*/
<< | เมษายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |
เมื่อวานนี้(27เมย.57) ผมได้มีโอกาสได้ชม "สืบสานประเพณีลูกหนู" ที่จัดโดย อบจ.ปทุมธานี ณ ลานอเนกประสงค์ ต.บ้านฉาง อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งถือว่าเป็นงานใหญ่ที่สุดของปี มีวัดต่างๆ ส่งเข้าร่วมถึง 24 วัด ซึงการแข่งขันยิงลูกหนู ที่ผมได้ชมเป็นครั้งที่สอง (อ่านเรื่องที่ผมได้ไปชมครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว คลิกที่นี่) ประวัติย่อของการแข่งขันยิงลูกหนู การจุดลูกหนูเป็นประเพณีของคนมอญที่เกิดจากความเชื่อที่ว่าพระสงฆ์เป็นสถาบันที่คนมอญเคารพนับถือมาก โดยเฉพาะพระสงฆ์เป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ การเผาศพต้องทำด้วยความเคารพ ไม่นิยมจุดดอกไม้จันทน์เผาศพพระสงฆ์ด้วยมือตนเอง ซึ่งถือว่าไม่เป็นการสมควร จึงใช้ลูกหนูจุดศพ และมีการสร้างปราสาทสำหรับเผาศพโดยเฉพาะ โดยจะเผาปราสาทไปพร้อมกับเผาศพด้วย เป็นประเพณีเฉพาะวัดที่มีพระสงฆ์มอญเท่านั้น ไม่มีการจำกัดชั้น วรรณะของพระสงฆ์แต่ประการใด ประเพณีนี้ยังคงรักษาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ เดิมทีนั้น การจุดรวมไปกับการจุดดอกไม้เพลิง พระสงฆ์เป็นผู้จุดชนวน ฆราวาสจะยุ่งเกี่ยวไม่ได้ เพราะถือว่า พระสงฆ์เป็นปูชนียบุคคลอันสูงสุดเมื่อจุดลูกหนูวิ่งไปยังปราสาทแล้ว ไฟจากดินปืนจะลุกไหม้เชื้อเพลิงภายในปราสาท ทำให้ปราสาทและโลงศพไหม้ไฟ ถ้าจุดลูกหนูหมดแล้ว ศพยังไหม้ไม่หมด ก็จะช่วยกันเผาต่อไปจนไหม้หมด และก่อนที่จะนำลูกหนูมาจุดนั้น จะต้องมีการแห่กันอย่างใหญ่โต ลูกหนูของใครก็แห่กันมา มีปี่พาทย์มอญ กลองยาว หรือเปิงมาง สุดแต่ว่าใครจะจัดอะไรมาก็ได้ มีสาวๆ สวยๆ ของหมู่บ้านแต่งกายสวยงาม ร่วมฟ้อนรำมาในขบวนแห่ลูกหนูด้วย เนื่องจากมีปัญหาที่แรงวิ่งของลูกหนู บางครั้งทำให้ศพกระจัดกระจาย ดูแล้วเป็นที่อุจาดตาอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ จึงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม โดยสร้างเมรุจำลองสำหรับทำพิธีขึ้นต่างหาก มีปราสาทโลงศพเช่นกัน ส่วนศพจริงๆ นั้น ตั้งไว้ที่เมรุสำหรับเผาจริง เวลาจุดลูกหนูก็จะจุดไปที่เมรุจำลอง ต่อมาการจุดลูกหนูจึงกลายเป็นการเล่นแข่งขันกันในงานศพพระประเภทหนึ่ง โดยส่งตัวแทนของวัด ประมาณ 5-8 วัด หรือมากกว่านั้น สุดแต่ความใหญ่โตของงาน การแข่งขันนี้จะจุดทีละสาย สายละตัวจนครบทุกสาย สายใดลูกหนูวิ่งไปชนยอดปราสาทถือว่าชนะเลิศ จะมีเงินรางวัลให้ตามความสามารถลดหลั่นกันไป เมื่อแข่งขันเสร็จแล้ว จึงมีการเผาจริงอีกครั้งหนึ่ง พิธีจุดลูกหนูนี้จะทำกันในตอนบ่ายของวันเผาจริง (ข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net เรื่อง แข่งขันจุดลูกหนู ประเพณีการเล่นในงานศพเกจิมอญ)
เพื่อนๆ ไปชมการแข่งขันจุดลูกหนูประจำปี 2557 ที่เมืองปทุมฯ หรือบางคนเรียกว่าเป็น "จรวดคนมอญ" กันได้เลยครับ
ป้ายประกาศเชิญชวนให้มาเที่ยวชมงาน "สืบสานประเพณีลูกหนู ๒๕๕๗" จัดโดย อบจ.ปทุมธานี
ผมมาถึงที่นี่ประมาณ 10 โมงเช้า เพิ่งเดินเข้ามาในงาน เลยพบกับทีมงานลูกหนูของวัดแห่งหนึ่ง กำลังดึงลวดสลิงอยู่ต้านหลัง ตำแหน่งที่จะใช้จุดลูกหนูกัน มองไปข้างหน้าจะเห็น... ธง (24 ธง จาก 24 วัด) เขื่อน(ภาษาคนเล่นลูกหนู) และปราสาทที่ใช้เป็นเป้าไว้สำหรับยิงกัน
เดินมาจากภาพที่แล้วประมาณ 100 ม.ก็เห็นเสาธงที่ปักไว้ เพื่อเป็นจุดที่ปล่อยลูกหนู ซึ่งธงนี้จะเป็นตัวที่จะส่งลูกหนูให้วิ่งบนลวดสลิงตรงไปที่เป้าปราสาทที่อยู่ข้างหน้า โดยที่เสานี้จะมีรอกที่ทำหน้าที่ยกลูกหนูให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามแต่คนที่เล็งเป้าหมายข้างหน้า โดยเสาที่ปักจะมีทั้งหมด 24 ต้นหรือมาจากวัด 24 วัด โดยแบ่งเป็นสองฝั่งๆ ละ 12 วัด และแต่ละวัดจะจุดลูกหนูวัดละ 12 ลูก แต่ตอนนี้งานยังไม่เริ่มขอเดินเล่น ไปที่เขื่อนซึ่งเดินไปอีกเกือบ 200 ม.นะครับ
ตรงนี้คนที่เล่นลูกหนูจะเรียกว่า"เขื่อน"ทำมาจากต้นตาล ลูกหนูที่จุดตรงเสาธงจะวิ่งมาตามลวดสลิง และจะวิ่งลอดใต้คานด้านล่างนี้ จากนั้นลูกหนูจะวิ่งไปชนปราสาทที่อยู่ด้านหน้า
งานยังไม่เริ่ม เห็นทีมงานบางวัดยังตอกตะปูย้ำเพื่อดึงลวดสลิงให้แน่น
มองจากเขื่อน ไปที่ปราสาทที่ใช้เป็นเป้า (ระยะห่างประมาณ 100 ม.) จะมีปราสาททั้งหมดอยู่ 3 หลัง ใครยิงปราสาทและทำให้ยอกมาแตะพื้นดินได้ จะได้เงิน 15,000 บ. ส่วนใครที่ยิงเสาปราสาทหักได้เงิน 1,000 บ. ส่วนด้านหน้าเป็นเป้าที่มีไม้ลวกผูกอยู่กับจานสังกะสี ทีมไหนทำให้ล้มได้เอาเงินไป เป้าละ 200 บ. ปราสาทสีแดงกับสีเหลืองต่างกันอย่างไร? เนื่องจากการแข่งขันมีผู้เข้าร่วม 24 วัด เลยทำให้ต้องแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ฝั่ง โดย 12 วัดแรกจะยิงลูกหนูฝั่งสีแดง ส่วนอีก 12 วัดที่เหลือจะยิงลูกหนูฝั่งสีเหลือง ส่วนใครยิงผิดสีจะไม่ได้เงินรางวัล ส่วนปราสาทสีม่วงทีมไหนยิงก็ได้ไม่ผิดกติกาครับ เดินไปเล่นในเต็นท์ที่อยู่ข้างๆ สนามแข่งขันกันบ้างดีกว่า ...
เดินไปพบกับ "ลูกหนู" ที่แต่ละวัดเตรียมมายิงทั้งหมด 12 ลูก แต่ละวัดจะมีวิธีการทำและรูปแบบที่แตกต่างกันไป
แต่ละทีมจะมีชื่อวัดที่เป็นต้นสังกัด
แต่ละวัดก็มีการเรียงลูกหนูทั้งแนวตั้งและแนวนอนแตกต่างกันไป
มาพบกับแชมป์เก่า สนามนี้เมื่อปีที่แล้ว ที่สามารถยิงยอดปราสาทได้ในลูกสุดท้าย เลยได้เงินรางวัลก้อนโตไป ปีนี้ผมเดินเข้าไปทักทาย มีคนในทีมงานจำผมได้ และได้อ่านที่ผมเขียนในบล็อกโอเคเนชั่นด้วย ปีนี้คงเข้ามาติดตามอ่านอีกนะครับ และปีหน้าคงได้พบกันอีก
เดินมาพบเครื่องเซ่นไหว้ของผู้จัดงาน เพื่อหวังให้งานนี้ประสบความสำเร็จไปด้วยดี
ประมาณ 11 โมง ได้เวลาพิธีการสำหรับการเปิดงานในวันนี้ มีวงดุริยางค์เดินนำหน้ามาก่อนขบวนอื่น
และติดตามมาด้วยขบวนอื่นๆ
ขบวนนี้จะแสดงความเป็นคนมอญ ด้วยการแต่งกายและถือธงตะขาบ เพราะเมืองปทุมฯ เป็นแหล่งอาศัยของคนมอญที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย
เด็กๆ มาแสดงการละเล่นไทยๆ ให้ประธานได้ชม และบางคนก็ขี่ม้าก้านกล้วยมาด้วย
สาวมอญแต่งตัวกันอย่างสวยงาม และยิ้มหวานกันทุกคนเลย
สาวมอญคนสวยคนนี้ นั่งอยู่บนรถเบ็นซ์สปอร์ต
ขบวนนี้มี"ลูกหนูยักษ์" (แต่เป็นลูกหนูปลอม) ถ้าเป็นของจริง คงยิงขึ้นไปดวงจันทร์กันได้เลยละครับ
มาเมืองปทุมฯ ถ้าจะสังเกตว่าวัดใดเป็นวัดมอญ ให้ดูหงส์ที่ประดับอยู่ในวัด และต้องเห็นธงตะขาบด้วยนะครับ
สาวๆ ขบวนนี้รำกันอย่างสนุกสนาน
สาวๆ ที่แต่งชุดรามัญก็รำได้อย่างสวยงาม จากนั้นขบวนก็ไปเข้าแถวกันที่หน้าเวทีกลาง พิธีการการเปิดก็เริ่มต้นขึ้น ส่วนผมระหว่างรอประธานพูดบนเวที ผมก็เลยขอตัวไปเดินดู ผู้เข้าร่วมแข่งขันเตรียมตัวยิงลูกหนูลูกแรกกันดีกว่า
วัดต่างๆ ทั้ง 24 วัด กำลังตระเตรียมลูกหนูไว้สำหรับยิงในลูกแรก การยิงลูกหนู จะเริ่มต้นโดยการเตรียมนำลูกหนูมามัดเข้ากับลวดสลิง
โดยจะมีการนำหวายหรือไม้ไผ่หรือเรียกว่า"ตอก" ไปแช่น้ำไว้ก่อน จากนั้น ...
ก็เอาไม้ไผ่ผ่าซีก มาครอบที่สายลวดสลิง จากนั้นจึงนำตอกมามัดหัว กลาง และท้ายของลูกหนู
เมื่อมัดเสร็จ บางวัดก็ทำพิธีไหว้ลูกหนูลูกแรก เพื่อให้ได้ชัยชนะและปลอดภัยจากการแข่งขันในวันนี้
จากนั้น ผู้ทำหน้าที่ดึงลวดสลิงให้สูงขึ้น เพื่อเล็งไปที่เป้าหมาย (บางวัดใช้มือดึงโซ่ แต่วัดนี้ใช้รอกเข้ามาช่วย)
ลูกหนูค่อยๆ ยกตัวสูงขึ้น
จนถึงระดับความสูงที่คิดว่า น่าจะเล็งไปโดนเป้าปราสาทที่อยู่ไกลออกไปเกือบ 300 ม.
จากนั้น ทีมงานของแต่ละวัดจะดันลูกหนูไปไกลจากจุดที่มัดตอกสัก 10 กว่าเมตร เพื่อความปลอดภัย
ลูกหนูแขวนเตรียมพร้อมที่จะจุดกันแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้จุดจะเป็นกาบมะพร้าวผ่าเป็นชิ้น ชุบด้วยน้ำมันดีเซลจากนั้นก็จุดไฟที่ปลายชนวนของลูกหนู
แต่ก่อนจะเริ่มแข่ง ประธานในพิธี(รองผู้ว่าฯ เมืองปทุมฯ) ออกมาจุดลูกหนูเป็นเกียรติสำหรับการแข่งขันในวันนี้
ลูกหนูลูกแรก(จากท่านประธาน) ของปี 2557 กำลังพุ่งไปข้างหน้าแล้ว แต่ลูกนี้ก็พลาดเป้าหมายครับ
จากนั้นแต่ละวัด ก็เริ่มจุดลุกหนูทีละ 2 วัด (สายA(12วัด) กับสายB(12วัด)) สลับกันไปจนครบ 12 ลูก
การจุดลูกหนูจะให้คนที่สำคัญในชุมชนออกมาจุด แต่บางวัดก็ให้พระสงฆ์ ออกมาจุดลูกหนู (สงสัยจะให้พระช่วยมั้ง? 555)
ลูกหนูแต่ละลูกที่ยิงออกไป จะเกิดควันก้อนใหญ่ แถมมีกลิ่นดินปืนให้ผู้ชมได้ดมกันด้วย
เมื่อจุดลูกหนูออกไปแล้ว ในเต็นท์ก็ต้องเตรียมลูกหนูลูกใหม่เข้ามาเสริม แต่เขาจะใช้ตัวคว้าน เพื่อควักเอาพวกดินปืนที่อยู่ด้านหลังออกมาบ้าง ควักมากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่การประมาณของคนคว้าน แต่เป้าหมายก็เพื่อทำให้การยิงมีประสิทธิภาพ ไปชนเป้าหมายให้ได้
เมื่อเสร็จแล้ว ก็จะยกลูกหนูลูกใหม่เข้าไปในสนาม เพื่อเตรียมในการยิงลูกต่อไป
และกระบวนการการจุดฯ ก็จะเหมือนเดิมตามที่ผมได้กล่าวมาแล้ว ทุกทีมก็จะยิงกันไปจนครบ 12 ลูก
เดินไปที่เวทีกลางกันบ้างไปพบกับนายกอบจ.ปทุมธานี คือนายชาญ พวงเพ็ชร์ กำลังทำหน้าที่พากย์การแข่งขันลูกหนูอย่างสนุกสนาน ในภาพทุกคนกำลังลุ้นลูกหนูที่ยิงออกไป
จากจุดเวทีมองไปผู้ชมที่มาดูการแข่งขันลูกหนูในวันนี้ ส่วนมากจะพกร่มกันแดดมาด้วย เพราะวันนี้เป็นวันที่ร้อนที่สุดในรอบปี เพราะพระอาทิตย์จะอยู่ใกล้โลกมากที่สุด ส่วนผมมีแค่หมวกแก็ปใบเดียว ไว้สู้แดดครับ ผมขอเดินไปที่"เขื่อน"ที่อยู่ข้างหน้าอีกสัก 100 กว่าม.นะครับ
เดินมาถึงเขื่อน ตำแหน่งตรงนี้จะเห็นลูกหนู วิ่งเกาะมากับลวดสลิง เมื่อมาถึงเขื่อนก็จะมุดอยู่ข้างล่างคาน และจะลอยไปชนปราสาทที่อยู่ข้างหน้า
ผู้ชมถูกจัดให้ชมในพื้นที่ที่จัดไว้ ห้ามเข้าไปใกล้มากนัก เพราะ.. ถ้าเข้าไปใกล้ จะอันตรายมาก เพราะลูกหนูอาจจะแตก และอาจมีเศษไม้หรือดินปืน ลอยมากระแทก และอาจจะทำให้แข้งขาหักหรือเสียชีวิตกันเลยละครับ ดังนั้นจึงเห็นป้าย "เขตอันตราย ห้ามเข้า" เป็นระยะๆ เดินไปข้างหน้าอีกสัก 50 เมตร ...
จะเห็นลูกหนูที่จุดมา ผ่านตัวปราสาทแบบเฉี่ยวไปเฉี่ยวมา ไม่โดนจังๆ สักลูกเลย
ตรงใกล้ๆ กับปราสาทจะมีกรรมการ 2 ฝั่งคอยยกธงแดงและธงขาว ในขณะที่เล่นยิงลูกหนูกันอยู่ ถ้ากรรมการยกธงแดงคนยิงก็ต้องหยุดยิงก่อน เพราะกรรมการที่ตรงเป้านี้อาจเข้าไปทำภารกิจสักเล็กน้อย เช่น เก็บจานสังกะสีที่ถูกยิงล้มเพื่อเอามาให้วัดที่ได้รางวัล เป็นต้น
ด้านหลังกรรมการที่ยกธง จะมีโต๊ะกรรมการคอยจ่ายรางวัลกันทันทีเมื่อลูกหนูวิ่งไปชนจุดต่างๆ ที่ตั้งรางวัลกันไว้ ในภาพวัดนี้รับเงินรางวัล 1,000 บ.เพราะลูกหนูวิ่งไปชนเสาปราสาทหักได้
ระหว่างยืนอยู่ในเต็นท์กรรมการ ปรากฎว่ามีลูกหนู (ยิงกันรอบที่ 4) จากวัดโบสถ์ได้ยิงปราสาทลงมาแตะพื้นดินได้ การแข่งขันจึงหยุดชั่วคราวเพื่อให้กรรมการ เข้าไปดูว่ายอดปราสาทแตะพื้นจริงๆ หรือไม่? ผมก็เลยติดสอยห้อยตามเขาเข้ามาดูกับเขาด้วย ก็เลยบันทึกภาพเป็นสักขีพยานไว้ครับ
สมาชิกทีมงานวัดโบสถ์ จึงได้พยายามดึงปลายปราสาทออกมาเพื่อไปขึ้นเงินรางวัล 15,000 บ. จากนั้นทุกคนก็เตรียมเดินออกไปจากจุดตรงนี้ เพื่อจะได้ดำเนินการแข่งขันกันต่อไป
ระหว่างการเดินออกจากสนาม ผมก็เลยบันทึกปราสาทอีก 2 หลังที่เหลือ เพื่อนๆ คิดว่าปราสาทที่เหลือมีโอกาสล้มลงมาหรือไม่ครับ? (ปราสาทสีแดงใกล้ล้มลงมามากๆ แล้วครับ)
ตอนนี้ประมาณเที่ยงกว่าๆ (ยิงลูกหนูกันถึงรอบที่ 6 แล้ว) ควันยังกระจายเต็มไปหมด ต้องขออภัยที่ไม่สามารถพาเพื่อนๆ ชมได้จนจบการแข่งขันได้ เนื่องจากผมติดภารกิจในช่วงบ่าย ผมจึงขอเดินทางกลับบ้านก่อนนะครับ
*************************************************************
หวังว่าเพื่อนๆ คงมีความสุขที่ได้ชมประเพณี "การแข่งขันยิงลูกหนู" หรือที่เรียกว่า "จรวดคนมอญ" พบกันใหม่กับ "ประเพณีการแข่งขันจุดลูกหนู" ในปี 2558 กันอีกนะครับ ... -501- *************************************************************
หมายเหตุปีนี้ไม่ได้บันทึกคลิป เลยเอาภาพที่บันทึกไว้เมื่อปีที่แล้วมาให้ชมกันครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |