*/
ดอกบัว | ||
![]() |
||
ภาพวาดดอกบัวด้วยสีน้ำ |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
หวายขาวช่อนี้ได้มาจากบ้านพ่อค่ะ แม้เธอจะย้ายที่ จากที่เคยอยู่เรือนกล้วยไม้มาห้อยต่องแต่งใต้ชายคาอาคารพาณิชย์ แต่ก็ยังออกดอกให้ดูได้บ่อยๆ และนี่อีกมุมของเธอค่ะ สองภาพนี้ต่างกันที่เวลา สีสันเลยพลอยต่างไปด้วย ภาพแรก บางดอกยังตูมอยู่ ส่วนดอกที่บานแล้วยังมีสีม่วงจางๆที่ปลายกลีบ ส่วนภาพที่สอง ทุกดอกบานหมดแล้ว และสีม่วงจางๆ ก็จางหายไปจากปลายกลีบหมดแล้วเช่นกัน ถ้าดูดีๆ จะพบว่าสีใบในภาพที่สองเข้มกว่าภาพแรกเล็กน้อย และสีภาพที่สองออกม่วง ในขณะที่ภาพแรกออกเทา นี่แหละค่ะ ความขาดๆเกินๆของดิฉันที่ทำให้ยังไม่กล้าเรียกตัวเองว่า Botanical Artist เสียที คราวที่แล้วห้อยติ่งเรื่อง Color Swatch ไว้เล็กน้อย คราวนี้ขอคุยต่ออีกหน่อยนะคะ ว่า แถบสีเหล่านั้นมีความสำคัญต่องานวาดภาพทางพฤกษศาสตร์อย่างไร งานภาพวาดทางพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพวาดพฤกษศาสตร์วิทยาศาสตร์ ทุกอย่างต้องถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งสีสัน สัดส่วน รูปทรง โดยอย่างแรก นอกจากจะถูกต้องแล้ว ยังต้องสวยงามด้วย แต่อย่างหลัง เน้นที่ความถูกต้องมากกว่า เพราะจัดเป็นเอกสารอ้างอิง ดังนั้นก่อนวาดจึงต้องมีการทดสอบสี รอให้สีแห้ง แล้วจึงค่อยเทียบสีที่แห้งแล้ว ซึ่งจะซีดลงเล็กน้อย กับตัวอย่างจริงว่าต่างกันหรือไม่ ถ้าเรามีเวลา การรอสีแห้งเพื่อทดสอบก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับผู้วาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ( Botanical Illustrator ) ที่ต้องวาดรูปนอกสถานที่ และดอกไม้บางชนิด บานแค่ปีละหนึ่งครั้ง ครั้งละแค่วันเดียว การมีแถบสีที่ทำสำเร็จแล้วนับว่าจำเป็นค่ะ เพราะสามารถประหยัดเวลาที่มีน้อยนิดไปได้มาก ด้วยการนำแถบสีเทียบกับต้นตัวอย่างเลย ไม่เสียเวลาทดสอบ คราวหน้าจะนำผลงานภาพวาดพฤกษศาสตร์วิทยาศาสตร์ของอาจารย์เอกชัย อ๊อดอำไพ มาเล่าต่อ ติดตามอ่านให้ได้นะคะ
|