สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่าน สำหรับผมแล้วนี่เป็นการกล่าวทักทายที่เขียนยากที่สุดตั้งแต่ผมเปิด Blog นี้มา เอาเป็นว่าผมขอใช้เวลาในเบื้องต้นนี้เพื่อร่วมสงบนิ่งกับคุณผู้อ่านไปพร้อม ๆ กันสักครู่นะครับ . . . สำหรับ Ministry of Learning ฉบับนี้ จะขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำโครงการด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) เพื่อให้คุณผู้อ่านที่เป็นครู และ ผู้ปกครองสามารถนำไปเป็นจุดเริ่มต้นในการสอนแบบโครงงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น ก่อนอื่นขอเล่าถึงที่มาก่อนว่าบทความนี้เขียนได้เพราะผมได้มีโอกาสทำโครงการด้านการศึกษาชื่อว่า โครงการ โบอิ้ง ยกระดับการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี โดยสถาบันคีนันแห่งเอเซียที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดของผมได้รับงบประมาณในการสนับสนุนจากบริษัทโบอิ้ง (ผู้ผลิตเรื่องบินรายใหญ่ของโลก) มาดำเนินโครงการด้านการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการใช้เทคโนโลยี ถึงตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว จัดในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครนายก สมุทรปราการ และ นนทบุรี สำหรับปีที่ผ่านมาเรามุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีมาเสริมการสอนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) โดยหวังผลให้เกิดเป็นต้นแบบของกิจกรรมในชั่วโมง “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ที่มีประสิทธิภาพตามนโยบายให้ได้มากที่สุด ก่อนทำโครงงานเราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับบุคลากรทางการศึกษาหลาย ๆ กลุ่มทั้งศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และ ครู พบว่าการสอนแบบโครงงานที่ผ่าน ๆ มาก็มีจุดที่ติดขัดและเป็นอุปสรรคอยู่พอสมควร (ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้) พอทราบปัญหาต่าง ๆ ก็ทำวิจัยเล็ก ๆ เพื่อหาทางออกจากแนวปฏิบัติหลาย ๆ แหล่ง โดยส่วนสำคัญที่หยิบมาเล่าในบทความนี้เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) มาจากหนังสือ Work That Matter: The Teacher’s Guide to Project-Based Learning เขียนโดย Alec Patton (2012) ซึ่งเผยแผร่อยู่บนเว็บไซต์ของ http://www.innovationunit.org (คุณผู้อ่านสามารถ Download มาอ่านประกอบเพื่อรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้นได้นะ) จากคู่มือหนา ๆ ที่กล่าวมา เราก็แกะแก่นที่สำคัญออกมาทำให้เข้าใจได้โดยงาน และ ปรับให้เข้ากับบริบทการศึกษาไทย ได้ลำดับในการวางแผนเพื่อการสอนแบบโครงงานดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นแนวคิด เป็นขั้นเริ่มแรกสุดและขั้นที่แก้ปัญหาในการสอนแบบโครงงานว่า “นักเรียนคิดโครงงานเองไม่ได้” เพราะในขั้นนี้ครูจะเป็นผู้ที่คิดโครงงาน – ไม่ใช่นักเรียน หลักสำคัญคือครูจะต้องเอามาตรฐานสาระการเรียนรู้ – ไม่ใช่บทในหนังสือมาเป็นตัวตั้งว่าเทอมนั้น ๆ นักเรียนจะต้องเรียนอะไรในวิชาของตัวเองบ้าง เพื่อคิดต่อยอดว่าโครงงานอะไรที่นักเรียนทำแล้วจะเกิดการเรียนรู้ครอบคลุมแนวคิดในมาตรฐานนั้น ๆ ได้ (แน่นอนว่าโครงงานหนึ่งไม่สามารถครอบคลุมทั้งหมด) ในทางปฏิบัติ อาจจะเป็นโครงงานง่าย ๆ สั้น ๆ แบบทำในชั่วโมงไปก่อน ทำ 1-2 สัปดาห์เสร็จ แล้วค่อย ๆ เพิ่มรายละเอียดและความต่อเนื่องของโครงงานเข้าไป ขั้นตอนนี้จริง ๆ แก้ปัญหาที่คุยกันไว้ว่า “โครงงานเป็นงานงอกของครู” เพราะจริง ๆ เราเอามาตรฐานมาสอนแบบโครงงานผสมผสานกับการสอนแบบปกติไปแล้วนั่นเอง ในกรณีที่ครูทำงานกันเป็นทีมได้เข้มแข็ง ก็ให้เอาสาระการเรียนรู้ข้ามกลุ่มสาระมากางและดูพร้อมกันว่าโครงงานที่สามารถครอบคลุมมากกว่าหนึ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้น่าจะเป็นโครงงานอะไร แล้วค่อยไปหาสัดส่วนการประเมินผลในลำดับถัดไป ขั้นที่ 2 ขั้นออกแบบ พอเราได้แนวคิดว่าอยากทำโครงงานอะไรสักโครงงานหนึ่ง ๆ แล้ว ขั้นนี้จะลงรายละเอียดว่าโครงงานนั้นชื่ออะไร คาดหวังชิ้นงาน/ผลงานแบบไหน อยากให้นักเรียนได้อะไร (ตรงกับมาตรฐานสาระการเรียนรู้อะไรบ้าง – ลึกแค่ไหน) มีกิจกรรมอะไรและใช้เวลานานแค่ไหน และ มีแผนการจัดแสดงอย่างไร จริง ๆ แล้วตอนอบรมเชิงปฏิบัติการผมจะมีแบบฟอร์มให้กรอกเพื่อให้ครูใช้เป็นกรอบในการนำเสนอ แต่ในที่นี่เป็นชุดคำถามคร่าว ๆ ตามนี้น่าจะเพียงพอต่อการนำไปทดลองเองได้แล้ว ความพิเศษของขั้นตอนนี้คือการที่ครูต้องลงมือทำ “แบบจำลอง” หรือ Model ขึ้นมาก่อน เพื่อให้ครูรู้ถึงความยาก/ง่ายตอน ปัญหาที่อาจจะเกิด และ ประเมินถึงความเหมาะสมกับนักเรียนจากการปฏิบัติจริง ว่าโครงงานนั้น ๆ มีความเป็นได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยให้แนวคิดที่ร่างไว้ในใจมีความชัดเจนนั่นเอง นอกจากนั้นแบบจำลองแล้ว ครูจะได้ทราบสัดส่วนของความหนักเบาในมาตรฐานสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ในโครงงานนั้น ๆ เพื่อให้สะดวกในการสร้างแบบประเมินโครงงานนักเรียน (Rubric) ในตอนประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย ขั้นที่ 3 ขั้นปรับจูน ขั้นนี้ผมเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นขั้นที่ใครให้ความสำคัญ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นขั้นที่สำคัญมาก โดยครูจะนำเอาร่างโครงงานรวมถึง Model ที่ออกแบบไว้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูคนอื่นเพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลายและรัดกุมก่อนที่จะนำไปใช้จริง เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว อะไรที่เราเห็นว่าเหมาะ/สามารถนำไปปรับแก้ไขได้ก็นำไปลอง หรือ ในกรณีที่สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างเข็มแข็ง ครูสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงกันระหว่างโครงงานได้อีก (Coherence) เพื่อให้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงงาน จะสามารถให้คำปรึกษาเพื่อแนะนำนักเรียนได้ตั้งแต่ในโครงงานที่ตนเองให้คำปรึกษาอยู่ได้เลย เมื่อแผนต่าง ๆ ที่วางไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ครูค่อยเริ่มออกแบบกิจกรรมการสอนที่ลงรายละเอียด และ ทำเอกสาร/สื่อการสอน ในขั้นตอนนี้เพื่อไม่ต้องเสียเวลาปรับเอกสารต่าง ๆ ให้เสียเวลา (คุยให้จบแล้วทำรอบเดียว) ข้อดีอีกประการหนึ่งในการทำงานร่วมกันในขั้นนี้คือครูจะมั่นใจได้ว่าไม่มีโครงงานใดที่ออกแบบมาซ้ำซ้อนกันโดยบังเอิญอีกด้วย (ไม่งั้นนักเรียนเบื่อแย่) --- ที่เล่ามาทั้ง 1 ถึง 3 นั้นเป็นขั้นที่ครูทำงานด้วยกันเองทั้งหมด ยังไม่ถึงเวลาที่ครูจะเจอนักเรียน --- ขั้นที่ 4 ขั้นดำเนินโครงงาน ขั้นนี้ถือเป็นขั้นแรกที่ครูจะเจอนักเรียนแล้ว เมื่อนำเอาโครงงานที่ได้ปรับปรุงจากขั้นที่ 3 แล้ว ครูก็สามารถที่จะเตรียมการสอนเพื่อให้เกิดการดำเนินโครงงานได้จริง ๆ ตามแผนได้ เคล็ดลับง่าย ๆ อันหนึ่งคือการใช้สื่อที่น่าสนใจมาเป็นตัวดึงเรื่อง (Hook) คู่กับชุดคำถาม เช่น ให้ดูภาพเกี่ยวกับการงอกของต้นถั่วเขียว และ ตั้งคำถามให้นักเรียนเล่าถึงสิ่งที่เขารู้เกี่ยวกับการปลูกถั่วเขียวบ้าง เล่าไปสักพักนักเรียนจะเจอขอบของความรู้ตัวเอง (Edge of Knowledge) จนตกออกจากขอบนั้นก็จะเกิดคำว่า “เอ๊ะ” เมื่อนักเรียนเป็นฝ่ายถามกลับด้วยความสงสัยถือว่าเข้าทางครูแล้ว หน้าที่ของครูคือการอดทนที่จะตอบคำถามนั้น และ ดันเข้าสู่จุดเริ่มต้นโครงงานตามแผนที่วางไว้ได้เลย ขั้นการดำเนินงานจะต้องวางแผนไว้เผื่อด้วยว่าเวลานักเรียนกลับมานำเสนอตามขั้นของโครงงานจะต้องใช้วิธีการอย่างไร จัดอย่างไร และ จะเตรียมการสำหรับการให้ข้อเสนอแนะอย่างไร อันนี้อาจจะคลาดเคลื่อนไปจากแผนที่วางไว้บ้างก็ตามความเหมาะสม อย่าลืมว่าลูกศิษย์เราเป็นเด็กไม่มีทางที่ทุกโครงงานจะประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว ขั้นที่ 5 ขั้นแสดงผลโครงงาน ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายสำหรับวงจรนี้ แต่ก็สามารถวางแผนควบคู่ไปกับขั้นอื่น ๆ ที่ว่ามาแล้วได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญคือนักเรียนควรจะต้องทราบก่อนที่จะเริ่มทำโครงงานกับครูว่าผลงานที่ได้นั้นจะได้รับการจัดแสดงอย่างไร เพราะการรู้ล่วงหน้าจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความตั้งใจในการทำโครงงานให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถของแต่ละชั้นปีจะมี ที่เล่ามาเป็นบทสรุปย่อ ๆ ของการสอนแบบโครงงานที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ อย่าลืมว่าโครงงานไม่จำเป็นต้องซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องเอาเรื่อง “5 บท” มาจับก่อน ปล่อยให้เด็กทำไปก่อน โครงงานไหนมีแววจะเอาไปประกวดต่อค่อยเป็นเรื่องภายหลัง จะทำให้ทั้งครูและเด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ที่แท้จริงมากกว่าเยอะ ประเด็นที่อยากฝากไว้คือโครงงานอาจจะล้มเหลว แต่การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ไม่มีวันล้มเหลว อยากให้คุณผู้อ่านลองดูตัวอย่างโครงงานของเด็ก ๆ และ บทสัมภาษณ์ของคุณครูได้จาก Playlist ในโครงการ Boeing TEL นี้ https://www.youtube.com/playlist?list=PLroQXUp-Toh_xoUgu9twMdpMRdN3qtvkq มีทั้งหมด 13 กรณีศึกษา/สถานศึกษา เผื่อใครชอบแนวไหนและอยากเอาไปลองก็จะได้เป็นทางลัดกันไป เอาล่ะ สมควรแค่เวลาแล้ว นาน ๆ เขียนทีเลยขอยาวหน่อย หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับคุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่ที่อยากลองเอาไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ง่าย ๆ ที่บ้านได้ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดี
ผู้เขียน ดร.โชดก ปัญญาวรานันท์ CEO จาก JobNow Healthcare Network ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ในการบริหารโครงการ (Project Management) บริหารจัดการระบบในองค์กร (Business Process) การอบรมและการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capacity Development) JobNow Healthcare Network ให้บริการด้านการจัดหางานแบบออนไลน์ด้านธุรกิจ Healthcare โดยเฉพาะ โดยเพื่อน ๆ ที่กำลังมองหาโอกาสในการทำงานใหม่ หรือ น้อง ๆ ที่กำลังมองหางานสามารถฝาก profile ไว้กับเราได้ฟรีโดยไม่ค่าใช้จ่ายที่ www.jobnowhcn.com รวมถึงสามารถติดตามเราได้จากช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ Facebook: https://www.facebook.com/jobnowhealthcarenetwork IG: https://www.instagram.com/jobnowhealthcarenetwork Twitter: https://twitter.com/JobnowNetwork |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |