*/
<< | มิถุนายน 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
คำว่าวิตก ภาษาคนหมายถึงความกังวล เช่นวิตกกังวล แต่ภาษาธรรม หมายถึงการดำริ การคิดนึก คนเรามีการคิดนึกตลอดเวลา การคิดนึกคือการปรุงแต่งของจิต ถ้าเป็นการคิดนึกในทางกุศล ก็เป็นกุศลวิตก ถ้าเป็นคิดนึกทางอกุศล ก็เป็น อกุศลวิตก อกุศลวิตก เป็นสิ่งปกติที่มีในจิตใจคนทุกคน (ยามที่สติมาไม่ทัน ซึ่งโดยมากก็มักมาไม่ทันเสมอในทุกผู้คน) ที่ไม่ได้มีการฝึกอบรมจิต จิตก็เหมือนกาย ที่ต้องฝึก กายที่ฝึกก็แข็งแรงทนทานต่อการเจ็บไข้ จิตที่ฝึกก็เช่นกัน แข็งแรงต่อสิ่งที่มากระทบกระเทือนใจ ไม่ให้กระเพื่อมไปตามแรง ความคิดของคนเรา ที่ไปยึดติดกับอารมณ์ที่ล่วงเข้ามาทางทวารทั้งห้า มี ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส และมีมโนทวารคือทวารใจเป็นที่เก็บเรื่องราว พร้อมที่จะหยิบจับออกมา จำแนกออกมามักไม่พ้น เรื่องที่ ทำให้เรามีความสุข และคนอื่นก็มีความสุข หนึ่ง เรื่องที่เรามีความทุกข์ คนอื่นพลอยต้องทุกข์หรืออาจมีความสุขไม่ทุกข์ไปกับเราหนึ่ง เรื่องที่เรามีความสุข ที่ได้ทำให้คนอื่นได้รับทุกข์หนึ่ง ทั้งสามเรื่องทั้งสามวิตก ต่างอิงอาศัยปัจจัยภายนอกมาปรุงแต่งด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งสามเรื่อง เรากล่าวโดยย่อคือ อกุศลวิตก สาม คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก กามวิตกคืออะไร คือการที่ตัวเราและหรือตัวเขา ได้รับอารมณ์ที่สมใจ มีความสุข ก็อยากที่จะได้เป็นอย่างนั้นตลอดไป อยากให้ความสุขหรือปัจจัยที่มาเป็นที่ตั้งแห่งความสุขเป็นนิจจัง เที่ยงแท้ไม่สูญสลายไป กามวิตกนี้เป็นเรื่องที่ละได้ยากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การได้เสพสิ่งต่างๆ ทั้งจากการดู การฟัง การชิม การดม การสัมผัส การนึกคิดสิ่งจรุงใจ เราทุกคนย่อมอยากได้แต่สิ่งเหล่านี้ การพูดคุยสนุกสนาน คนที่ฟังเราก็มีความสุข เราเลยติดสิ่งเหล่านี้ อยากเป็นคนที่เพื่อนๆติด อยากให้เราอยู่ใกล้เขา การแต่งตัวสวยงาม มีคนชม เราก็สุขใจ ติดในคำสรรเสริญเหล่านั้น และก็หาทางที่จะคงสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ ศิลปินตลก ที่สร้างความสำราญให้คนดู เขาก็ต้องขวนขวายหามุขใหม่ๆมาเสนอคนดู เพื่อยังคงความบันเทิงเอาไว้ เบื้องหลังคงเหนื่อยใช่น้อย ที่ต้องคอยประคับประคอง สิ่งที่สร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่น คนที่เรารัก เวลาเราทำอะไร ก็อยากให้เขามีความสุขกับสิ่งที่เราหยิบยื่นไป ถ้าเขาไม่ตอบรับ ความสุขที่ควรมีก็กลายเป็นทุกข์ นี่คือความเหนื่อยในเรื่องกามวิตก พยาบาทวิตกคืออะไร คือลักษณะจิตที่ขาดเมตตา ยามที่คนอื่นได้ดีมีสุข ก็รู้สึกอิจฉาริษยา ยิ่งไปเกิดกับคนที่เราไม่ชอบแล้ว พยาบาทวิตกยิ่งรุนแรง อยากจะแช่งให้เขาพบความวิบัติ จิตใจที่เป็นพยาบาทวิตกนี้ จะร้อนรุ่ม เผาผลาญ ครุกรุ่นย้อมใจตลอดเวลา ยามที่ประสบอารมณ์เหล่านั้น ในขณะที่คนที่เราพยาบาทเขา อาจไม่รู้เรื่อง อาจมีความสุขความเจริญตามสิ่งที่เขาทำ หรือพลอยเป็นทุกข์ยามที่เราสะกดกลั้นไม่ไหว ทะลักออกมาทาง กายหรือวาจา นี่คือสภาพที่เราทุกข์ เขาสุข ผิดกับกามวิตก คือสุขทั้งคู่ วิหิงสาวิตกคืออะไร คือลักษณะจิตที่ต่อเนื่องมาจากพยาบาทวิตก เห็นความทุกข์ผู้อื่น กลายเป็นความสุขตนเอง เห็นคนที่เราไม่ชอบได้รับความฉิบหาย ก็รู้สึกสะใจ มีความสุข หรือการที่เห็นสัตว์หรือคนได้รับความทรมาน ก็ชื่นชมยินดี ในความทรมานนั้น รู้สึกมีความสุขที่ได้ดู เสมือนใช้สิ่งอื่นมากระทำตามความต้องการของเรา แม้ว่าสิ่งที่มากระทำแทนจะเต็มไปด้วยความทุกข์ทางกายก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น กีฬามวย ที่คนชกต่อยกัน ได้รับความเจ็บปวด แต่คนดูมีความสุขที่ได้เห็นสิ่งนั้น การกัดปลา ตีไก่ ก็เช่นกัน นี่คือจิตที่มีความเบียดเบียนเป็นที่ตั้ง มีความสุข บนความทุกข์ของผู้อื่น ทั้งสามวิตกนี้ เป็นเรื่องปกติในจิตของคนส่วนมากในโลกนี้ มันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องติดข้องในโลก ในวัฎฎะ จิตใจไม่เป็นอิสระ จากอารมณ์ที่ล่วงเข้ามา ยามที่ตา ประจวบรูป หูประจวบเสียง จมูกประจวบกลิ่น ลิ้นประจวบรส กายประจวบการสัมผัส ใจประจวบกับความคิดคำนึง อารมณ์ที่ล่วงเข้ามานี้ จึงกระตุ้นกิเลสทั้งสามกองที่บุคคลมีอยู่ คือ ราคะ โทสะ โมหะ กลายเป็นวิตก 3 พระพุทธองค์จึงสั่งสอนให้ฝึกสติ เพื่อที่ว่ายามที่ประสบอารมณ์ดังกล่าว จิตใจไม่ไปยึดติด ให้ออกจากการติดดังกล่าว ที่เรียกว่า เนกขัมมะวิตก คือคิดที่จะออกจากการผูกพันนั้นๆ โดยเฉพาะการยึดติดกับความสุข เป็นสิ่งที่ละยากที่สุด (ซึ่งไม่ใช่การทิ้งความสุขอันชอบธรรม แต่แม้ความสุขอันชอบธรรมก็ให้รู้ ไม่ให้หลงติด ได้ก็ดี ไม่มีก็ได้) ไม่ใช่ออกโดยการบวช หรือออกจากเรือน ให้มีอพยาบาทวิตก คือการมีจิตเมตตา เข้ามาแทนที่ความพยาบาทความโกรธ มี อวิหิงสาวิตก คือพ้นจากการเบียดเบียน ด้วยการมีความกรุณาเข้ามาแทนที่ อยากให้หมู่สัตว์พ้นจากความทุกข์ มีเพียงสติเท่านั้นที่จะทันอารมณ์ ที่รับเข้ามา เราไม่สามารถปิดตาปิดหู ปิดทุกทวารได้ สุขทุกข์ก็เข้ามาทางเดียวกับ สิ่งที่พ้นสุขพ้นทุกข์ ข้าวสารก็มาจากข้าวเปลือก อยู่ที่ว่าเราจะมองเห็นข้าวสารในข้าวเปลือกหรือไม่
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |