*/
<< | สิงหาคม 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
เอ่ยชื่อนักเขียนที่มีชื่อว่า Bhabani Bhattacharya (ภาภานี ภัตตาชารยา หรือ หนังสือบางเล่มก็เรียงตัวสะกดใหม่จนเรี่ยมเร้ว่า ภวานี ภัฏฏาจารย์ แต่จะอย่างไรเสียผู้เขียนขอเอาภาษาอังกฤษเป็นหลักก็แล้วกัน) เขาเป็นนักเขียนจากอินเดียคงมีน้อยคนมากที่จะรู้จักเขา แต่ถ้าบอกว่านักเขียนผู้นี้คือคนที่เขียนนวนิยายเรื่อง คนขี่เสือ หรือ HE WHO RIDES A TIGER แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ พอขยายความมาถึงตรงนี้แล้วก็คงพอจะเก็บเกี่ยวแฟนๆ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ถ้าหากจะบอกต่อไปว่า คำว่า คนขี่เสือ หรือ คนขี่หลังเสือ ที่เราพูดๆ กันในวลีที่ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นว่า เวลาคนที่มีอำนาจมากๆ แล้วไม่อยากลงหรือไม่ยอมลงจากอำนาจนั้น เสมือนคนที่ ขี่หลังเสือแล้วล่ะก็... โปรดทราบไว้เลยว่า คำๆ นี้ก็มาจาก นิยายเรื่องนี้นั่นแหละ เล่าไว้คร่าวๆ พอเป็นกษัยก่อนสำหรับนวนิยายเรื่องนี้ ก็คือ ......... กาโล ช่างตีเหล็กและ จันทรเลขา พ่อกับลูกสาว อยู่ในวรรณะศูทร วรรณะต่ำสุดของสังคมอินเดีย ด้วยความยากจนข้นแค้นจึงคิดปลอมตัวเองเป็นวรรณะพราหมณ์ เพื่อให้คนมานบน้อมกราบไหว้บูชา จึงคิดได้สร้างปาฏิหาริย์เพื่อให้ผู้คนเห็นว่าหินรูปจำลองพระศิวะนั้นมีอิทธิฤทธิ์สามารถโผล่ขึ้นมาหลุมได้ แต่แท้จริงเกิดจากความคิดอ่านหลอกลวงของสองพ่อลูกนี้ เพื่อให้ตนได้บริโภคลาภสักการะจากเครื่องเซ่นไหว้ เพราะผู้คนต่างหลงเชื่อว่าในปาฏิหาริย์นั้น แต่วันหนึ่งสองพ่อลูกรู้สึกไม่สบายใจที่หลอกลวงชาวบ้านอยู่อย่างนั้น หากชาวบ้านรู้ความจริงขึ้นมาสักวันหนึ่ง ตนก็จะต้องเดือดร้อนเป็นแน่แท้ เขาจึงต้องหาทางลงสำหรับความอยู่รอดของสองชีวิตพ่อลูกคู่นี้ เปรียบเสมือนหนึ่งการนั่งอยู่บนหลังเสือ จะลงก็ลงไม่ได้ เพราะจะถูกเสือกัด ที่เราเรียกว่า คนขี่หลังเสือ นั่นเอง (โปรดอ่านเรื่องย่อคนขี่หลังเสือในเอนทรี่ต่อไป) ...................................................................................................... ภาภานี ภัตตาชารยา (Bhabani Bhattacharya,1906-1988), เป็นนักเขียนนวนิยายรุ่นใหญ่ของอินเดีย เกิดที่เมือง Bhagalpur เขียนนวนิยายในเชิงสังคมการเมือง(Socio- Political Novelist) ล้วนเป็นเรื่องเรื่องราวที่สะท้อนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ในนวนิยายจำนวนเพียง 5 เรื่อง นอกจากนวนิยาย คนขี่เสือซึ่งได้รับการแปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์ (และอีกสำนวนแปลของ ทวีป วรดิลกแล้ว) เช่น เรื่อง ร้อยหิว (so Many Hungers) เป็นนวนิยายที่เขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1943 ในขณะที่อินเดียกำลังเรียกร้องอิสระภาพคืนจากการถูกปกครองโดยอังกฤษ แกนของเรื่องอยู่ที่ความโหยหิวของมนุษย์(ชาวเบงกอล)จากความยากจน ค้นแค้น มีประชาชนล้มตายกว่า 2 ล้านคนทั้งเด็ก สตรี คนชรา และการเรียกร้องหาเสรีภาพทางการเมือง เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนขึ้นเป็นนวนิยายเล่มแรกในชีวิตของเขา (เล่มนี้ผู้อ่านยังสามารถหาซื้อมาอ่านและเก็บสะสมได้จากร้านหนังสือเก่าแถวๆ ตลาดนัดหนังสือใกล้สวนจัตุจักร) เช่นเดียวกับเรื่อง Music for Mohini ที่หญิงสาวถูกบังคับให้แต่งงาน(คลุมถุงชน) เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สะท้อนผ่านหญิงสาวที่คุ้นชินอยู่กับประเพณีปฏิบัติของคนอินเดียโบราณและการเพรียกหาวัฒนธรรมสมัยใหม่ จัดเป็นวรรณกรรมร่วมสมัยอีกเรื่องของเขา นอกจากนี้นวนิยายของภาภานี ภัตตาชารยา ยังมี 2 เรื่อง ได้แก่ A Goddess Named Gold (1960) และ Shadow from Ladakh (1966) นวนิยายทุกเรื่องเป็นการบรรยายภาพที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์และปัญหาสังคมร่วมสมัยของอินเดียช่วงก่อนจะเกิดการเปลี่ยนผ่าน เป็นการวิพากษ์สังคมของตนเองอย่างแหลมคม สะท้อนผ่านตัวละครและฉากหลังของเรื่องที่ผู้คนชาวเบกอลมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น ยากจน ไม่มีกิน การต่อสู้ของชนชั้นวรรณะ ความอยุติธรรมของการเมืองการปกครอง ภาภานี ภัตตาชารยา เขียนหนังสือหลายๆ เล่มที่ใครรู้แล้วอาจจะทึ่งตะลึงในความสามารถของเขาที่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในกวีและวรรณกรรมระดับโลกนั้นด้วย อีกทั้งเขาเขียนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษก่อนจะถูกแปลไปเป็นภาษาอื่นๆ รวมทั้งภาษาฮินดี ไม่ได้เขียนเป็นภาษาเบงกลี หรือฮินดี เพื่อชาวอินเดียอ่านเพียงอย่างเดียว เขาไม่เป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงมากมายนักก็เพราะเขาเป็นผู้เบื้องหลังในการแปลภาษาเบงกลีและเป็นบรรณาธิการงานเขียนจำนวนหนึ่งของท่าน ระพินทรนาถ ฐากูร (Rabindranath Tagore) กวีที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียและของโลก มีงานเขียนหลายเรื่องที่เขาเขียนถึงประวัติศาสตร์ของอินเดีย และเรื่องราวของ มหาตมะ คานธี ออกสู่สายตาชาวโลกเป็นภาษาอังกฤษ จนกระทั่งเรื่องของคานธี เป็นที่รู้จักและนิยมชมชอบของชาวโลก เขาจึงเป็นนักเขียนที่มีผู้อ่านในต่างประเทศมากกว่า ในขณะที่ชื่อเสียงของตัวเองกลับไม่เป็นที่รู้จักมากมายนัก ในทศวรรษที่ 1930 ผมเป็นนักศึกษาอยู่ลอนดอน ได้เริ่มเขียนนวนิยายเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อเขียนไปได้ครึ่งเรื่อง ก็คิดว่ามันไม่ได้ความ และผมเองก็ไม่ได้ความจุดมุ่งหมายในชีวิตที่จะเป็นนักเขียน จึงฉีกต้นฉบับนั้นทิ้งเสีย แต่ก็ยังเขียนเรื่องราวสั้นๆ ให้แก่นิตยสาร The Inspector ผมมีงานแปลของ ระพินทรนาถ ฐากูรอยู่ด้วย ในต้นทศวรรษที่ 1940 เมื่อกลับมาอินเดีย ก็เกิดความคิดว่าจะพยายามเขียนนวนิยายอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเขียนไปได้ครึ่งเรื่อง มันก็กลายเป็นเศษกระดาษ เมื่อคราวเกิดทุพภิกภัยครั้งใหญ่แผ่ปกคลุมทั่วทั้งคาบสมุทรเบงกอล เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากระทบและกระตุ้นอารมณ์ผมเข้า กลายเป็นสิ่งจูงใจอันแรงกล้าในการเขียนงานสร้างสรรค์มันขึ้นมา เหตุการณ์นี้จะต้องเป็นต้นกำเนิดของแรงบันดาลใจในการเขียนเรื่อง ร้อยหิวแน่นอนอย่างไม่ต้องคาดเดาให้ยากนัก ผมเอาต้นฉบับซ่อนไว้ แต่ สลีลา ภรรยาของผมเธอเคี่ยวเข็ญให้ผมเชื่อมั่นในงานเขียนของตัวเอง เมื่อคนเรียงพิมพ์เขารับต้นฉบับไปตีพิมพ์แล้วก็ประสบความสำเร็จขึ้นอย่างรวดเร็ว ผมไม่ได้ยึดหลักการเขียนอย่างจริงจังนัก ผมไม่ค่อยได้วางโครงเรื่องไว้เท่าใดนัก แต่ละเรื่องเป็นไปตามจิตใต้สำนึกของผมอย่างที่ผมอยากให้เป็น แม้ว่าผมจะได้กำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละครเอาไว้แล้วว่าจะให้มันเป็นไปอย่างไร มันก็ยังคงดำเนินเรื่องไปตามเจตจำนงเดิมอยู่ แต่มีบ่อยครั้งที่ตัวละครนั้นสามารถเอาชนะเจตจำนงเดิมนั้นไปได้ เขากล่าวเมื่อแสดงความคิดเห็นในคราวสอนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาวาย(ปี 1971) นักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์งานควรจะมีเสรีภาพเต็มที่ในการเลือกภาษาในการถ่ายทอดงานออกมา (การประชุม P.E.N. 1959) ผมยึดมั่นว่า นวนิยายต้องมีจุดมุ่งหมายทางสังคม มันต้องมีแง่มุมบางอย่างในทัศนะทางสังคมวางไว้ต่อสายตาของผู้อ่าน นักเขียนจะไม่สามารถเขียนนวนิยายเชิงสังคมออกมาได้ เว้นเสียแต่ว่าเขาจะมีการรู้จักสังเกตด้วยสายตาอันเฉียบแหลม มองอย่างเอาใจใส่ในรายละเอียดในพฤติกรรมของผู้คนในสังคม ผมพัฒนานิสัยตัวเองอย่างค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป และผมก็ไม่พลาดโอกาสแม้แต่ครั้งเดียวที่จะสังเกตเห็นเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ผมได้รับบางอย่างมาส่งเสริมในความเป็นนักเขียนในตัวเอง ....ตัวละครของผมส่วนใหญ่จึงก่อรูปร่างขึ้นจากโลกแห่งความเป็นจริง ภาภานี ภัตตาชารยา ไม่ค่อยเห็นด้วยกับงานวรรณกรรมเริงโลกีย์แนวโรแมนติคที่ทำงานขึ้นมาแบบฉาบฉวย เพราะเขาบอกว่า มันเป็นหนังสือปกอ่อนราคาถูก ไร้รสนิยม ดาดๆ บรรยายถึงฉากกามารมณ์อย่างเปิดเผยโจ่งครึ่ม แต่หากมาพิจารณาดูถึงงานเขียนของ ดี.เอช.ลอว์เรนซ์(D.H. Lawrance) (ในชู้รักเลดี้แชตเตอร์เลย์ Lady Chatterleys Lover : อ่านเรื่องราวนี้ได้ในลิงค์ http://www.oknation.net/blog/nn1234/2010/07/29/entry-1 และ http://www.oknation.net/blog/nn1234/2010/07/30/entry-1 : ผู้เขียน)นั้น เขาได้สร้างโลกทั้งโลกขึ้นมาจากสิ่งต้องห้ามทั้งหลายทั้งปวง แต่การพรรณานั้นงดงามเหลือเกิน เขามีความเป็นเลิศในการใช้ภาษา ซึ่งเป็นคุณสมบัติของกวี Ernest Hemmingway อีกคน ที่คุณจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการนำเอาเรื่องกามารมณ์มาเป็นแก่นของเรื่องในการนำเสนอโดยผู้อ่านไม่ต้องรู้สึกกระอักกระอ่วน นักเขียนที่มีอิทธิพลต่องานเขียนของเขา ต้องเอ่ยชื่อถึงชื่อ ระพินทรนาถ ฐากูร (Rabindranath Tagore)แล้ว จอห์น สไตน์แบ็ค(John E. Steinbeck, Jr.; พ.ศ. 2444 ฐากูรดึงดูดใจของผมมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียน ผลงานเขียนของผมเริ่มตั้งแต่ในตอนนั้นแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้เลยว่าผมจะหนีพ้นจากบุคลิกภาพของท่านคุรุเทพท่านนี้ที่ได้แผ่ขยายปกคลุมไปทุกซอกทุกมุม ในภายหลังผมได้อ่านงานเขียนของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและอเมริกันหลายคน ในจำนวนนั้นมี John E. Steinbeck, Jr. ด้วยคนหนึ่งที่ดึงดูดใจผมมากที่สุด เอนทรี่ต่อไป อ่านเรื่องย่อของ คนขี่เสือ มูลเหตุของที่มาของคำว่า คนขี่หลังเสือ (ก่อนจะไปหาหนังสือฉบับจริงที่เชื่อว่าหายากอีกเล่มมาอ่านกัน) ...................................................................................................... ข้อมูลอ้างอิง A NOVEL OF MODERN INDIA BY BHABANI BHATTACHARYA จากเว็บไซต์ และ นิตยสาร ถนนหนังสือ มิถุนายน 2530 .......................................................................... |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |