ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่องประสิทธิผลภาครัฐ ประจำไตรมาสที่ 2 ในภาพรวม คือประชาชนให้คะแนนภาครัฐที่ร้อยละ 57.73 ขยับขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ได้คะแนนร้อยละ 52.15 ซึ่งผมได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ดัชนีประสิทธิผลภาครัฐมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 มากที่สุดสามอันดับ ดังนี้ การเข้าถึง มีคะแนนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 มากที่สุดคือมีผลต่างที่เพิ่มขึ้น 11.57 คะแนน สาเหตุอาจมาจากการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐที่ทำให้คนรายได้น้อยมีโอกาสเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้งไตรมาสที่ผ่านมาได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2559 ทำให้หน่วยราชการต่างๆ รวมทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการดูแลประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ UNHCR ยังได้ชื่นชมประเทศไทยในดูแลคนที่ด้อยโอกาส เช่น คนไร้สัญชาติ โดยเฉพาะการเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านการศึกษาและสาธารณสุข ความเป็นมืออาชีพ มีคะแนนมากเป็นอันดับ 2 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 8.53 คะแนน อาจเป็นเพราะเมื่อมีกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐมีปัญหาการทำงานหรือเรื่องทุจริต รัฐบาลได้ใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ โยกย้ายบุคลากรที่มีปัญหาหรือการโยกย้ายนายตำรวจที่ปล่อยปละละเลยให้มีการเปิดสถานบันเทิงเกินเวลาหรือมีบ่อนการพนัน สำหรับประเด็นภัยแล้ง ข้าราชการทั้งอธิบดีกรมชลประทาน ผู้ว่าการประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวงได้เข้ามาร่วมกันแก้ไขภัยแล้ง รวมทั้งการแจ้งเตือนการพยากรณ์ความเปลี่ยนแปลงของอากาศอยู่สม่ำเสมอและค่อนข้างแม่นยำ จึงอาจมีผลทำให้ประชาชนมีความเชื่อถือในความรู้ และการทำงานของภาครัฐมากขึ้น การสร้างพันธมิตรและบูรณาการ มีคะแนนมากเป็นอันดับ 3 โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 6.15 คะแนน อาจเนื่องมาจากรัฐบาลมีนโยบายประชารัฐที่สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการบูรณาการร่วมกันใน 12 ประเด็น หรือในกรณีภัยแล้งที่ทั้งกรมชลประทาน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นของมหาดไทย การประปาส่วนภูมิภาคและนครหลวงได้เข้ามาบูรณาการร่วมกันแก้ไขภัยแล้ง รวมทั้งการทำโครงการ Public-Private Partnership (PPP) ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร ถึงแม้ว่าผลในภาพรวมและทุกปัจจัยในไตรมาสที่ 2 จะสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 แต่เมื่อประเมินและให้เกรดตามคะแนนจากผลการสำรวจ พบว่า คะแนนประสิทธิผลของภาครัฐอยู่ในช่วงระหว่างเกรด D กับ D+ กล่าวคือ ผ่านเกณฑ์คะแนนเกินครึ่งมาไม่มากนัก นับว่ายังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร ซึ่งผมเชื่อว่าศักยภาพของภาครัฐประเทศไทยที่ไม่น้อยกว่าประเทศใดในโลกสามารถทำให้ประสิทธิผลดีมากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ผมจึงขอเสนอวิธีการเพิ่มประสิทธิผลภาครัฐ ดังต่อไปนี้ ประการที่ 1 เร่งบูรณาการการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ มากขึ้น ภาครัฐควรส่งเสริมและเร่งสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความร่วมมือกับภาคประชาชนให้มากขึ้นด้วย และทำให้ความร่วมมือเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ทั้งนี้ความร่วมมือและการบูรณาการที่เป็นอยู่นับว่าดีในระดับหนึ่ง ทว่ายังไม่เพียงพอต่อการยกระดับการทำงาน กล่าวคือ เป็นเพียงการร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน หรือภาครัฐกับประชาชนชนเท่านั้น แต่ไม่ใช่ความร่วมมือที่เป็นไปตามแนวโน้มโลก โดยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะต้องเป็นการบูรณาการและร่วมมือจากทั้ง 3 ภาคส่วนร่วมกัน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนร่วมมือ (Public-Private-People Partnerships: 4P) ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างยั่งยืนและครบถ้วนทุกมิติ ประการที่ 2 เร่งส่งเสริมศักยภาพของหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น หน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรัฐที่อยู่ใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชนมากที่สุด จากการจัดอันดับหน่วยงานภาครัฐที่ดีที่สุดในมุมมองของกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มในต่างจังหวัด พบว่าหน่วยงานที่ได้อันดับที่ 1 คือ องค์การบริหารส่วนตำบล คิดเป็นร้อยละ 17.3 และอันดับที่ 2 ได้แก่ เทศบาล คิดเป็นร้อยละ 10.6 อันดับที่ 3-5 คือ สาธารณสุข สถานีอนามัย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (เปรียบเป็นผู้แทนภาครัฐในการช่วยเหลือชุมชน) คิดเป็นร้อยละ 5.0 3.1 และ 2.5 ตามลำดับ ประการที่ 3 เร่งพัฒนาการทำงานให้เป็นมืออาชีพและเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น แม้คะแนนในตัวแปรความเป็นมืออาชีพมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 มากเป็นอันดับ 2 แต่คะแนนที่ได้ยังไม่ถึงร้อยละ 60 เพราะบางครั้งสามารถแก้ปัญหาได้จริง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ยังไปไม่ถึงมาตรฐานสากลและไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ภาครัฐควรแสดงควรเร่งรัดในการทำให้ผลงานความเป็นมืออาชีพชัดเจน ประการที่ 4 เร่งจัดการแก้ไข ป้องกันและปราบปรามปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่อยู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ภาครัฐควรเร่งจัดการแก้ไข ป้องกัน และปราบปรามอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นผลงานชัดเจน ผมเคยเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันไว้อย่างมากมาย แต่ยังขาดการนำไปปฏิบัติจริง ภาครัฐต้องเอาจริงเอาจังก่อนที่จะสายเกินแก้ ใช้ทุกโอกาสและช่องทางที่มีในการลดและขจัดปัญหาทุจริตคอร์รัปชันให้หมดจากประเทศไทย การพัฒนาประสิทธิผลของภาครัฐ ภาครัฐจะต้องมีประสานการทำงานกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจะต้องมีการบูรณาการวิธีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนและภาคประชาชน รวมถึงต้องยกระดับการทำงานให้ไปถึงมาตรฐานระดับสากล โดยเฉพาะเรื่องที่ควรเร่งแก้ที่สุดอย่างปัญหาคอร์รัปชัน ที่ต้องแสดงผลงานให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
คิดต่างกับ Dr.Dan Can Do" 30.03.2552 | ||
![]() |
||
จุดประกายความคิด พร้อมเปิดโลกทัศน์ ในมุมมองที่แตกต่าง แต่ทำได้ ในรายการวิทยุ คิดต่างกับ Dr.Dan Can Do" ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 06.00 06.45 น.ทาง FM 102 Working Station คลื่นคนทำงาน ดำเนินรายการโด |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |