*/
<< | สิงหาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |
ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ก็ได้ผ่านประชามติไปเรียบร้อยแล้ว และคนส่วนใหญ่ก็รับร่างดังกล่าว หลังจากนี้ก็เป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องจะได้จัดทำกฎหมายลูกกันต่อไป แม้รัฐธรรมนูญนี้ อาจมีบางมาตราที่ไม่ตอบโจทย์บางกลุ่มบางท่าน แต่ถ้าเราดูโดยรวมก็ยังนับว่าพอใช้ได้ การที่จะให้ถูกใจไปทุกคนย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นทั้งผู้ที่รับร่างและไม่รับร่าง ยังประกอบด้วยเหตุผลต่างๆนานาออกไปอีก แต่มีประเด็นหนึ่งที่อยากจะชี้ให้เห็นถึงสภาพจิตใจการนึกคิดของคนเรา ที่บอกว่า รัฐธรรมนูญปราบโกงได้ ตรงนี้ผมไม่เห็นด้วย ในสังคมที่อยู่ด้วยกัน เราไม่มีทางทำให้คนเราไม่โกงกันได้ ขบวนการการตรวจสอบต่างหากที่ทำให้คนที่จะทำคิดหนัก หรือไม่กล้าทำ เราพูดเสมอว่า นักการเมืองนั้นชอบโกง ผมว่าโดยมากเป็นเช่นนั้น แต่ความหมายของคำว่านักการเมือง ในนิยามของผม มันกว้างกว่าคำว่านักการเมืองในความหมายทั่วๆไป โดยทั่วไปพอกล่าวถึงนักการเมือง เรานึกถึงคนที่มีสังกัดพรรคการเมือง คนที่ช่วงก่อนเลือกตั้งเดินไหว้ชาวบ้านตามตรอกซอกซอยแม้กระทั่งสุนัขยังเผลอไหว้ คนที่พูดชักชวนหรือกล่าวโจมตีคู่ต่อสู้ คนที่ยกมือประท้วงกันในสภา คนที่มีตำแหน่งบริหารประเทศ นี่คือภาพโดยทั่วไปของนิยามคำว่านักการเมือง แต่ความหมายของนักการเมืองของผม มันต่างออกไปมันกว้างออกไป ผมหมายถึงใครก็ตามที่ได้รับมอบอำนาจโดยมีกฎหมายรับรองอำนาจ มาบริหารส่วนรวม ตั้งแต่องค์กรเล็กๆ จนถึงระดับประเทศ ดังนั้นผู้ที่มีอำนาจเหล่านี้ ตั้งแต่ สส. สว. ที่มาจากแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ดี แม้ข้าราชการระดับสูงทั้งข้าราชการพลเรือนและทหารตำรวจ ที่มีอำนาจในการให้เกิดการมีการได้การเสีย ผมก็จัดทั้งหมดเหล่านี้คือนักการเมือง ความหมายคือ ต้องการจะบอกว่า ทั้งหมดนี้ พร้อมที่จะโกง ถ้ามีโอกาสเอื้ออำนวย ทั้งหลายเหล่านี้คือธรรมชาติของคน บางคนก็โกงกันตรงๆ บางคนก็กินตามน้ำ บางคนก็โกงโดยอาศัยช่องว่างทางกฎหมาย บางคนก็โกงในลักษณะที่เรียกว่า ทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งก็ซับซ้อนขึ้นไปอีก การโกงหรือทุจริตเหล่านี้ไม่มีวันจะหมดไปจากสังคมของมนุษย์ เพราะเราไม่สามารถชี้นิ้วระบุไปตรงๆได้ว่าคนนี้จะต้องโกง เมื่อคนนี้โกงแล้วจะไม่มีวันไม่โกงอีก คนนี้ระบุได้เลยว่าไม่โกง และตลอดอายุขัยของเขาจะไม่มีวันโกง เวลาธนาคารรับพนักงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการหยิบจับเงินสด ซึ่งเป็นสิ่งของที่ยั่วยวนใจในการโกงมากที่สุด เขาใช้เกณฑ์อะไรในการรับพนักงาน เขาไม่ได้รับพนักงานโดยดูจากว่าคนนี้ท่าทางจะเป็นคนดีที่ไม่โกง น่าไว้ใจให้จับต้องเงินได้ เพราะคนโกงเราดูด้วยตาดูการแต่งตัว ดูการพูดจาไม่ได้ แต่ธนาคารเขากล้ารับ เพราะระบบการตรวจสอบของเขาต่างหาก ที่ทำให้พนักงานที่ทำงานไม่กล้าแม้แต่จะคิดโกง ไม่ใช่พนักงานเป็นคนดีเด่นอะไรนักหนา การบริหารประเทศก็เช่นกัน ระบบการตรวจสอบที่เข้มแข็งเท่านั้น ที่จะทำให้คนที่คิดจะโกง ไม่สามารถสร้างโอกาสได้ การโกงนั้นทุกคนโดยมากมักจะมองออกจากตัวไปจ้องคนอื่น ทั้งๆที่ถ้าสอบสวนตนเองดีๆแล้ว เราจะพบว่าเราก็โกงอยู่บ่อยๆ แต่เรามักมีเหตุผลดีๆที่จะทำให้เรารู้สึกไม่ผิด หรือผลักเอาความผิดนั้นเป็นเรื่องภายนอก เราขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด มีใบสั่งค่าปรับมาที่บ้าน แต่เพื่อนบอกว่าไม่ต้องไปเสียค่าปรับให้รัฐหรอก พอครบปีเขาก็ลบข้อมูลนั้นทิ้ง เราก็ไม่ไปเสียค่าปรับ ด้วยเหตุผลที่ดีว่า ยังไม่มีเวลาไปเสียค่าปรับแล้วก็ปล่อยล่วงจนเลยกำหนด เราเป็นผู้มีอำนาจในการที่จะแต่งตั้งใครก็ได้ และขณะนั้นก็กำลังดำเนินการสอบสวนคดีทุจริตผู้อื่นอยู่ มีญาติสนิทมาฝากหลานให้เข้าที่ทำงานโดยไม่ต้องผ่านการสอบบรรจุเหมือนผู้อื่น เราก็จัดการให้โดยไม่อิดออด และไม่รู้สึกผิดอะไร เพราะตนมีอำนาจอันชอบธรรมในมือ เราหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี เพราะเราบอกว่าไม่รู้รายการอะไรต้องนำมาคิด และอาจหาข้ออ้างว่า รัฐไม่เห็นทำอะไรเพื่อตอบสนองประชาชน ดังนั้นจึงไม่อยากจ่าย เป็นต้น มีบทความหนึ่ง ของผู้ที่ใช้นามปากกาว่า วินิทรา นวลละออง เขาพูดถึงงานวิจัยหนึ่งของนักศึกษาปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาสังคมและวิทยาศาสตร์บุคลิกภาพ ความสรุปว่า “คนเรามีแนวโน้มจะโกงหรือตัดสินใจทำเรื่องไม่ถูกต้องตามหลักศีลธรรมเมื่อการกระทำนั้นไม่ต้องปฏิบัติออกมาอย่างโจ่งแจ้ง ดังนั้น หากสามารถนิ่งเฉยหรือละเลยความรับผิดชอบบางอย่างแล้วทำให้เกิดการโกงขึ้นได้ เขาจะตัดสินได้ง่ายขึ้นในการเลือกโกง หรือกระทั่งว่าหากมีคนมอบหมายงานที่ไม่อยากทำ ให้มาทำ ก็อาจโกงด้วยการไม่ทำ ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้ปฏิเสธตั้งแต่ตอนรับงาน” งานวิจัยนี้มาจากการทดลอง 2 แบบ คือ แบบที่1. เขาให้อาสาสมัครแก้โจทย์เลขบนคอมพิวเตอร์ กลุ่มแรกได้รับการเตือนตั้งแต่ก่อนการทดลองว่า ระบบมีข้อบกพร่อง ถ้าหากได้เคาะบนแป้นเคาะตำแหน่งที่ให้เว้นวรรค คำตอบจะปรากฏขึ้นมาให้บนจอ กลุ่มที่สอง ได้รับการเตือนเช่นเดียวกันว่า ระบบมีข้อบกพร่อง หากปล่อยทิ้งไว้เองโดยไม่ทำอะไรเพียง ห้าวินาที คำตอบจะปรากฏออกมาเองบนจอ คือไม่ต้องไปเคาะอะไร เพียงรอเฉยๆเท่านั้น ผลการทดสอบออกมาว่า กลุ่มที่สองปล่อยให้เวลาล่วงไปตามชะตากรรมนำมาซึ่งการโกงโดยให้คำตอบปรากฏเอง มีมากกว่ากลุ่มแรก ที่ต้องลงมือโกงอย่างจงใจด้วยการเคาะแป้นพิมพ์ นี่พอจะบอกได้ว่า ถ้าเราสามารถโกงได้โดยไม่ต้องลงมือ หรือภาษาเขาเรียกว่ากินตามน้ำ เรามักทำเป็นส่วนมาก มาดูการทดลองแบบที่สองบ้าง เกี่ยวกับการทำความดี ซึ่งตรงกันข้ามกับการโกง ผู้วิจัยจะสอบถามอาสาสมัครกลุ่มแรกว่า จะช่วยเหลือนักศึกษาพิการในการเรียนหรือไม่ คำตอบมีให้แค่ว่า “ ช่วย” กับ “ไม่ช่วย” บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ กับอีกกลุ่มหนึ่ง ยังคงเป็นคำถามเดิม แต่บนหน้าจอยังไม่ให้ตัดสินใจทันที แต่กลับให้กด “อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม” เพื่อพลิกไปหน้าถัดไป ผลการทดลองปรากฏว่า อาสาสมัครที่เลือกว่าจะช่วย ในกลุ่มแรกที่มีเพียงตัวเลือกสองตัวคือ ช่วย กับ ไม่ช่วย มีมากกว่ากลุ่มที่ต้องคลิ๊กอ่านรายละเอียด ถึง 5 เท่า ผู้วิจัยอธิบายว่า อารมณ์ส่งผลต่อการตัดสินใจ “การทำดีอย่างโจ่งแจ้ง “ กับ การโกงอย่างโจ่งแจ้ง” คนเรามักเลือก “การทำดีอย่างโจ่งแจ้ง” มากกว่า “ การโกงอย่างโจ่งแจ้ง” และมักเลือก “การโกงอย่างลับๆหรือเนียนๆ” มากกว่า “การทำดีแบบลับๆ” สรุปคือ เราชอบ “ทำดีอย่างโจ่งแจ้ง” และ “การโกงอย่างลับๆ” เพราะการโกงเป็นเรื่องที่เรารู้สึกผิดและมีความอับอายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ความรู้สึกนี้ส่งผลให้ไม่เลือกการโกงที่ต้องลงมือเอง แต่เลือกใช้วิธีการอื่นที่ไม่ต้องลงมือ เราไม่ค่อย ทำดีแบบลับๆ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจทั้งหลาย เช่นนักการเมือง เวลาทำดีต้องให้ปรากฏเป็นข่าว ทั้งนี้เพราะการมีวัตถุประสงค์ที่แฝงในการทำความดีนั้น ในศาสนาพุทธ มีการกล่าวถึง สังคหวัตถุ ๔ คือการทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม ประกอบด้วย ทาน ( การให้การบริจาค ) ปิยวาจา (การกล่าววาจาเสนาะรื่นหูไพเราะ) อัตถจริยา (การเข้าช่วยเหลืองานด้วยกำลังกาย) สมานัตตตา( การมีความเสมอต้นเสมอปลาย ) ทั้งหลายเหล่านี้ต้องประกอบด้วยจิต ที่เป็น เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างแท้จริง จึงเป็นการแสดงออกที่บริสุทธิ์ การมีจิตใจที่ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา แต่ไม่ช่วยเหลือไม่แสดงออก สังคมก็ไม่ได้ประโยชน์อันใด เหมือนที่เขากล่าวกันว่า เอาแต่นั่งแผ่เมตตาในมุ้ง ดังนั้น พรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จึงต้องประกอบด้วย สังคหวัตถุ ๔ จึงจะครบถ้วน คนที่อยู่ร่วมกันจึงได้ประโยชน์อย่างแท้จริง คนที่ชอบเอาหน้าเอาตาเวลาทำความดี หรือป่าวร้องป่าวประกาศตนเอง คือผู้ที่ ปฏิบัติสังคหวัตถุ ๔ แบบมีนัยยะแอบแฝง ไม่ได้ประกอบด้วยจิตพรหมวิหารอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทำบุญหรือทำความดีเอาหน้า ความดีนั้นควรเป็นเรื่องที่ผู้อื่นเห็นแล้วป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ เพื่อยกย่องเชิดชูดูเป็นตัวอย่าง ย้อนกลับไปที่ผลการทดลองวิจัยดังกล่าว สามารถนำเอาแนวคิดอันนี้ไปใช้เพื่อป้องกันคนขี้โกง อาจวางระบบตรวจสอบที่รัดกุม ไม่วางเฉยหรือไว้วางใจว่าคนๆนี้เป็นคนดีมาก่อน เขาคงไม่ทำอะไรที่ไม่ดีแน่นอน แต่เรารู้มาว่า คนเราไม่อยากทำไม่ดี แต่บางครั้งสถานการณ์มันเอื้ออำนวย จากการที่มีจุดรั่วไหลในการตรวจสอบ เช่นสมมติว่าผมมีอำนาจในการที่จะแต่งตั้งใคร ต่อมามีญาติสนิทหรือผู้เคยมีพระคุณ มาฝากลูกให้เข้าทำงาน ผมอาจอึดอัดใจแต่ถ้าระบบมันไม่รัดกุมเพียงพอ ก็ต้องทำให้ นอกจากระบบที่เข้มงวดจนไม่สามารถทำอะไรได้ ผมจึงสามารถปฏิเสธอย่างไม่ต้องอึดอัดว่า ช่วยไม่ได้จริงๆ การสร้างระบบตรวจสอบและการลงโทษอย่างเด็ดขาด ไม่ใช่การจ้องจับผิด แต่เป็นการไม่เปิดโอกาสให้คนเลือกทำผิดแบบอ้อมๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ที่ไม่อยากทำผิดแต่ต้องยอมทำผิด สามารถปฏิเสธการกระทำนั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ และยังช่วยสร้างนิสัยให้คนในสังคม ไม่ให้เป็นคนปากว่าตาขยิบได้ด้วย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |