*/
<< | เมษายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
อนุสนธิจาก เอ็นทรี่ http://www.oknation.net/blog/March/2015/04/09/entry-1 เหมือนจะรู้แต่รางเลือน เหมือนจะใช่แต่ไม่เชิง คนเราจะรู้จักตัวเองได้ดีแค่ไหนหนอ..... ของคุณแม่มดเดือนMarch มีประเด็นที่จะพูดคุยต่อยอดออกไปได้อีกมากมาย ผมจึงอาศัยอานิสงส์ของเอ็นทรี่ดังกล่าว นำมาพูดคุยในแง่มุมทางพุทธศาสนาว่า ศาสนาพุทธได้มีมุมมองในแง่ของคนและธรรมชาติว่าอย่างไร มีบางคนกล่าวว่า ศาสนาพุทธเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถอธิบายหลายสิ่งหลายอย่างด้วยวิทยาศาสตร์ได้ แต่ในความเป็นจริงเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์คือการค้นหาความจริงทางธรรมชาติเพียงบางส่วนเท่าที่เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นมาในขณะนั้นจะอำนวยผล เมื่อบางส่วนที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์แล้วจะทำอย่างไร ส่วนนี้จึงต้องอาศัย สิ่งที่เรียกว่า ศรัทธา ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารับรอง ศรัทธาเป็นสิ่งที่จำเป็นเบื้องต้นในการนับถือศาสนาทุกศาสนา เช่นถ้านับถือศาสนาคริสต์ แล้วบอกว่าไม่เชื่อในพระเจ้าว่ามีจริง ก็จบตั้งแต่เริ่มแรก คนบางคนที่บอกว่าไม่มีศาสนา แท้ที่จริงเขามีอยู่ ก็คือศรัทธายึดมั่นในทิฏฐิตนเอง ถ้าสิ่งที่ตนเองยึดมั่นนั้นสามารถนำพาชีวิตของตนเองให้มีความสุขไปได้ตลอดรอดฝั่งและสามารถถ่ายทอดจนมีผู้ปฏิบัติตามและเห็นจริงในทิฏฐินั้น ก็สามารถกลายเป็นศาสนาใหม่ขึ้นมาได้ ศรัทธาในศาสนาพุทธคืออะไร? คนที่บอกว่านับถือศาสนาพุทธ จะต้อง เชื่อใน ตถาคตโพธิสัทธา คือเชื่อในปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น ความเชื่อต่อมาก็คือ การเชื่อใน กฎแห่งกรรม ว่าตนมีกรรมของตน ตนจะต้องได้รับผลกรรมของตน ที่เรียกว่า วิบาก ผู้ใดประกอบกรรมใดย่อมต้องได้รับผลจากกรรมนั้น หลักกรรมของศาสนาพุทธมีความคาบเกี่ยวกับ ลัทธิความเชื่อสมัยโบราณ บางแง่มุมคล้ายคลึงกัน บางแง่ก็แตกต่างกัน ลัทธิความเชื่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีติดตัวตั้งแต่สมัยแรกๆจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งเราจะพบเห็นความเชื่อในเรื่องกรรมที่บิดเบี้ยวไปจากคำสอนของศาสนาพุทธที่พบเห็นกันอยู่ แต่จะไม่ขอลงในรายละเอียดในประเด็นนี้ พระพุทธเจ้าเน้นในเรื่องหลักกรรมมากเพราะว่าเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์โดยตรง แต่ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ก็ไม่ได้มีเพียงเรื่องกรรมเพียงเรื่องเดียว พระองค์สอนว่า กรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกฎธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยหลายนัย ดังเช่น กฎธรรมชาติที่ว่าด้วย อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม ผมขออธิบายภาพรวมของนิยามต่างๆเหล่านี้ว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาอธิบายเท่าที่จะอำนวยได้ หลังจากที่โลกเย็นตัวลง สารประกอบเริ่มแรกเป็นเพียงสารประกอบที่เป็นอนินทรีย์ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนตัวของลม ที่พัดพาไอน้ำจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง ก่อเกิดธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิประเทศ การรวมตัวของธาตุและสารประกอบ ก่อกำเนิดสารประกอบบางอย่างที่สามารถสังเคราะห์แสงโดยดึงเอาพลังงานจากแสงแดดมาเป็นเชื้อเพลิงในการแยกส่วนประกอบของ คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศให้กลายเป็นสารประกอบที่เป็นแป้ง และออกซิเจน นี่คือจุดตั้งต้นของสิ่งมีชีวิตที่เป็นพืช ประจุไฟฟ้าที่เกิดการปะทะกันในชั้นบรรยากาศ เกิดการรวมตัวขึ้นมาของธาตุไนโตรเจนและไฮโดรเจน จนเกิดสารประกอบแอมโมเนีย ซึ่งเกิดปฏิกิริยาต่อมากลายเป็น อมิโนแอซิด อันเป็นหน่วยเล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสัตว์ ปัจจัยหนึ่ง เป็นเหตุของอีกปัจจัยหนึ่งต่อเนื่องกันมา ชีวิตได้เริ่มต้นแล้ว การพยายามดำรงชีวิตเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ตนเองได้เริ่มขึ้น จากเซลเดียวที่ดิ้นรนขวนขวาย พัฒนาการมารวมกลุ่มกันเพื่อความอยู่รอด ดังเช่น สัตว์ตระกูลฟองน้ำ กาลเวลาที่เปลี่ยน บางครั้งการรวมกลุ่มกันแต่ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ อาจกลายเป็นการแย่งชิงทรัพยากรกันเอง เซลที่อยู่กันเป็นกลุ่มโดยเฉพาะเซลที่แออัดอยู่ตรงกลางชักอยู่ไม่ไหว การลองผิดลองถูกทางธรรมชาติมันเกิดขึ้นเสมอ ลองขยายให้ตรงกลางที่แออัดกลายเป็นท่อจะดีไหม เพื่อเพิ่มผิวสัมผัส นี่คือการพัฒนาก้าวไปข้างหน้าอีกขั้นหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่ลำตัวเป็นท่อ เป็นช่องว่าง เป็นต้น ในขณะที่เซลแต่ละเซลแม้จะพัฒนารูปแบบให้เป็นท่อ เพื่อแก้ปัญหาการแย่งชิงอาหาร แต่ละเซลล์ก็ยังทำหน้าที่เหมารวมอยู่ดี คือ ทำหน้าที่ย่อย ขับถ่าย สืบพันธุ์ รวมเบ็ดเสร็จ ถ้างั้นลองมาแบ่งแยกหน้าที่กันทำจะดีไหม บางส่วนทำหน้าที่หาอาหาร บางส่วนทำหน้าที่สืบพันธุ์ บางส่วนทำหน้าที่ขับถ่ายของเสีย นี่คือที่มาของระบบอวัยวะ เพราะความต้องการอยู่รอดเริ่มซับซ้อนมากขึ้น การที่หลบหลีกจากอันตรายที่อาจทำลายโครงสร้างเหล่านี้ได้ ระบบประสาทจึงมีความสำคัญและได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อรับสิ่งเร้าภายนอก และตอบสนองในรูปแบบของปฏิกิริยา ที่กล่าวมาถึงตอนนี้ ผมพูดถึง กฎธรรมชาติ มาแล้ว สองนิยาม คือ อุตุนิยามหนึ่ง และ พีชนิยามอีกหนึ่ง พีชนิยามคือการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิต ระบบประสาทพื้นฐาน มีเพียงการหลีกหนีจากสิ่งเร้าที่มาทำอันตราย และเข้าหาสิ่งเร้าที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ระบบประสาทที่พัฒนาซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ในสัตว์เลื้อยคลาน รับความรู้สึกจากภายนอก อุณหภูมิ การแปรเปลี่ยนของสภาพอากาศ การควบคุมการหายใจ เหล่านี้ ก้านสมองของมนุษย์คือส่วนสมองโบราณที่เราได้จากสัตว์เลื้อยคลาน ระบบประสาทที่ซับซ้อนมากขึ้นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่คลุมอยู่บนก้านสมอง ทำหน้าที่เก็บหน่วยความจำ และเมื่อพัฒนามาเป็นมนุษย์ที่มีส่วนสมองที่คลุมสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกชั้นหนึ่ง เป็นสมองส่วนที่ทำให้คนอยู่เหนือสัตว์อื่นๆในโลก เพราะการเรียนรู้ การคิดค้นแก้ปัญหา มาจากส่วนนี้ ในขณะเดียวกันส่วนนี้ก็สร้างความเศร้าโศกเสียใจทุกข์ใจกับการปรุงแต่ง จินตนาการไปต่างๆ การหลงติดในมายา ในสมมติก็คือส่วนนี้ การที่จะหลุดพ้นด้วยปัญญาที่เป็นวิมุติก็ส่วนนี้เช่นกัน สมองคนจึงเป็น ซีพียู ที่ผ่านการอัพเกรดครั้งแล้วครั้งเล่า มานับล้านปี กายนี้ ร่างกายนี้ จึงเป็นส่วนที่มาจากพันธุกรรม ของพ่อและแม่ อย่างละครึ่ง ส่วนจิตที่เป็นธาตุรู้ เราไม่ทราบว่ามาจากไหน จิตที่เป็นธาตุรู้นี้ มาใช้กายนี้เพื่อการรับรู้และแสดงออกโดยผ่านการใช้เครื่องมือที่ระบบประสาทซึ่งก็คือสมองนั่นเอง ตรงส่วนจิตนิยามนี้เอง ที่ไม่อาจอธิบายหรือพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ การอธิบายส่วนจิตนี้ ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพพอจะลำดับได้ดังนี้ ถ้าจิตนี้เป็นแผ่นซีดีที่เก็บข้อมูล ทุกครั้งที่เราตื่นขึ้นมา การรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหกก็เริ่มต้น จิตจะเกิดและดับในทุกขณะ จิตหนึ่งที่พุ่งรับอารมณ์ ก็เก็บเกี่ยวอารมณ์นั้นไว้ จะเป็นเรื่องกุศลหรืออกุศลก็เก็บไว้ทั้งสิ้น ก่อนจิตดวงหนึ่งจะดับลง อารมณ์ที่เก็บไว้ก็จะส่งต่อให้จิตดวงต่อไปรับช่วงไป เหมือนดังการวิ่งผลัดที่มีการส่งต่อของไม้ ยามที่เราหลับ จิตก็จะตกภวังค์ คือรักษาภพเอาไว้ เมื่อตื่นอีกก็เป็นเช่นเดิม ดังนั้นคนใดที่ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ไม่ดี หมกมุ่นในกาม ในโทสะ ในโมหะ ข้อมูลที่ถูกบันทึกในซีดี ก็จะฝังเติมลงไปเรื่อยๆ จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งจิตสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นใจ เราเรียกว่า จุติจิต (จิตก่อนตาย อย่าเข้าใจว่าเป็นจิตตอนเกิด) ก็จะพาเอาข้อมูลทั้งหมดไปเป็นปฏิสนธิจิต ในภพภูมิใหม่ ซึ่งอาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์ก็ได้ ซึ่งถ้าจิตนั้นไปเกิดเป็นภพภูมิที่เป็นสัตว์ มีสมองหรือ ซีพียู เท่าที่มี มีอวัยวะเท่าที่สัตว์นั้นมี ก็ทำการอะไรไม่ได้มากนัก เพราะจิตนี้ต้องอาศัยกายเป็นตัวขับเคลื่อน (ข้อมูลที่จิตบันทึก นั้นเป็นสภาวะที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่ข้อมูลที่สมมติ ดังนั้นถ้าชาติที่แล้วเราเป็นฝรั่ง พอมาเกิดเป็นคนไทยเมื่อไม่เคยได้ยินได้หัดพูด เราจึงพูดไม่ได้ ภาษาที่เราใช้กันจึง เป็นข้อมูลสมมติ ข้อมูลปรมัตถ์เช่น เป็นคนขี้โมโห น้อยใจเก่ง ร่าเริง ติดใน รสชาติต่างๆอันประกอบด้วยเปรี้ยวหวานมันเค็ม เหล่านี้เป็นสากล ของคนทุกชาติภาษา แม้กระทั่งสัตว์บางชนิด) มีการทดลองทางแพทย์ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการทำงานของสมองของคน ที่มีความซับซ้อนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆในโลก แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะประมวลข้อมูลได้เร็วกว่าคน แต่คอมพิวเตอร์จำกลิ่น จำรส ดีใจ เสียใจ ที่บางครั้งไม่สัมพันธ์กับเหตุผลเลยไม่ได้ นักวิทยาศาสสตร์เขาสงสัยว่า การสื่อสารในสมองที่ประกอบด้วย นิวโรนนับล้านๆเขาสื่อสารกันอย่างไร พบว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากประจุไฟฟ้า บางส่วนมาจากการส่งผ่านทางสารเคมี มีการทดลองด้วยการแยกหนูออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทดลองด้วยการเอาไฟฟ้าช็อตพวกหนูทุกครั้ง ที่หนูกลุ่มนี้ เดินเข้าหาที่มืด จนหนูกลุ่มนี้ไม่กล้าเข้าหาที่มืดซึ่งผิดวิสัยปกติตามธรรมชาติของมัน จากนั้นเขาได้ฆ่าหนูกลุ่มนี้แล้วบดเอาสมองหนู ฉีดเข้าไปที่สมองของหนูอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นหนูปกติ ที่ชอบความมืด ปรากฏว่าหนูกลุ่มที่ปกตินี้ กลายเป็นหนูที่กลัวความมืด นี่คือการส่งสารโดยผ่านกระบวนการทางเคมี ในการสรุปเบื้องต้นที่มีการทดลองอีกหลายการทดลอง ได้ข้อสรุปว่า ความจำในระยะสั้นนั้นผ่านกระบวนการทางประจุไฟฟ้า ความจำในระยะยาวผ่านกระบวนการสื่อสารทางเคมี ความเสื่อมของสมองเกิดขึ้นตามอายุที่มากขึ้น หลัง35ปี เซลนิวโรนจะตายวันละประมาณ100,000 ตัว ประกอบกับคุณภาพของเส้นโลหิตที่ตีบหรือแข็งตัวไม่ยืดหยุ่น ทำให้เป็นปัญหาต่อความจำของผู้สูงอายุ การชะลอการเสื่อมนี้สามารถทำได้ด้วยการ รับอากาศที่บริสุทธิ์บ่อยๆ อ่านมากๆ สังเกต เรียนรู้ เรียกว่าฝึกการใช้สมอง เพื่อให้เลือดลมคล่องแคล่ว สมองยิ่งใช้ยิ่งคม สังเกตดูจากพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อายุมากๆก็ยังไม่หลง เพราะการวิปัสสนาเป็นการใช้สมอง ในทุกๆส่วน ภายใต้ภาวะที่ปกติราบเรียบไม่โลดโผน การไหลเวียนของเส้นเลือดสมองสัมพันธ์กับการหายใจที่รับส่งออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ กลับวกเข้ามาเรื่องของจิตอีกครั้ง จิตนี้อาศัย ส่วนสมองที่เรียกว่า กาย เป็นเครื่องมือที่รับข้อมูลและแสดงออกจากข้อมูลที่ผ่านการปรุงแต่ง ดังนั้น จิตจึงทำหน้าที่ รู้ รับ จำ คิด ขอเข้าภาษาธรรมสักนิด พอเป็นเกร็ดความรู้ จิตเป็นสิ่งที่เรียกว่า ธาตุรู้ เมื่อมีช่องทางที่เปิดโอกาสให้รู้( ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) เขาก็ทำหน้าที่ทันที หน้าที่รู้นี้ เราเรียกว่า วิญญาณขันธ์ ( มีแสง มีวัตถุ มีประสาทตา การรู้ทางตาก็เกิด เรียกว่า จักขุวิญญาณ มีแหล่งกำเนิดเสียง มีตัวกลางที่นำพาคลื่นเสียง มีประสาทหู การรู้ทางหูก็เกิด เรียกว่า โสตวิญญาณ เป็นต้น) อาการของจิต ที่แสดงออกในการ “ รับ” รับที่เป็นความรู้สึก รู้สึก สุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ เช่นมองภาพวิวแสงนุ่มๆ สบายตา เอามือลูบผ้าแพร เรียบเนียนสบายผิว เป็นต้น อาการของจิตที่แสดงออกด้วยการ “ รับ” นี้ เรียกว่า เวทนาขันธ์ อาการของจิต ที่แสดงออกในการ” จำ” จากรู้ จากรับ ก็เก็บเป็นความจำ เด็กทารกเริ่ม รู้ รับ และ จำ การจำจะถูกเพิ่มเติมเข้าเรื่อยๆ เป็นความจำซ้อนเสริม ที่เกิดตลอดเวลาที่เจริญเติบโตและรับชุดข้อมูลเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ อาการที่แสดงออกของจิต ที่เป็น”จำ” นี้ เรียกว่า สัญญาขันธ์ อาการแสดงออกของจิต ที่”คิด” เป็นการปรุงแต่งจากชุดข้อมูล รู้ รับ จำ นำมาประมวลเป็นเรื่องราว สิ่งที่เป็นกุศล และอกุศล ในจิต อาจเพียงเก็บไว้ภายใน ไม่แสดงออก หรือ แสดงออกมาทางพฤติกรรมทั้งทางกายและวาจา อาการของจิต ที่ “คิด” นี้ เรียกว่า สังขารขันธ์ ดังนั้น ถ้ามองที่มนุษย์คนหนึ่งๆ ก็ ประกอบไปด้วย ส่วนที่เป็นรูป ที่เป็นโครงสร้างร่างกายทั้งหมดอันมีอวัยวะต่างๆที่เป็นระบบ ต่างมีหน้าที่ของตน มาประชุมรวมกันเข้า โดยมีจิตที่เป็นตัวรู้ เป็น นาม มาขับเคลื่อนกายนี้โดยอาศัยระบบประสาทเป็นเครื่องมือ รูปคือ รูปขันธ์ บวกกับ นามขันธ์ทั้ง สี่ อันประกอบด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ครบองค์ประกอบคือ ขันธ์ ห้า (ในธาตุวิภังคสูตร พระองค์ตรัสถึง องค์ประกอบของคน เป็นพระสูตรหนึ่งที่ผมชอบมากและนำมาพิจารณาร่วมกับ มหาสติปัฏฐานสูตร และ มหาปรินิพพานสูตร) นี่คือส่วนที่เป็นจิตนิยาม ซึ่งขอกล่าวเพียงย่อๆเท่านี้ การรับรู้สิ่งเร้าหรืออารมณ์ภายนอก มาปรุงแต่ง เพื่อแสดงออกตั้งแต่ภายใน จิตใจ จนเป็นเจตนาที่จะทำการ นี่คือ กรรมนิยาม กรรมนิยามเริ่มจากมโนกรรม คือมีเจตนาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วง โดยออกมาทางกายหรือทางวาจา ปรากฏในรูปแบบของ กิริยา ซึ่งบางครั้งสอดคล้องกับมโนกรรม บางครั้งไม่สอดคล้อง นั่นคือสภาพจิตขณะนั้นตรงหรือไม่ตรง เช่นบางคนคิดอย่างหนึ่งแต่สิ่งที่แสดงออกมาแสร้งเป็นอีกอย่าง สิ่งที่คิดหรือเจตนานั้นสำคัญเพราะเก็บเป็นข้อมูลในจิต แต่ส่วนที่แสดงออกมา จะสัมพันธ์และสำคัญต่อผู้อื่นและสังคม ที่เป็นสมมติ ดังนั้นถ้าเรามีจิตที่เป็นอกุศล แต่เพราะต้องการภาพพจน์เพื่อแสดงตนว่าตนเป็นคนดี ก็จะกระทำทางกายวาจากลบเกลื่อนปิดบัง ทำให้คนอื่นมองว่าเราเป็นคนดี จิตที่เป็นอกุศลนั้นคือข้อมูลที่จิตเก็บไว้ จึงเหมือนแรงกรรมที่จะส่งต่อในชาติภพต่อไป ขณะที่การแสดงออกทางกายและวาจาเป็นที่ชื่นชมของคนในสังคมมีผลเพียงชาติที่เป็นอยู่นี้ ดังนั้นผู้ที่ไม่เชื่อในเรื่องกรรม ในวัฏฏะ ย่อมไม่สนใจ ไม่กลัว พอใจเพียงทำอะไรในชาตินี้ให้ตนได้เสวยทรัพย์และชื่อเสียงก็พอเท่านั้น นี่คือ ความหมายหนึ่งของคำว่า กุศล กับความดี บางครั้งมันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เรา มีจิต ที่ตรง ประกอบด้วยกุศลจริงๆ ไม่เสแสร้ง จากเจตนาคือกรรม นำไปสู่การแสดงออก ที่เป็น กิริยา ก่อให้เกิด ผล ของกรรม ที่เป็น วิบาก และผลของกิริยาที่ไปผูกพันกับปัจจัยภายนอก เพราะมีกระบวนการที่ซ้อนกันเช่นนี้ จึงเป็นที่มาของประโยคที่ว่า “ ทำดีได้ดี มีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” ในที่นี้ขอให้เชื่อเถิดว่า กรรมดี ผลของกรรมคือ วิบากต้องดี ผมขอขยาย ประโยค “ทำดี ไม่ได้ ดี” เพราะเรามีเจตนาคือกรรม เราจึงมีกิริยาเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ แต่กิริยาที่แสดงออกนี้ มันจะไปสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียกว่า สมบัติ4 วิบัติ4 สมบัติและวิบัตินี้ เป็นปัจจัยตัวแปรที่จะทำให้ เจตนาที่เป็น กรรม ออกผลมาไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ ขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เพื่อง่ายต่อการอธิบาย คติหนึ่ง อุปธิหนึ่ง กาลหนึ่ง ปโยคหนึ่ง สี่อย่างนี้ถ้าเอื้อต่อกรรมก็เป็น สมบัติ ถ้าขัดต่อกรรม ก็เป็นวิบัติ “มีเด็กหญิงคนหนึ่ง เดินเล่นคนเดียวในทุ่งฝ้ายทางตอนใต้ของอเมริกา สมัยที่ยังมีการค้าทาสผิวดำอยู่ ชายผิวขาวเดินมาข้างหลังและตีเด็กจนสลบ ขณะที่กำลังจะล่วงละเมิดเด็ก ทาสผิวดำร่างใหญ่ผ่านมาเห็น ตรงเข้าช่วยเหลือเด็ก คนร้ายหนีไป ขณะที่ทาสผิวดำ กำลังติดกระดุมเสื้อให้เด็กโดยอยู่ในท่าคุกเข่า พอดีเด็กตื่นขึ้นมา จึง ร้องเสียงดัง ชาวบ้านมาเห็นสภาพขณะนั้นพอดี ทาสผิวดำถูกจำคุกเพื่อรอการประหารชีวิต ขณะที่รอการประหาร ใจของเขาสงบนิ่ง เขานึกถึงพระเจ้าว่าแม้ใครไม่เห็นก็ตามพระเจ้าย่อมเห็นสิ่งที่เขาทำ” นี่คือตัวอย่างที่ค่อนข้างคลาสสิค ที่ใช้อธิบายได้ดี 1.ทาสผิวดำ มีเจตนา ช่วยเด็กเมื่อเห็น จิตที่เป็นกรุณา กุศลจิตเกิด กรรมดี ส่งผลดีประทับในจิตทันที 2.กุศลจิตเกิด ถ้าขาดการกระทำต่อ ย่อมไม่เกื้อกูล สิ่งนี้ชาวพุทธเป็นกันมาก บางคนเข้าวัดทำบุญตลอดปีตลอดชาติเป็นคนจิตใจมีเมตตากรุณาดี เห็นเหตุการณ์ที่มีคนต้องการความช่วยเหลือต่อหน้า กลับยืนเฉย แล้วคิดว่าน่าสงสารจัง กับมีคนเก็บขยะวิ่งตรงเข้าช่วยโดยไม่คิดถึงอันตราย นี่คือข้อแตกต่าง ฝรั่งถึงดูถูกคนไทยว่าชอบนั่งแผ่เมตตาในมุ้ง ทาสผิวดำเข้าช่วยเหลือ ที่เป็น กายกรรม กิริยาที่แสดงออกสอดคล้องกับ มโนกรรมและกายกรรม 3.เด็กตื่นมาเห็น ร้องตกใจ นี่คือ กาลวิบัติ ผิดเวลา กรรมดีที่ทำผ่านกิริยา มาในเวลาที่ไม่เหมาะ 4.ชายร่างผิวดำตัวใหญ่ ดูน่ากลัว เขาต้องมาเกิดในร่างเช่นนี้ ทั้งที่จิตใจเขาอ่อนโยนดีงาม นี่คือ อุปธิวิบัติ 5.ในสมัยนั้น การเหยียดผิวรุนแรง คนผิวดำมีฐานะเยี่ยงสัตว์ คนที่จิตใจดีงาม มาเกิดในถิ่นที่ไม่เหมาะกับเขา เรียกว่าเกิดผิดที่ผิดถิ่น นี่เรียกว่า คติวิบัติ 6.ท่าทางที่เข้าช่วยเด็ก ช่วยติดกระดุมเสื้อ ประจวบกับ วิบัติ สามข้อแรก มาร่วมด้วย ทำให้คนที่มาเห็นเข้าใจไปในทางตรงข้าม นี่เรียกว่า ปโยควิบัติ กรรมดีมีเจตนาดี กิริยาที่แสดงออกมาสอดคล้องกับกรรม แต่มาเจอ วิบัติทั้งสี่นี้เข้า ผลก็คือ ถูกประหารชีวิต นี่คือเหตุการณ์ ที่สามารถเกิดได้กับคนทุกคนทุกชีวิต ทำให้เกิด คำว่า ทำดีไม่ได้ดี ชาวพุทธที่ไม่ทำความเข้าใจ ในกระบวนการนี้ จึงโทษไปในสิ่งต่างๆนานา แล้วเกิดความเห็นผิด ว่าทำกรรมดี ไม่ได้ดี จึงมีพิธีกรรมแก้กรรมทั้งหลาย ในขณะที่ชายผิวดำคนนี้ จิตสงบ เพราะเชื่อมั่นในพระเจ้า เชื่อในความดีของตนแม้ผลที่ได้จะย่ำแย่ก็ตาม จุดนี้เป็นข้อที่น่าสังเกตมาก ถ้าเราเชื่อกรรมอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ เราก็จะวางใจ สงบใจ มั่นใจในการกระทำของเรา แม้จะได้รับผลอย่างที่เห็น ตรงนี้ คำว่าหลักกรรม กับ พระเจ้าแทบไม่มีข้อแตกต่าง ทุกศาสนาขอเพียงให้เข้าถึงแก่นแท้ บางครั้งมันคือสิ่งเดียวกัน เป็นเรื่องที่จะนำพาชีวิตคนให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคที่กลุ้มรุมจิตใจไปได้ นี่คือ กรรมนิยาม พอสังเขป กรรมนิยามนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำมาก เพราะการดำเนินชีวิตเราไม้พ้นจากกรรมนิยามนี้ เราจะติดในวัฏฏะนี้ หรือหลุดพ้น จะติดในสมมติหรือวิมุติ ก็อยู่ตรงนี้ อารมณ์ที่รับเข้ามาทางทวารหก จะเป็นแบบฝึกหัดของจิต ที่จะไปเกาะเกี่ยวปรุงแต่ง เป็นกิเลส จนก่อเกิดเป็นกรรม รับผลกรรมที่เป็นวิบาก วงล้อของวัฏฏะจึงเป็น กิเลส กรรม วิบาก วนกันไปเช่นนี้ สิ่งหนึ่งเป็นเหตุ ย่อมส่งผลหนึ่ง ผลนั้นย่อมเป็นเหตุต่อไป ทุกอย่างมีปัจจัยเกี่ยวข้องกันสืบเนื่องกัน ทุกๆนิยามที่กล่าวมา ตั้ง แต่ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ทั้งหมดนี้คือธรรมนิยาม ที่เป็นบทสรุปของทั้งหมด อิทัปปจยตา จึงเป็นธรรมนิยามที่รวมทั้งหมดของทั้งโลกและจักวาล และพระองค์เน้นมาที่จิตใจของมนุษย์ ขบวนการทางจิต ที่ทุกอย่างต่างเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นสภาวธรรมที่ก่อเป็นสาย ที่เรียกว่า ปฏิจสมุปบาท วนเวียนไปกัน ของ กิเลส กรรม วิบาก ความกรุณาของพระองค์ที่ช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากความทุกข์ใจ พระองค์ทรง แปลงสภาวธรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ด้วยสัจจะที่เห็นชัดกว่า สภาวธรรมที่เรียกว่า ปฏิจสมุปบาท ที่ยากต่อความเข้าใจ มาเป็น อริยสัจสี่ ที่แสดงส่วนที่เป็นผลออกมาก่อน คือ ทุกขสัจจะ และสาเหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทัยสัจจะ และผลที่ต้องการคือการดับทุกข์ ที่เป็น นิโรธสัจจะ และวิธีการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่กระบวนการดับทุกข์ คือ มรรคสัจจะ ขอเพียงเรา เข้าใจในกิจ ต่ออริยสัจ ให้ชัดเจน และดำเนินไปตามทางที่พระองค์แนะนำไว้ สภาวธรรมที่พระองค์นำมาสอน ไม่ใช่สิ่งที่พระองค์สร้างขึ้นมาใหม่ มันเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ของมันอยู่แล้ว ไม่มีพระพุทธเจ้า ปฏิจสมุปบาท ที่เป็นสภาวะธรรมชาติ มันก็เป็นไปอยู่ เพียงแต่พระองค์ไปรู้แจ้งสิ่งนี้ เหมือนแรงโน้มถ่วงโลก มันก็มีของมันอยู่ นิวตันไปบังเอิญไปพบเข้า ธรรมะของพระองค์ก็เช่นกัน เราจะรู้แจ้งรู้รสอย่างที่พระองค์รู้ ก็ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่ใช่มาจากการฟังการอ่านหรือ ไหว้พระพุทธรูป ผู้ที่เกิดมาไม่รู้ ก็ปล่อยชีวิตเป็นไปตามธรรมชาติบ้าง ตามโลกที่ผันแปรไปบ้าง เกิดมาไม่รู้อย่างไร ตายไปก็ยังไม่รู้อีก วนไปไม่รู้กี่ชาติกี่ภพ พระองค์จึงเน้นที่การปฏิบัติมาก คนเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่ที่ประเสริฐได้เพราะการฝึก เพราะการฝึกเท่านั้นที่จะนำพาจิตใจตนเองเป็นผู้ตื่นผู้รู้จนเป็นพุทธะ โดยอาศัยแบบฝึกหัดที่เป็นธรรมชาติชีวิตฝึกสอนขัดเกลาตนเองที่เรียกว่าธรรมะ ตนที่ฝึกตนเองอยู่นั้นจึงเป็น สังฆะ นี่คือพุทธศาสนิกชน ที่ยึดมั่นใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เป็นภายนอก จึงกลายมาเป็น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในกายที่ หนาคืบ ยาววา มีสัญญาและใจครองนี้ จบเอ็นทรี่ที่ยาวมากๆนี้ ไม่ทราบว่า ท่านผู้อ่านได้คำตอบที่ตรงกับหัวข้อเรื่องหรือไม่ ถือว่าเป็นการคุยกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีข้อเสนอแนะหรือสงสัย สามารถคุยกันได้เต็มที่ ครับ (ได้ภาพจากการอนุเคราะห์ ของ บล็อกเกอร์ แม่มด และป้ารุ รวมทั้งจากวิกิพีเดีย ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |