*/
<< | ธันวาคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ดังที่ได้เรียนแล้วว่าระดับของการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกคน คือการออกกำลังกายด้วยความหนักในระดับปานกลาง เพราะเป็นความหนักที่นอกจากจะปลอดภัยแล้วยังทำให้เราออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร จนการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้ในที่สุด ได้เล่ามาใน 3 entry ก่อนหน้า ว่าเราสามารถหาความหนักในระดับปานกลางนี้ได้จาก อัตราการเต้นของหัวใจ โดยหาได้ทั้งที่เป็นเปอร์เซ็นต์จากอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate : MHR) กับจากอัตราการเต้นหัวใจสำรอง (Heart Rate Reserve : HRR), จากค่า METs, จากการประมาณจากแคลอรี่ที่ใช้ไปในการออกกำลังกาย ซึ่งการหาด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้ เรียกว่าการหาในแบบ Absolute Intensity คือสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้อย่างแน่นอน สำหรับการหาค่าความหนักทั้ง 2 แบบแรกเทรนเนอร์หรือตัวผู้ออกกำลังกายสามารถคำนวนหาการเต้นหัวใจสูงสุดได้เอง โดยกำหนดตัวเลขเป็นค่าการเต้นหัวใจสูงสุดไว้ที่ 220 แล้วลบด้วยอายุ จึงจะเป็นค่าอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดโดยประมาณของคนแต่ละวัย เมื่อได้อัตราการเต้นหัวใจสูงสุดสำหรับแต่ละวัยแล้วจึงนำตัวเลขที่ได้ไปหาเปอร์เซนต์การเต้นของหัวใจตามที่กำหนดในแต่ละสูตร ยังมีการวัดการเต้นหัวใจอีกแบบที่ให้ค่าแน่นอนค่ะ แต่ว่าค่อนข้างเสี่ยง และต้องทำภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น จึงไม่ขอนำมากล่าวถึงในที่นี้นะคะ ส่วนการหาความหนักอีกแบบเรียกว่าแบบ Relaitve Intensity คือไม่สามารถหาออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้ ได้แต่ใช้ความรู้สึกของผู้ออกกำลังกายมาช่วยในการประมาณความหนัก และใช้ค่าความหนักที่ประมาณเอาเองนี้เปรียบเทียบโดยประมาณกับอัตราการเต้นของหัวใจ มีวิจัยว่าการกำหนดด้วย Relative Intensity เหมาะกับแทบทุกคนค่ะโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่หัวใจเต้นผิดปกติไป เช่น คนที่ทานยาบางชนิดที่ทำให้อัตราการเต้นหัวใจต่ำลง คนท้องที่อัตราการเต้นหัวใจจะสูงขึ้น รวมไปถึงคนที่เป็นโรคต่างๆ เช่นโรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ โรคหัวใจ ฯลฯ การกำหนดความหนักในการออกกำลังกายแบบนี้ใช้มักกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก เป็นการกำหนดความหนักที่ประเมินเอาจากการรับรู้ความรู้สึกเหนื่อย หรือ Rating of Perceived Exertion ที่เรียกสั้นๆว่า RPE โดยประมาณเอาจากความรู้สึก ความสามารถของร่างกาย (เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก) การทำงานของระบบการเผาผลาญพลังงานพลังงาน (ซึ่งสังเกตได้จากความถี่ในการหายใจ) ตลอดจนความอ่อนล้าของร่างกาย สิ่งเหล่านี้ ผู้ออกกำลังกายประเมินตัวเองเอาเองแล้วมาประมาณเปรียบเทียบเป็นอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อหาความหนักในระดับที่เหมาะสมกับร่างกาย สำหรับตัวเลขการหาค่า RPE มีวิธีประเมินอยู่ 2 วิธีค่ะ วิธีแรกThe Borg Scale ตัวเลขเริ่มจาก 6 ไล่ไปถึง 20 ซึ่งอ้างอิงจากอัตราการเต้นของหัวใจคนปกติ คือเต้นเบาสุด (ขณะพัก) ประมาณ 60 ครั้ง/นาที ค่า RPE ที่ 12 - 13 เป็นค่าประมาณที่เมื่อเทียบกับอัตราการเต้นหัวใจก็จะเท่ากับ 64 - 76% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (MHR) หรือ 40 - 59% อัตราการเต้นหัวใจสำรอง (HRR) ค่า 15 เทียบเท่ากับการเต้นหัวใจ 150 ครั้ง/นาที กำหนดว่า ค่าการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับปานกลางเมื่อใช้ตารางนี้คือ ระดับ 11 - น้อยกว่า 14 จากตารางนี้ คนเป็นโรคหัวใจ มักออกกำลังกายที่ความหนัก 9 - 11 วิธีที่ 2 The Category Ratio Scale เนื่องจากตัวเลขในแบบแรกเยอะ ค่อนข้างใช้ยาก จึงมีการปรับปรุงตารางนี้ใหม่ให้ง่ายขึ้น มีค่าตัวเลขอยู่ระหว่าง 0 - 10 โดยที่ความหนักระดับปานกลางจะอยู่ที่ค่าประมาณ 3 - 5 ทั้ง 2 วิธี มีการประเมินคือ หลังจากวอร์มอัพด้วยการเดินช้าๆแล้ว จึงออกกำลังกายตามโปรแกรมออกกำลังกาย คอยปรัเมินความรู้สึกทุก 2 - 5 นาที (แล้วแต่สภาพร่างกายผู้ฝึก) ว่าค่าความเหนื่อยของตัวเองระดับไหน (ยกเว้นผู้เป็นโรคหอบหืด ที่ต้องประเมินตั้งแต่วอร์มอัพแล้ว) เพื่อให้ฝึกในช่วงความหนักที่ต้องการ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่หลายข้อค่ะ เพราะ - ผู้ชายมักประเมินความหนักในการออกกำลังกายต่ำกว่าความเป็นจริง ส่วนผู้หญิงมักประเมินสูงกว่าความเป็นจริง (คงเป็นตามธรรมชาติมังคะ ผู้ชายก็คงอยากให้ใครๆเห็นว่าเค้าแมน ส่วนผู้หญิงก็มักไม่อยากให้ใครมองว่าตัวเองบอบบาง ทนโน่นนี่นั่นไม่ค่อยไหว) - การที่ผู้ออกกำลังกายจะประเมินความรู้สึกเหนื่อยออกมาเป็นตัวเลขที่มีค่าแทนความเหนื่อยในระดับต่างๆ จะใกล้เคียงความเป็นจริงก็ต่อเมื่อใช้จนคุ้นเคย - ในช่วงแรกๆของการเริ่มใช้ค่า RPE ผู้ออกกำลังกายจะแยกระดับไม่ออก จะรู้สึกว่าความหนักแต่ละระดับทำให้ตนเองเหนื่อยเท่ากันหมด ดังนั้นจึงต้องใช้การประเมินนี้ไปสักระยะ จึงจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกับความรู้สึกและอัตราการเต้นหัวใจจริงๆ - บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพอาจประเมินความหนักต่ำกว่าความเป็นจริงถ้าเขาไปใส่ใจที่ความรู้สึกเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมากกว่าความสามารถของระบบหัวใจและหลอดเลือด การหาความหนักทุกแบบที่เล่ามานี้ ใช้สำหรับการออกกำลังกายเพื่อระบบหัวใจและหลอดเลือดนะคะ ไม่เกี่ยวกับการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทีนี้มาถึงเรื่องที่เกี่ยวกับชื่อ entry ที่ว่าระดับการออกกำลังกายเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักตัวโยโย่อย่างไร ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าภาวะโยโย่ (Yo-Yo Effect) กันก่อน ภาวะน้ำหนักตัวโยโย่ ก็คือภาวะที่น้ำหนักตัวเด้งขึ้นๆลงเหมือนการเคลื่อนไหวของลุกดิ่งหรือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลังการเริ่มลดน้ำหนัก ส่วนใหญ่จะจบลงที่น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากกว่าตอนเริ่มลดค่ะ เพราะไม่สามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ การฟื้นฟูร่างกายเมื่อพบภาวะนี้ทำได้ยากมาก หลายๆคนไม่สามารถกลับมามีสุขภาพกายอย่างเดิมได้อีกเลย ภาวะนี้ทำให้ร่างกายเก็บสะสมไขมันมากกว่าเดิม กล้ามเนื้อฝ่อลีบลง จึงทำให้นอกจากจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างต่อเนื่องและลดยากแล้ว ยังมีความสัมพันธ์กับโรคไขมันอุดตันในหลอดเลือด ไขมันพอกตับ เบาหวาน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภูมิต้านทานลดลง โรคซึมเศร้า อีกด้วย อาการโยโย่จะเกิดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพื้นฐานสุขภาพของแต่ละคน คนที่อายุยังน้อยหรือร่างกายแข็งแรงอาจไม่รู้สึกถึงอาการโยโย่ในการลดน้ำหนักครั้งแรกแต่ถ้ายังฝืนทำแบบเดิมต่อ จะรู้สึกว่าน้ำหนักจะลดยากขึ้นเรื่อยๆ และจบลงด้วยภาวะน้ำหนักตัวโยโย่ในที่สุด ภาวะโยโย่นี้เกิดได้จาก 2 เหตุ คือ การอดหรือลดปริมาณอาหารที่มากเกินไป กับการออกกำลังกายที่หนักเกินไป เมื่อเราลดปริมาณอาหารมากเกินไป ร่างกายจะปรับตัวด้วยการลดอัตราการเผาผลาญลงโดยการสลายกล้ามเนื้อและเก็บสะสมพลังงานในรูปไขมันมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากไขมันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการมีชีวิต ส่วนกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานจะกลายเป็นภาระสำหรับการที่ต้องมีสารอาหารมาหล่อเลี้ยง เมื่อกล้ามเนื้อลด อัตราการเผาผลาญในร่างกายก็ลด ปริมาณพลังงานที่เราต้องการในแต่ละวันจึงต่ำลงไปด้วย แต่เมื่อเราจำกัดหารไปได้สักระยะ ร่างกายจะขาดสารอาหารจนทนไม่ไหว อีกทั้งเราเองก็จะเครียดเพราะความหิว เราจึงต้องทานอาหารมากขึ้น ผลก็คือ แม้เราจะทานเท่ากับที่เคยทานมาก่อน แต่ความที่อัตราการเผาผลาญของร่างกายลดต่ำลงไปแล้ว จึงมีพลังงานส่วนที่เกินความต้องการใช้มากกว่าแต่ก่อน ดังนั้นถึงแม้จะทานเท่าเดิม แต่เราก็จะอ้วนขึ้นกว่าเดิม ความเครียดเพราะการหิว มักทำให้เราทานมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก นี่ซีคะตัวปัญหา หรือถ้าเราต้องการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายในความหนักระดับสูง เราก็ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถทำกิจกรรมทางกายหนักขนาดนั้นได้ แต่ถ้าเราไม่ให้สารอาหารที่เพียงพอ กล้ามเนื้อจึงถูกทำลายโดยไม่ได้รับการซ่อมแซม อัตราการเผาผลาญในร่างกายจึงต่ำลง ก็ชักนำเข้าสู่ภาวะโยโย่ บางครั้งการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับสูงแม้จะไม่เป็นเหตุให้โยโย่โดยตรง แต่ก็อาจชักนำไปสู่ภาวะโยโย่ได้ค่ะ เนื่องจากเมื่อเราออกกำลังกายในระดับสูงเราก็จะเพิ่มปริมาณอาหารเพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอต่อการใช้งาน แต่หากใช้โปรแกรมออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม เราเองกลับจะไม่สามารถออกกำลังกายด้วยความหนักขนาดนั้นได้ตลอดชีวิต ในที่สุดก็ต้องลดระดับความหนักลง และหากเราไม่ปรับความเคยชินในการรับประทาน ยังรับพลังงานจากอาหารในประมาณเท่าเดิม ผลก็คือแม้เราจะทานเท่าเดิม แต่กลับจะมีพลังงานส่วนเกินที่ทำให้ร่างกายต้องสะสมไว้ในรูปไขมันมากขึ้นกว่าเดิม นี่จึงเป็นอีกเหตุผลที่มีการแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยความหนักในระดับปานกลางค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราออกกำลังกายด้วยความหนักระดับสูงไม่ได้นะคะ เราสามารถทำได้ แต่ต้องมีโปรแกรมและมีความถี่ในการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยถ้าจะออกกำลังกายด้วยความหนักระดับสูงที่ให้ทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย คือการออกที่ระยะเวลา 75 นาที / สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้งอย่างต่ำ ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งคือ 20 – 25 นาที หรือถ้าจะผสมกันทั้ง 2 ความหนัก ก็ควรให้มีระยะเวลาในการออกกำลังกาย 20 – 30 นาที / ครั้ง โดยที่ใน 1 สัปดาห์ ควรมีการออก 3 – 5 ครั้ง จบเรื่องการประเมินความหนักในการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพื่อการมีประสิทธิภาพและความแล้ว แต่ยังมีเรื่องราวน่าสนใจอีกมากมายค่ะ กรุณาติดตามกันต่อไปนะคะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |