*/
<< | มกราคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ไฟล์ภาพขัดข้อง ท่านสามารถไปอ่านเรื่องนี้ได้ที่ https://loongchat.blogspot.com/2014/06/lens-flare.html เทคนิคโฟโตชอพ..การสร้างแสงแบบ Lens Flare ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ มี ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ และบรรดานักเรียนนักศึกษาที่เคยได้เรียนรู้ PS กับลุงชาติ ต่างโทรเข้ามาอวยพรปีใหม่กัน ขอขอบคุณทุกท่าน และขออวยพรให้ทุกท่านมีแต่ความสุขทุกๆคนนะครับ บางท่านบอกว่าไม่มีโปรแกรมไปไหน อยากให้ลุงช่วยแนะเทคนิคง่ายๆ เพื่อจะได้ศึกษา และทดลองทำในวันหยุด และมีนักเรียนหลายคนที่อยากได้เทคนิคเกี่ยวกับเรื่องแสงแฟร์พอดี เอาเลย จัดให้ตามคำขอครับ
ฟิลเตอร์ Lens Flare ในโฟโตชอพ เป็นอีกฟิลเตอร์หนึ่งที่มีผู้นิยมนำมาใช้ในการตบแต่งภาพ เป็นฟิลเตอร์ที่ใช้งานง่ายและสะดวก และมีเทคนิคบางอย่างที่น่าศึกษา ทำอย่างไรจึงจะได้ผลลัพท์ที่สวยงามแปลกตาและให้ได้ผลดีที่สุด
มาดูภาพต้นฉบับกันก่อน ท่านสามารถใช้ภาพถ่ายต้นฉบับของท่านทำตามไปได้เลยครับ ภาพต้นฉบับเป็นภาพของเด็กหญิงกำลังเล่นสนุกด้วยจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส ที่ปากของเธอคาบถุงขนมด้วยความไร้เดียงสาแบบเด็กๆ มือทั้งสองข้างว่างเปล่า ที่จริงก็ไม่ได้เสียหายอะไร แต่ถ้าหาอะไรมาใส่ไว้ในมืออีกสักหน่อย จะเพิ่มเรื่องราวในภาพและจะช่วยเสริมให้ภาพนี้
เริ่มปรับแต่งกันเลยละนะ....... Step 01 เปิดภาพต้นฉบับขึ้นมาแล้วเลือกเมนู Filter >> Render >> Lens Flare พอหน้าต่าง Lens Flare เปิดขึ้นมาให้เลือกชนิดของเลนส์ซึ่งมีให้เลือกได้สี่ชนิด ตัวอย่างนี้เลือก 50 – 300mm Zoom แล้วไปปรับค่าความสว่างตามต้องการ ใช้เม้าส์คลิกลากจุดแสงสว่างไปไว้ในตำแหน่งที่ต้องการ ตัวอย่างนี้คลิกลากไปไว้ที่มือซ้ายของเด็ก เสร็จแล้วให้คลิก OK หน้าต่างก็จะปิดไป
Step 01a เมื่อคลิก OK และหน้าต่างปิดไปแล้ว มาดูผลจากภาพในวินโดว์ ถ้ายังไม่ถูกใจ หรือต้องการปรับปรุงแก้ไขใหม่ เช่นตำแหน่งจุดแสงสว่างยังไม่ถูกใจ หรือความสว่างยังมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็ให้ท่านคลิกย้อนกลับที่ History Palette คลิกย้อนขั้นตอนไปที่ขั้นตอนก่อน Lens Flare ภาพในวินโดว์ก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม แล้วก็ไปเริ่มที่เมนู Filter ทำตามขั้นตอนอย่างเดิม จนเปิดหน้าต่าง Lens Flare ขึ้นมา โฟโตชอพจะจำตอนที่เราปรับแต่งคราวที่แล้วไว้ ทั้งชนิดเลนส์ แสงสว่าง และตำแหน่งของแสง ให้คุณปรับแต่งต่อจนพอใจ เสร็จแล้วให้คลิก OK หน้าต่างก็จะปิดไป
Step 02 เมื่อคลิก OK และหน้าต่างปิดไปแล้ว มาดูผลจากภาพในวินโดว์ ถ้าถูกใจพอใจแล้ว ก็ให้ท่านคลิกย้อนกลับที่ History Palette คลิกย้อนขั้นตอนไปที่ขั้นตอนก่อน Lens Flare อีกครั้ง ภาพในวินโดว์ก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม ให้คุณเปิด Layers Palette แล้วสร้างเลเยอร์เปล่าขึ้นมาเหนือภาพ Background ชื่อ Layer 1
Step 03 เลือกเมนู Edit >> Fill พอหน้าต่าง Fill เปิดขึ้นมา ในช่อง Use ให้เลือก Black แล้วคลิก OK ภาพในวินโดว์ก็จะกลายเป็นสีดำ และถ้าดูใน Layer Palette จะเห็นว่า Layer 1 กลายเป็นสีดำ
Step 04 เราจะสร้างแสงเลนส์แฟร์โดยทำตามขั้นตอนเดิมทุกอย่าง เลือกเมนู Filter >> Render >> Lens Flare พอหน้าต่าง Lens Flare เปิดขึ้นมา อย่างที่เคยบอกไปแล้ว โปรแกรมจะจำค่าเดิมครั้งสุดท้ายไว้ ซึ่งเป็นค่าที่เราเลือกที่จะใช้ เราก็ไม่ต้องปรับอะไรอีก คลิก OK ได้เลย ภาพดำๆในวินโดว์ก็จะมีแสงแฟร์เพิ่มขึ้นมา
Step 05 เปลี่ยน Blending Mode ของ Layer 1 ให้เป็น Screen โปรแกรมก็จะผสมภาพของ Layer 1 เข้ากับภาพของเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง ก็จะเห็นป็นภาพเด็กหญิงมีแสงเลนส์แฟร์อยู่ในมือซ้าย ถ้าคุณลองคลิกปิดดวงตาที่อยู่หน้า Layer 1 ให้หายไป แสงเลนส์แฟร์ก็จะหายไปด้วย นี่คือข้อดีของการผสมภาพด้วย Blending Mode ทำให้ภาพต้นฉบับยังคงสภาพเดิมไว้ไม่เสียหาย สามารถนำไปใช้กับงานอื่นๆได้อีก และง่ายต่อการที่จะมาแก้ไขแต่งเติมในภายหลังอีกด้วย เอาละ ตอนนี้ให้คลิกเปิดดวงตาไว้อย่างเดิม ภาพในวินโดว์ก็จะกลับมาเป็นภาพเด็กหญิงและมีแสงเลนส์แฟร์เหมือนเดิม
Step 06 คลิกให้โปรแกรมมาทำงานที่ Background แล้วไปที่เมนู Filter >> Render >> Lens Flare พอหน้าต่าง Lens Flare เปิดขึ้นมา โปรแกรมเขายังจำค่าและตำแหน่งเดิมครั้งสุดท้ายเอาไว้ เราปรับแค่ตำแหน่งแสงแฟร์ก็พอ โดยคลิกเอาแสงแฟร์มาไว้ตรงมือขวาของเด็ก แล้วคลิก OK ภาพในวินโดว์ก็จะมีแสงแฟร์เพิ่มขึ้นมาที่มือขวาของเด็กอีกตำแหน่งหนึ่ง
Step 07 เมื่อดูภาพผลลัพท์ในวินโดว์ ถ้ายังไม่ถูกใจก็ให้คลิกย้อน History กลับไปแก้ไขตามที่เคยทำมาแล้วตาม Step 01a และเมื่อพอใจแล้ว ก็ให้ท่านคลิกย้อนกลับที่ History Palette คลิกย้อนขั้นตอนไปที่ขั้นตอนก่อน Lens Flare อีกครั้ง ภาพในวินโดว์ก็จะกลับไปเป็นภาพเด็กที่มีแสงอยู่ที่มือซ้าย และให้เปิด Layers Palette แล้วสร้างเลเยอร์เปล่าขึ้นมาเหนือ Layer 1 ชื่อว่า Layer 2 จากนั้นเลือกเมนู Edit >> Fill พอหน้าต่าง Fill เปิดขึ้นมา ในช่อง Use ให้เลือก Black แล้วคลิก OK ภาพในวินโดว์ก็จะกลายเป็นสีดำ และถ้าดูใน Layer Palette จะเห็นว่า Layer 2 กลายเป็นสีดำ
Step 08 เราจะสร้างแสงเลนส์แฟร์โดยทำตามขั้นตอนเดิมทุกอย่าง เลือกเมนู Filter >> Render >> Lens Flare พอหน้าต่าง Lens Flare เปิดขึ้นมา อย่างที่เคยบอกไปแล้ว โปรแกรมจะจำค่าเดิมครั้งสุดท้ายไว้ ซึ่งเป็นค่าที่เราเลือกที่จะใช้ เราก็ไม่ต้องปรับอะไรอีก คลิก OK ได้เลย ภาพดำๆในวินโดว์ก็จะมีแสงแฟร์เพิ่มขึ้นมา แต่คราวนี้มาอยู่บริเวณมือขวาของเด็ก
Step 09 เปลี่ยน Blending Mode ของ Layer 2 ให้เป็น Screen โปรแกรมก็จะผสมภาพของ Layer 2 เข้ากับภาพของเลเยอร์ที่อยู่ด้านล่าง ก็จะเห็นป็นภาพเด็กหญิงมีแสงเลนส์แฟร์อยู่ในมือซ้ายและมือขวา ที่จริงการตบแต่งภาพโดยทั่วไปก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ในกรณีนี้ เราอยากเปลี่ยนสีของแสงเลนส์แฟร์ให้เป็นสีอื่น ซึ่งทางโฟโตชอพเขาทำเป็นสีแดงมาให้สีเดียว เราจะเปลี่ยนสีซะ เพราะไม่อยากให้เด็กคิดว่าเขาจับลูกไฟได้
Step 10 คลิกที่ไอคอน Create new fill or adjustment layer ที่อยู่ใต้ Layer Palette จะมีหน้าต่างเปิดขึ้นมา ให้เลือก Hue/Saturation ที่ Layer Palette จะมีเลเยอร์ของ Hue/Saturation ขึ้นมาอยู่เหนือ Layer 2 และจะมีหน้าต่าง Adjustment เปิดขึ้นมาให้เราปรับได้ตามใจชอบตามที่ผมวงกรอบสี่เหลี่ยมไว้ ภาพในวินโดว์จะเปลี่ยนสีไปตามที่เราปรับ ไม่ต้องสนใจว่าสีโดยรวมจะเพี้ยนแค่ไหน ดูแค่ให้ได้สีที่จุดแสงแฟร์ตามที่เราต้องการก็พอ เสร็จแล้วให้คลิกที่กากบาทที่อยู่ตรงมุมขวาบนของหน้าต่าง Adjustment เพื่อปิดหน้าต่างนี้ไป
Step 11 คลิกที่มาสค์สีขาวของ Hue/Saturation เพื่อสั่งโปรแกรมให้ทำงานกับมาสค์นี้ แล้วกดคีย์ Ctrl + I เพื่อกลับมาสค์จากสีขาวให้เป็นสีดำ ภาพในวินโดว์ที่มีสีเพี้ยนๆเต็มภาพนั้นก็จะกลับมามีสีเป็นปกติ
Step 12 ตั้งสีโฟร์กราวนด์ให้เป็นสีขาว เลือกเครื่องมือ Brush ใน Tools Palette ใช้แปรงชนิดขอบฟุ้งปานกลาง ตั้งขนาดแปรงให้มีขนาดพอๆกันกับวงแสงแฟร์ ใช้ค่า Opacity และค่า Fill 100% ท่านสามารถกดคีย์วงเล็บปีกกาเปิดหรือคีย์ บ.ใบไม้ในภาษาไทยในการลดขนาดแปรง และกดคีย์วงเล็บปีกกาปิดหรือคีย์ ล.ลิงในภาษาไทยในการเพิ่มขนาดแปรง ใช้แปรงมาคลิกลงไปตรงบริเวณแสงแฟร์ที่มือของเด็กทั้งสองจุด แสงแฟร์นั้นก็จะเปิดออกมาเป็นสีตามที่เราปรับเอาไว้ตาม Step 10 ถ้าดูที่เลเยอร์มาสค์ของ Hue/Saturation ก็จะเห็นเป็นจุดวงสีขาวอยู่สองจุด และตอนนี้เราก็ได้เปลี่ยนแสงแฟร์เป็นสีอื่นตามต้องการได้แล้ว จะสั่งรวมเลเยอร์หรือจะ Save As ก็แล้วแต่คุณละนะ
ภาพนี้คือภาพเปรียบเทียบ ก่อนแต่งกับหลังจากที่ได้รับการตบแต่งแล้ว
ภาพนี้คืออีกตัวอย่างหนึ่ง ที่ใช้เทคนิคเลนส์แฟร์ มาช่วยในการตบแต่งภาพ
เทคนิคพิเศษในระดับก้าวหน้า ท่านสามารถออกแบบแสงเลนส์แฟร์เก็บไว้บนพื้นฉากหลังสีดำ ตามสี ขนาด และรูปร่างตามที่ท่านต้องการ แล้วลากมาวางไว้เหนือภาพที่จะใส่แสงแฟร์ แล้วเปลี่ยน Blending Mode ให้เป็น Screen ใช้เครื่อมือ Transform ปรับเปลี่ยนขนาดและรูปร่าง พลิกกลับด้าน หมุนเอียง หรือเปลี่ยนย้ายตำแหน่งได้ตามต้องการ จะทำให้งานตบแต่งภาพสะดวกและง่ายมากขึ้นกว่าเดิม ตามตัวอย่างแบบนี้ (ท่านสามารถออกแบบได้หลายแบบตามที่ท่านต้องการ)
ภาพนี้คืออีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้เทคนิคเลนส์แฟร์ ออกแบบเลนส์แฟร์บนพื้นสีดำ มาช่วยในการตบแต่งภาพ
ขอให้มีความสุข และสนุกกับการตบแต่งภาพนะครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |