*/
<< | พฤษภาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
เคยไหมคะ ที่คิดว่าจะฝึกสติสัมปชัญญะ ด้วยการรู้ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถอย่างไร จะก้าวเดินอย่างไร จะเหยียดแขนอย่างไร จะนั่ง จะนอน อย่างไร และระหว่างการเคลื่อนไหว ก็จะตั้งใจดูการเคลื่อนไหวเพียงอย่างเดียวด้วยความคิดว่าจะทำจิตให้ว่าง และหากเราศึกษาความหมายของคำว่าสัมปชัญญะให้ถี่ถ้วนขึ้น บางที การดูอิริยาบถของเราอาจเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้เล่ามาในข้างต้นบ้างก็ได้นะคะ สติสัมปชัญญะนั้น เป็นสิ่งที่เราควรนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ควรฝึกให้มีขึ้นและให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ในการฝึกตนเพื่อให้คิดว่าจิตตนว่างเท่านั้น คนไข้คนหนึ่งปวดฟันมาก จึงมาหาคุณหมอชาย เมื่อคุณหมอชายได้ตรวจดูแล้ว เห็นว่าสมควรเอาฟันออกเพราะนอกจากจะฟันจะผุมากแล้ว เนื้อฟันยังเหลือน้อย การรักษารากฟันแม้จะทำให้สามารถเก็บฟันไว้ได้ แต่อีกไม่นานก็คงต้องเอาฟันอกอยู่ดี ระยะเวลาที่ยืดการเอาฟันออกไปจึงอาจไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย จึงหารือกับคนไข้ ซึ่งคนไข้ก็เห็นด้วย (๑) เมื่อตัดสินว่าต้องเอาฟันออกแล้ว คุณหมอชายก็ประเมินว่าควรใช้วิธีใดจึงจะเหมาะ คุณหมอเห็นว่าด้วยกำลังข้อแขนของตน สามารถถอนฟันออกจากปากคนไข้ได้โดยไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นที่คนไข้อาจปวดแผลมากขึ้นในภายหลัง (๒) แล้วคุณหมอก็จัดการกับฟันซี่นั้นตามวิธีการที่ตนตัดสิน สองมือจึงวุ่นวาย สาละวนกับใช้เครื่องมือเพื่อถอนฟัน (๓) ในขณะที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น คุณหมอชายก็ไม่ใส่ใจเรื่องอื่น ใจไม่วอกแวกไปที่อื่น ตั้งสติจดจ่อกับการทำงาน ขั้นตอนในการทำงาน การก้าวหน้าของงานในขณะที่ทำ จนกระทั่งถอนฟันได้สำเร็จ (๔) หากนำองค์ประกอบของสัมปชัญญะมาเทียบกับการทำงานของคุณหมอ ก็อาจเป็นได้อย่างนี้ค่ะ การพิจารณาประโยชน์ที่เกิดขึ้นก่อนการทำงานของคุณหมอตามข้อ (๑) ก็คือ สาตถกสัมปชัญญะ ซึ่งประโยชน์นี้ เป็นประโยชน์ที่แท้จริง ที่ไม่นำทุกข์มาให้ภายหลัง ได้ประโยชน์อันเป็นผลที่มาจากเหตุโดยตรง สมมติว่าคุณหมอเห็นว่าการรักษารากฟันสามารถเก็บค่ารักษาจากคนไข้ได้มากกว่าการถอนฟันแล้วตัดสินใจทำงานอย่างแรก อย่างนั้นไม่เรียกว่าสาตถกสัมปชัญญะ เพราะผลไม่ตรงกับเหตุ เพราะเหตุคือการเอาฟันออก ผลก็คือ ฟันออกจากปาก ไม่ใช่ค่ารักษาอันเป็นเรื่องที่ตามมาทีหลัง ซึ่งสัมปชัญญะนี้จะเกิดขึ้นและสมบูรณ์ได้ ก็ด้วย โยนิโสมนสิการ หรือการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ที่ต้องอบรมควบคู่กันไปกับ ศีล ที่มีเมตตาเป็นพื้นฐาน การเอาตนเข้าเปรียบด้วยเมตตา และ สันโดษ ด้วย เมื่อคุณหมอประเมินการทำงานด้วยวิธีต่างๆ วิธีการใดประเมินแล้วสามารถทำงานให้สำเร็จได้ตามข้อ (๒) โดยสบายแก่กำลังใจ กำลังกายตน นั้นคือ สัปปายสัมปชัญญะ ขณะที่กำลังถอนฟัน คุณหมอมีสติระลึกรู้ถึงสองมือที่วุ่นวาย ยื่น เหยียด หดกลับ (ก็คือการคู้เข้า เหยียดออก) หยิบเครื่องมือชิ้นนั้น งัด แงะ ดึง อย่างนั้นอย่างนี้ตามข้อ (๓) สามารถเทียบได้กับ โคจรสัมปชัญญะ การแจ่มแจ้ง ไม่หลงลืมในขณะที่คู้เข้าเหยียดออก ไม่หลงลืมขั้นตอนในการทำงาน การระมัดระวังอันตรายหรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ประโยชน์ของการเหยียดคู้ การประมาณกำลังตน การจดจ่อกับการทำงานโดยไม่ส่งใจไปที่อื่นตามข้อ (๔) ก็อาจเทียบได้กับ อสัมโมหสัมปชัญญะ สำหรับการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา วัตถุประสงค์ของการมีสติสัมปชัญญะ คือการนำไปสู่การมีอินทรีย์สังวรที่บริบูรณ์ (อวิชชาสูตร - องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๖๑/๑๓๔ – ๑๓๗) กับ การได้ความสงบของใจและปัญญาที่ยิ่งๆขึ้นไป (สมถสูตร - องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๔/๑๑๖-๑๑๗) เพราะฝึกสติสัมปชัญญะควบคู่ไปกับการอบรมตนด้วยศีล โยนิโสมนสิการ สันโดษ จนเกิดปัญญาจึงเป็นเหตุให้ประพฤติสุจริต และเพราะการ "เที่ยวไป" หรือมีชีวิต เป็นอยู่ ด้วยความประพฤติสุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ นี้เอง เป็นเหตุให้การปฏิบัติสติปัฏฐานสมบูรณ์ โดยที่สาตถกสัมปชัญญะ คือการเห็นประโยชน์ของการฝึกกรรมฐาน สัปปายสัมปชัญยะ คือการเลือกกรรมฐานที่สบาย เหมาะกับจิต โคจรสัมปชัญญะ คือการกำหนดใจอยู่กับกรรมฐานที่ตนเห็นประโยชน์แล้วและเลือกใช้รวมถึงการไปมาโดยไม่แวะเวียนไปทางไหนนอกจากเส้นทางที่จะเอื้อต่อการเจริญกรรมฐานเท่านั้น ส่วน อสัมโมหะสัมปชัญญะ นั้น หมายถึงการไม่หลงลืมการพิจารณาด้วยขันธ์ อายตนะ ธาตุ และ ปัจจัย จนเกิดความเห็นว่าเป็นตน ดังนั้น หากเราคิดแต่เพียงการเฝ้าดูอิริยาบถว่ากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร โดยไม่พิจารณาถึงองค์ประกอบของสัมปชัญญะดังกล่าว ไม่รู้เหตุที่มา ผลที่ไป ไม่รู้ประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่เป็นไปเพื่อการมีอินทรีย์สังวร หรือ สุจริต ๓ เราก็อาจจะเพียงปฏิบัติตามที่ได้ยินมาแบบทำตามๆกันไป จนอาจกลายเป็นการปฏิบัติด้วยความงมงายได้ สติสัมปชัญญะนี้ จึงเป็นอีกธรรมที่ควรน้อมเข้ามาในตนค่ะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |