วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ให้อยู่รอดปลอดภัยและมีความสุขในศตวรรษที่ 21 เป็นความท้าทายของเพื่อนครูที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร ให้ลูกศิษย์มีทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิต ที่ไม่ใช่เก่งแต่เนื้อหาในตำราเพียงอย่างเดียว
Teach less Learn more คือคำสำคัญที่สะท้อนการจัดการเรียนการสอนว่า ครูสอนให้น้อย จัดการเรียนรู้ให้มาก
จากเดิมที่ครูสอนเยอะ แบบ Teacher centered (ครูเป็นสำคัญ) ที่ให้ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้เท่านั้น (Passive learning) แบบฟังครูเล่าแล้วให้จด ให้จำ แล้วนำความรู้นั้นไปสอบให้ผ่าน เปลี่ยนเป็น ...
Student centered แทน ที่ครูเสมือนเป็น Coach หรือ Facilitator คอยชี้แนะแนวทางอยู่อย่างใกล้ชิด โดยจัดกิจกรรมแบบ Active learning (สนใจอ่าน คลิกที่นี่) หรือผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของเขาเอง จากกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูออกแบบ ที่เป็น Learn more
อ่านถึงตรงนี้หลายท่านอาจคิดย้อนแย้ง แล้วจะหาจำนวนชั่วโมงเรียนที่ไหน แค่นี้ก็สอนไม่ทันอยู่แล้ว แถมยังถูกลดจำนวนชั่วโมงเรียนอีก ผมเองก็อยู่ในบริบทเดียวกับเพื่อนครูทุกท่านครับ
Flipped Classroom หรือห้องเรียนกลับด้าน จึงนำมาใช้ผ่านช่องทาง Facebook group page (สนใจอ่าน คลิกที่นี่) ทำให้เกิดการเรียนรู้กับผู้เรียนในทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่าน Lecture online ที่บ้าน ครูต้องสร้างกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาใน Lecture online ด้วย (สนใจอ่าน คลิกที่นี่) ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลาย ให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจให้พวกเขากระหายใคร่รู้ แล้วเราก็ฝึกทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม เพื่อให้ลูกศิษย์เราได้ไปต่อยอดองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง และมีทักษะชีวิตและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ผมเองก็ลองผิด ลองถูกกับการออกแบบการเรียนรู้ กว่าจะได้เป็นรูปแบบของตัวเอง (สนใจอ่าน คลิกที่นี่) ที่ไม่ว่านโยบายการศึกษาจะใช้คำสวย ๆ อย่างไรก็ตาม ก็อยู่บนพื้นฐานที่เรียกว่า Student centered บนพื้นที่ปลอดภัยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่ไม่ใช่ได้เกียรตินิยม แต่เพื่อนร่วมงานเกียจกันหมด เพราะทำงานไม่เป็น ไม่ได้เรื่อง
Learn more ที่ว่าจึงเน้นกิจกรรมที่ทำงานร่วมกับชาวบ้านเขาได้ ฝึกทักษะการทำงานแบบร่วมมือ (Collaboration) ที่ต้องใช้การสื่อสาร (Communication) ในการทำงาน โดยต้องใช้การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) และไม่ลืมที่ต้องคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) กันด้วย
ในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ที่ผมดูแล จึงออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ Post-it Technique เพื่อให้นักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ ได้ฝึกออกแบบและเขียน Learning outcome โดยขั้นตอนแรก ให้นักศึกษาครุศาสตร์ฯ ได้จับกลุ่มระดมสมอง ว่าลูกศิษย์ของเราได้รับประโยชน์อะไรจากวิชาที่เราสอนบ้าง และเชื่อมโยงสู่การเขียน K - S - A (Knowledge - Skill - Attitude) ในรายวิชาที่นักศึกษาเลือกไว้แล้ว
หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มได้พิจารณา K S A และออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเพื่อนต่างกลุ่ม ให้สอดคล้องกับ K S A โดยใช้กระดาษ Post-it เมื่อแต่ละกลุ่มให้คำแนะนำเรื่องกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มแล้ว เจ้าของกลุ่มจะช่วยกันวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ว่าสอดคล้องกับ K S A หรือไม่ แล้วสรุปผลพร้อมนำเสนอผลงาน Learning outcome ในวิชาของกลุ่มตัวเอง ที่ต้องออกมานำเสนอ Teaching other ให้กลุ่มอื่นได้เรียนรู้กันด้วย ซึ่งกิจกรรมที่ผมได้ทดลองทำนี้ เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนการสอน ที่เน้น Teach less Learn more ในหัวข้อการเขียน Learning Outcome (LO) ที่ฟังดูแล้วแสนน่าเบื่อ ให้กลับมามีสีสันขึ้นมาได้ ------------------------------------------------------------------------------------------------------ ติดต่อผู้เขียนได้ที่ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
คำคม คำคน Dr.Kaew | ||
![]() |
||
บันทึกคำคม คำคน ของ Dr.Kaew |
||
View All ![]() |
พวกเราทำอะไรได้บ้าง | ||
![]() |
||
ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |