*/
<< | มีนาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
หลังการล่มสลายของศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย ราว พ.ศ.1700 การล่มสลายครั้งนั้นอาจกล่าวได้ว่าคำสอนศาสนาพุทธ หมดสิ้นไปจากดินแดนชมพูทวีป ไม่มีผู้ใดกล่าวถึงอีก ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะการล่าอาณานิคมของชาวอังกฤษ จนไปขุดค้นพบตามประสาชาวยุโรปที่ชอบค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ ชาวอินเดียจึงได้รู้จักศาสนาพุทธอีกครั้ง แม้จะไม่แพร่หลายดังในอดีต แต่หลักธรรมของคำสอนของพระองค์ยังคงอยู่และได้แพร่ออกไปนอกชมพูทวีปจนกลายเป็นศาสนาหลักของประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไทย พม่า ลาว จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น และก็ได้คละเคล้ากับวิถีชีวิตชาวท้องถิ่นที่ยังเชื่อในภูตผี ปีศาจ เทพเจ้า ที่สามารถดลบันดาลให้แก่ผู้คนได้ รวมทั้งลัทธิพราหมณ์ที่เข้ามาก่อนหน้านั้น จนเป็นพิธีกรรมของคนชั้นสูง เช่น กษัตริย์ราชวงศ์ทั้งหลาย เราจึงพบว่า ศาสนาพุทธในเอเชียรวมทั้งไทย จึงเป็นศาสนาพุทธแบบรวมมิตร ปะปนกันทั้งพุทธ พราหมณ์ ผี ศาสนาที่เป็น อเทวนิยม ก็กลายเป็นเทวนิยมไป คำสอนที่สอนให้ตนเองทำอะไรด้วยตนเอง ผลมาจากเหตุที่ทำ กลับกลายเป็นการขอสิ่งนั้นสิ่งนี้ โดยไม่สร้างเหตุ ศาสนาที่สอนให้คนเราจิตใจมั่นคง เชื่อในการกระทำของตน กลับกลายเป็น คนที่จิตใจอ่อนแอ แสวงหาแต่ตัวช่วย หลักคำสอนหนึ่ง ที่ดูจะเป็นของพื้นๆสำหรับเราชาวพุทธ นั่นก็คือ ทาน เราเคยชินกับคำนี้มาก เช่นทำบุญทำทาน การทำทานที่เป็นปกติ เช่น การใส่บาตร การทำสังฆทาน เป็นต้น การทำทานเป็นหนึ่งในบุญกิริยา ก่อนทำ ขณะ ทำ หลังทำ มีความยินดี ย่อมเป็นบุญทั้งที่เป็นเหตุและเป็นผล บุญที่เกิดย่อมลดหลั่นกันไป เช่น การทำทานให้แก่มนุษย์ย่อมได้บุญมากกว่าสัตว์ การทำทานด้วยการสร้างวิหารย่อมได้บุญมากกว่าการทำทานให้พระพุทธเจ้า การเผยแพร่หลักธรรมคำสอน เพื่อให้ผู้อื่นได้บรรลุธรรม ย่อมได้บุญมากกว่าการสร้างวิหาร แต่ทานทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่มีอะไรเทียบได้กับ การ อภัยทาน แม้เพียงครั้งเดียว การอภัยทาน คือการที่ไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวร แม้กระทั่งศัตรูที่เราเกลียดชังมากที่สุด ดังนั้น ทานที่ทำยากที่สุด ก็คือ อภัยทาน ลองตรองดูก็คงรู้คงเห็นกันอยู่ มิฉะนั้นโลกนี้ก็คงสงบ มีแต่สันติ ดูในอดีตเช่น ชมพูทวีป เป็นตัวอย่าง ก็มีการเข่นฆ่า ล้างญาติมิตร วงศ์ตระกูล เช่น วิทูทภะ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ตระกูล ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้า เพราะความแค้นที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม แม้พระองค์จะทรงห้ามอย่างไรก็ไม่เป็นผล มามองดูสังคมไทยนี้ ก็เห็นชัดกันอยู่ มิฉะนั้นจะมี คำว่า hate speech ได้อย่างไร การอภัยทาน เป็นเรื่องของจิตใจ ที่ไม่ผูกโกรธ ไม่ได้ผูกพันกับเรื่องกฎเกณฑ์ทางโลก ถ้ากฎเกณฑ์ทางโลก ต้องลงโทษ ก็ต้องลงโทษ เพียงแต่ เราไม่ซ้ำเติม ด้วยจิตที่สะใจ ที่ได้ล้างแค้น สมใจ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียว ที่สามารถทำลายฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เดียวกันได้โดยไม่ผูกพันกับการดำรงชีวิตหรือสืบทอดเผ่าพันธุ์ เราสามารถฆ่ากันได้ แม้ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ด้วยเหตุผลที่เพียงการมองหน้า การขับรถปาดกัน การเห็นต่างเรื่องการเมือง การใส่สีเสื้อที่ผิดกัน สัตว์นั้น จะฆ่าทำลายกันในเผ่าพันธุ์เดียวกัน ก็เนื่องด้วยการอยู่รอด ปริมาณอาหาร และการสืบพันธุ์ แต่นอกจากนี้จะไม่มีการฆ่าทำลายกันในเผ่าพันธุ์เดียวกัน ด้วยเหตุผลเช่นมนุษย์ การอภัยทาน เป็นหลักการ ของทุกศาสนา ที่สอนเอาไว้ เพื่อความสงบสุขของสังคม การสละความโกรธ ความเกลียดชังออกไปจากจิตใจตนเอง เป็นการละคลายการยึดติดอันหนึ่ง ดังนั้นความโกรธก็เป็นการยึดติด ความรักความหลงใหลก็เป็นความยึดติดเช่นกัน อย่างหนึ่งยึดเอาไว้เพื่อจะได้โกรธ เอาไว้เพื่อเป็นมูลจิตเพื่อการแสดงออกทางวาจา ทางกาย เพื่อตอบสนองความต้องการ ความสะใจตนเอง อีกอย่างหนึ่ง ยึดไว้ เพื่อเสพสุข จากความรัก ความน่าใคร่ปรารถนา เพื่อสนองจิตตนเอง ตรองดูเถิด ดูจิตตนเองให้ชัด ไม่ต้องปิดบัง บางครั้งเราพูดดีทำดีหรือ สนทนาถูกคอจนเพื่อนๆหัวเราะมีความสุข ใช่เพราะเราต้องการเสพความสุขตรงนี้ใช่หรือไม่ อยากเขียนอะไรที่ดี แต่ขณะเดียวกัน ก็แอบหวังจะให้มีคำสรรเสริญตอบกลับมาบ้าง เพื่อเป็นความสุขให้กับจิตใจตนเอง การติดกับดักความรัก ไม่ว่าจะเป็นรักระดับใด แม้เป็นการยึดติด แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นความสวยงามของมนุษย์ชาติ คนในสังคมมีความสุข ไม่มีภัยเวรต่อกัน นี่จึงเป็นสิ่งที่น่าปรารถนาของสัตว์โลก ส่วนผู้ที่จะพัฒนาจิตใจ จนเป็นผู้มีเมตตาที่ไม่มีประมาณ ไม่ผูกติดกับสิ่งสมมติทั้งหลาย จึงเป็นความรักสูงสุด จนไม่ติดในความรัก ทำได้ยาก หาได้ยาก อยู่กับโลกแต่พ้นโลก เป็นระดับที่ยากกว่าการละคลายความรักความดีที่เป็นความปรารถนา และความโกรธมากมายนัก คนที่ละคลายความโกรธไม่ได้ ยังมีความยินดีในการยึดติดนี้ แม้จิตใจตนเองต้องเร่าร้อน ก็ยินดีที่จะร้อน ยินดีที่จะเป็นคนมีจริตเช่นนี้ ก็เป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ เพียงแต่ต้องควบคุมกาย วาจา อย่าให้ต้องก้าวล่วงออกมาทำความลำบากเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ในชีวิตที่ผ่านมาของเราทุกวันนี้ การกระทำต่างๆไม่ว่าจะเป็นวาจาก็ดี ทางกายก็ดี ย่อมส่งผลกระทบต่อใครคนใดคนหนึ่งไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ขณะเดียวกัน ปัญหาอุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยินดี หรือยินร้าย ก็เป็นผลมาจากการกระทำของผู้อื่นที่มากระทบเราแบบตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จะเห็นว่า การเกิดเป็นคน จะทำอะไรก็ตาม เรื่องที่จะไม่ไปกระทบกับผู้ใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้ายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก พระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้พิจารณาว่า สิ่งใดที่ทำแล้ว เกิดผลกระทบต่อส่วนรวมอย่างไร บางครั้งสิ่งนั้นถ้าทำแล้ว เราได้ประโยชน์ แต่ส่วนรวมเสียหายก็ไม่ควรทำ ยิ่งถ้าผู้ใดทำเพื่อส่วนรวมแม้ตนจะเสียประโยชน์ก็ยังทำ นับว่าเป็นผู้ประเสริฐที่หาได้ยากนัก อย่างนี้เป็นต้น เมื่อการละคลายยึดมั่นในความรัก หรือกล่าวอีกนัย การที่เรารักย่อมทำสิ่งที่อีกคนชอบใจ เขาก็กล่าวว่าเราเป็นคนดี จึงเหมือนการละคลายยึดติดในดี เป็นสิ่งที่ยาก กว่า การละคลายความโกรธ หรือละคลายสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นแม้กระทั่ง การอภัยทาน ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแล้ว ก็ไม่ต้องกล่าวถึงการละคลายซึ่งความดี หรือละคลายในความรัก การอภัยทาน คือการยกโทษหรือ? การอภัยทาน คือ การยกโทษทางจิตใจ เราไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่ผูกพันความแค้นเคือง ปลดปล่อยกิเลสกองโทสะที่ผูกพันกับเขาออกไป เอาความเมตตาเข้ามาแทนที่ แต่ไม่ได้หมายถึง การยกโทษทางโลก ถ้าเขาประพฤติปฏิบัติ ผิดหลักกฏหมายทางสังคมหนึ่งๆที่กำหนดขึ้นมา เขาต้องได้รับผลตามนั้น เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น สังคมจะวุ่นวาย เรื่องจิตใจเป็นเรื่องภายในเป็นเรื่องของปัจเจก แต่เรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องของกฎสมมติที่คนเราช่วยกัน ตั้งขึ้นมา บทความนี้ มีจุดประสงค์ ให้พิจารณาดู บางครั้งการศึกษาธรรม เราได้แต่อ่านตัวหนังสือที่อยู่ภายนอก แล้วก็จำว่า ต้องละคลาย ทั้ง ชั่ว ทั้งดี ต้องละคลายกิเลสทุกกอง โทสะต้องทิ้ง ราคะ โลภะ โมหะ ต้องไม่เอา จะได้สู่นิพพาน ไปสู่ความว่าง แต่เราลืมดูตัวเองสนิท แบบฝึกหัดชีวิตที่เราประสบอยู่ทุกวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าลืมตาขึ้นมา เหล่านี้คือธรรมะที่เราเอามาสอนตนเองได้ดีที่สุด บทเรียนที่ทดสอบตนเองเรื่องอภัยทานในความโกรธ ที่เป็นกิเลสหยาบที่ละคลายได้ง่ายกว่า ราคะและโลภะ ก็คือ การเห็นต่างเรื่องการเมือง ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ศาสนาพุทธพร่ำสอนถึงเรื่องการละคลายกิเลส แต่พอเป็นเรื่องนี้ ทุกคนกลับพอใจในการที่จะกอดเอากิเลสเหล่านี้ไว้ เพียงแค่เบื้องต้น ยังไปไหนไม่รอด แล้วยังจะไปแสวงหานิพพานกัน
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |