*/
ดอกบัว | ||
![]() |
||
ภาพวาดดอกบัวด้วยสีน้ำ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
ช่วงนี้ยังคงวุ่นวายกับหลายๆงานค่ะ จึงขออนุญาตเอาต้นฉบับที่จะตีพิมพ์ลงในนิตยสาร งานฝีมือ ฉบับเดือนมิถุนายน 52 ที่จะถึงนี้มาอัพบล็อกไปพลางๆ เป็นถุงผ้าเล็กๆค่ะ ราคาทุนใบละ 80.- บาท สมัยก่อนตอนเศรษฐกิจดีๆ เพ้นท์เสร็จแล้ว คูณ 3 ก็จะเป็นราคาขาย เพ้นท์ด้วยสีอะคริลิคค่ะตามแบบศิลปะตกแต่ง ( Decorayive Art ) ซึ่งศิลปะตกแต่งนี้ เป็นงานที่รับใช้มนุษย์ในชีวิตประจำวัน เป็นงานที่ใครๆก็ทำได้ เพราะเน้นความสุขใจของผู้ทำ ไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามทฤษฎีศิลปะ ความภูมิใจของผู้ใช้ ดังนั้น แค่คุณแต้มสีลงบนผนังบ้าน บนกระเป๋า บนเสื้อผ้า บนเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ เพียงเพื่อต้องการแต่งให้ดูมีสีสันสวยงาม ก็เท่ากับคุณได้ทำงานศิลปะตกแต่งแล้ว ดังนั้น ผู้ทำงานศิลปะตกแต่ง จึงมักเป็นผู้รักศิลปะที่ไม่ผ่านการศึกษาจากสถาบันไหน และส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพ เพ้นท์ของขาย หรือไม่ก็อาชีพเสริม เคยสอนศิลปะตกแต่งนี้ให้กับกลุ่มแม่บ้านที่มักของบประมาณการอบรมไปยังสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน และการศึกษานอกโรงเรียนค่ะ พบว่า โจทย์ใหญ่คือ ต้องทำได้ง่าย ทำได้เร็ว และออกมาต้องสวย เหนื่อยคนสอนก็ตอนนี้แหละค่ะ ลองไปลองมา พบว่าการลงสีกลาง แล้วค่อยเติมแสง แต่งเงา ( หรือเงาก่อนแสงก็ได้ ) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจการทำงานได้ดีขึ้น และทำงานได้เร็วขึ้นด้วย มีแพทเทริ์นมาฝากด้วยค่ะ ลอกลาย แล้วลงสีได้เลย ลองเตรียมสีและอุปกรณ์ แล้วเพ้นท์ดูซีคะ ใช้ถุงผ้า ช่วยลดโลกร้อนด้วย ถุงผ้าลายลูก Golden Honest อุปกรณ์ ถุงผ้าดิบ สีอะคริลิค JoSonya สี Titanium White, Cadmium Yellow Light, Indian Yellow, Red Violet, Sap Green, Carbon Black และ Brown Madder พู่กันแบน Pyramid รหัส 91018 เบอร์ 2 และ 6 พู่กันตัดเส้น Pyramid รหัส 91014 เบอร์ 00 แก้วน้ำสำหรับล้างพู่กัน ผ้าซับพู่กัน จานสี ( เคล็ดลับก็อยู่ที่จานสีนี้แหละค่ะ เพราะสีอะคริลิคแห้งเร็ว ออกจากหลอดไม่ถึงห้านาทีก็แห้งแล้ว แต่ด้วยการใช้จานสีแบบนี้ ช่วยให้ใช้สีได้นานนับชั่วโมงโดยไม่แห้งไปก่อนทำงานเสร็จ โดยการทบทิชชูม้วนสัก 4 5 รอยปรุ วางบนภาชนะก้นตื้น เช่นถาดโฟมใส่อาหาร รินน้ำใส่จนชุ่ม แล้วปิดทับด้วยกระดาษไขรองเค้ก น้ำจะส่งผ่านความชื้นผ่านกระดาษไขขึ้นมาหล่อเลี้ยงสี ทำให้ใช้สีได้นานค่ะ และถ้าใช้ไม่หมด เก็บใส่กล่องปิดฝาสนิท ก็ใช้ได้ถึงวันรุ่งขึ้น ) อุปกรณ์การลอกลาย ( ผ้าป่านมัสลิน, กระดาษลอกลาย, ดินสอดำ, ลูกประคบสีฝุ่นสีใกล้เคียงกับสีที่จะเพ้นท์, เข็มหมุดสำหรับปรุลาย, ผ้ายืดสำหรับรองกระดาษเพื่อปรุลาย ) เกรียงสำหรับผสมสี ( ใช้เกรียงสำหรับงานสีน้ำมันเบอร์ 12 จะเหมาะมากค่ะ ) ผ้าสำหรับซับพู่กัน วิธีทำ การลอกลาย ลอกลายลงบนกระดาษลอกลาย วางลายบนผ้ายืดที่ทบกันประมาณ 3 4 ชั้น ใช้เข็มหมุดปรุตามลายเส้น นำลายที่ปรุแล้วไปวางบนผ้า กลัดด้วยเข็มกลัดเพื่อกันเลื่อน ตัดผ้าป่านมัสลินขนาดประมาณ 5 * 5 นิ้ว เทสีฝุ่นลงกลางผ้า แล้วรวบชายผ้ามัดด้วยยางรัดของ จะได้ลูกประคบสีฝุ่น นำลูกประคบไปกลิ้งบนกระดาษ สีจะทะลุรอยปรุไปเกิดเป็นลวดลายตามต้องการบนผ้า การเพ้นท์ใบด้านหน้า สีที่ใช้คือ สี 1 SapGreen สี 2 Red Violet สี 3 Titanium White
1 เพ้นท์สี Sap Green จนเต็มใบ 2 ลากสี Red Violet เป็นเส้นกลางใบด้วยข้างพู่กันแบน แล้วปาดสี Red Violet นี้ บนใบข้างหนึ่งปาดจากเส้นกลางใบออกไปสู่ข้างใบ ใบอีกข้างหนึ่ง ปาดจากขอบใบ เข้าหากลางใบ 3 ล้างพู่กัน ให้สะอาด ซับให้แห้ง แตะสีขาว เกลี่ยภายในระหว่างรอยปาดในข้อ 2 ให้กลมกลืนกันกับสีที่เพ้นท์ไว้เดิม การเพ้นท์ใบด้านหลัง สีที่ใช้คือ สี 1 Sap Green สี 2 Sap Green, Brown Madder และ Titanium White อย่างละเท่าๆกัน สี 3 สี 2 และสี Titanium White อย่างละเท่าๆกัน 1 เพ้นท์สี Sap Green จนเต็มใบ แล้วทิ้งให้แห้ง 2 เพ้นท์สี 3 ทับเฉพาะส่วนที่เป็นด้านหลังของใบจนเต็ม 3 ปาดสี 2 ออกจากแนวเส้นกลางใบไปสู่ขอบใบ 4 เกลี่ยสีขาวบริเวณปลายใบเล็กน้อย แล้วลากเส้นใบด้วยสี 3 ผสมสี Titanium White การเพ้นท์ลูก 1 เพ้นท์สี Cadmium Yellow Light จนต็มลูก 2 เกลี่ยสี Indian Yellow ที่ขอบลูก 3 เกลี่ยสี Red Violet ที่ขอบลูก แต่ให้แคบกว่าในข้อ 2 4 ล้างพู่กันให้สะอาด ซับให้แห้ง เกลี่ยสี Titanium สร้างจุดสว่างในลูก
การเพ้นท์ก้าน ใช้พู่กัน แตะสี Sap Green ผสมกับสี Red Violet เกลี่ยตามแนวก้าน แล้วเกลี่ยเงาบางส่วนด้วยสี Carbon Black การทำ Heat Fix ทิ้งงานที่แห้งประมาณครึ่งวัน จึงทำให้สีติดแน่นกับผ้า ( Heat Fix ) ด้วยเตารีด โดยกดเตารีดความร้อนปานกลางเป็นที่ๆ นาน 1 2 นาที จนทั่วภาพเพ้นท์ จึงนำไปใช้งาน *๐* ขอโพสต์แค่ใบเดียวนะคะ อีกใบถ้าสนใจทำ รอเดือนมิถุนายน แล้วหาดูจากนิตยสารงานฝีมือนะคะ (เห็นใจเจ้าของนิตยสารเค้าหน่อยค่ะ) |