*/
<< | พฤศจิกายน 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
การที่เราจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง การประเมินความสามารถของตนเองมีส่วนช่วยในการตัดสินใจมากค่ะ ว่าด้วยความสามารถของเราที่เรารับรู้ด้วยตนเองนั้น มากพอที่จะทำสิ่งนั้นๆได้หรือไม่ ถ้าประเมินแล้วพอจะทำได้ เราก็มักตัดสินใจทำสิ่งนั้นๆ การออกกำลังกายก็เช่นกัน แต่การประเมินตนบางครั้งก็ไม่ใช่ถูกต้องนักค่ะ เพราะพบว่าเพศชายมักประเมินความสามารถตนเองสูงกว่าความเป็นจริง ในขณะที่เพศหญิง มักประเมินต่ำเข้าไว้ การประเมินหรือการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายนี้เป็นผลมาจากหลายๆสาเหตุค่ะ ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self Efficacy) อธิบายไว้ว่า เราจะรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกายของเราเองได้จากปัจจัยต่างๆเหล่านี้ - ประวัติการออกกำลังกาย ส่วนนี้สำคัญมากค่ะ เพราะเราเคยทำอย่างไร ก็รับรู้อย่างนั้น เช่น รับรู้ว่าเรามีความอดทนแค่ไหน มีความสามารถอย่างไร มีพละกำลังขนาดไหน เคยจูงใจตัวเองด้วยวิธีใด เหล่านี้ก็พอจะช่วยเราประเมินได้ว่าเมื่อเราอยากจะออกกำลังกายครั้งต่อไปหรือไม่ ถ้าประเมินแล้วชวนให้เราอยากออกกำลังกาย วิธีการออกกำลังกายที่เราเลือกจะทำนั้น ต่ำกว่าความสามารถที่เราเคยรับรู้ว่ามี หรือดูท้าทาย หรือน่าสนใจขนาดไหน และด้วยความสามารถที่เรามีอยู่ เรามีแนวโน้มว่าจะออกกำลังกายด้วยวิธีนั้นสำเร็จหรือไม่ - การได้เห็นตัวอย่างที่ดี ถ้าเราได้เห็นคนที่มีลักษณะคล้ายๆเราประสบความสำเร็จในการออกกำลังกาย ก็สามารถช่วยให้เรารู้สึกว่าในเมื่อเขาทำได้ เราเองก็น่าจะทำได้ด้วย ซึ่งก็คือเพิ่มการรับรู้ความสามารถในการออกกำลังกายของตนเองนั่นเองค่ะ - การชักชวน การชักชวนจากบุคคลรอบข้างทั้งด้วยวาจา การให้ข้อมูล ให้กำลังใจ มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถตนเองมากเช่นกันค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ที่ชักชวนหรือให้ข้อมูล เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง หรือแหล่งข้อมูลนั้นๆน่าเชื่อถือ - สภาวะทางร่างกาย เช่น ถ้าร่างกายอ่อนแอ เหนื่อย ล้า เราก็จะไม่ค่อยอยากออกกำลังกายเท่าไหร่ หรือถ้าฝืนใจทำ ก็อาจทำไม่สำเร็จ - การประเมินความรู้สึกตนเอง การเกิดความรู้สึกทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อตนเอง ต่อการออกกำลังกาย สามารถทำให้เราออกกำลังกายสำเร็จหรือไม่สำเร็จได้ค่ะ เช่น เรารู้สึกว่ากลัวการกระโดดเพราะอาจเป็นอันตรายต่อหลัง เราก็จะไม่กล้ากระโดด หรือเรารู้สึกอึดอัดที่เป็นมือใหม่ในกลุ่มคนที่ชำนาญแล้วเราก็จะไม่อยากออกกำลังกายในที่นั้นๆ หรือกลัวว่าถ้าทำไม่สำเร็จแล้วคนรักจะผิดหวัง เราก็อาจหาวิธีหลบเลี่ยง เมื่อมีความรู้สึกในด้านลบอย่างนี้ เราก็จะรับรู้ความสามารถของตนเองอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งตรงข้ามกับการประเมินความรู้สึกในด้านบวก - ความยึดมั่นในความเชื่อ พอเราเชื่อและมีความรู้สึกตามที่เล่ามาในข้างต้นและยึดมั่นอยู่อย่างนั้น ใครจะให้เหตุผลอย่างไรก็ไม่เปลี่ยนความเชื่อ ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เราไม่อยากออกกำลังกาย ไม่อยากทดสอบความสามารถตนเอง อันนำไปสู่การรับรู้ความสามารถที่ไม่ถูกต้องได้เช่นกันค่ะ ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อการเลือกกิจกรรมสำหรับการออกกำลังกาย คือเรารับรู้ว่ามีความสามารถแค่ไหนก็เลือกกิจกรรมออกกำลังกายแค่นั้น แต่การรับรู้ความสามารถตนเองนี้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ เช่น อยากทำกิจกรมหนึ่งที่คิดว่าตนคงไม่สามารถทำได้ หรือถ้าจะทำได้ก็คงยากมากๆ แต่พอได้ลองทำเข้าจริงๆแล้วก็กลับทำได้ ก็จะรับรู้ว่าตนมีความสามารถมากกว่าที่คิดว่าตนมี และเพราะการรับรู้นี้ เลยทำให้เลือกที่จะทำกิจกรรมใหม่ๆที่ใช้ความสามารถในระดับเดียวกันกับที่ตนรับรู้ใหม่นี้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง กับการเลือกกิจกรรมตามความสามารถที่ตนรับรู้ เลยหมุนและหนุนกันจนเป็นวงกลม ทั้งหมดที่เรามาในสองบันทึกก่อนหน้า ( ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อเรื่องสุขภาพ และ ทฤษฏีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) และบันทึกนี้ ก็คือการอธิบายพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคลเกี่ยวกับการออกกำลังกายค่ะ ทำให้เรารู้ว่า ทำไมบางคนจึงไม่อยากออกกำลังกาย ไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย หรือทำไมบางคนแม้ว่าจะเห็นความสำคัญแล้วแต่ก็ยังไม่เริ่มต้นออกกำลังกาย ทำไมบางคนจึงออกกำลังกายเป็นพักๆ ทำไมบางคนจึงออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จนการออกกำลังกายกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชิวต เพื่อที่จะเข้าใจเขา เห็นใจเขา สนับสนุนเขา เท่าที่เราจะทำได้นั่นเองค่ะ ซึ่งในเรื่องนี้ คราวหน้าจะมาเล่าต่อนะคะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |