*/
<< | กรกฎาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปชมต้นฟักข้าวที่ผมได้ปลูกมา 2 ปี ได้ออกลูกเป็นครั้งแรกให้ผมได้เชยชม โดยปกติต้นฟักข้าวทั่วๆ ไปจะออกลูกตอนอายุ 6-8 เดือน แต่เนื่องจากฟักข้าวที่ผมปลูกนั้น ปลูกอยู่ในกระถางพื้นที่มีจำกัด จึงทำให้การออกลูก ช้าออกไปตั้งปีกว่า Entry นี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมพยายามเก็บภาพ และศึกษาฟักข้าวมาเกือบ 2 ปีกว่า จึงทำให้ทุกวันนี้ ผมพอจะรู้จัก "ฟักข้าว" พอสมควร จึงขอแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับฟักข้าวให้รู้จักกันมากขึ้น แต่ก่อนอื่น อยากให้เพื่อนๆ รู้จักประโยชน์ของฟักข้าวกันก่อนนะครับ ฟักข้าว (Gac Fruit) มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูงมาก เช่น Beta Carotene (มากกว่าแครอท 30 เท่า) , Lycopene (มากกว่ามะเขือเทศ 70 เท่า), Vitamin A, Olieic acid, Palmitic acid, Linoleic, Omega-6, Omega-3 ฯ จึงเป็นการเสริมอาหารให้กับร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันอาการ ดังนี้ - ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันมะเร็ง - ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอความแก่ - ช่วยป้องกันภูมิแพ้ - ช่วยป้องกันการติดเชื้อ - ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคโลหิตจาง - ช่วยป้องกันและรักษาอาการตับอักเสบ - ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและการเติบโตของเด็กให้แข็งแรง - ช่วยป้องกันเยื่อนัยน์ตาแห้งที่มีสาเหตุจากสารสำคัญในเรติน่า - ช่วยป้องกัน และบรรเทาการขาดวิตามิน และสารอาหารต่างๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ - ช่วยให้อัตราการเผาผลาญพลังงานสม่าเสมอ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมอาหารได้ดียิ่งขึ้น - ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด - ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อจากการใช้รังสี ได้รับสารพิษจากการที่บริโภคมากเกินไป และสารพิษต่างๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในผัก ผลไม้เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งนี้ยังช่วยปรับสภาพร่างกายให้ฟื้นฟูโดยเร็ว ฟักข้าวมีประโยชน์เยอะจริงๆ บางคนจึงให้สมญานาม "ฟักข้าว" ว่าเป็น ผลไม้จากสวรรค์ (Fruit of Heaven)
ตอนนี้ขอนำเพื่อนๆ ไปชม "ฟักข้าวลูกแรก" ที่ผมปลูก กว่าจะได้ลูกตั้ง 2 ปีกว่ากันได้เลยครับ
ช่วงปลายปี 2554 ฟักข้าวต้นนี้ ได้ถูกซื้อมาจากงานเกษตรกำแพงแสน (อ่านเรื่องเก่า คลิกที่นี่) ฟักข้าวที่ได้ซื้อมาได้ปลูกลงกระถางประมาณต้นปี 2555 (ปลูก 2 ต้นตายไป 1 ต้น)
วันเวลาผ่านไป 2 ปี ฟักข้าว 1 ต้นที่เหลือ โคนต้นก็มีขนาดใหญ่โตมากขึ้น ดังภาพ
แต่เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ ว่าฟักข้าวมีอายุยืนยาวเท่าไร? คำตอบ คือ "50 ปี" โอ้โห ! ช่างมีอายุยืนยาวจริงๆ ผมจึงมามองดูโคนต้นฟักข้าวที่ผมปลูก นี่ขนาดอายุ 2 ปี ยังใหญ่ขนาดนี้ แล้วถ้า 50 ปี โคนต้นจะใหญ่ แค่ไหนละเนี่ย?? ยากจะจินตนาการจริงๆ
ในระหว่างการปลูก 2 ปีผมก็พยายามศึกษาดูว่า ฟักข้าวที่ผมปลูกอยู่นี้ เป็นตัวผู้หรือตัวเมีย? ถามคนขายต้นไม้หลายคน แต่ไม่เห็นมีใครตอบ ให้ผมเข้าใจได้สักคน ไม่เป็นไร? ปลูกไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็คงรู้เองได้สักวัน ว่าต้นฟักข้าวที่ผมปลูกนี้มีเพศอะไร? กันแน่
แต่สิ่งหนึ่งที่ได้จากการปลูกช่วงนี้ก็คือ ยอดอ่อนของฟักข้าว ได้ถูกผมเด็ดเอามาทำอาหารเป็นประจำ ยอดอ่อนสามารถนำไป ต้มจิ้มน้ำพริก กินสดใส่ในสลัด ในยำ ในแกงเผ็ด หรือผัดน้ำมันหอย เป็นต้น ยอดอ่อนของฟักข้าว ยิ่งเด็ดก็ยิ่งแตกออกครับเพื่อนๆ ช่วงแรกๆ ก็นำมาทานเอง แต่ตอนหลังมีมากขึ้น ก็เอาไปให้เพื่อนที่สนิทได้ทานกัน
ฟักข้าวจะมีใบเยอะมาก ต้องคอยพยายามดูแลตัดใบทิ้งบ่อยๆ
เมื่อฟักข้าวมีใบแก่ๆ ควรจัดการแต่งใบและต้นให้ดูดี ส่วนชาวสวนฟักข้าวมืออาชีพ มักแต่งกิ่งและใบหลังจากที่ฟักข้าวให้ผลผลิตแล้ว ส่วนผมปลูกมาปีกว่า ก็ยังไม่มีท่าทีว่า ฟักข้าวจะให้ผลผลิตสักลูก เลยไปหาต้นฟักข้าวอีก 1 ต้นมาปลูก
ต้นฟักข้าวต้นที่สอง ก็ปลูกอยู่อีกฝั่งหนึ่งของประตูทางเข้าบ้าน ปลูกไปก็ไม่รู้ว่าจะเป็นตัวเมียหรือตัวผู้ โดยต้นที่สองนี้ ผมปลูกลงดิน ไม่ใส่กระถางเหมือนต้นแรก
จนกระทั่งเวลาผ่านไปประมาณ 6 เดือน ต้นฟักข้าวต้นที่สองก็เริ่มมีดอก ตอนแรกก็ดีใจคิดว่า ฟักข้าวออกดอกแล้ว เดี๋ยวก็คงให้ลูกตามมา เลยไปหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต เลยทำให้ทราบว่า ต้นที่่ออกดอกนี้เป็น "ต้นตัวผู้" โดยดูจาก ...
กระเปาะที่คล้ายกาบฝาหอยแครง จะมีในต้นฟักข้าวตัวผู้เท่านั้น จากนั้นกระเปาะก็จะบานเป็นดอกสีเหลืองอ่อนๆ ในภาพด้านบน ผมได้ทำลูกศรชี้ให้เห็นว่า ฟักข้าวตัวผู้ มีกระเปาะและดอกสีเหลืองอ่อนบานเต็มไปหมดเลย
มาชมกระเปาะของฟักข้าวตัวผู้แบบใกล้ชิดกันสักหน่อย เพื่อนๆ ดูเหมือนกาบฝาหอยแครงไหมครับ? กระเปาะนี้ยังไม่บาน แต่ถ้าดอกในกระเปาะบานแล้ว จะมีดอกสวยๆ ดังภาพด้านล่าง ...
นี่ไงครับ ...ดอกฟักข้าวตัวผู้ ที่กำลังบานเต็มที่ กลีบดอกจะมี 5 กลีบและบาง ตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้ ในระหว่างที่ต้นตัวผู้ออกดอก ผมก็พยายามสังเกตฟักข้าวต้นแรกว่า จะออกดอกให้เชยชมบ้างไหมหนอ?
เวลาผ่านไป 2-3 เดือน (หลังจากต้นตัวผู้ออกดอก) ต้นฟักข้าวต้นแรก ก็ได้ออกดอกแรกให้ผมได้เชยชมแล้ว แต่ลักษณะของดอกที่ออกไม่เหมือนกับฟักข้าวต้นตัวผู้ เพราะลักษณะของดอกที่บาน จะมีลูกฟักข้าวสีเขียวเล็กๆ อยู่ด้านล่าง หรือต้นที่ผมปลูกนี้เป็น ต้นฟักข้าวตัวเมีย? เย้ !! ดีใจจะได้ "ลูกฟักข้าว" กับสักที
เลยไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับการออกดอกของต้นตัวเมีย ซึ่งทำให้รู้ว่า ดอกฟักข้าวตัวเมีย จะออกดอกให้เห็นประมาณ 3-4 วัน จากดอกเล็กๆ ในวันแรกจนเริ่มโรยในวันที่ 4 แต่ดอกจะบาน และพร้อมจะผสมพันธุ์กับเกสรตัวผู้ ได้ตลอดทั้งวัน ในวันที่ 3 ไม่ว่าช่วง เช้า สาย บ่าย เย็น (มีบางคนบอกว่าเวลาที่เหมาะสมมากที่สุดคือ ช่วง 9-10 โมงเช้า) แต่เนื่องจากผมต้องทำงานนอกบ้าน จึงขอมาทำการผสมเกสรช่วงเย็นๆ นะครับ
กลับมาถึงบ้านประมาณ 5 โมงเย็นนิดๆ เลยต้องรีบทำการผสมเกสรให้กับต้นฟักข้าวตัวเมีย เพราะถ้าเราไม่ช่วยเขา แล้วรอให้ผึ้งหรือแมลงต่างๆ ทำการผสมเกสรให้ การผสมเกสรอาจจะไม่สำเร็จก็ได้ เพราะระหว่างวันอาจไม่มีผึ้งหรือแมลงมาช่วยผสมเกสรเลยก็เป็นได้ ดังนั้น เราจึงต้องช่วยเขาผสมเกสรแทนผึ้ง จึงจะมั่นใจได้ว่า ฟักข้าวติดลูกแน่ๆ
ต้นฟักข้าวดอกตัวเมีย นี้อยู่สูงมาก เขาเลื้อยขึ้นไปอยู่บนต้นมะกรุูด (ต้นมะกรูดกำลังยืนต้นใกล้ตาย) ผมจึงต้องปีนบันไดขึ้นไป ทำหน้าที่เป็นหมอฟักข้าวครับ
ปีนบันไดขึ้นมา ได้เห็นดอกฟักข้าวตัวเมียได้ชัดเจนมากขึ้น ช่วงเย็นๆ แบบนี้ กลีบดอกฟักข้าวตัวเมียได้โรยราไปหมด เหลือแต่เกสรตัวเมียสีเหลืองที่ดูเด่นเป็นสง่า ถ้าเกสรตัวเมียไม่ได้มีการผสมจากตัวผู้ ลูกสีเขียวนี้ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและก็จะโรยและฝ่อไปเอง เอาละ ! เมื่อตัวเมียพร้อม แล้วดอกตัวผู้ตอนเย็นๆ แบบนี้ จะมีไหมหนอ?
โอ ้ ! โชคดี ยังพอมีดอกตัวผู้ 1 ดอก ที่กำลังบานอยู่ ผมจึงขอเด็ดไปเพื่อไปจูจุ๊บกับดอกตัวเมียนะครับ
ปีนบันไดขึ้นมาขึ้นมาอีกครั้ง แล้วเอาดอกตัวผู้และตัวเมียจับถ่ายภาพ ก่อนที่จะจูจุ๊บกัน
ภาพนี้เป็นภาพดอกฟักข้าวตัวผู้ที่อยู่ในมือผม กำลังไปแตะกับเกสรตัวเมีย แตะสัก 5-10 วินาที
ละอองของเกสรตัวผู้ (สีส้ม) ก็ไปแตะอยู่บนเกสรตัวเมียแล้ว เห็นแบบนี้อย่าเพิ่งมั่นใจว่า จะติดลูกนะครับ เพราะบางครั้งอาจจะเจอฝนตก ละอองของตัวผู้ก็อาจจะหลุดได้เหมือนกัน ต้องรอดูผลการผสมอีกสัก 1 สัปดาห์ ถ้าประสบความสำเร็จ ลูกฟักข้าวสีเขียวจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพนี้เป็นสภาพดอกตัวผู้ที่ได้ไปเชยชมดอกตัวเมีย ดูสภาพอิดโรยเสียเหลือเกิน
สัปดาห์ที่ 1 หลังจากที่ได้จับเกสรตัวผู้มาผสมกับเกสรตัวเมีย ลูกฟักข้าวสีเขียวที่อยู่ด้านล่างของเกสรตัวเมียก็เริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนเกสรตัวเมียก็มีสภาพดังภาพ
สัปดาห์ที่ 2 ลูกฟักข้าวเริ่มมีหนามเขียวๆ อยู่รอบๆ ลูก แต่เมื่อเอามือจับ หนามนี้ไม่แหลมเลยครับ
สัปดาห์ที่ 3 ลูกฟักข้าวมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มมีสีส้มที่ปลายๆ ของหนาม
สัปดาห์ที่่ 4 ลูกฟักข้าวมีขนาดใหญ่มากขึ้น และเริ่มมีสีส้มที่ปลายหนามมากขึ้นเรื่อยๆ
สัปดาห์ที่ 5 ลูกฟักข้าวมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย
สัปดาห์ที่ 6 สีเขียวของลูกฟักข้าวเริ่มหดหายไป แต่สีเหลืองจะเริ่มเข้ามาแทนที่ แต่ที่หนามก็ยังเป็นสีส้ม
สัปดาห์ที่ 7 ลูกฟักข้าวทั้งลูกเป็นสีเหลืองไปแล้ว หนามก็เริ่มเป็นสีเหลืองทั้งอัน แต่ก็ยังมีตรงปลายบางส่วนของลูกฟักข้าวก็ยังมีสีส้มอยู่
สัปดาห์ที่ 8 ทุกส่วนของลูกฟักข้าวได้เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหมดแล้ว ชาวสวนฟักข้าวมักจะตัดมาขายในสภาพลูกเหลืองแบบนี้ แต่บางคนก็ตัดในสัปดาห์ที่ 9
สัปดาห์ที่ 9 ลูกฟักข้าวจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีส้มๆ แดงๆ แล้ว ชาวสวนมักตัดออกมาขายในสัปดาห์ที่ 8 หรือ 9 แต่จะไม่ปล่อยให้ถึงสัปดาห์ที่ 10 เพราะจะแก่มากเกินไป แต่ผมปลูกเองจึงสามารถปล่อยไว้ได้ถึงสัปดาห์ที่ 10 ครับ
สัปดาห์ที่ 10 ลูกฟักข้าวทั้งลูก ตอนนี้เป็นสีแดงไปทั้งลูกแล้ว ซึ่งพร้อมที่จะให้ผมได้ตัดแล้ว
ลูกสาวเลยขอถ่ายภาพฟักข้าวลูกแรกของบ้านไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งหลังจากที่ได้ตัดฟักข้าวลูกแรกแล้ว ปรากฎว่า ลูกฟักข้าวใบที่ 2 3 4 ...ก็ได้หลั่งไหลออกมาเรื่อยๆ ตอนนี้ตัดได้เป็นสิบลูกแล้วครับ
หลังจากนั้น เด็กๆ ก็ได้เรียนรู้การผสมเกสรตัวผู้ โดยนำไปแตะที่เกสรของต้นตัวเมีย และได้เห็นพัฒนาการลูกฟักข้าวตั้งแต่วันแรกจนถึงวันเก็บเกี่ยว ซึ่งที่โรงเรียนของเด็กๆ คงไม่ได้เรียนรู้จากของจริง เหมือนอยู่ที่บ้านตนเองแบบนี้
**************************************************************************
วันนี้ผมได้พาเพื่อนๆ มารู้จักการดูฟักข้าวตัวผู้ และตัวเมีย นอกจากนี้ยังได้ดูพัฒนาการของลูกฟักข้าวตั้งแต่วันแรกจนกระทั่งวันสุดท้ายที่ได้เก็บเกี่ยว โดยปกติชาวสวน เขาจะปลูกฟักข้าวประมาณ 6-8 เดือนก็ได้ผลผลิตกันแล้ว แต่ผมกลับใช้เวลาถึง 2 ปีกว่า เพราะต้นฟักข้าวผมไปปลูกในกระถาง เนื่องจากที่บ้านผม มีพื้นที่จำกัด เลยทำให้ได้ลูกช้าไปหน่อย (แค่ปีกว่าๆ เอง) การบันทึกการลูกฟักข้าวลูกแรกนี้ ใช้เวลานานถึง 2 ปีกว่า นับว่าเป็นเวลาที่นาน แต่ก็คุ้มค่ากับประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้การปลูกฟักข้าวเป็นอย่างมากครับ ไม่เสียดายเวลาเลยจริงๆ
เพื่อนๆ อ่านเรื่องนี้แล้วอยากปลูกฟักข้าวนานสัก 2 ปีกว่าๆ เหมือนผมบ้างไหมครับ? และมีต้นไม้อื่นๆ อะไรบ้างครับ ที่เพื่อนๆ ใช้เวลานานมากๆ ในการรอ กว่าที่จะได้ผลผลิตบ้างไหมครับ?
หมายเหตุ รวมงานเขียน เรื่อง "ฟักข้าว" โดยคนปทุมรักสุขภาพและครอบครัว คลิกที่นี่ -1234- |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |