*/
<< | ธันวาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ไฟล์ภาพขัดข้อง ท่านสามารถไปอ่านเรื่องนี้ได้ที่ http://loongchat.blogspot.com/2015/06/blog-post.html ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา (Common Mormon) ลักษณะ : ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังของทั้ง 2 เพศมีติ่งยื่นยาวแต่ในเพศผู้จะสั้นกว่ามาก ปีกบน พื้นปีกสีดำ มีจุดสีขาวเรียงกันตามขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หน้า ปีกคู่หลังของเพศผู้มีแถบสีขาวขนาดเท่าๆกันเรียงกันบริเวณกลางปีก ปีกคู่หลังของเพศเมียมีแถบสีขาวเป้นกลุ่มอยู่บริเวณกลางปีกต่อด้วยแถบสีขาวอมชมพูจนถึงขอบปีกด้านใน ปีกล่าง คล้ายปีกบน
ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม เฝ้าคอยถ่ายภาพตลอดคืน ตีสามครึ่งดักแด้เปลี่ยนเป็นสีดำ ตีสี่สีเปลือกของดักแด้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ผีเสื้อจะออกมาวินาทีไหนไม่สามารถกำหนดได้ต้องเฝ้าดูไม่ให้พลาดเพื่อต้องการได้ช้อตสำคัญคือวินาทีแรกที่ผีเสื้อออกมาจากดักแด้ ตีห้าตัวดักแด้ใช้ขาดันให้เปลือกดักแด้ปริแล้วโผล่หัวออกมา เป็นผีเสื้อหางติ่ง รอจนหกโมงครึ่งผีเสื้อจึงแข็งแรงพอที่จะบินไปได้...คร่อก..ฟี๊
ชื่อภาษาไทย : ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา ชื่อสามัญ : Common Mormon ชื่อวิทยาศาสตร์ : Papilio polytes romulus ขนาดเมื่อกางปีก : 70 – 85 มม.
ภาพนี้เป็นอีกคืนหนึ่ง วันที่ 26 ธันวาคม ชีวิตใหม่ ผีเสื้อหางติ่งอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในชุดเดียวกัน ออกมาจากดักแด้ในคืนต่อมา เฝ้าตามถ่ายตั้งแต่ตีสามเหมือนเดิม ช่วงตีสี่ตีห้า ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามปกติ เพียงแต่ตัวนี้ออกจากดักแด้ช้ากว่า ออกมาตอนเจ็ดโมงกว่าๆ ใช้เวลาขยายปีกและสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายต่อไป จนเก้าโมงเช้า จึงบินออกไปหากินตามธรรมชาติ
วงจรชีวิตผีเสื้อหางติ่ง ระยะไข่ ใช้เวลา 3 – 4 วัน
29 พฤศจิกายน เห็นผีเสื้อเพศเมียมาบินวนเวียนอยู่รอบต้นมะกรูด และได้วางไข่เอาไว้ ที่เห็นตอนวางไข่นั้นเห็นอยู่สองครั้ง พอมาสำรวจดูไข่จริงๆ พบว่ามีไข่อยู่สามฟอง เป็นรูปทรงกลมสีเหลืองอ่อน ผิวเรียบเป็นมัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร นับอายุเป็นไข่วันแรก
30 พฤศจิกายน
ไข่ผีเสื้ออายุ 2 วัน ไข่ยังคงมีสีสันปกติ อาจมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย แทบไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก
1 ธันวาคม ไข่ผีเสื้ออายุ 3 วัน ไข่มีสีเข้มขึ้นจนสังเกตได้ชัดเจน และไข่จะมีรอยประสีน้ำตาลปรากฏให้เห็น สีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งตอนค่ำ ตัวหนอนจึงได้ออกมาจากไข่ และกัดกินเปลือกไข่
ระยะหนอนใช้เวลา 13 – 17 วัน
2 ธันวาคม หนอนอายุ 1 วัน เมื่อหนอนออกมาจากไข่แล้ว หนอนได้กินเปลือกไข่ของตัวเองเป็นอาหาร แล้วมันคลานไปบนใบไม้ คือใบมะกรูด เมื่อได้ที่พอเหมาะที่เห็นว่าปลอดภัย หนอนหยุดพักนอนอยู่ตรงนั้นเป็นเวลานานทีเดียว เมื่อหิวขึ้นมา หนอนก็คลานไปยังใบมะกรูดอ่อน แล้วกัดกิน พออิ่ม หนอนก็คลาน กลับไปนอนพักยังที่เดิม ในวันแรกที่เกิดมานี้ เป็นหนอนระยะแรกลำตัวสีเขียวขี้ม้า มีแต้มสีขาวข้างลำตัว ขนาด 1x3 มิลลิเมตร
ไข่ผีเสื้อที่เฝ้าสังเกตในรุ่นนี้มี 3 ฟอง หนอนที่ออกจากไข่ในรุ่นนี้วันนี้เพียง 2 ฟอง เข้าใจว่าคงเป็นผีเสื้อตัวเมีย ส่วนไข่อีกฟองหนึ่งยังไม่ฟัก เข้าใจว่าน่าจะเป็นผีเสื้อตัวผู้ ตัวผู้จะใช้เวลาอยู่ในไข่นานกว่าตัวเมีย
3 ธันวาคม หนอนอายุ 2 วัน หนอนชุดนี้ออกมาจากไข่พร้อมกันสองตัว แต่จะมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกันเล็กน้อย หนอนตัวแรกนี้จะโตเร็วกว่านิดหน่อย เพราะออกมาจากไข่แล้วได้กัดกินใบมะกรูดที่ยอดอ่อน กัดกินได้ง่ายกว่า และกินได้มากกว่า ส่วนหนอนอีกตัว อยู่ตรงกลุ่มใบมะกรูดแก่ หนอนตัวเล็ก อาจกัดกินได้ทีละน้อย จึงกินอาหารได้น้อยกว่าตัวแรก ขนาดลำตัวจึงเล็กและโตช้ากว่าหนอนตัวแรก หนอนยังคงมีพฤติกรรมอย่างเดิม คือเมื่อหิวขึ้นมา หนอนก็คลานไปยังใบมะกรูดอ่อน แล้วกัดกิน พออิ่ม หนอนก็คลาน กลับไปนอนพักยังที่เดิมคือมานอนที่ใบมะกรูดใบนี้เป็นประจำ ในวันที่ 2 นี้ หนอนมีความยาวประมาณ 4 มม.โตขึ้นกว่าเดิมนิดหน่อย
4 ธันวาคม ลักษณะของหนอนผีเสื้อ หนอนระยะแรกลำตัวสีเขียวขี้ม้า มีแต้มสีขาวข้างลำตัว หนอนระยะถัดไป ลำตัวเป็นปล้องๆ สีเขียวหัวโต ลักษณะลำตัวรูปร่างยาวทรงกระบอก บริเวณหัวมีขีดสีน้ำตาลพาด ด้านข้างมีแถบลายสีน้ำตาล 3 แถบ พาดขวางลำตัว หนอนอายุ 3 วัน หนอนยังคงมีพฤติกรรมอย่างเดิมอยู่อีก คือเมื่อหิวขึ้นมา หนอนก็คลานไปยังใบมะกรูดอ่อน แล้วกัดกิน พออิ่ม หนอนก็คลาน กลับไปนอนพักยังที่เดิม ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ หนอนตัวใหญ่และยาวขึ้นกว่าเดิม วันนี้หนอนได้ลอกคราบออกมาเป็นครั้งแรกด้วย ปกติหนอนผีเสื้อจะลอกคราบออกมาหลายครั้งในวงจรชีวิต วันนี้หนอนตัวยาวประมาณ 6 – 7 มม. และหนอนในรุ่นเดียวกันตัวอื่น ก็มีพฤติกรรมเหมือนกัน
5 ธันวาคม พืชอาหาร ส้ม ( Citrus reticulata ) มะนาว มะกรูด น้ำข้าว ( Glycosmis pentaphylla ) สมุยหอม ( Clausena cambodiana ) สมุยขน ( Clausena sp . ) หนอนอายุ 4 วัน วันนี้หนอนได้คลานไปยังใบมะกรูดใบใหม่ เป็นการเปลี่ยนที่ไปยังกิ่งใหม่ มันคลานไปหาใบมะกรูดใบใหม่ ต้องเปลี่ยนไปหาหลายกิ่งจึงได้เจอใบที่มันถูกใจ มันกัดกินใบมะกรูด แล้วพักนอนอยู่ใกล้ๆบริเวณนั้น เมื่อหิวก็คลานมากัดกินใหม่ แล้วนอนพักต่อไปอีก ตอนนี้หนอนตัวยาวขึ้น ยาวประมาณ 1 ซม.แล้ว
6 ธันวาคม หนอนอายุ 5 วัน วันนี้หนอนได้มาอาศัยหากินใบมะกรูดในบริเวณใกล้ๆกัน เมื่อหนอนเติบโตขึ้นมากกว่าเดิม หนอนจะลอกคราบเดิมออกมา ในภาพจะเห็นคราบอยู่ที่บริเวณส่วนหางของหนอน เมื่อลอกคราบออกมาแล้ว หนอนกินคราบของตัวเอง (เคยเห็นหนอนบางตัวก็ไม่กินคราบที่ลอกออกมา) ส่วนหนอนชุดนี้ กินคราบของตัวเองทั้งหมดครับ ตอนนี้หนอนมีลำตัวยาวขึ้นเกิน 1 ซม.แล้ว และนี่เป็นการลอกคราบครั้งที่สองของหนอนตัวนี้
7 ธันวาคม หนอนอายุ 6 วัน หนอนโตมากขึ้น เริ่มกินเก่งขึ้น บางครั้งหนอนก็มีโอกาสไปกัดกินใบพืชใบเดียวกันกับหนอนตัวอื่นๆด้วย(หนอนตัวเล็กจิ๋วนี้ ออกจากไข่ฟองที่สาม ซึ่งคาดว่าจะเป็นผีเสื้อต้วผู้) มันไม่กัดกัน ไม่แก่งแย่งกันกิน อย่างมากก็จะมีตัวใดตัวหนึ่งที่คลานออกจากที่ตรงนั้นไป อุปนิสัยอีกอย่างหนึ่งของหนอนผีเสื้อชนิดนี้ที่สังเกตุเห็นได้บ่อยๆคือ มักจะแสดงอาการสะบัดหัวไป-มา ซ้าย-ขวา หรือบางทีสะบัดเลยไปถึงด้านหลังเลย
8 ธันวาคม หนอนอายุ 7 วัน หนอนโตมากขึ้นอีก กินเก่งขึ้นกินเยอะขึ้นอีก ตอนนี้หนอนตัวยาวขึ้นประมาณ 2 ซม. มันกินสะสมพลังงาน แล้วคลานไปหาที่นอน คราวนี้มันนอนนิ่งๆอยู่นานทีเดียวโดยจะขยับสะบัดหัวบ้าง แต่ยังคงนอนนิ่งอยู่ที่เดิมไม่เคลื่อนย้ายไปไหน
9 ธันวาคม หนอนอายุ 8 วัน หลังจากที่หนอนนอนนิ่งๆอยู่นานประมาณ 6 ชม. (ดูเวลาจากข้อมูลที่ฝังอยู่ในไฟล์ภาพต้นฉบับ) หนอนผีเสื้อก็ได้เปลี่ยนสีผิวหนังขึ้นมาใหม่แล้ว คราวนี้สีเปลี่ยนมาเป็นสีเขียว ด้านบนของส่วนอกมีลายดำสลับเหลืองคาดขวางลำตัว มีจุดคล้ายลูกตาใหญ่ๆเอาไว้ขู่หลอกศตรูพร้อมมีจุดสีเหลืองพาดขวางระหว่างตาหลอกๆนั้น ถ้ามองดูผิวเผิน อาจดูน่ากลัวน่าเกรงขามทีเดียว เมื่อกระบวนการเปลี่ยนสีผิวหนังเสร็จสิ้น หนอนก็เริ่มกัดกินใบมะกรูดต่อไป และในวันนี้ เจ้าหนอนรุ่นเดียวกันอีกตัวหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตัวแรกนี้นิดหน่อย ก็เริ่มมีทีท่าว่าจะกำลังหาที่นอนเพื่อเข้ากระบวนการเปลี่ยนสีผิวหนังด้วยเช่นกัน ตอนนี้มันยังมีสีคล้ายขี้นกอยู่
10 ธันวาคม หนอนอายุ 9 วัน เจ้าหนอนตัวโตตอนนี้ยาวขึ้นมาก ลำตัวยาวประมาณสามเซนติเมตรแล้ว มันกินเก่ง และก็นอนเก่งด้วยเช่นกัน คือเมื่อกัดกินใบมะกรูดจนอิ่มแล้ว มันก็หยุดนอนพักผ่อน เมื่อหิวก็กินต่อ
ส่วนเจ้าหนอนตัวที่เล็กกว่าก็เช่นกัน มันนอนนิ่งๆอยู่นาน แล้วก็ได้เปลี่ยนสีผิวหนังขึ้นมาใหม่เป็นสีเขียวเหมือนกับตัวใหญ่ เปลี่ยนแปลงตามกันมาติดๆ
วันนี้ถ่ายภาพหนอนทั้งสามตัวที่ได้เดินมาหากินอยู่ใกล้ๆบริเวณเดียวกัน แบ่งชั้นใบไม้เป็นที่นอน(คล้ายจัดเป็นคอนโดห้องชุดเลย) หนอนตัวโตสุดและตัวขนาดกลาง เป็นหนอนรุ่นเดียวกันที่คาดว่าจะเป็นผีเสื้อตัวเมีย ส่วนหนอนตัวเล็กสุดยังเป็นสีขี้นกอยู่ ออกจากไข่ฟองที่สาม คาดว่าจะเป็นผีเสื้อตัวผู้
11 ธันวาคม หนอนอายุ 10 วัน วันนี้หนอนทั้งสองตัวซึ่งเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวสดใสขึ้น ตัวโตขึ้นมากเป็นลำดับ หนอนตัวแรกยาวเกินสามซม. ส่วนอีกตัวก็ยาวใกล้เคียงสามซม.แล้ว ทั้งคู่หากินใบมะกรูดในบริเวณที่เป็นพุ่มหนาใบแก่มากขึ้น
12 ธันวาคม หนอนอายุ 11 วัน วันนี้หนอนยังคงหากินใบพืชตามปกติ เมื่ออิ่มก็พักนอน แล้วก็กัดกินใหม่ สลับกันไป
13 ธันวาคม หนอนอายุ 12 วัน วันนี้หนอนทั้งสองตัวยังคงหากินใบพืชตามปกติ แต่สังเกตได้ว่าเจ้าหนอนตัวที่โตกว่าเริ่มเดินสำรวจที่ มันเดินไปตามกิ่งต่างๆของต้นมะกรูดอยู่นานทีเดียว คงใกล้ได้เวลาเข้าระยะดักแด้แล้ว ส่วนอีกตัวยังคงกินแล้วนอนพัก สลับกันอยู่ตามปกติ
ระยะดักแด้ เปลี่ยนแปลงร่างกาย 11 - 15 วัน
14 ธันวาคม หนอนอายุ 13 วัน วันนี้หนอนตัวโตก็ได้เข้าระยะดักแด้แล้ว มันเริ่มต้นเลือกกิ่งมะกรูดเป็นอันดับแรก เลือกกิ่งที่คิดว่าปลอดภัยและเหมาะสำหรับการเป็นดักแด้ของมัน แล้วคายเส้นใยเล็กๆออกมาเพื่อยึดตัวเองกับกิ่งมะกรูด
ลักษณะของดักแด้ ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชและอีกเส้นหนึ่งคล้องรอบลำตัว
กระบวนการนี้ใช้เวลานานทีเดียว เริ่มต้นตั้งแต่กลางคืนตอนสี่ทุ่ม จนยึดตัวเองเสร็จเรียบร้อยแขวนห้อยอยู่กับกิ่งมะกรูดในตอน 10 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ผมใช้วิธีเดิมคือตั้งนาฬิกาปลุก เพื่อการบันทึกภาพในกระบวนการคายเส้นใยยึดตัวเองนี้ กระบวนการต่อไป คือรอการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ก็คงต้องใช้วิธีตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อถ่ายภาพต่อไปอีก ในระยะดักแด้
หนอนยึดตัวเองแขวนห้อยอยู่นิ่งๆกับกิ่งมะกรูดเป็นเวลานาน รอจนร่างกายสร้างผิวหนังใหม่ขึ้นมา มันใช้วิธีสูดอากาศเข้าไปเพื่อให้ผิวหนังเก่าพองออกปริแยกออกตรงส่วนด้านหลัง แล้วใช้กล้ามเนื้อขยับดันให้ผิวหนังเก่านั้นค่อยๆเลื่อนหลุดออกมาจนหลุดพ้นตัวออกมาทั้งหมด กระบวนการนี้ ขอแนะนำให้ท่านชมในคลิปวิดีโอ ท่านจะได้เห็นภาพที่หาดูได้ยากในกระบวนการลอกผิวหนังเก่าออกให้เป็นผิวหนังใหม่มาแทนที่
ผิวหนังเก่านั้นหลุดร่วงลงไป ตอนนี้หนอนก็มีผิวหนังในรูปร่างใหม่แล้ว แต่ผิวใหม่นี้ยังอ่อนนิ่มอยู่ มันต้องนอนแขวนรออยู่นิ่งๆต่อไปอีกนาน ผิวเปลือกใหม่นี้ก็จะค่อยๆแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการใหม่ก็จะต้องรอให้ร่างกายปรับและเปลี่ยนแปลงไปอีกนานหลายวัน
ดักแด้ผีเสื้อหางติ่ง(เพศเมีย) หนอนผีเสื้อหางติ่งเพศเมียจำนวน 2 ตัวได้เข้าสู่ระยะดักแด้ โดยเปลี่ยนคราบผิวหนังเดิมออก กลายเป็นผิวดักแด้ใหม่ ใช้เวลาอยู่ในดักแด้เพื่อเปลี่ยนแปลงร่างกาย 11 - 15 วัน ผิวของดักแด้เปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้น ตีสามครึ่งดักแด้เปลี่ยนเป็นสีดำ
25 ธันวาคม ตีสามครึ่งดักแด้เปลี่ยนเป็นสีดำ ตีสี่สีเปลือกของดักแด้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ผีเสื้อจะออกมาวินาทีไหนไม่สามารถกำหนดได้ต้องเฝ้าดูไม่ให้พลาดเพื่อต้องการได้ช้อตสำคัญคือวินาทีแรกที่ผีเสื้อออกมาจากดักแด้ ภาพในช่วงนี้ ขอแนะนำให้ท่านชมในคลิปวิดีโอ ท่านจะได้เห็นภาพที่หาชมได้ยากในช่วงที่ผีเสื้อเปิดคราบดักแด้ และคลานจนตัวหลุดออกมาจากคราบดักแด้ครับ
ผีเสื้อใช้ขาดันให้เปลือกดักแด้ปริแล้วโผล่หัวออกมา
ระยะผีเสื้อตัวเต็มวัย ผีเสื้อออกมาจากคราบดักแด้ใหม่ๆ ปีกผีเสื้อยังยับยู่ยี่ ต้องเกาะอยู่นิ่งๆ
ผีเสื่อจะคลานไปหาที่เกาะ ซึ่งเป็นที่ที่จะขยายปีกได้สะดวก ผีเสื้อจะเกาะอยู่นิ่งๆ เพื่อให้ร่างกายสูบฉีด ปีกจะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้น
ชีวิตใหม่ของ ผีเสื้อหางติ่งเพศเมีย
26 ธันวาคม ชีวิตใหม่ ผีเสื้อหางติ่งอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในชุดเดียวกัน ออกมาจากดักแด้ในคืนต่อมา เฝ้าตามถ่ายตั้งแต่ตีสามเหมือนเดิม ช่วงตีสี่ตีห้า ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามปกติ เพียงแต่ตัวนี้ออกจากดักแด้ช้ากว่า ออกมาตอนเจ็ดโมงกว่าๆ ใช้เวลาขยายปีกและสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายต่อไป จนเก้าโมงเช้า จึงบินออกไปหากินตามธรรมชาติ
สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย พบได้ในชุมชน ป่าโปร่ง ลำธาร ทั่วไป
วงจรชีวิตผีเสื้อหางติ่ง เพลงประกอบวิดีโอที่เลือก Beautiful Love Schiller_Mix 1
แล้วพบกันใหม่ในโอกาสต่อๆไปนะครับ
ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจที่ดีเสมอมา ขอขอบคุณ OkNATION.NET ที่ให้พื้นที่ในการแบ่งปันความสุข ขอบคุณครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |