คอหนังนั่งเล่า: สรุปข่าวคัดค้าน กทม. ‘ฮุบ’ หอศิลป์ฯ กรุงเทพมหานคร กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันทีจากกรณีที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง กล่าวถึงแนวทางบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ที่การบริหารงานหอศิลป์ฯ ในปัจจุบันโดยมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครเกิดความไม่สะดวกในหลาย ๆ รูปแบบ กทม.จึงต้องการพัฒนาพื้นที่หากสามารถนำกลับมาบริหารจัดการเองก็จะสามารถพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสม โดยจะให้สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวเป็นผู้บริหารในรูปแบบเดียวกับหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร และจะเปิดให้บริการทุกวัน (ปัจจุบันปิดให้บริการทุกวันจันทร์) ส่วนพื้นที่การค้าจะมีการบริหารจัดการเพื่อให้มีงบประมาณมาดูแลพื้นที่อย่างเหมาะสม ซึ่งแนวทางการนำหอศิลป์มาบริหารจัดการเองนั้นคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และทันทีที่ข่าวนี้ถูกเผยแพร่ก็นำไปสู่กระแสคัดค้านทั้งจากศิลปิน และประชาชนทั่วไป จนเกิดแคมเปญคัดค้านผ่านเว็ปไซต์ Change.org รวบรวมรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วย เหตุผลหลักของการคัดค้าน เนื่องจากกังวลว่า การบริหารจัดการของ กทม. อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ขณะที่ศิลปินหลายคน โพสต์ข้อความผ่าน เฟชบุ๊กส่วนตัว ไม่เห็นด้วยกับ กทม. ที่จะขอคืนการบริหารจัดการเหตุผลที่กรุงเทพมหานคร ใช้อ้างเพื่อขอคืนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร คือ พบว่า ค่าเช่าไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายบริหารจัดการสถานที่ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงานรักษาความปลอดภัย และอยากปรับปรุงพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กนักเรียนได้มีที่นั่งอ่านหนังสือ กรณีดังกล่าว ทางทีมข่าวพีพีทีวีได้สอบถามข้อเท็จจริง กับ นายปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลป์กรุงเทพฯ ระบุว่า การบริหารจัดการหอศิลป์โดยมูลนิธิไม่เคยขาดทุนตามที่ถูกกล่าวอ้าง ยกตัวอย่าง เงินบริหารปีที่ผ่านมา มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 75 ล้านบาท แต่เมื่อหักงบประมาณที่ได้รับจากกทม. 45 ล้านบาท และรายได้ที่หอศิลป์กรุงเทพฯ หาได้ 37 ล้านบาท พบว่าปีที่ผ่านมามีกำไรจากการบริหาร 6 ล้านบาท พร้อมยืนยันว่า หากเฉลี่ยรายได้จากการบริหารช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของมูลนิธิฯไม่เคยขาดทุน ส่วนประเด็นที่มีการใช้พื้นที่หอศิลป์ฯ แสดงออกทางการเมือง เป็นผลให้กทม. จะเข้ามาบริหารจัดการ ผอ.หอศิลป์กรุงเทพฯ ยังไม่ให้น้ำหนัก แต่อธิบายว่า การแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่หอศิลป์ที่ผ่านมา ได้เปิดให้กับคนทุกกลุ่มความคิดทางการเมืองแสดงออก โดยไม่กีดกัน และตามขั้นตอนทุกครั้งก่อนจะจัดกิจกรรม จะต้องเสนอไปยัง กทม. ให้พิจารณาก่อนทุกครั้ง ด้านศิลปินหลายต่อหลายตบเท้ากันออกมาคัดค้าน อาทิเช่น น้าหงา สุรชัย จันทิมาธร ที่ไม่ยินยอม-ไม่ยินดีถ้า กทม.จะเอาไปทำเอง อ. สุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้แชร์ข้อความจาก ผศ.ดร.บัณฑิต จันทรโรจน์กิจ ซึ่งแม้จะไม่เห็นด้วยกับหอศิลป์ในเรื่องที่มีคนพรรคประชาธิปัตย์บริหารงาน แต่ถ้ากทม.จะยึดคืนไปบริหารใต้ระบบราชการ ก็คงยอมไม่ได้เหมือนกัน , ศิลปิน วสันต์ สิทธิเขต ที่กำลังจัดแสดงผลงานจากนิทรรศการ I AM YOU ที่หอศิลป์ฯ (ซึ่งคอหนังสัญจรเคยแนะนำไปแล้วเมื่อหลายเอ็นทรี่ก่อน) ได้โพสต์กลอนใน FB ส่วนตัว “ไม่สนใจเรื่องจัดการขยะ แต่เรื่องหอศิลปะจะกวาดทิ้ง เป็นผู้ว่าไร้ความคิดจริง ทำทุกสิ่งเพื่อตนได้กอบโกยฯ” สำหรับแคมเปญ change.org kullaya kassakul ได้สร้างแคมเปญรณรงค์คัดค้านการที่กรุงเทพมหานครจะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลป์กรุงเทพฯ ด้วยตัวเอง สำหรับท่านที่ต้องการสนับสนุนลงชื่อคัดค้านสามารถไปตามลิงก์นี้ได้ครับ https://www.change.org/ ล่าสุด ผู้ว่าฯ กทม. ได้ชี้แจงผ่าน FB ผู้ว่าฯ อัศวิน “Ars longa vita brevis” ประโยคดังกล่าวได้รับการแปลอย่างลึกซึ้ง โดย ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีใจความว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” แสดงถึงความสำคัญของศิลปะ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องการสนับสนุนให้ประชาชนมีพื้นที่สาธารณะปราศจากการแทรกแซง เพื่อสร้างสรรค์งานศิลป์ ไม่ว่าจะใช้เพื่อการแสดงออก เพื่อศึกษา หรือร่วมแบ่งปันงานศิลป์ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในจุดสำคัญของประเทศที่ใช้ในการทำกิจกรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งยืนยัน กทม.ไม่เคยคิด และไม่มีทางที่จะทำลายสถานที่แสดงศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศ เพียงแต่ต้องการพัฒนาสถานที่แห่งนี้ให้ได้ใช้ประโยชน์สูงสุด ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย กทม.ก็จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพัฒนาในพื้นดังกล่าว โดยข้อเท็จจริง ปัจจุบันหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บริหารงานโดยมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งขึ้นโดยมีศิลปิน และบุคคลในแวดวงศิลปะหลายภาคส่วนร่วมกันบริหาร และกำลังเข้าสู่วาระครบรอบ 10 ปี โดยผลงานที่ประจักษ์ของมูลนิธิฯ หอศิลป์ฯ กรุงเทพมหานคร ได้รับเรตติ้ง 4.5 ดาว จาก Google Map เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการทางศิลปะมากกว่า 400 รายการ ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวหลายชาติหลายภาษา ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง ศิลปินต่างประเทศหลายต่อหลายครั้ง ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเยี่ยมเยียนหอศิลป์ฯ กรุงเทพมหานคร นับครั้งไม่ถ้วน สัมผัสงานศิลป์ต่าง ๆ ตลอดจนโพสต์แนะนำผ่านเอ็นทรี่ ‘คอหนังสัญจร’ อยู่สม่ำเสมอ สำหรับผู้อ่านที่ติดตามกันเป็นประจำน่าจะทราบเป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงเป็นอีกคนหนึ่งที่พร้อมจะคัดค้านในกรณีที่ กทม.จะนำหอศิลป์ฯ ไปบริหารจัดการเองด้วยระบบราชการซึ่งย่อมเป็นการกีดกั้นการแสดงออกทางด้านศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่ควรจะเป็น สุดท้าย ไม่ว่าประเด็นร้อนดังกล่าวจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลที่มีนัยยะแฝงเรื่องการเมืองหรือไม่ก็ตาม ขอบเขตของศิลปะไม่ควรถูกจำกัด หรือขีดวงที่จุดใดจุดหนึ่ง ในศิลปะมีการเมืองได้ และในการเมืองย่อมมีศิลปะได้เช่นกัน เฉกเช่นศิลปะที่สามารถไปอยู่ในการเรียนการสอน การเรียนรู้ สำหรับนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ศิลปะจึงเป็นเรื่องของเสรีภาพ และอิสระทางความคิดโดยไร้ข้อจำกัดใด ๆ ดังนั้นแม้ว่าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะมีพ่วงชื่อของ ‘กรุงเทพมานคร’ ปรากฏอยู่ ก็ไม่ได้หมายความว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ จะทำอะไรที่ไม่เหมาะสม เพราะจะเป็นเหตุให้คนที่อยู่ใน ‘กรุงเทพมหานคร’ จำนวนไม่น้อยออกมาคัดค้านอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ คงไม่มีอะไรเหมาะสมไปกว่าปิดท้ายเอ็นทรี่นี้ด้วยประโยคของ ศจ.ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร “ชีวิตนั้นสั้น...แต่ศิลปะยืนยาว” ขอบคุณที่มาข้อมูลประกอบ และ Link ข่าวที่เกี่ยวข้อง เดลินิวส์: กทม.ยันบริหารหอศิลป์ “โปร่งใส” ได้เอง https://www.dailynews.co.th/bangkok/642848 กองประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร http://110.170.184.194/bmanews/viewDetail.aspx?ID=154404 PPTV: ผอ.หอศิลป์ฯ โต้ บริหารไม่ขาดทุน เชื่อไม่เกี่ยวปมเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวการเมือง https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/81344 Change.org: คัดค้านการที่กรุงเทพมหานครจะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลป์กรุงเทพฯ ด้วยตัวเอง MGR ONLINE: อัศวิน พร้อมถอยบริหารหอศิลป์ หากประชาชนคัดค้านฯ https://mgronline.com/qol/detail/9610000047586 ขอบคุณที่มาภาพประกอบ: tlcthai.com, Facebook, MSN.com, PPTV, มติชน, ผู้จัดการ Photo by คนคอหนัง |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤษภาคม 2018 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |