*/
<< | มิถุนายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
ความชราภาพ หรือ ผู้สูงอายุ หรือผู้สูงวัยหรือคนแก่แล้ว มักมีโรคภัยไข้เจ็บถามหา บางคนมีโรคเดียว บางคนอาจมีมากกว่า เช่น โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือด โรคข้อเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคความจำเสื่อม โรคมะเร็ง มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา การได้ยิน เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะค่อยๆ มีอาการทีละเล็กทีละน้อย จนกลายเป็นการสะสมทีละโรคสองโรค จนไม่รู้ว่าโรคไหนเกิดขึ้นก่อนโรคไหนเกิดขึ้นทีหลัง กลายเป็นโรคเรื้อรัง ไม่รู้ว่าจะรักษาโรคไหนก่อนโรคไหนรักษาทีหลัง จนสุดท้ายต้องรักษาโรคที่มีอาการหนักที่สุดก่อน หรือบางทีก็ตามแต่ความสะดวก ตามแต่ผู้ดูแลจะนำพาไปรักษา ผู้ดูแลสุขภาพ(caregiver)ของผู้สูงอายุ จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความชราภาพของผู้สูงวัย หากผู้ดูแลสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจ รู้จักประมาณก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างเหมาะสม ช่วยชะลอการเสื่อมถอยของร่างกาย บรรเทาความรุนแรงของโรคไปอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอันตรายที่รุนแรงได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างดี ปล่อยปละละเลย ไม่ระมัดระวัง ตัว ก็อาจทำให้โรคร้ายลุกลามมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ในอนาคตเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีความเร่งรีบแข่งขัน การดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป และมอบให้เป็นบทบาทของสถานสงเคราะห์ทำหน้าที่เหล่านั้นแทน เพียงแค่นึกถึงภาพของผู้สูงอายุเหล่านั้น ก็รู้สึกหดหู่ใจแล้ว บทความนี้มุ่งหมายเฉพาะแต่ผู้ดูแลสุขภาพที่ดูแลผู้สูงอายุอายุเท่านั้น ซึ่งผู้เขียนได้ทำบทบาทนั้นกับการดูแลผู้สูงอายุวัยร่วม 90 ปี ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบชนบท ทำให้ท่านยังคงมีสุขภาพแข็งแรง เดินไปไหนมาไหนได้ ดูแลตนเองได้ตามสภาพ มีโรคภัยไข้เจ็บบ้างพอให้ได้ดูแลและห่วงหากัน
ข้อแนะนำสำหรับผู้ดูแลสุขภาพที่ควรทำ
2. ควรหาข้อมูลและความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยกำลังเผชิญ ผลที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร หมั่นสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น สังเกตสีหน้าท่าทาง ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียตามสภาพอากาศในแต่ละวัน 3. ควรมีการจัดเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยอย่างเป็นระบบ เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ข้อมูลของโรคประจำตัวของผู้สูงอายุ เช่น ความดันโลหิต ระดับของน้ำตาลในเลือด วันแพทย์นัดพบครั้งต่อไป บางครอบครัวมีรายละเอียดถึงขั้นตอนต่อไปว่า ลูกหลานคนไหนที่จะเป็น “คิว” มารับไปพบแพทย์หรือเป็นผู้อยู่ดูแลท่าน บันทึกรายรับรายจ่าย บันทึกรายการอาหาร จุดมุ่งหมายนี้เพื่อให้สามารถพยากรณ์ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ 4. ควรมีการพาผู้สูงอายุออกไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ บ้าง ให้ได้พบปะเพื่อนฝูงในสมัยก่อนๆ บ้าง เช่น หากยังเดินได้ก็ควรให้ลูกหลานพาจูงไปจ่ายตลาด ทั้งนี้ต้องเป็นความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายด้วย ระยะแรกๆ ผู้สูงอายุอาจจะไม่กล้าเดินออกไปยังที่ไกลๆ แปลกใหม่เพราะเกรงว่ามีเจอกับอุปสรรคหรือการไม่สบายเนื้อสบายตัว อย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท รวมทั้งการไปเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาลหากไม่จำเป็น 5. ควรกำชับให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายบ้างตามความเหมาะสม เช่น นั่งหรือยืนแกว่งเท้า เดินในระยะสั้นๆ ควรมีเวลาพูดคุย สนทนา สอบถามเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อย่าให้ท่านหมกมุ่นกับเรื่องบางเรื่องนานจนเกินไป เช่น ที่มีข่าวว่าผู้สูงอายุบางท่านเกาะติดขอบจอโทรทัศน์การเมืองมากจนเกินไป ควรเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นหรือดูรายการอื่นบ้าง และหากยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ก็สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้พบปะผู้คนที่มีความหลากหลาย รู้สึกได้ว่าตนยังมีคุณค่าต่อสังคม 6. สร้างหรือปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ทำราวจับในห้องน้ำ ทำทางเดิน หรือทางลาดสำหรับรถนั่ง จัดให้มีวิทยุหรือโทรทัศน์ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เช่น เทปธรรมะ เสียงเพลง มีที่เดินออกกำลังกายเพื่อไปสูดอากาศบริสุทธิ์ มีการทำความสะอาดประจำวัน ประจำสัปดาห์ จัดให้มีช่องทางการสื่อสารกับลูกหลานคนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เป็นต้น 7. หากมีรายการยาที่ต้องรับประทาน ต้องเขียนด้วยตัวอักษรที่มองเห็นชัดเจน อยู่ในที่หยิบสะดวก มีระบบเตือนการทานยา หรือไปพบแพทย์ตามนัด 8. อย่างไรก็ตามผู้ดูแลสุขภาพต้องดูแลสุขภาพตนเองด้วย มีเวลานอนหลับพักผ่อน ทำกิจธุระส่วนตัวบ้าง เพื่อไม่รู้สึกห่วงพะวักพะวงอยู่กับผู้สูงอายุตลอดเวลา
ผู้เขียนหวังว่า การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลสุขภาพ (caregiver) จะเป็นวิธีที่ไปด้วยกันได้ดีทั้งผู้สูงอายุ และผู้ดูแลสุขภาพ (caregiver) ด้วยการดูแลกันไปอย่างยาวนานและมีความสุข ถือเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ทุกๆ วัน
......................................
ภาพจากอินเทอร์เน็ต |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |