*/
<< | มิถุนายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านที่นครปฐม (เกือบ 2 เดือนแล้ว ไม่ได้ไปเยี่ยมบ้านเลย) พอดีได้อ่านป้ายแผ่นหนึ่งริมถนน มีข้อความว่า ... " เรารัก หวงแหน สมบัติอันล้ำค่าในจังหวัดนครปฐม ชาวจังหวัดนครปฐม ขอคัดค้านการย้าย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ไป อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี (โบราณศิลปวัตถุ 1,873 รายการ) " ดังภาพด้านล่าง ...
เมื่อเห็นแล้ว ก็เลยอยากลงพื้นที่ไปดูว่า หลังจากท่ีมีเรื่องมีราวกันเกี่ยวกับแนวความคิด ที่จะย้ายโบราณวัตถุที่เก็บในพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้ไปที่พิพิธภัณฑ์ฯ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จนชาวนครปฐมคัดค้านรวมตัวกัน ซึ่งเพื่อนๆ คงได้ทราบจากสื่อต่างๆ มาบ้างแล้ว (เช่น ข่าวที่ 1 ข่าวที่ 2 ข่าวที่ 3 เป็นต้น) และผลจากการพูดคุยก็สรุปกันตรงที่ให้พิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้ยังคงอยู่ แต่จะมีการย้ายสถานที่ไปสร้างที่แห่งใหม่(เช่น ข่าวที่ 1 ข่าวที่ 2 ข่าวที่ 3 เป็นต้น ) ซึ่งเป็นพื้นที่ของเรือนจำนครปฐม(เก่า) ซึ่งอยู่ห่างจากที่เดิมเพียง 200 เมตร
วันนี้ผมจึงขอเพื่อนๆ ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม และสถานที่แห่งใหม่ที่กำลังมีการวางแผนย้ายไปสร้างกันอีกด้วยครับ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ ตั้งอยู่ภายในรั้วพื้นที่ขององค์พระปฐมเจดีย์ จะอยู่ฝั่งตรงข้ามกับฝั่งพระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งด้านที่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์ฯ นี้ จะมีพระพุทธรูปเก่าชื่อ หลวงพ่อขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวนครปฐมเช่นเดียวกัน อยู่ไม่ไกลจากตำแหน่งในภาพ (~50 ม.) ก่อนอื่นไปอ่านประวัติของพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้กันก่อนนะครับ
ประวัติของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ มีประวัติ ดังนี้ ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นภายหลังการย้ายเมืองนครชัยศรี จากตำบลท่านามายังบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์ในปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ทรงมีพระราชดำริให้รวบรวมโบราณวัตถุในเมืองนครชัยศรีขึ้น เจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี จึงมอบหมายให้หลวงพุทธเกษตรานุรักษ์ (จร จรณี) และหลวงไชยราษฎร์รักษา(โพธิ์ เคหะนันท์) เป็นผู้ดำเนินการ โบราณวัตถุที่รวบรวมได้ในระยะแรกได้ถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ กระทั่งใน พ.ศ.2454 จึงได้ย้ายไปไว้ในวิหารตรงข้ามพระอุโบสถ ซึ่งต่อมาเรียก พระปฐมเจดีย์พิพิธภัณฑสถาน (อยู่ในความดูแลของวัดพระปฐมเจดีย์) และในปี พ.ศ.2477 ได้ยกฐานะเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในความดูแลของกรมศิลปากร และเมือจำนวนโบราณวัตถุมากขึ้น ทำให้อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหลังเดิมคับแคบ ใน พ.ศ.2510 กรมศิลปากรได้จัดงบประมาณให้สร้างอาคาร พิพิธภัณฑสถานหลังปัจจุบันขึ้น และเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑสถานหลังเดิมมาจัดแสดง โดยโบราณวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นช่วงอดีตที่รุ่งเรืองของดินแดนนครปฐม (อ้างอิง : แผ่นพับ"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์" ได้รับเมื่อ 13 มิถุนายน 2558 )
หาที่จอดรถได้แล้ว ก็ขอเดินดูรอบๆ กันก่อน ไปพบกับแผ่นผ้าสีเหลือง ติดอยู่ริมรั้วด้านหลัง ของพิพิธภัณฑ์ฯ ซึ่งเป็นแผ่นผ้าที่ชาวนครปฐม ได้เขียนระบายถึงความรู้สึกที่มีต่อพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้ โดยแผ่นผ้านี้ คงเป็นจุดหนึ่งที่เป็นกิจกรรมที่ได้ช่วยกันเขียนแสดงการคัดค้าน การย้ายวัตถุโบราณที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้ย้ายไปพิพิธภัณฑ์ฯ ที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี นี่ถ้าตอนนี้ ผมพักอยู่ที่นครปฐม ผมก็คงเข้าร่วมกิจกรรมนี้กับเขาด้วยแน่นอน
ตัวหนังสือที่เขียนบนแผ่นผ้าส่วนมาก จะลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว เพราะเวลาผ่านมาเกือบ 2 เดือนแล้ว แต่ก็ยังพอมีภาพที่ยังให้ดูเป็นตัวอย่างได้บ้าง ดังรูปด้านบนครับ เอาละ..เดินไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ด้านในกันดีกว่าครับ
การเข้าเยี่ยมชมด้านในต้องเสียค่าเยี่ยมชม 20 บ.ส่วนเด็กๆ เข้าฟรี เขาเปิดทุกวัน ตั้งแต่ 9.00-16.00 น.ครับ การจัดแสดง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 1 นี้เริ่มต้นด้วยการแนะนำลักษณะทั่วไปของ จ.นครปฐมในปัจจุบัน
จากนั้นเมื่อเดินเข้ามาอีกเล็กน้อย ก็จะย้อนไปในอดีตเพื่อให้ทราบว่า ก่อนจะมาเป็นนครปฐมในปัจจุบัน ดินแดนแห่งนี้ มีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ มีที่มาที่ไปอย่างไร โดยมีหลักฐานมาแสดงกันให้เห็นก็จะเป็น อาวุธที่ใช้ล่าสัตว์ เครืองใช้ เครื่องประดับ เป็นต้น
ขวานที่ทำจากหิน ที่มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ใช้ล่าสัตว์เพื่อการดำรงชีวิต
เริ่มมีการพัฒนาจากขวานหินมาเป็นขวานโลหะ
ภาชนะยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคสำริด
ในส่วนที่ 1 นี้ยังแสดงโบราณวัตถุของรูปปั้นของพระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย
เศียรพระพุทธรูปนี้ก็เช่นกัน
ดินแดนแห่งนี้ได้มีการติดต่อรับพุทธศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดีย เข้ามาผสมผสานกับความเชื่อและวัฒนธรรมของท้องถิ่น จนพัฒนามาเป็น ... ชุมชนยุคต้นประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันในชื่อ ทวาราวดี (อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16) (อยากอ่านข้อมูล "คนทวาราวดีที่นครปฐม" และ"ทวาราวดี ชื่อนี้มีที่มา" กรุณาคลิกที่ภาพครับ)
จากภาพ ในอดีตพื้นที่ที่เป็นสีฟ้า เคยเป็นทะเลมาก่อน รวมทั้งนครปฐมด้วย เลยทำให้เป็นเมืองที่สำคัญในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทำให้มีการรับวัฒนธรรมจากต่างชาติเข้ามาโดยเฉพาะพุทธศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดีย
แผนที่แสดงเมืองนครปฐมและเมืองเก่าแห่งอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ประเทศไทยในปัจจุบัน
ในพิพิธภัณฑ์ฯ มีการแสดงเครื่องปั้นดินเผาในดินแดนทวาราวดี ที่มีรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันออกไป
มีเครื่องประดับ และรูปปั้นแสดงลักษณะหน้าตาและการแต่งกายของคนพื้นเมือง
ของชิ้นนี้จำไม่ได้ครับว่าเป็นอะไร? (มีโอกาสไปอีก จะนำมาเขียนเพิ่มให้ครับ) (ที่จริงมีของให้ชมมากกว่านี้ แต่ถ่ายภาพมาไม่หมดครับ)
ส่วนที่ 2 พื้นที่ส่วนที่ 2 นี้ จัดเป็นส่วนศาสนาและความเชื่อของชุมขนสมัยทวาราวดี
โดยสะท้อนผ่านงานศิลปกรรมต่างๆ โดยเฉพาะศิลปกรรมเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท อันเป็นความเชื่อหลักในวัฒนธรรมสมัยทวาราวดี <การมาในวันนี้ทำให้ลูกสาวผม เลยได้รับความรู้เรื่องราวในสมัยทวาราวดีไปมากมาย>
มีเรื่องราวประติมากรรมในสมัยทวาราวดีให้อ่านกัน
ได้เห็นประติมากรรมที่เป็น "ธรรมจักร" ที่ทำจากหินศิลา งานชิ้นนี้คงเก่าแก่มาก ๆๆๆ
ได้มาเห็น "กวางหมอบ"(มีอยู่ 2 ชิ้น) สมัยทวาราวดีในพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้แล้ว นับว่าเป็น บุญตาของชีวิต ที่ได้เห็นของเก่าที่หายาก และงดงามเช่นนี้
ได้เห็นชิ้นส่วนของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ แต่ก็มีคุณค่าเป็นอย่างมากต่อชนรุ่นหลัง
ของชิ้นนี้จำไม่ได้ครับว่าเป็นอะไร? (มีโอกาสไปอีก จะนำมาเขียนเพิ่มให้ครับ)
ส่วนหนึ่งของ "สถูป" ที่อยู่บนยอดเจดีย์ ดูแล้วคล้ายโอ่งยักษ์
ตรงนี้หัวข้อเขาเขียนหัวข้อว่า ""พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี" (ต้องขออภัยเพราะไม่ได้เข้าไปอ่าน เลยไม่ทราบเรื่องราวจุดนี้ มีโอกาสจะนำมาเขียนข้อมูลเพิ่มครับ)
ส่วนหนึ่งของพื้นที่ ได้จัดแสดงองค์จำลองของ "เจดีย์จุลประโทน" ดูแล้วคล้ายๆ กับเจดีย์ที่อยู่วัดพระประโทนเจดีย์ ซึ่งไม่ไกลจากองค์พระปฐมเจดีย์(~4-5 กม.)
อ่านเรื่องราวของเจดีย์จุลประโทนกันนะครับ (คลิกที่รูปภาพ จะทำให้อ่านง่ายขึ้น)
อีกห้องหนึ่งมีธรรมจักรจำนวนมาก ธรรมจักรนี้แสดงถึงตัวแทนของพุทธศาสนา ที่มีความรุ่งเรืองในสมัยทวาราวดี
อ่านเรื่องราวของธรรมจักร (ถ้าต้องการอ่านเรื่องธรรมจักร ให้คลิกที่ภาพนะครับ)
ในห้องมีธรรมจักร ที่ทางพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแยกต่างหากไว้ 2 ชิ้น แต่ไม่รู้ความสำคัญว่า ทำไม? ต้องแยกออกมาจัดไว้ต่างหาก
ส่วนที่ 3 ส่วนห้องนี้ จะนำเสนอเรื่องราวของนครปฐม ภายหลังสมัยทวาราวดีผ่านไป
จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฎิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์
โดยสร้างเจดีย์ใหญ่ครอบองค์เจดีย์เดิม
แสดงเส้นทางของรัชกาลที่ 4 ที่เสด็จมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ โดยใช้เส้นทางจาก แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกน้อย คลองมหาสวัสดิ์ แม่น้ำท่าจีน และเข้าคลองเจดีย์บูชา
มีการบูรณะปฎิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ลุล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เมืองนครปฐมได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มณฑลนครชัยศรี"
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น เมืองนครปฐมได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ก่อนนที่จะยกฐานะมาเป็นจังหวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนที่ 3 นี้จะเป็นห้องสุดท้ายของการชมพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งนี้
จากนั้น ผมก็เดินออกไปด้านนอก เพื่อไปดูสถานที่สร้างพิพิธภัณฑ์ฯ แห่งใหม่ห่างออกไป ~200 เมตร
สามารถมองเห็นได้จากริมรั้วในพื้นที่องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งพื้นที่นี้เคยเป็นเรือนจำเก่าของจ.นครปฐมมาก่อน แต่ปัจจุบันเรือนจำแห่งนี้ได้ย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่หลายปีแล้ว ดังนั้นพื้นที่ตรงนี้จึงว่าง ไม่มีนักโทษอยู่ ดังนั้นพื้นที่ตรงจุดนี้(ประมาณ 40 ไร่) จึงเป็นพื้นที่เป้าหมายที่จะใช้ในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ หลังใหม่ขึ้นมา
ผมไม่ค่อยมั่นใจสักเท่าไร กับหน่วยงานราชการที่ให้สัญญากับชาวนครปฐมในการสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ใหม่ ก็อยากให้เพื่อนๆ โอเคและชาวนครปฐม ช่วยกันติดตามเรื่องนี้เป็นระยะๆ กันด้วยนะครับ และอยากให้ผู้ที่เป็นตัวแทนของชาวนครปฐมในการประสานงานกับราชการ ช่วยออกสื่อเป็นระยะๆ ถึงความคืบหน้าในเรื่องนี้ด้วย เพราะถ้าเงียบๆ กันไป เดี๋ยวผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานนี้เกิดเปลี่ยนใจ อยากย้ายโบราณวัตถุทุกชิ้นไปที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี แล้วลูกหลานชาวนครปฐมจะเสียใจกันภายหลังนะครับ -888- ************************************************************ อ้างอิง 1. แผ่นพับ"พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์" ได้รับเมื่อ 13 มิถุนายน 2558 2. https://th-th.facebook.com/Dvaravati |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |