*/
ดอกบัว | ||
![]() |
||
ภาพวาดดอกบัวด้วยสีน้ำ |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
เช้าวันที่ 26 ก.ย.2557 หมอสมชัยและดิฉันเดินออกกำลังกายในสวนสาธารณะไปด้วย สนทนากันถึงเรื่องราวต่างๆที่พบเห็นในชีวิตประจำวันบ้าง เล่าเรื่องที่ต่างคนต่างอ่านสู่กันบ้าง สถานการณ์การเมืองบ้างด้วยเหมือนอย่างเคย แต่ที่ไม่เหมือนเคย คือ เรื่องที่สนทนา เพราะว่าเรื่องที่ยกมาคือเรื่องการวาดภาพดอกไม้ในแนวพฤกษศาสตร์ การวาดภาพก็เหมือนกับการทำสมาธิอีกวิธีหนึ่ง เนื่องจากวิธีวาดที่ใช้เป็นการวาดโดยไม่มีการร่างภาพด้วยดินสอก่อนจึงต้องใส่ใจกับหลายๆอย่างพร้อมๆกัน ตา จับจ้องมองดอกไม้ตรงหน้า ความคิด กำหนดว่าจะใช้สีอะไร วาดมือไปทางซ้ายขวาบนล่างมากน้อยแค่ไหน สัดส่วนของสิ่งที่กำลังทำจึงจะปรากฏออกมาเหมือนจริงได้ มือ ทำงานไปพร้อมๆกับที่ตาและความคิดกำหนด โดยปกติ ภาพที่วาดจะพยายามวาดให้เหมือนจริงให้มากที่สุดทั้งดอก และใบ
หมอสมชัยเธอเสนอไอเดียว่า ดิฉันน่าจะเขียนเอนทรี่เกี่ยวกับการวาดภาพเปรียบเทียบกับความว่าง เพราะมีสีสันแต้มบนกระดาษขาว กระดาษขาวที่ดูว่างเปล่าจึงมีภาพชีวิตเกิดขึ้นได้ เพราะสีสันที่ค่อยๆบรรจงแต่งลง ภาพชีวิตที่ดูเลือนลางจึงค่อยๆชัดเจนขึ้นจนเห็นเป็นภาพตามลำดับ แต่แล้วให้ทำลายภาพวาดนั้น เพื่อกลับไปสู่ความว่างของกระดาษอีกครั้ง
สีสันที่แต้มลงบนกระดาษว่างจนปรากฏเป็นภาพของสิ่งมีชีวิตที่เลือนรางก็เหมือนกิเลสอกุศลธรรมที่ทำให้เรามาสู่โลก สีสันที่แต่งลงบนความเลือนลางให้กลายเป็นภาพที่สมบูรณ์เปรียบเหมือนกุศลธรรมที่เราเติมลงไปเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ควรปรับปรุงให้เป็นภาวะที่น่าพอใจ เพราะหากไม่มีการแต่งเติมสีลงไป สีสันที่เลือนรางนั้นก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เกิดเป็นภาพวาดที่สมบูรณ์ได้ แต่ เมื่อเปลี่ยนภาวะที่เป็นอกุศลให้เป็นกุศลแล้ว หากเรายึดมั่นในกุศลธรรมนั้น เราก็จะเฝ้าแต่หวงแหนรักษาจนเป็นทุกข์ใหม่ขึ้นมา จึงต้องฝึกละการยึดมั่นในกุศลเพื่อกลับคืนสู่ความว่าง จึงเป็นที่มาของเอนทรี่นี้ที่จะเป็นการเล่าถึงวิธีการวาดภาพอกกุหลาบด้วยสีน้ำ เนื่องจากเป็นการวาดที่ไม่ร่างภาพด้วยดินสอก่อน จึงต้องวาดภาพจากระยะหน้าไปหาระยะหลัง จึงต้องเริ่มที่ตามองเห็นว่าอยู่หน้าสุดก่อน ดิฉันรีบวาดดอกก่อนใบเพราะเกรงว่าดอกจะบานแล้วทรวดทรง แสงเงา จะเปลี่ยน แต่เพราะในที่นี้ระยะหน้าที่สุดของดอกเป็นกลีบเลี้ยง ดิฉันจึงร่างรูปร่างของกลีบเลี้ยงซึ่งเหมือนกับใบกุหลาบเล็กๆทีละครึ่งโดยใช้สีฟ้าจางๆร่างเค้าโครงก่อนเพื่อนอกจากจะเป็นโครงสร้างของกลีบเลี้ยงแล้ว ยังเป็นการลงแสงสีฟ้าจางๆให้แก่กลีบเลี้ยง โดยสีฟ้าจางๆนี้ ดิฉันปาดพู่กันตามที่ตามองเห็นแบบน้ำชุ่ม นองบนกระดาษ ช่วงนี้ต้องรอนิดค่ะ ให้น้ำค่อยๆแห้งจนเหลือปริมาณที่พอเหมาะ ในขณะที่สียังไม่แห้ง รีบแต้มสีเขียวอ่อนให้เป็นสีของตัวกลีบเลี้ยงและสีเขียวเข้มเพื่อให้เป็นตำแหน่งของเงา และขีดสีแดงออกจากปลายกลีบจนทั่วเพื่อให้เกิดรอยหยักโดยรอบสีแดงอมเขียว จะเห็นว่าสีค่อยๆซึมเข้าหากันจนกลมกลืนกันเอง มาถึงตอนนี้สีก็หมาดแล้ว รีบใช้พู่กันหมาดขีดเส้นภายใน ปลายพู่กันจะขูดสีส่วนที่ลากผ่านให้เห็นเป็นเส้นเอง เสร็จแล้วจึงร่างอีกครึ่งหนึ่งด้วยวิธีเดียวกัน
แล้วจึงวาดกลีบเลี้ยงที่เหลือ
ส่วนดอก เริ่มจากกลีบที่เห็นเป็นระยะหน้าสุดก่อนเช่นกัน ดิฉันใช้สีแดงจางๆร่างกลีบนี้แล้วใช้สีที่เข้มขึ้นเติมสีพื้นของดอก พอสีหมาดจึงใช้พู่กันชื้น ลูบบริเวณที่ต้องการให้สีอ่อนลง
แต่เพราะไม่ทำงานมาเกือบสองปี จึงลืมเติมสีให้เข้มขึ้นเพื่อแทนตำแหน่งเงาไปค่ะ ไม่เป็นไร แก้ตัวใหม่กลีบต่อไปก็แล้วกัน เนื่องจากกลีบต่อไปติดกับกลีบแรก จึงต้องรอกลีบแรกให้แห้งก่อน จึงจะร่างกลีบต่อไปได้ พอกลีบแรกแห้ง ก็ได้เวลาร่างกลีบที่สองต่อออกไปได้แล้ว กลีบนี้นอกจากจะทำตามขั้นตอนแบบกลีบแรกแล้ว ยังแต้มสีเข้มแทนเงาในตำแหน่งที่ต้องการเพื่อให้ภาพดูคมชัดขึ้นด้วย กลีบต่อๆไปก็ทำเหมือนกันค่ะ
ร่างดอกเสร็จ ก็ร่างก้านชูดอก ใช้สีฟ้าจางๆร่างก้าน แต้มสีเขียวอ่อนและเข้มลงตาม พอหมาด แตะสีเขียวอมแดงลงตามความยาวของก้านโดยให้ค่อนไปทางด้านหนึ่งของตัวก้านเล็กน้อย ทิ้งให้แห้งจึงขีดเส้นเล็กๆสีแดงตามก้านจนทั่ว ใบ ร่างด้วยวิธีเดียวกับที่ร่างกลีบเลี้ยง ค่ะ เพียงแต่ด้านหลังของใบ ใช้สีเขียวจางๆร่างทรงของใบแทนสีฟ้า และแต้มภายในด้วยสีแดงเพิ่มขึ้นมา เสร็จแล้วค่ะ ภาพร่างดอกกุหลาบ ทิ้งให้แห้ง จึงเติมเงาให้ดอกและใบอีกครั้ง โดยใช้พู่กันสองอัน อันหนึ่งแตะสีคอยเติมในตำแหน่งที่ต้องการ อีกอันเป็นพู่กันชื้นคอยเกลี่ยขอบสีให้กลมกลืนไปกับพื้นสีเดิมจนได้ภาพที่ชัดเจนขึ้น
ในที่สุดภาพวาดกุหลาบสีน้ำก็เสร็จสมบูรณ์ ดูๆแล้วก็น่าชื่นชมผลงานจากความพยายามอยู่ แต่ หากเราชื่นชมกับความสมบูรณ์นั้นมากๆ พึงพอใจกับความพยายามของตนในการสร้างสรรค์มากๆเพราะเห็นว่าเป็นความดี คือ เป็นความดีของตน ที่ได้เพียรสร้างสิ่งดีๆอันเป็นผลงานของตน และหากบังเอิญมีริ้วรอยเกิดขึ้นในภาพวาดแม้เพียงเล็กๆ ความดีงาม ความสมบูรณ์ก็ราวถูกทำลายลง ชวนให้นึกเสียดาย เสียใจ เป็นทุกข์ไปได้แล้ว
เหมือนกับการยึดมั่นในความดีของบุคคลค่ะ หลักการของพุทธศาสนาคือการไม่ยึดถือมั่น ซึ่งคำว่า “ไม่ยึดถือมั่น” ก็คือ “ยึด” แต่ว่ายึดแบบ “ไม่มั่น” ยึดเพียงเพื่อให้สมประโยชน์ ครั้นพอสมประโยชน์แล้วก็ปล่อย กลับไปสู่การไม่ยึด เพราะ ไม่ว่ายึดมั่นในอะไร ก็ก่อให้เกิดทุกข์ใจได้ทั้งนั้น เดิม ดิฉันเข้าใจว่าการยึดมั่นในความดี หมายถึงการยึดมั่นในสิ่งดีๆที่ตนทำเท่านั้น แต่ต่อมาจึงเข้าในเพิ่มเติมค่ะว่า การยึดมั่นในความดีของผู้อื่นก็ทำให้เราทุกข์ใจได้ด้วยเหมือนกัน เนื่องจากดิฉันได้บทเรียนนี้จากตัวของตัวเอง (ส่วนบทเรียนนี้ดิฉันขอแอบเติมจากที่คุยกันไว้เองค่ะ ตุ๊มๆต่อมๆอยู่ ว่าจะโดนดุหรือเปล่า) คนเรามีทั้งข้อดีและข้อที่ควรปรับปรุงในตน เมื่อเรากำหนดว่าสิ่งใดเป็นความดี เราก็อยากให้สิ่งนั้นคงความดีและเจริญในความดียิ่งๆขึ้นไปและได้รับการปฏิบัติให้สมกับที่เป็นความดี เราอาจไม่รู้ว่า นี่คือการยึดมั่นในความดีที่สามารถนำไปสู่ความทุกข์ได้ ความที่ยังเป็นฆราวาสครองเรือน ยังคลายความยึดมั่นในความเห็นว่าเป็นตนไม่ได้ ในเรื่องคู่ ดิฉันจึงครองเรือนโดยยอมรับข้อที่ควรปรับปรุงในคู่ของตน เชิดชูความดีที่เห็น ชื่นชมในการยอมรับข้อบกพร่องและพยายามพัฒนาตนเพื่อปรับปรุงเพื่อทำความดีให้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆของเขา จนในที่สุด เพราะไม่ได้ตรวจสอบตนในเรื่องนี้ จึงกลายเป็นว่าดิฉันการยึดมั่นในสิ่งที่ดิฉันกำหนดว่าเป็นความดีในคู่ของตนไป การยึดมั่นในความดีของคู่ ข้อดีก็คือ ทำให้ดิฉันพยายามที่จะปรับปรุงตนให้ดีเทียมกัน แต่ … เพราะขาดการกำหนดด้วยหลงลืมสติ อีกทั้งลืมคำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ที่ว่าแม้กุศลก็เป็นปัจจัยให้อกุศลได้ จึงนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งการยึดมั่นในความดีที่ว่า ตัวดิฉันเองควรจะดีพร้อมเพื่อให้คู่ควรกับสภาวะที่ดิฉันกำหนดว่าเป็นความดีตามที่ปรากฏ ดังนั้น หากหมอสมชัยเห็นข้อบกพร่องของดิฉันแม้แต่เพียงเล็กน้อย ดิฉันก็จะกลับทุกข์ใจเป็นอย่างมาก ซึ่งนอกจากดิฉันเองจะมีความทุกข์แล้ว ก็ยังพลอยทำให้เธอลำบากใจตามไปอีกด้วย เพราะเป็นช่วงเวลาที่ดิฉันกลายเป็นคนที่ราวกับ “ถูกแตะนิดหน่อยก็ไม่ได้” เพราะได้เกิดเป็นกิเลสที่ซ้อนบนกิเลสและกิเลสอีกทีขึ้นแล้ว นั่นคือ เดิมก็หลงยึดสภาพเกิดดับว่าเป็นตนก็เป็นกิเลสประเภทโมหะที่ขูดเกลายังไม่หมดอยู่แล้ว ยังเพิ่มด้วยโมหะคือการหลงเชิดชูตนว่าดีและอยากดี จึงรวบถือและแยกถือจนเกิดความและเสียใจในยามที่ตัวตนที่ตนเชิดชูถูกกระทบอันจัดเข้าในกิเลสกลุ่มโทสะ ซ้อนขึ้นมาอีก เมื่อได้รู้ตัว จึงต้องมีการละคลายความยึดมั่นนั้นๆค่ะ เพราะไม่อย่างนั้น ก็จะหวั่นไหวไปตามคำติเตียนได้ทุกครั้งที่พบข้อบกพร่อง ก็ในเมื่อตนเองกำลังค้นหาข้อบกพร่องของตนเพื่อยอมรับและแก้ไขอยู่แล้ว เวลาที่ตนพบข้อบกพร่องของตนตนไม่ทุกข์ ตรงข้าม กลับยินดีที่ได้กำหนดรู้ว่าเป็นสิ่งที่ควรแก้ไขเพื่อให้ได้พบกับความว่างในเรื่องนั้นๆ รู้ว่าตนมีงานอะไรต้องทำบ้าง แต่พออีกคนพบ ทำไมจึงกลับกลายเป็นทุกข์ไปได้ จึงทำให้ทราบว่า การยึดมั่นในความดี ที่เคยเรียนรู้มาว่ายึดมั่นในสิ่งดีๆที่ตนทำ ในผลงานตน นำไปสู่ทุกข์นั้น น่าจะเพิ่มการยึดมั่นในความดีของบุคคลอื่นเข้ามาด้วย สิ่งที่เราควรพิจารณาคือ เราจะแก้ไขอย่างไรเพื่อนำไปสู่การคลายการยึดมั่น นำไปสู่ความว่าง หากเปรียบกับภาพวาดภาพนี้ เมื่อมีสีสันแต่งเติมลงจนเกิดเป็นภาพที่สวยงามบนกระดาษว่างเปล่าแล้ว จะทำให้กระดาษว่างที่ถูกแต้มด้วยสี กลับคืนสู่ความว่างอีกครั้งได้อย่างไร หากเราเอากระดาษชนิดเดียวกันปิดทับลงไป ก็ได้ความว่างของกระดาษกลับคืนมา หรือ เอาสีขาวที่แสดงถึงความว่างเพราะเป็นสีเดียวกับกระดาษทาทับลงไป ก็จะค่อยๆได้ความว่างของกระดาษกลับคืนมาได้เหมือนกัน หรือ จะพู่กันชุ่มน้ำทาในส่วนที่เป็นภาพแล้วซับด้วยกระดาษทิชชู สีก็จะจางลงไป ยิ่งทำซ้ำหลายๆครั้ง สีก็ยิ่งจางลงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราต้องเพียรทำซ้ำหลายๆครั้ง ทั้งซับทั้งขูด สีที่แต้มลงไปแล้วจึงจะหาย กลายเป็นสีเดิมของกระดาษอันเป็นสภาพว่างเปล่าไร้การแต่งเติมแต่เดิมได้
การที่เราเอากระดาษชนิดเดียวกันมาปิดทับสีที่แต้มลงแล้ว เปรียบเหมือนการได้ความสงบจากการฝึกสมาธิที่เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ไม่มีการใช้จิตที่ควรแก่การทำงานนี้ไปพิจารณาธรรมใดๆ เราเพียงว่างจากกิเลสด้วยนิพพานโดยปริยาย แต่เมื่อออกจากสมาธิ ก็กลับมาเป็นคนเดิมที่มีกิเลสอยู่เต็ม การอยู่ในสมาธิจึงเป็นเพียงการหาที่หลบจากความวุ่นวาย ดังเช่นพระพุทธเจ้าทรงประจักษ์มาแล้ว ที่ทรงฝึกสมาธิจนบรรลุถึงฌาน ๘ แต่ในที่สุด ก็ทรงทราบว่า นั่นไม่ใช่วิถีแห่งการหลุดพ้น เป็นเพียงการหลบอยู่ในมุมสงบชั่วคราวเท่านั้น หรือการที่เราเอาสีขาวมาป้ายทับสีต่างๆที่แต่งลงบนกระดาษว่าง โดยเห็นว่าเป็นสีแห่งความว่างเหมือนสีเดิมของกระดาษ ก็คือหาสิ่งที่ยึดใหม่มายึดแทนสิ่งเดิมที่ยึดไว้แล้ว เป็นการ “ยึดมั่นในความว่าง” หรือ “ ยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น” เพราะไม่ว่าจะปิดทับด้วยกระดาษที่สามารถหยิบยกออกได้ทุกเวลา หรือ การป้ายสีใหม่ทับลงไป สีเดิมที่แต้มไว้ก็ยังคงอยู่ เพียงแต่เรามองไม่เห็น เพราะ “สีแห่งความว่าง” ปกปิดอยู่นั่นเองเนื่องจากไม่มีการพิจารณาแบบสืบสวนต้นเค้าจนด้วยเห็นทั้งคุณ โทษ และทางออก ของธรรมนั้นๆ และเพียรปฏิบัติจนปัญญาเห็นธรรมนั้นๆด้วยความเป็นกลาง กระทั่งทำให้มองเห็นธรรมต่างๆว่า “สักแต่ว่า” เป็นธรรมนั้นๆ ส่วนการใช้น้ำชะล้างสีออกจากกระดาษเปรียบเหมือนการชะล้างกิเลสอันเป็นอกุศลธรรมด้วยกุศลธรรม การพิจารณาเพื่อไถ่ถอนกิเลสไปทีละน้อยๆ เพราะในการปฏิบัติธรรมเราเพียงเพียรปฏิบัติเพื่อพิจารณาว่าอะไรเป็นอกุศล อะไรเป็นกุศล เพียรปฏิบัติเพื่อละอกุศลธรรม เพิ่มพูนกุศลธรรม และเพียรพิจารณาเพื่อคลายความยึดมั่นในทั้งกุศลและอกุศลธรรมที่เห็นแล้วนั้นโดยไม่หวังผล เพราะไม่หวังผล จึงสงบอยู่ได้ ไม่ทุรนทุรายที่ยังไม่สามารถคลายการยึด ดิฉันเรียนรู้จากข้อผิดพลาด จึงเห็นว่าน่าจะเป็นอีกเรื่องผู้ปฏิบัติควรระวังการปฏิบัติของตน จึงขออนุญาตนำมาเล่าค่ะ ส่วนในเรื่องของการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติควรพิจารณา ว่าเป็นการปฏิบัติแบบ “ซุกปัญหาไว้ใต้พรม” เพราะความสงบจากสมาธิ หรือเป็นการปฏิบัติที่ใช้คำว่า “สักแต่ว่า” มาปลอบตนจนทำให้ “ยึดมั่นในการไม่ยึดมั่น” หรือว่าหมั่นตามประกอบการพิจารณา จนค่อยๆคลายการยึดทั้งอกุศล และ กุศล ไปทีละน้อย ทีละน้อย |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |