พิพิธภัณฑ์ฮาร์วาร์ดมีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ไม่เฉพาะแก่ประชาคมฮาร์วาร์ดเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มเด็กนักเรียนท้องถิ่นที่สามารถใช้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ ช่วยให้การศึกษาเรียนรู้ของเด็กนักเรียนเหล่านี้มีชีวิตชีวา น่าสนใจ ลึกซึ้ง และสมจริงมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างกิจกรรมความร่วมมือ 3 ฝ่ายระหว่างโรงเรียนมัธยมเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ที่ชื่อว่า โรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์ (Cambridge Rindge and Latin School หรือ CRLS) พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ด (Harvard Art Museums) และโปรแกรมนักศึกษาฝึกสอนระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate student teacher) ของบัณฑิตวิทยาลัยของคณะศึกษาศาสตร์ฮาร์วาร์ด (Harvard Graduate School of Education) ที่เปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนจากโรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์ได้เข้ามาสัมผัสเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะและประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ดงกล่าวนี้1 จากข้อมูลตัวเลขของฮาร์วาร์ดพบว่า กิจกรรมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ด และโปรแกรมนักศึกษาฝึกสอนระดับบัณฑิตศึกษา นำเด็กนักเรียนจากโรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์จำนวนกว่า 120 คน เข้าสู่พิพิธภัณฑ์ฮาร์วาร์ดในแต่ละภาคการศึกษา2 อันเป็นอีกหนึ่งบริการทางวิชาการสำคัญที่ฮาร์วาร์ดจัดให้แก่สังคมชุมชนท้องถิ่นในเมืองเคมบริดจ์ กิจกรรมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ด และโปรแกรมนักศึกษาฝึกสอนระดับบัณฑิตศึกษา ดังกล่าวเป็นประโยชน์สะท้อนคิดแก่มหาวิทยาลัยไทยในหลายประการ อาทิ สร้างสรรค์กิจกรรมเชื่อมประสบการณ์การเรียนรู้สู่เด็กนักเรียนท้องถิ่น ตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้ฮาร์วาร์ดมีส่วนสร้างสรรค์ประโยชน์และสนับสนุนการศึกษาเรียนรู้แก่ชุมชนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ ผ่านกิจกรรมความร่วมมือที่จัดขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ให้แก่เด็กนักเรียนท้องถิ่น เป็นต้น เป็นห้องปฏิบัติการทดลองออกแบบการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาฝึกสอนของฮาร์วาร์ด โดยกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าวนี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกสอนของบัณฑิตวิทยาลัยของคณะศึกษาศาสตร์ฮาร์วาร์ด มีส่วนร่วมออกแบบการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างศิลปะของพิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ดและหลักสูตรระดับชั้นเรียนของโรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์ ร่วมกับครูผู้สอนของโรงเรียนรินดจ์และลาตินเคมบริดจ์3 ซึ่งการทำงานร่วมกันดังกล่าวนี้เป็นเสมือนห้องปฏิบัติการทดลองสำคัญที่จะมีส่วนเพิ่มเติมประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาฝึกสอนของบัณฑิตวิทยาลัยของคณะศึกษาศาสตร์ฮาร์วาร์ดอีกทางหนึ่ง ประยุกต์สู่มหาวิทยาลัยไทย ในเรื่องดังกล่าวนี้ ผมเห็นว่า มหาวิทยาลัยควรออกแบบการศึกษาเรียนรู้ให้มีมิติความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับสังคมชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีภารกิจมุ่งสนองตอบความต้องการของชุมชนท้องถิ่นโดยตรง โดยการใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นสนามทดลองฝึกประสบการณ์ให้แก่นักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง อันจะช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งถ่องแท้มากยิ่งขึ้น ในภาคปฏิบัติ ผมเสนอให้มหาวิทยาลัยควรออกแบบการจัดการศึกษาโดยบูรณาการชุมชนท้องถิ่นให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนกระทั่งระดับปริญญาเอก อาทิ การออกแบบกิจกรรมการฝึกงานให้นักศึกษาคิดริเริ่มนวัตกรรมโครงงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้นักศึกษาฝึกฝนลงมือทำจริงในภาคปฏิบัติ มีผลสำเร็จของโครงงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เห็นเป็นรูปธรรม อันจะเป็นช่องทางให้ชุมชนท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากโครงงานของนักศึกษา ขณะที่นักศึกษาได้รับการพัฒนาฝึกฝนให้มีความรู้ ทักษะ และลักษณะชีวิตที่พึงประสงค์4 ผ่านการทำกิจกรรมโครงงานดังกล่าว ผมคิดว่า ด้วยแนวทางดังกล่าวนี้นอกจากจะทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมีความตื่นเต้น น่าสนใจ กระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้ว ยังจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญของการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ในพื้นที่ ด้วยอีกทางหนึ่ง 1Jennifer Doody. The link between art and history. [Online]. accessed July 25, 2016, available from http://news.harvard.edu/gazette/story/2016/04/the-link-between-art-and-history/
ที่มา: สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ แหล่งที่มาของภาพ : http://4.bp.blogspot.com/-FFG3fp0umuk/UXe5VOzEDyI/AAAAAAAAFmc/ny_TowahNwU/s1600/harvard.jpg |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
คิดต่างกับ Dr.Dan Can Do" 30.03.2552 | ||
![]() |
||
จุดประกายความคิด พร้อมเปิดโลกทัศน์ ในมุมมองที่แตกต่าง แต่ทำได้ ในรายการวิทยุ คิดต่างกับ Dr.Dan Can Do" ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 06.00 06.45 น.ทาง FM 102 Working Station คลื่นคนทำงาน ดำเนินรายการโด |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |