กลับไปสู่รากเหง้า...แล้วจะอ่านออก เขียนได้
***************************** ...สาเหตุสำคัญที่เด็กไทย "อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้" หรือขาดทักษะพื้นฐานภาษาไทยเบื้องต้นนั้นมีเหตุมาจากการเรียนการสอนในระดับ ชั้น ป.๑ ซึ่งเป็นชั้นที่จะต้องสอนเด็กให้ "อ่านออก เขียนได้เบื้องต้น" ให้มีพื้นฐานการอ่านและการเขียนที่จะเรียนต่อในขั้น "อ่านคล่องเขียนคล่อง" ในชั้น ป.๒-๓ ต่อไป แต่ทว่าการเรียนการสอนภาษาไทยในชั้น ป.๑ โดยทั่วไปในปัจจุบันกลับมิได้ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวได้ เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคหลายประการ ดังนี้ ๑.หนังสือเรียนภาษาไทย ป.๑ ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ใบโบก ใบบัว) ไม่ได้ตอบสนองการฝึกอ่านเขียนจากง่ายไปหายาก อีกทั้งไม่ได้แสดงการแจกลูกที่เข้าใจง่ายแบบวิถีภาษาไทยดั้งเดิม ...นอกจากนี้ยังมีครู ป.๑ บางโรงเรียนที่ใช้วิธีการสอนที่ผิดวิถีภาษาไทย ได้แก่การสอนแบบจำเป็นคำและจำเป็นอักษร (พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์) ซึ่งการสอนแบบจำเป็นคำและจำเป็นอักษรนั้น ไม่ต่างอะไรกับการเดินนับต้นไม้ทั้งป่า กว่าจะนับและจดจำชื่อนามได้ทั้งหมดทั้งมวลจะต้องใช้เวลามาก ครั้นรู้จักแล้ว จำได้แล้ว ไม่นานก็ลืม ยิ่งมีปริมาณที่ต้องจำมากก็เกินขีดจำกัดที่คนเราจะเก็บความทรงจำนั้นให้คง อยู่ ...ทางออกของเรื่องนี้จึงต้องย้อนกลับไปสู่รากเหง้า คือกลับไปสู่วิถีการสอนภาษาไทยแบบดั้งเดิมด้วยการสอนแบบแจกลูก-สะกดคำ-ผัน เสียง เพราะว่าการสอนแบบวิถีภาษาไทยดั้งเดิมเป็นการปลูกฝังทักษะการออกเสียงให้ เกิดความประทับจำอย่างเป็นระบบหมวดหมู่ ทั้งหมวดหมู่เสียงพยัญชนะต้น หมวดหมู่เสียงสระ หมวดหมู่เสียงตัวสะกด และระดับเสียงของการผันวรรณยุกต์ เมื่อผู้เรียนได้ฝึกเปล่งเสียงแจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียงซ้ำๆ กระทั่งเสียงนั้นซึมซับอยู่ในความรู้สึกตรึกจำ และจำแนกหมวดหมู่ได้โดยธรรมชาติของการเรียนรู้ จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพสูงยิ่ง แม้คำที่ไม่เคยเรียน ไม่เคยรู้ ก็สามารถเขียนคำตามเสียงที่ได้ยินได้ฟังนั้นได้ไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่หลังจากที่ผู้เรียนสามารถอ่านเขียนคำพื้นฐานที่ตรงรูปตรงเสียงได้ แล้ว ให้ผู้สอนแนะนำเพิ่มเติมการสังเกตและจดจำสมมุติกำหนดของคำที่ใช้ เช่น น่ารัก กับ หน้าตา หรือ ให้ของ กับ ร้องไห้ และคำที่มาจากภาษาอื่นซึ่งมีคำสะกดไม่ตรงมาตรา หรือคำที่มีตัวการันต์ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในภายหลัง ทั้งนี้โดยใช้ประสบการณ์การอ่านพยัญชนะต้น สระ ตัวสะกด และการเปล่งเสียงวรรณยุกต์เทียบโยงกับการอ่านแจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง ที่ฝึกมาดีแล้ว ...ดังนั้น ทางออกของกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องกลับไปหารากเหง้า ณ จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นการเรียนการสอน ป.๑ ครับ ถ้าจะเขียนแบบเรียนขึ้นใหม่ให้เนื้อหามีความทันสมัยก็จะต้องไม่ทิ้งรอยวิถีภาษาไทย แจกลูก-สะกดคำ-ผันเสียง โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก คือ แม่ ก กา แล้วจึงเป็นแม่สะกดคำเป็น แม่สะกดคำตาย สระลดรูป สระเปลี่ยนรูป คำควบกล้ำ และคำอักษรนำตามลำดับจึงจะได้ผลดีที่สุด ต่อจากนั้นเมื่อขึ้นชั้น ป.๒ และชั้นที่สูงขึ้น จึงค่อยฝึกให้อ่านเขียนคำพิเศษต่างๆ และรวมถึงคำที่มาจากภาษาอื่นๆ ตามความเหมาะสมของวุฒิภาวะต่อไป ๒.กระบวนการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันไม่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือครู ป.๑ โดยทั่วไปมักไม่ค่อยได้เขียนแบบฝึกอ่านบนกระดานดำเหมือนครูรุ่นเก่า เด็กๆ จึงขาดจุดเน้นนำสายตา ทำให้ความสนใจเนื้อหาลดลง อีกทั้งการเปล่งเสียงอ่านคำในหนังสือนั้นครูก็ไม่อาจรู้ได้ว่าเด็กๆ แต่ละคนจะตามคำอ่านได้ตรงกับที่ครูอ่านหรือไม่ และนอกจากนั้นครูยังนำฝึกปฏิบัติน้อย ไม่ได้นำฝึกให้สมบูรณ์ทักษะอย่างจริงแท้ ๓.หลักสูตรกำหนดให้ชั้น ป.๑ ต้องเรียนสาระต่างๆ รวม ๘ สาระเหมือนกับชั้นอื่นๆ ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โรงเรียนยังจัดเวลาสำหรับการเรียนการสอนภาษาไทย ป.๑ น้อยเกินไป ไม่เพียงกับการฝึกทักษะเท่าที่ควรจะเป็น ๔.โรงเรียนบางโรงก็จัดให้มีจำนวนนักเรียนในชั้น ป.๑ ต่อห้องมากเกินกว่าจะควบคุมคุณภาพได้ โดยมาตรฐานที่จะสามารถควบคุมคุณภาพได้ทั่วถึงนั้น เด็ก ป.๑ ควรมีจำนวนไม่เกิน ๒๕ คน (ฟังมาว่าที่ประเทศฟินแลนด์ซึ่งจัดการการศึกษาได้ดีเป็นอันหนึ่งของโลกนั้น กำหนดจำนวนนักเรียนต่อห้อง ๑๒-๒๐ คนเท่านั้น) ๕.การจัดให้เด็กพิเศษ (เด็กบกพร่องการเรียนรู้) เรียนร่วมกับเด็กปกติก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ครูไม่สามารถจัดการเรียน การสอนที่มีคุณภาพครบถ้วนไปพร้อมๆ กันได้ เพราะต้องมัวห่วงหน้าพะวงหลัง ในที่สุดเด็กพิเศษก็จะถูกทิ้งให้เรียนไม่ทันผู้อื่น กลายเป็นปมด้อยซ้ำซ้อน ...หากแก้โจทย์ทั้งห้าข้อนี้ได้ การเรียนการสอนภาษาไทย และการเรียนวิชาอื่นๆ ที่ต้องใช้ภาษาไทยเป็นยานวิทยาก็ราบรื่นแน่นอนครับ ศิวกานท์ ปทุมสูติ ทุ่งสักอาศรม ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ (ขอบคุณภาพประกอบจาก อ.เสน่ห์ วงศ์คำแหง) ![]() |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เพลงรอยทาง | ||
![]() |
||
คำร้อง-ทำนอง : ศิวกานท์ ปทุมสูติ และ คฑาวุธ ทองไทย ::: ดนตรี-ขับร้อง : คฑาวุธ ทองไทย (มาลีฮวนน่า) |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |