*/
<< | พฤษภาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
เห็นความตั้งใจของ พลเอกประยุทธ์ จันทน์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) ออกประกาศและคำสั่งต่างๆ และข้อมูลผ่าน พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก (ทบ.)แล้ว ก็อดชื่นชมและเฝ้ารอดูความสำเร็จของแนวคิดหรือนโยบาย "สลายสีเสื้อ" ของ คสช.และพลเอกประยุทธ์ไม่ได้ ทั้งได้เห็นข้อมูลจากแม่ทัพภาคที่ 2 เรื่อง "ขอนแก่นโมเดล" ที่โยงไยไปถึงคนสำคัญที่อยู่ในต่างประเทศด้วยแล้ว ก็ให้รู้สึกว่า งานนี้สนุกและน่าติดตาม น่าจะเป็นปฏิบัติการเพื่อคืนความสงบสุขให้แก่ประชาชนคนไทยได้จริง (?) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็ย่อมมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มคนที่เสียผลประโยชน์ เช่น พวกที่มีบ่อน ตู้ม้าตู้เกมส์ที่เคยได้เสียจากการพยายามเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ของเจ้าหน้าที่บางคน รวมทั้งกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ที่นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงที่อื่นๆ ที่คาดว่าจะมีขึ้นเรื่อยๆ ที่อ้างว่าจัดกิจกรรมเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์และเรียกร้องให้ คสช. ยุติการเข้ายึดอำนาจในการปกครองประเทศ โดยขอให้เร่งจัดการเลือกตั้ง โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยเช่นประเทศแม่แบบอย่างสหรัฐอเมริกา เป็นต้น การเรียกร้องโดยการอ้างเช่นว่า น่าจะมีบุคคลหรือประเทศที่เสียผลประโยชน์ จึงได้สนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐประหารอยู่เบื้องหลัง มีคนบางคนยังไม่ได้เข้ารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช.) อาทิ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีต รมว.มหาดไทย นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง หรือกรณีของ สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) ที่มีเจตนาหลบหนีและท้าทายต่อคำสั่งของ คสช. จนต่อมา คสช.จึงได้มีมาตรการระงับธุรกรรมทางการเงินของบุคคลดังกล่าว และ เจ้าหน้าที่คงกำลังติดตามตัวให้เข้ามารับทราบเจตนาของการรัฐประหารของ คสช. ข้อเท็จจริง คือ ประเทศไทยได้เข้าสู่การแตกแยกและวุ่นวายมาร่วม 10 ปี หลังการยึดอำนาจและพยายามร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นๆ แต่ก็ยังตามไม่ทันกลุ่มทุนธุรกิจที่เข้ามาพัวพันเพื่อควบคุมนโยบายและกระบวนการงบประมาณประเทศ กลายเป็นการทุจริตคอรัปชั่น จนแล้วต้องให้เป็นข้ออ้างการรัฐประหารอีกครั้งต่อมา (รัฐประหาร 19 กันยายน 2549) คนที่เป็นต่างชาติหรือเฝ้ามองจากข้างนอกเข้ามา ก็อาจจะมองว่า คนไทยไม่พัฒนาและนิยมความรุนแรง ทั้งๆ ที่เราก็เป็นอารยะไม่ต่างจากชาติที่ของคนที่พูดนั้นเท่าไรเลย
หากมองหรือพิจารณาถึงกระบวนการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งของประเทศก่อนหน้านี้ ดูจะมีความพยายามกันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นที่แกนนำได้เข้าพูดคุยเจรจากัน สะท้อนว่า ต่างฝ่ายต่างไป มี “ธงเป้าหมาย”ของใครของมัน ทางใครทางมัน ทางของฉันห้ามใครมาทาบเดิน !!! จนเมื่อ พลเอกประยุทธ์ จันทน์โอชา ผบ.ทบ. ได้เชิญแกนนำคู่ขัดแย้งเข้ามาหารือเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้พบปะพูดคุยกันตรงๆ แม้จะเป็นโอกาสห้วงเวลาสั้นๆ แต่มีค่ายิ่ง ถึงกระนั้นก็ตาม เมื่อไม่ตระหนักว่านั่นกำลังดำเนินไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย จึงได้เกิดเป็น บาดแผลของการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งของประเทศ นั่นแหละห้วงเวลาของการชูป้ายเรียกร้องไม่ให้ทหารทำรัฐประหารได้หมดไป พวกที่ชูป้ายเรียกร้องในวันนี้-ตอนนี้ ควรต้องออกมาชูป้ายกดดันให้แกนนำของตนเองเจรจาความเมืองให้สำเร็จกันตั้งแต่ "วันนั้น" เพราะถึงอย่างไร มายกป้ายประท้วง คสช.ในตอนนี้ก็ย่อมไม่เป็นผล หนำซ้ำยังเป็นการหาเรื่องใส่ตัว เพราะผิดกฎหมายอีกต่างหาก ทั้งไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิการชุมนุมและยังขัดต่อประกาศของ คสช. อีกด้วย !!!
“ในวันนั้น”ขณะที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้าการแสวงหาทางออกอย่างสันติวิธีแล้ว ถ้าทหารไม่ออกไป(จากกระบวนการเจรจาหาทางออก)นั่นสิ พวกคุณถึงควรจะมายกป้ายกดดันทหารไล่ออกไป ว่าไม่ใช่วิถีทางตามระบอบที่ควรจะเป็น
แต่ “ในวันนั้น” เมื่อทหารได้เข้ามายึดอำนาจแล้ว ..... แล้วคุณจะมาโวยวายอะไรในวันนี้
บทเรียนที่คุณได้ “เมื่อวานนี้” คืออะไร ? คุณได้เรียนรู้อะไรจากระบอบประชาธิปไตยฯ ..................
|