สวัสดี ครับ
วันนี้ เราจะขอเล่าเรื่องวิธีการใช้งาน Internal Audit Matrix นี้ ซึ่งเราเชื่อว่าจะมีประโยชน์สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานด้านการตรวจสอบภายในที่ต้องการเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของโครงการในรูปแบบของ Internal Audit และเราก็เชื่อว่าขั้นตอนเหล่านี้อาจจะพบข้อบกพร่องบางประการที่เราเองยังตรวจสอบได้ไม่ครบถ้วน จึงอยากจะขอความอนุเคราะห์จากทุกๆ ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบภายใน ให้ความเห็นเพิ่มเติม เพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานท่าน อื่นๆ ต่อไปในอนาคต และเป็นประโยชน์กับผู้เขียนในแง่การปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
7. มาตรการวิเคราะห์ผลกระทบ
- ลักษณะของกิจกรรม : การวิเคราะห์วิกฤติของกิจกรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพราะทุกโครงการจะต้องมีการระบุกิจกรรม ซึ่งโครงการทุกโครงการจะต้องมีปัญหาระหว่างการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ กิจกรรมใดๆ ที่ผิดปกติ หรือ โครงการที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดหรือขาดประสิทธิภาพและเป็นที่สนใจของการตรวจสอบมากขึ้น
- วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา/อุปสรรค : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการที่ได้ในกำหนดการวางในตำแหน่ง ในจะต้องมีการสังเกตข้อบกพร่องต่างๆ ซึ่งที่ต้องพิจารณารวมถึงแผนการต่อเนื่องทางธุรกิจ เช่น แผนกู้คืนระบบขั้นตอนที่มีปัญหาหรืออุปสรรคด้วยตนเอง
โดยทั่วไปการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องมีผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และค่าใช้จ่ายในการแก้ไขที่เป็นประโยชน์เพื่อลดความเสี่ยงลงให้ต่ำที่สุด
- ความไวของการตอบสนองการทำงานเพื่อการบริหารจัดการ : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่สำคัญในกิจกรรมหรือพื้นที่มีการบริหาร
- ความสำคัญ : แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของรายการในกิจกรรม ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่มีผลต่อด้านลบต่อการทำงานขององค์กร การแสดงออกอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบ หรือ ความสำคัญของเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทขององค์กรโดยรวม
8. มาตรการของโอกาส
- ขอบเขตของระบบหรือกระบวนการการเปลี่ยนแปลง : สภาพแวดล้อมแบบไดนามิกในแง่ของระบบหรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเพิ่มเติมโอกาสของความผิดพลาดและทำให้เพิ่มความสนใจการตรวจสอบจำนวนมากของกระบวนการ re-engineering อาจจะเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงระบบหรือกระบวนการปกติที่เกิดขึ้นเพื่อผลการพัฒนาในระยะยาว แต่มักจะมีการชดเชย ในระยะสั้นที่ต้องตรวจสอบความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้น
- ความซับซ้อน : นี้สะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นสำหรับข้อผิดพลาด หรือการยักยอกไปตรวจไม่พบเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อน คะแนนสำหรับความซับซ้อนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ขอบเขตของระบบอัตโนมัติคำนวณที่ซับซ้อนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ขอบเขตของระบบอัตโนมัติคำนวณที่ซับซ้อนกิจกรรมสัมพันธ์และพึ่งพาบุคคลที่สามารถความต้องการของลูกค้าเวลาการประมวลผลตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับและปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายบางคนไม่ได้รับการยอมรับส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเกี่ยวกับความซับซ้อนของการตรวจสอบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
- โครงการการจัดการ : การพิจารณาควรจะได้รับต่อไปนี้เมื่อการบริหารจัดการโครงการจัดอันดับ
- นักพัฒนาภายใน In-house หรือ จ้าง Outsourced
- โครงสร้างของการโครงการ
- ทักษะบุคลากร
- ระยะเวลาโครงการ
9. ความเห็นของผู้ตรวจสอบ
- ความเห็นของผู้ตรวจสอบ ก็เป็นการวิเคราะห์โดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐานและการสอบทานข้อมูลทั้งหมดที่มีด้วยความรอบคอบ และประสบการณ์ของผู้ตรวจสอบ
- การให้คะแนนน้ำหนักของผู้ตรวจสอบจะมีผลต่อความเสี่ยง และระดับความสำคัญของโครงการหรือกิจกรรมที่จะทำการตรวจสอบ เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างคุ้มค่า และเหมาะสมกับการดำเนินงาน
- รวมทั้งพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจาก กองบริหารความเสี่ยง หรือ กองควบคุมภายใน มาพิจารณาประกอบ การตัดสินใจทุกครั้ง (ห้ามพิจารณาด้วยการใช้ความรู้สึกแบบไม่มีเอกสารหลักฐานมาพิจารณาประกอบเด็ดขาด)
10. ตารางคะแนนน้ำหนักของ Internal Audit Matrix
- ตารางคะแนนน้ำหนักของ Internal Audit Matrix นี้ เป็นการนำข้อมูลระดับความเสี่ยงด้าน โอกาสเกิด ผลกระทบ และความเห็นของผู้ตรวจสอบ มาพิจารณาร่วมกันในการกำหนดระดับความรุนแรง และความสำคัญของกิจกรรมที่ควรจะเข้าไปตรวจสอบ
- การกำหนดระดับน้ำหนักของคะแนนจะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ซึ่งสามารถใช้ได้กับการระบุน้ำหนักของ โอกาสเกิด หรือ ผลกระทบ หรือ ความเห็นของผู้ตรวจสอบ จะมีระดับคะแนน 5 ระดับ เหมือนกัน ประกอบด้วย
- ระดับต่ำที่สุด = 0.25
- ระดับต่ำ = 0.50
- ระดับปานกลาง = 0.75
- ระดับสูง = 0.85
- ระดับสูงมาก = 0.95

- ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องพิจารณากิจกรรมหลักของโครงการที่จะเข้าไปตรวจสอบ และทำการแยกประเภทของกิจกรรมหลัก และทำการระบุน้ำหนักของ "โอกาสเกิด" "ผลกระทบ" และ "ความเห็นของผู้ตรวจสอบ" แยกรายกิจกรรม
- ผู้ใช้งานไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำหนักกิจกรรมเหมือนกับตารางที่เป็ํนตัวอย่างน้ำหนัก ซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นของผู้ตรวจสอบในการระบุน้ำหนักแยกรายกิจกรรม เช่น
- กิจกรรมการจัดซื้ออุปกรณ์สุขภัณฑ์ โอกาสเกิด 0.75 ผลกระทบ 0.85 ความเห็นผู้ตรวจ 0.85
จำนวน 50 รายการ แต่มีข้อสงสัย บางประการด้วยราคาและคุณภาพ ผลรวมคะแนนความเสี่ยง = 2.45 (0.75+0.85+0.85) น่าสงสัย
- ผู้ใช้งานก็จำเป็นจะต้องนำผลรวมของคะแนนความเสี่ยงไปเปรียบเทียบกับ ตารางคะแนนน้ำหนักของคะแนน Internal Audit Matrix Score ในข้อ 11 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ สีแดง จำเป็นจะต้องเข้าไปตรวจสอบ
11. ตารางคะแนนน้ำหนักของคะแนน Internal Audit Matrix Score
- เราได้ทำการสรุปลักษณะของคะแนน แยกตามระดับของความเสี่ยง ด้วยการแบ่งเป็นโทนสี เพื่อให้สะดวกในการจดจำและการวิเคราะห์ระดับความสำคัญของการเข้าไปพิจารณาตรวจสอบ ด้วยการแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ด้วยกัน
- ระดับความเสี่ยงที่ ยอมรับได้ อยู่ในโซนพื้นที่ สีเขียว
ในพื้นที่สีเขียว เป็นพื้นที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปตรวจสอบในกิจกรรมนั้นๆ
- ระดับความเสี่ยงที่ เฝ้าระวังและติดตาม อยู่ในโซนพิ้นที่ สีเหลือง
ในพื้นที่สีเหลือง เป็นพื้นที่ระดับเฝ้าระวัง และติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และจำเป็นจะต้องติดตามขอข้อมูลในกิจกรรมที่น่าสงสัย
- ระดับความเสี่ยงที่ ขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีหลักฐานเพียงพอก็จะต้องเข้าไปตรวจสอบ อยู่ในโซนพื้้นที่ สีส้ม
ในพื้นที่สีส้ม เป็นพื้นที่ระดับเฝ้าระวัง และมีเอกสารหลักฐานที่เพียงพอที่่สงสัยจะมีการทุจริต หรือมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ที่มีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการนั้นๆ ทำให้จะต้องเข้าไปตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด
- ระดับความเสี่ยงที่ ต้องเข้าไปตรวจสอบเร่งด่วน อยู่ในโซนพื้นที่ สีแดง
ในพื้นที่สีแดง เป็นพื้นที่ระดับที่มีความเสี่ยง แสดงว่าเกิดข้อผิดพลาดขึ้นแล้ว และมีความรุนแรงต่อความสำเร็จของโครงการ และองค์กร อย่างเห็นได้ชัดเจน มีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน มีการสั่งโดยตรงจากผู้บริหารระดับสูง หรือ คณะกรรมการตรวจสอบภายใน ให้เข้าไปตรวจสอบทันที

- เราได้พยามออกแบบตาราง Internal Audit Matrix ให้อยู่ในระดับปานกลางที่มากกว่า โซนอื่นๆ เพราะโครงการต่างๆ หรือ กิจกรรมหลักต่างๆ ส่วนใหญ่จะตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง เพราะยังไม่ข้อมูล หรือ เอกสารหลักฐานที่ชัดเจนจนสามารถระบุได้เลยว่ามีความผิดพลาด หรือมีการทุจริตอย่างชัดเจน
- ในส่วนของพิ้นที่ สีส้ม มีปริมาณตัวเลขระบุน้ำหนักน้อยสุด เพราะยังไม่ชัดเจนว่าผิดจริง เพียงแต่มีข้อมูลจากการบอกกล่าว หรือ โทรศัพท์ หรือ สภาพแวดล้อมผิดปกติ แต่ยังระบุความผิดที่ชัดเจนไม่ได้
12. ตารางผลคะแนนความเสี่ยง Internal Audit Matrix
- ตารางผลคะแนนความเสี่ยง Internal Audit Matrix นี้จะเป็นการแสดงความเสี่ยงแยกตามพิ้นที่ด้วยระดับสีที่แตกต่างกัน
- คะแนนความเสี่ยงที่อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมแต่ละช่อง จะต้องมาจากผลรวมของคะแนน "โอกาสเกิด" + "ผลกระทบ" + "ความเห็นของผู้ตรวจสอบ" เมื่อได้ผลรวมคะแนนแล้ว ก็ให้มาวางให้ตรงกับช่องคะแนนที่ระบุในตาราง Internal Audit Matrix ในตารางนี้
- ตารางใน Internal Audit Matrix จะแบ่งเป็น 2 ด้าน โอกาสเกิด (แนวตั้ง) และ ผลกระทบ (แนวนอน)

- การใช้งานตาราง Internal Audit Matrix นี้ สามารถแยกวิเคราะห์รายโครงการก็ได้ หรือ จะพิจารณาในภาพรวมทุกโครงการก่อน เพื่อหาโครงการที่มีความเสี่ยงสูงสุด เพียงพอที่จะเข้าไปตรวจสอบ และทำแผนการตรวจสอบต่อไป
- ถ้าจะวิเคราะห์ภาพรวมทุกโครงการก็ให้ตั้งคำถามที่จะวิเคราะห์ในข้อ 13 เหมือนกันทุกโครงการ แต่จะมีคะแนนระดับความเสี่ยงที่ต่างกัน ตอนผลการวิเคราะห์ก็จะสามารถทราบได้ว่าจะเข้าไปตรวจสอบโครงการใดบ้าง
13. มาตรการเกี่ยวกับการควบคุม Internal Audit Matrix
- เราได้ออกแบบตารางการวิเคราะห์ความเสี่ยงในรูปแบบของ Internal Audit Matrix เพื่อให้ผู้ตรวจสอบสามารถนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น และสามารถระบุข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ โอกาสเกิด และ ผลกระทบ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมหลักของโครงการที่ทำการวิเคราะห์ในเวลานั้น
- ในช่องแรกของตาราง "ช่องตัวแปรที่สำคัญ"
- ผู้ใช้งานจะต้องระบุตัวแปรที่จะนำมาวิเคราะห์ เช่น ชื่อกิจกรรมหลัก และประเด็นที่จะวิเคราะห์หาค่าความเสี่ยง
- ผู้ใช้งานจะต้องระบุ ระดับน้ำหนักของความสำคัญในกิจกรรมที่ทำการวิเคราะห์ด้วย เพื่อเป็นการแจ้งว่าเรื่องที่ทำการวิเคราะห์มีความสำคัญระดับใด ในโครงการนั้นๆ หรือ เกี่ยวข้องกับองค์กรในประเด็นใด มีความสำคัญระดับใด มีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรในระดับใด เป็นต้น
- ในช่องที่สองของตาราง "อธิบายลักษณะและระดับโอกาสเกิด และผลกระทบ"
- ผู้ใช้งานจะต้องอธิบายเหตุผล ของการตรวจสอบพบ หรือ มีเอกสารอ้างอิงเหตุการณ์นั้นๆ หรือมีประเด็นข้อสงสัยในเรื่องใด ที่ทำให้สามารถวิเคราะห์โอกาสเกิด และผลกระทบ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากกิจกรรมหลัก ที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการนั้นๆ หรือ องค์กรในด้านใดบ้าง
- ผู้ใช้งานสามารถอ้างอิง ชื่อเอกสารที่ใช้ประเมิน หรือ ตรวจสอบ หรือ สถานที่ หรือ การสัมภาษณ์บุคคลใด เป็นต้น
- ในช่องที่สาม ถึง ห้า ของตาราง "ระดับโอกาสเกิด" "ระดับผลกระทบ" "ความเห็นผู้ตรวจสอบ"
- ผู้ใช้งานจะต้องระบุคะแนนของระดับโอกาสเกิด ที่แบ่งได้ 5 ระดับ ดังตัวอย่างด้านล่าง
- ผู้ใช้งานจะต้องเลือกระดับคะแนนตามความเห็นการวิเคราะห์ด้านเอกสาร และการตรวจสอบเบื้องต้นที่ได้พบเจอ หรือ ความเห็นจากการประเมินผลการตรวจสอบในอดีตของผู้ตรวจสอบรายก่อนหน้า หรือ ระดับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการบริหารความเสี่ยงของโครงการที่ได้รับจาก กองบริหารความเสี่ยง ส่งมาให้พิจารณาประกอบ เป็นต้น
- การระบุคะแนนใน 3 ช่องนี้ จะต้องใส่ข้อมูลด้วยเหตุผล จากการวิเคราะห์เท่านั้น ห้ามใส่คะแนนด้วยความรู้สึกเพียงอย่างเดียว และควรจะมีความเห็นของหัวหน้าผู้ตรวจสอบวิเคราะห์ขั้นสุดท้ายอีกครั้งเพื่อยืนยันระดับคะแนนความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
-
- จะมีระดับคะแนน 5 ระดับ เหมือนกัน ประกอบด้วย
- ระดับต่ำที่สุด = 0.25
- ระดับต่ำ = 0.50
- ระดับปานกลาง = 0.75
- ระดับสูง = 0.85
- ระดับสูงมาก = 0.95
- ในช่องที่หก "ระดับความเสี่ยง"
- ผู้ใช้งานต้องรวมคะแนนจาก โอกาสเกิด + ผลกระทบ + ความเห็นของผู้ตรวจสอบ มาเก็บไว้ในช่องนี้ แยกรายประเด็นกิจกรรมหลักที่ได้มีการประเมินความเห็นก่อนการเข้าไปตรวจสอบจริง เพื่อนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ไปทำแผนการตรวจสอบรายโครงการต่อไป
- ผู้ใช้งานจะต้องทำการวิเคราะห์ประเด็นในช่องแรก ให้ดี และมีความเหมาะสมกับการวิเคราะห์โครงการให้มากที่สุด และจะต้องทำแบบนี้กับโครงการที่มีความสำคัญสูง ใช้งบประมาณมาก เป็นตัวชี้วัดขององค์กร เป็นนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

14. ผู้ใช้งานจะต้องวิเคราะห์ภาพรวมของทุกโครงการที่มีความสำคัญ
- ทำบทสรุปเพื่อนำเสนอผู้บริหารในการจัดทำแผนตรวจสอบภายใน ต่อไป
การทำงานวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วย Internal Audit Matrix นี้จะทำให้ผู้ตรวจสอบ มีความมั่นใจในการตรวจสอบมากขึ้น และสามารถนำประเด็นที่ได้มีการวิเคราะห์เหล่านี้ไปใช้ในการทำแผนการตรวจสอบ และประเด็นที่จะใช้ในการตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น เราก็อยากได้ความเห็นจากทุกๆ ท่านเกี่ยวกับวิธีการทำงานของตาราง Internal Audit Matrix นี้มีจุดบกพร่องในด้านใดบ้าง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับกระบวนการทำงานตรวจสอบภายในให้ดีมากยิ่งๆ ขึ้นไป
สุดท้ายนี้หวังเป็นอย่างสูง ว่าการอธิบายเกี่ยวกับวิธีการใช้ Internal Audit Matrix นี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านที่ทำงานด้านการบริหารความเสี่ยง และ ตรวจสอบภายใน นำไปปรับใช้ในองค์กรของท่านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างมูลค่าเพิ่มด้านองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ ต่อไป
ขอให้ทุกๆ ท่านมีความสุข ไร้โรคภัยไข้เจ็บเถิด สาธุ
เอกกมล เอี่ยมศรี
ผู้เรียบเรียง
http://www.interfinn.com
http://eiamsri.wordpress.com
|