ยุทธศาสตร์และกระบวนการพัฒนาสุขภาพชุมชน ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล
สังคมตะวันออก เกียฟเฟอร์ (T. R. Cole, D. D. Van Tassel & R. Kastenbaum (eds), 1992) ศึกษากรณีของผู้สูงอายุในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น และแสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุในสังคมตะวันออกจะมีนัยยะแห่งการเคารพยกย่องผู้สูงอายุ ดังปรากฏในลัทธิ “การบูชาบรรพบุรุษ” อันถือเป็นอิทธิพลจากลัทธิขงจื้อ ผู้สูงอายุจึงมีฐานะในด้านบวกและได้รับการเคารพจากครอบครัว โดยทำหน้าที่ให้คำแนะนำต่าง ๆ ต่อคนรุ่นลูกรุ่นหลาน รับผิดชอบด้านศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าผู้สูงอายุจะลาจากไปจากโลกก็ตามที แต่ด้วยความเชื่อตามลัทธินี้ผู้สูงอายุก็ยังคงไม่ลดบทบาทไปจากครอบครัวแต่กลับกลายสภาพเป็นวิญญาณที่ปกปักรักษาครอบครัว อนึ่ง การเคารพผู้สูงอายุนั้นยังควบคู่กับมิติเรื่องเพศด้วย กล่าวคือ ผู้สูงอายุชายจะเป็นใหญ่ในบ้าน สังคมไทย สถานะผู้สูงอายุถูกอธิบายหลายแนวทาง การอธิบายทางทั้งทางด้านกายภาพและด้านมิติทางวัฒนธรรม ในเชิงสนับสนุนการส่งเสริมผู้สูงอายุหลายด้าน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุในปีพุทธศักราช 2546 หลักฐานสำคัญคือ การเริ่มดำเนินการร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนกลาง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 พรบ. ดังกล่าว ก็ได้ถือกำเนิดเป็นทางการ ภายใต้การดูแลของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงแห่งชาติ และมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2547 โดยมีสาระสำคัญ คือ 1) คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ (กสผ.) 2) สิทธิผู้สูงอายุ 3) การลดหย่อนภาษีเงินได้ 4) กองทุนผู้สูงอายุ และ 5) แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2544-2564) |
<< | กุมภาพันธ์ 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 |