*/
<< | มิถุนายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |
ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม ในเรื่องของจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ และการไม่ให้เกียรติเพื่อนร่วมวิชาชีพ กรณีแพทย์หนุ่มรายหนึ่งโพสต์ภาพตัวเองบนเฟซบุ๊กในท่าทางเอาเท้าข้างหนึ่งพาดบนเตียงผู้ป่วย และเขียนบรรยายภาพว่า “ตนย้ายมาอยู่แผนกศัลยธรรมออร์โธปิติส์ ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง อยากกินหัวพยาบาล ส่งเรื่องให้พยาบาลที่เหลือด้วยนะ หมอxxxดุนะ ถ้าไม่อยากโดนกินหัวเรียงคนอีก4 ปี ให้หาพยาบาลสาวจบใหม่มารอต้อนรับด้วย มีสามีแล้วไม่เอานะ” (แนวหน้าออนไลน์) ในเวลาต่อมา หมอหนุ่มรายดังกล่าวก็ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊คเพจกล่าวคำขอโทษพยาบาลทุกคนและยินดีรับผิดกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมยืนยันด้วยว่ายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็น แต่ขอให้ส่งข้อความมาที่ INBOX ในเฟซบุ๊คเพจของตนเอง อย่างไรก็ตาม แพทยสภาหมายหัว หมอฉาวโพสต์เฟซบุ๊กอยากกินหัวพยาบาล จ่อเรียกสอบสวนลงโทษ ฐานทำเสื่อมเสียวิชาชีพหมอ หากสำนึกอาจโดนว่ากล่าวตักเตือน เตือนหมอระวังใช้โซเชียลมีเดีย จ่อออกมาตรฐานการใช้งานโซเชียลกลุ่มแพทย์ บรรจุลงหลักสูตร นศ. แพทย์ สกัดโพสต์ข้อมูลคนไข้เสี่ยงฟ้องร้อง (manageronline)
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า "พฤติกรรมดังกล่าวถือว่าผิด ทำให้เสื่อมเสียในศักดิ์ศรีวิชาชีพแพทย์ โดยแพทยสภาจะเรียกนายแพทย์ดังกล่าวเข้าเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง โดยจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณาจริยธรรมวิชาชีพ เพื่อพิจารณาว่าจะลงโทษอย่างไร ซึ่งหากแพทย์รายนี้มีการขอโทษ ก็ต้องมาวิเคราะห์ว่ารู้สึกสำนึกจริงหรือไม่ หากจริงก็จะมีโทษเพียงว่ากล่าวตักเตือน แต่โทษดังกล่าวจะมีผลในแง่ของความน่าเชื่อถือมาก" นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภากล่าวว่า “อยากขอเตือนสมาชิกแพทยสภา ว่าขอให้เรื่องที่เกิดขึ้นนี้เป็นตัวอย่างสำหรับแพทย์และผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ทุกคนว่าก่อนที่จะโพสต์รูปของคนไข้หรือโพสต์เรื่องของตนเอง หรือแสดงความคิดเห็นอะไรลงไปต้องรู้จักระมัดระวัง ใช้ความคิดให้มากก่อนโพสต์ด้วยทุกครั้ง เพราะหากโพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสมแม้ในกลุ่มของตน อาจเผยแพร่ออกไปจนมีผู้เสียหาย และนำไปสู่การฟ้องร้องได้” นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 8 ได้ตั้งคณะกรรมการสั่งสอบวินัยนายแพทย์ผู้นี้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งระบุว่าเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.บึงกาฬ
มีตัวอย่างคำวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดีย ได้แก่ ทุกคนมีเปลือย แต่ใครจะครองสติได้มากกว่ากันเท่านั้น ผู้ที่มีความรู้ย่อมที่จะไม่เสียโง่ ไปกับสิ่งที่มิพึงควรกระทำ Kae XXXX ·Geneva, Switzerland คุณควรมีสามัญสำนึก ก่อนที่จะเป็นหมอ เพราะสิ่งเหล่านี่ เขาสั่งเขาสอนในระหว่างเรียนอยู่แล้ว การที่คุณมาใช้ กริยา วาจาอย่างนี้ นั่นแสดงว่า คุณไม่ผ่านขบวนการที่จะใช้วิชาชีพ หมอ เราในฐานะคนไข้ ไปหาหมอ ได้มีความคิดว่า อย่าอับอายเพราะบุคคลที่จะมาเป็นหมอเขาคงได้ฝึกหัด จริยธรรม คุณธรรมมาเป็นอย่างดี เป็นเพราะคุณ ทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจที่เรามีต่ออาชีพหมอนั้นลดลง เลิกอาชีพ หมอ ไปคุม(...XXX…)ดีกว่ามั่งคะ มันจะได้ตรงกับสัน...XXX โดยไม่ทำให้ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดต้องเสียหาย การออกมาขอโทษ มันแค่การปัดสวะให้พ้นตัวแค่นั้นเอง มันไม่ใช่สิ่งทำไปเพราะไม่รู้ถึงผลกระทบที่ตามมา แต่มันคือการโชว์สัน...XXXลึกๆออกมา เลิกอาชีพหมอเถอะนะคะ ต้องปฏิรูปแพทยสภาด้วย...ถ้าทำอะไรไม่ได้กับหมอคนนี่...เสียสถาบันหมอหมด...ต่อไปถ้าไม่เอาเรื่องก็มีคนมาทำแบบนี่..แล้วมาขอโทษที่หลัง...ไม่ต่างกับทำความผิดแล้วขอโทษโดยไม่ต้องรับโทษหรือไง...อยากรู้คำตอบ เป็นต้น
ทุกวิชาชีพย่อมมีจรรยาบรรณไว้ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในวิชาชีพเหล่านั้น อาชีพแพทย์ เป็น “วิชาชีพ” ที่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ทุกคนควรพึงมี “จริยธรรมแห่งวิชาชีพ” เป็นพื้นฐานของการให้การดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อธำรงไว้ซึ่งความไว้วางใจ และการยอมรับนับถือจากสังคม รวมทั้งการผดุงไว้ซึ่งเกียรติยศและศักดิ์ศรีของมวลสมาชิกแห่งวิชาชีพแพทย์ หากแต่วิชาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาร่างกายและจิตใจมนุษย์ ไม่ลำพังแค่การแสดงออกด้วยกาย แต่ทั้งวาจาและจิตใจที่มีต่อคนไข้และมนุษย์ด้วยกันแล้ว ดังนั้น “วิชาชีพแพทย์” จึงถือว่าต้องปฏิบัติได้สูงกว่าวิชาชีพอื่น และหากมองในมุมกลับกัน หากแพทย์คนใดไม่มีหรือไร้ซึ่งจรรยาบรรณของตนเองแล้ว ก็ไม่เหลือเกียรติไว้ให้แก่ตนในการที่จะรักษาชีวิตและจิตใจของคนอื่น ดังเช่นคำวิจารณ์ที่ตอบกลับมาจนสะเทือนไปถึงทั้งตัวบุคคลผู้นั้นและวงการแพทย์ด้วยกัน จนแพทยสภาซึ่งเป็นผู้ดูแลจรรยาบรรณของแพทย์ต้องออกโรงเตือนและสอบสวนวางโทษทางวินัย จริยธรรมเป็นศาสตร์ด้านอ่อน คือเกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อจิตใจมนุษย์ การพิจารณาว่าสิ่งใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ยากต่อการสร้างหลักเกณฑ์ไว้เพื่อการพิจารณา จนกว่าเราจะเห็นบริบทสังคมของผู้กระทำนั้นเป็นเช่นไร หรือที่เรียกว่า การกระทำนั้นทำถูก “กาลเทศะ” หรือไม่ เราจึงจะตัดสินได้ว่า สิ่งนั้นเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร
ตัวอย่างเช่น หนุ่มสาวสองคนพลอดรักกันในที่รโหฐาน (ลับตาคน) ก็ไม่เห็นว่าไม่เหมาะสมที่ตรงไหนเพราะไม่มีใครเห็น แต่ถ้าหากพรอดรักกันในที่สาธารณะก็อาจจะมองว่าไม่เหมาะสม แม้จะไม่มีใครเสียหายก็ตาม ลองพิจารณาว่า ถ้าหากหนุ่มสาวสองคนนั้นเป็น “นักศึกษาแพทย์” พลอดรักกันในขณะฝึกงานในแผนกผู้ป่วยแห่งหนึ่ง พฤติกรรมนี้เราจึงต้องพิจารณากันหลายชั้นหลายขั้นตอน
หากเรายอมรับกันเบื้องต้นว่าในทุกๆ วงการย่อมมี “ด้านมืด” เช่น ด้านมืดที่ว่านี้ก็คือ พฤติกรรมที่ส่อว่าไม่เหมาะสม เช่น ชู้สาวระหว่าง “หมอกับคนไข้” การใช้วาจาผรุสวาทต่อกันระหว่าง “หมอกับพยาบาล” หรือแม้แต่ “น้องหมอ” ที่เป็น "หมอกับหมอ" ที่ยังด้อยประสบการณ์ชีวิต อาจไม่ได้คิดอะไรต่อการแสดงความรักต่อกันของคนในวัยหนุมสาว แต่ลืมไปว่าตนเองนั้นเป็น “แพทย์” ทุกนาทีที่อยู่ในสายตาของคนไข้ และเมื่อแพทย์อยู่ในสังคมที่ทันสมัยที่สื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียได้รวดเร็วเช่นทุกวันนี้ ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง “ขั้นสูงสุด” หรือไม่ละเมิดจรรยาบรรณเลยจึงจะถือว่าเป็นดี เราอาจได้เห็นนักศึกษาแพทย์หรือแพทย์สื่อสารข้อมูลต่างๆ ของคนไข้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือข้อมูลคนไข้ในเชิงปรึกษาหารือกัน รวมถึงข้อมูลที่ได้สื่อสารกับผู้ร่วมวิชาชีพ แต่ก็ “มีหลุด” และข้อมูลหลุดไปนอกวงการหรือกลุ่มของตนเองอยู่ให้เห็นบ่อยครั้ง เรื่องนี้ทางผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ อาจารย์แพทย์ แพทยสภา หรือแม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองของ “น้องหมอ” เองก็ต้องดูแล ควบคุม กำกับ เตือนสติกันได้เรื่อยๆ พฤติกรรมการแสดงออกทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง ความหมายนั้นก็คือ นอกเหนือจากหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์ 6 ประการ คือ การคำนึงสิทธิของผู้ป่วย (Autonomy) การกระทำเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย (Beneficence) การละเว้นไม่กระทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย (Do no harm) การรักษาความลับของผู้ป่วย (Confidentiality) การพูดความจริง (Truth telling) และความยุติธรรมไม่เลือกปฏิบัติ (Justice) แล้ว แพทย์ยังต้องตระหนักใน คำปฏิญาณจริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์ (Declaration of Geneva) ด้วยว่า
ข้าฯ ก็จักยึดมั่นในคุณค่าแห่งชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย ข้าฯ จะไม่ใช้ความรู้แห่งวิชาชีพในทางที่ขัดกับกฎแห่งมนุษยธรรม ( คำปฏิญาณจริยธรรมแห่งวิชาชีพแพทย์ (Declaration of Geneva) แปลโดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย) .....................................
ไม่มีใครรู้เรื่องจริยธรรมหรือมีสัมมาคารวะมาแต่กำเนิด ต้องมาเรียนรู้พัฒนากันในภายหลังทั้งสิ้น แม้ในตำราที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ก็ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเสมอไป คำตอบที่เคยคิดว่าถูกต้องในสมัยเด็กๆ ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุดเสมอไป หากวิชาจริยศาสตร์เป็นเนื้อหาที่ต้องทดสอบตามหลักสูตรกับผู้เรียนในวิชาชีพต่างๆ เหล่านั้น ก็อาจจะมีผู้สอบไม่ผ่านอยู่ร่ำไป จนถือเป็นเรื่องปกติ ….. และคนทุกคนต้องเรียนรู้จิรยธรรมอย่างนี้อยู่ร่ำไป จนถือเป็นเรื่องปกติ …. เราหวังว่าพฤติกรรมของ “หมอหนุ่ม” ที่อยากกินหัวพยาบาลคงเป็นบทเรียนให้แก่กลุ่มวิชาชีพเดียวกันหรือในสายการแพทย์ด้วยกัน เพื่อให้ “มรรยาทแห่งวิชาชีพ” (etiquette) ซึ่งหมายถึง ความประพฤติที่งดงาม มีศักดิ์ศรีมีเกียรติสมควรแก่ความยกย่อง วิชาชีพของพยาบาลและแพทย์จำเป็นที่จะต้องมีมรรยาท สำหรับการปฏิบัติแก่คนทั่วไป และแก่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เช่น การพูดจาสุภาพ อ่อนน้อม โดยต้องเคารพความเป็นบุคคลของมนุษย์ (Respect for Person of human life) ต้องไม่ใช้คนเป็นเครื่องมือไม่ว่ากรณีใดๆ เพราะมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แม้ความผิด(พลาด)ในเรื่องนี้จะไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรง สังคมยังให้โอกาสแก้ตัวแก่ผู้ประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสม
ในขณะที่สังคมไทยกำลังเรียกร้องการปฏิรูปสังคมกันขนานใหญ่ ผู้ที่มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของตนก็ต้องปฏิรูปด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับ ผู้ที่รับผิดชอบต่อสังคมสูงกว่า ก็ย่อมต้องปฏิรูปตนเองและสมาชิกของตนมากกว่าด้วย
.......................................
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |