สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน ห่างหายไปหลายสัปดาห์เนื่องจากผมมีภารกิจสำคัญทั้งการเรียนและการทำงานที่ระดมมาพร้อม ๆ กัน กลับมาคราวนี้รู้สึกว่าสถานการณ์บ้านเมืองก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะพอสมควร เรียกได้ว่าเป็น Ministry of Learning ฉบับแรกหลังการทำรัฐประหารครั้งที่ 11 ของประเทศไทยก็ว่าได้ ช่วงที่ผ่านมาถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ผมได้พูดในที่สาธารณะบ่อยขึ้นด้วย เป็นความบ่อยที่หลากหลายไปจากการเป็นวิทยากรในการอบรมภายใต้โครงการที่ดูแลอยู่ ทั้งที่จริง ๆ ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยกลัวการออกไปพูดในที่สาธารณะกลัวว่าเราจะพูดอะไรเปิ่น ๆ แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว ดังนั้นน่าจะเป็นประโยชน์ถ้าเราได้มาคุยกันถึงเรื่องการพูดในที่สาธารณะกันสักหน่อย ผมได้อ่านบทความที่น่าสนใจของ Jeff Haden ที่เล่าถึงการพูด 10 อย่างที่ควรหลีกเลี่ยงว่ามีอะไรบ้าง โดยผมดึงหัวข้อมาผสมผสานกับบริบทไทย ๆ ที่เป็นประสบการณ์ของผมเองเข้าไปด้วย อ๋อการพูดในที่นี้คือการการพูดแบบที่มีคนฟังในสถานที่ที่เป็นเรื่องเป็นราว เช่น การสัมมนา หรือ การนำเสนองาน เป็นหลักแต่ก็พอประยุกต์ไปใช้กับการพูดในโอกาสอื่น ๆ ได้ดังต่อไปนี้ อย่างแรกเลยอย่าพูด “วันนี้ดิฉัน/ผมไม่ค่อยสบาย” “ดิฉัน/ผมค่อนข้างเหนื่อย” หรือ “ดิฉัน/ผมเมาค้าง” ประมาณว่าถ่อมตนไว้ก่อนเพื่อให้คนฟังไม่ต้องคาดหวังจากเรามาก เพราะถ้าหากเราพูดไม่ดีตามที่คิดไว้จะได้ไม่ดูแย่มาก ซึ่งตรงนี้บอกเลยว่าไม่ต้อง เพราะผู้ฟังเขาต้องการฟังในสิ่งที่ดีที่สุดจากเรา ดังนั้นเตรียมมาแค่ไหนก็ซัดไปเต็มที่แบบนั้นไม่ต้อง “ถล่มตน” อย่างที่ 2 อย่าพูด “ฮาโหล๋ เทส” หรือ “ฮาโหล๋ ทดสอบ ทดสอบ” มันดูซีดมากเลยที่เราจะต้องเริ่มต้นการพูดแบบนั้น ร้ายกว่านั้นคือประโยคคำถามที่ว่า “ได้ยินเสียงดิฉัน/ผมมั้ย?” เพราะเกือบจะร้อยทั้งร้อยคือ “เงียบ” ต้องพึงนึกไว้คือเราไม่ได้มีหน้าที่ไปตรวจสอบระบบเสียง ซึ่งแน่ล่ะหากไมค์ไม่ดังจริง ๆ เราต้องให้ช่างเทคนิคมาเป็นคนแก้ไขให้แน่ใจว่าใช้ได้แล้วค่อยเริ่มต้นการพูดตามแผนที่เตรียมมา ระหว่างนั้นนิ่ง ๆ ไว้ไม่ต้องตื่นหรืออารมณ์เสียโดยไม่จำเป็น อย่างที่ 3 อย่าพูด “เวทีสว่างมากเลย ดิฉัน/ผมมองไม่เห็น” มันก็จริงแหละว่าบนเวทีจะทั้งสว่างและร้อนด้วย แต่คนฟังไม่จำเป็นต้องรู้หรอกดังนั้นก็ไม่ใช่หน้าที่เราอีกที่ต้องไปประกาศ ที่สำคัญอย่าได้เอามือไปป้องแสงเหมือนแสดงละครว่ากำลังมองหาใคร พยายามปรับสายตาและทำตัวตามสบายเหมือนเป็นที่ของเราเองเข้าไว้สักพักเราก็จะชินและพูดกับคนฟังได้ตามปกติ ในกรณีที่เราต้องการสื่อสารกับคนฟังจริง ๆ เช่น ในช่วงของการตอบคำถามเราสามารถพูดกับฝ่ายเทคนิคผ่านไมค์อย่างสุภาพได้เพื่อขอให้เพิ่มแสงในห้องได้ อย่างที่ 4 อย่าพูด “เดี๋ยวเราจะกลับมาประเด็นนี้” เพราะส่วนใหญ่เราเองจะลืม ถ้าไม่ลืมก็จะต้องเผื่อ RAM ไว้ส่วนหนึ่งสำหรับการจำประเด็นจนไปรบกวนการพูดของเราได้ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยให้เราตัดเข้าเรื่องที่จะตอบคำถามก่อน บริหารเวลาดี ๆ ถ้าบังเอิญว่าคำถามนั้นตรงกับเนื้อหาที่เรากำลังพูดต่อไปก็สามารถต่อประเด็นไปได้เลย หรือ บอกให้เห็นลำดับของเนื้อหาก็ได้อันนี้แล้วแต่สถานการณ์ อย่างที่ 5 อย่าพูด “อ่านออกมั้ย?” ปกติโดยเฉพาะเวลาที่เรามีการฉายสไลด์ประกอบการพูดนั้นเราควรเตรียมขนาดของตัวอักษรให้ใหญ่พอที่จะอ่านได้สะดวกอยู่แล้ว ถ้าหลีกเลี่ยงการมีตัวอักษรมากไม่ได้จริง ๆ ก็อย่าได้ฝืนอัดเนื้อหาลงในสไลด์เดียว ให้ใช้การแบ่งเนื้อหาเป็นหลายสไลด์แทน อาจใช้ภาพหรือ Info Graphic สื่อความหมายเพื่อลดการใช้ตัวอักษรก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่จากประสบการณ์ของผมจะพบว่าคนที่พูดเก่ง ๆ จะสามารถดึงคนฟังและคุมประเด็นของตัวเองให้อยู่ในเวลาที่กำหนดได้ตามแผนได้โดยแทบจะไม่ต้องพึ่งพาสไลด์เลยก็มี อย่างที่ 6 อย่าอ่านสไลด์ อย่าเด็ดขาดเพราะคนฟังจะหยุดฟังเราทันทีที่เราอ่าน ผมไม่ได้ล้อใครนะแต่เราต้องมีแนวคิดและกรอบของการพูดที่เตรียมมาไว้อย่างดีแล้ว ดังนั้นการปรายตาแค่เห็นหัวข้อก็จะดึงเองแนวคิดสำคัญที่เรากำหนดเอาไว้ออกมานำเสนอได้อย่างไม่ตกหล่น อย่าได้อ่านสไลด์เหมือนสมัยของการปิ้งแผ่นใสเด็ดขาด อย่างที่ 7 อย่าพูด “กรุณาปิดอุปกรณ์สื่อสาร” ให้เปลี่ยนเป็น “กรุณาปิดเสียงอุปกรณ์สื่อสาร” แทน เพราะสมัยนี้ใคร ๆ ก็ใช้อุปกรณ์สื่อสารกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยการติดต่อ หรือ การบันทึกสิ่งที่เราพูด ดังนั้นขอในสิ่งที่เขาสะดวกทำน่าจะมีประโยชน์กว่า สิ่งที่การเป็นผู้พูดต้องทำคือดึงความสนใจของคนฟังให้ได้มากกว่า อย่างที่ 8 อย่าพูด “ไม่ต้องจดเดี๋ยวดิฉัน/ผมมีสไดล์ให้ Download” อันนี้ก็เท่ห์ดีอยู่หรอกแต่อยากให้พึงนึกว่านิสัยในการเรียนรู้ของคนเราแตกต่างกัน บางคนจดเพราะถนัดจะทำแบบนั้นดังนั้นปล่อยไปตามอัธยาศัยน่าจะสะดวกกว่า อย่างที่ 9 อย่าพูด “เดี๋ยวดิฉัน/ผมจะตอบคำถาม” มันดีอยู่หรอกที่เราจะตอบคำถามแต่ให้ขึ้นต้นด้วยการตอบคำถามเลยดีกว่า หากในกรณีที่คำถามไม่ชัดเจนแนะนำว่าให้เราสรุปคำถามเพื่อสร้างความชัดเจนกับคนฟังที่ถามเรามาได้ เพื่อให้การตอบของเราตรงประเด็นที่สุด เทคนิคนี้ยังช่วยให้เรามีเวลาพอที่จะคิดและเรียบเรียงข้อมูลเพื่อตอบคำถามได้อย่างชัดเจนขึ้นด้วย อย่างที่ 10 อย่าพูด “วันนี้ดิฉัน/ผมจะพูดสั้น ๆ” ไม่จำเป็นต้องไปรักษาสัญญาที่ไม่ได้มีใครมาบังคับเรา คนฟังเขามาแล้วและอยากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากกว่าการสนว่าการพูดจะสั้นหรือยาว เพราะส่วนใหญ่หากเป็นการสัมมนาจะมีตารางเวลาแจกให้คนฟังอยู่แล้ว หน้าที่เราคือต้องคงความน่าสนใจของสิ่งที่พูดให้ได้เป็นสำคัญ สุดท้ายคืออย่าพูดจนหมดเวลาแบบเป๊ะ ๆ ให้เราเผื่อเวลาในช่วงท้ายสักเล็กน้อย (ประมาณ 5 นาที) เผื่อว่าคนฟังจะมีคำถามที่อยากได้ความชัดเจนเพิ่มเติม ข้อสำคัญคือเราควรเตรียมท่อนสรุปในสิ่งที่พูดทั้งหมดไว้ด้วยเพราะเป็นการช่วยให้ผู้ฟังสามารถเก็บประเด็นสำคัญในตอนท้ายก่อนเดินออกจากห้องไป สำหรับ Ministry of Learning ฉบับนี้ก็สมควรแก่เวลาแล้ว ขอให้มีความสุขในการเป็นนักพูดที่ดี แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดี อ้างอิงจาก http://www.inc.com/jeff-haden/10-things-speakers-should-never-say-th.html?cid=sf01002
ผู้เขียน ดร.โชดก ปัญญาวรานันท์ CEO จาก JobNow Healthcare Network ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ในการบริหารโครงการ (Project Management) บริหารจัดการระบบในองค์กร (Business Process) การอบรมและการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capacity Development) JobNow Healthcare Network ให้บริการด้านการจัดหางานแบบออนไลน์ด้านธุรกิจ Healthcare โดยเฉพาะ โดยเพื่อน ๆ ที่กำลังมองหาโอกาสในการทำงานใหม่ หรือ น้อง ๆ ที่กำลังมองหางานสามารถฝาก profile ไว้กับเราได้ฟรีโดยไม่ค่าใช้จ่ายที่ www.jobnowhcn.com รวมถึงสามารถติดตามเราได้จากช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ Facebook: https://www.facebook.com/jobnowhealthcarenetwork IG: https://www.instagram.com/jobnowhealthcarenetwork Twitter: https://twitter.com/JobnowNetwork |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |