*/
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
(Before: สภาพในปี 2554) (After:สภาพในปีนี้ 2557) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 - 2553 ยาวต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2554 คลื่นลมมรสุมที่พัดถล่มชายฝั่ง แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ที่ได้สร้างความเสียหายมากที่สุด คือ ชุมชนบ้านแหลม หมู่ที่ 2, 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับที่ชาว “คณะโอเคเนชั่น" เคยเดินทางเข้าไปสำรวจกันมาแล้วเมื่อต้นเดือนเมษายน 2554) สภาพบ้านเรือนทั้งสองหมู่บ้านได้กลายเป็นซากปรักหักพังเกือบเป็นหมู่บ้านร้าง ที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องเตรียมอพยพโยกย้ายออกจาพื้นที่ถ้าหากคลื่นลมยังซัดเข้ามาถล่มซ้ำอีกระลอก ชาวบ้านหลายครัวเรือนได้เก็บข้าวของมีค่าและรื้อถอนอาคารบ้านเรือนคงเหลือทิ้งไว้เพียงเสาตอม่อ บางจุดคลื่นลมทะเลได้กัดเซาะพื้นดินเข้ามาถึงกว่า 20 เมตร จนสภาพถนนคอนกรีตเลียบชายฝั่งในหมู่บ้านพังยับเยินเป็นระยะทางกว่า 300 เมตร คลื่นทะเลยังได้นำพาเอาทรายกองมหึมาเข้ามาทับถมอาคารบ้านเรือนกว่า 10 หลังคาเรือน สร้างความเสียหายอย่างที่ประมาณมูลค่าไม่ได้ ส่วนอาคารกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสัตว์ทะเลของหมู่บ้าน โอ่งหมักปลาลอยไปกับคลื่นที่ซัดเข้ามาจนลอยละล่องไปกับกระแสคลื่นล้มระเนระนาด รวมอุปกรณ์การประกอบอาชีพเสริมของกลุ่มก็เสียหายคิดเป็นมูลค่าเงินที่ได้รับการสนับสนุนโครงการ 2 แสนบาทนั้นเสียหายทั้งหมด “คลื่นมันซัดข้ามถนนคอนกรีตในหมู่บ้านเราเข้ามา แล้วก็“หักคอ”ลงตรงหน้าบ้านของตน แทงเอากระสอบทรายที่เรียงเอาไว้กันคลื่นก็ยังเอาไม่อยู่" ครั้งนั้นเรื่องราวของชาวแหลมตะลุมพุกได้ถูกนำเสนอต่อสายตาของโลกภายนอกอย่างมากมาย ทั้งในสื่อกระแสหลักอย่างสถานีโทรทัศน์หลายช่องต่างก็มุ่งหน้ามาทำรายงานข่าว ข้อมูลถูกตีพิมพ์ลงใน นสพ.และสื่อออนไลน์ รวมทั้งบล็อกเกอร์ชื่อดังหลายๆ ท่านก็เข้ามารายงานข้อมูลให้ประชาชนได้เห็นถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านแหลมตะลุมพุก อาทิเช่น จดหมายจากแหลมตะลุมพุก ...แนวหน้าวาตภัย http://www.oknation.net/blog/charlee/2011/04/12/entry-2 (บล็อกของ บก.ชาลี) เป็นต้น ครั้งนั้นตัวแทนชาวแหลมตะลุมพุกฝั่งทะเล ยื่นจดหมายร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในโอกาสที่ลงพื้นที่ตรวจพื้นที่ประสบภัยบริเวณ ต.แหลม อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2554 เพื่อขอใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลนเกาะไชย ซึ่งเป็น "เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพื้นที่ป่าสงวนแหลมตะลุมพุก” จำนวนเนื้อที่ที่ขอจัดสรรให้ครัวเรือนละ 60 ตารางวา รวม 150 ไร่เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยให้แก่ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ,2 และ 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก ซึ่งอาศัยอยู่ตลอดแนวชายฝั่งทะเลจำนวน 510 ครัวเรือน ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากกรณีเกิดวาตภัยและคลื่นลมแรง ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งจนบ้านเรือนเสียหาย (ต้นหูกวางที่ทางเข้าหมู่บ้านในอดีต) (ต้นหูกวาง - ในปัจจุบัน โปรดสังเกตระยะห่างจากแนวเขื่อนหินทิ้งกับต้นหูกวาง) (ชายหาดที่ท้ายวัดแหลมตะลุมพุกในอดีต)
(ชายหาดที่ท้ายวัดแหลมตะลุมพุกในปัจจุบัน-โปรดสังเกตระยะห่างจากแนวเขื่อนหินทิ้งกับรั้วกำแพงวัดและความกว้างของชายหาด) (ศาลเจ้าในอดีตและในปัจจุบัน)
ครั้นต่อมาผู้เขียนได้รับทราบปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นและได้เข้าไปสำรวจพื้นที่และสภาพปัญหาน้ำทะเลในวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ของชุมชนบ้านแหลม หมู่ที่ 2, 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก หรือจุดที่ทีมสำรวจ"โอเคเนชั่น" เคยในช่วงที่เข้าไปสำรวจ (อ่านรายละเอียด : ชาวแหลมตะลุมพุก..ทุกข์ข้ามปี คลื่นทะเลสูง 5 เมตรซัดชายฝั่งบ้านเรือนพังยับ หวังอพยพเข้าอาศัยเขตป่าสงวนแต่ไร้หวัง..! ) สภาพปัญหาขณะนั้นเรียกว่า เป็นการซ้ำเติมความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและความเดือดร้อนของประชาชนหนักมากยิ่งขึ้น อีกทั้งความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมจากหน่วยงานราชการ หรือการให้ความช่วยเหลือด้านการจัดสรรที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนในเขตป่าสงวนฯ ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขบรรเทาเบาบางความเดือดร้อนนั้นแต่อย่างใด คำบรรยายความเดือดร้อนของชาวบ้านในครั้งนั้นจึงเต็มไปด้วยน้ำตาและความโกรธแค้นที่มีต่อหน่วยงานราชการ ความไม่พอใจของชาวบ้านเกี้ยวกราดรุนแรงพอๆ กับคลื่นลมในท้องทะเลแหลมตะลุมพุกในขณะนั้น … !!! สาเหตุครั้งนั้นมีทั้งจากปัจจัยปัญหาของการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เป็นปัญหาเดียวกันทั่วทั้งอนุทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เชื่อกันว่า สาเหตุเกิดจากน้ำแข็งขั่วโลกละลายจนส่งผลให้น้ำทะเลสูงขึ้น(1) การรุกล้ำชายฝั่งเข้าไปในพื้นที่ชายหาดโดยชาวบ้านหรือชาวประมงเองจนสร้างปัญหาขาดความสมดุลทางธรรมชาติ(2) การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพธรรมชาติของพื้นที่ เช่น การปรับพื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การสร้างโครงสร้างชายฝั่งทะเล (3) และ (4) ปัญหาคลื่นลมแรงขึ้นในห้วงเวลาหลายฤดูมรสุม เหล่านี้เป็นสาเหตุรวมๆ ที่ช่วยตอบคำถามและปกป้องชาวแหลมตะลุมพุกได้ว่าพวกเขาไม่ได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นมาเองเพียงลำพัง ประกอบกับช่วงปลายปี 2554 ขณะนั้นพื้นที่ประเทศไทยได้รับอิทธิพลความกดอากาศสูง เกิดเหตุคลื่นยักษ์สูงกว่า 2 - 3 เมตรซัดเข้าถล่มในหลายพื้นที่ตำบลตั้งแต่ จ.ชุมพร เรื่อยลงมา ทำให้มีบ้านเรือนจำนวนมากและรีสอร์ทที่อยู่ตามชายฝั่งมากกว่า 20 แห่งได้รับความเสียหาย ชาวประมงต้องนำเรือเล็กเข้าจอดหลบภัยพายุคลื่นลมตามเกาะแก่งต่าง ๆ ขณะที่เรือที่บริการนักท่องเที่ยวต้องหยุดให้บริการโดยปริยาย ความกดอากาศสูงยังได้ทำให้น้ำทะเลยกตัวสูงและเกิดคลื่นยักษ์สูงถึง 5 เมตร ซัดเข้าถล่มในหลายหมู่บ้านของ อ.ท่าศาลา และ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยเฉพาะบริเวณแหลมตะลุมพุกจนสร้างความเสียหาย นำความเดือดร้อนมาสู่ประชาชน (ตามภาพ)
(สภาพภูมิอากาศและคลื่นลมในอดีต) (สภาพคลื่นลมในวันนี้) (ถนนคอนกรีตในหมู่บ้านในอดีต) (ถนนในหมู่บ้านวันนี้) (สภาพความเสียหายในอดีต ปลายปี 2554) (2 ภาพข้างบน เป็นสภาพถนนในหมู่บ้านในปัจจุบัน) วันนี้ (13 กันยายน 2557) ผู้เขียน (จขบ.)เข้าไปสำรวจปัญหาและติดตามการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่บ้านแหลมตะลุมพุกครั้งนี้ ได้พบการสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะได้พบเห็นโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะของแต่ละชุมชน มีการสร้างแนวกำแพงหินเพื่อกันคลื่น เป็นแนวสันเขื่อนยาวขนานไปตามแนวชายหาด เรียกว่า เขื่อนหินทิ้ง (Seawall) สามารถแก้ปัญหาการรุกล้ำเข้ามาของน้ำทะเลได้เป็นอย่างดีถ้าหากคลื่นๆไปสูงเกิน 2-3 เมตร ส่วนภูมิอากาศและคลื่นลมในวันที่เข้าไปสำรวจ (13 กันยายน 2557) พบว่า คลื่นลมสงบ ทะเลเรียบ เรือประมงจอดอยู่บนชายหาด ชาวบ้านจับกลุ่มกันทำกิจกรรมตามวิถีการดำเนินชีวิตแบบชาวประมงในยามปกติ ได้แก่ การจัดเตรียมเรือและอุปกรณ์ประมง การสนทนาพบปะพูดคุยกันตามร้านค้า หรือตามบ้านเรือน สภาพบ้านเรือนขณะนี้ได้รับการซ่อมแซม และเข้าอยู่อาศัยเป็นที่เรียบร้อย ไม่ปรากฎซากปรักหักพังของบ้านเรือนดังเช่นแต่ก่อนอีกแล้ว ถัดจากชายหาดมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ดูมั่นคงแข็งแรงอยู่ห่างจากแนวเขื่อนประมาณ 10 เมตรทอดตัวยาวระหว่างกลาง มีการสร้างศาลาพักรูปดอกเห็ดเพื่อเป็นที่พักผ่อนเป็นระยะๆ วัดแหลมตะลุมพุกในวันนี้ มีแนวเขื่อนหินทิ้งยาวตลอดไปถึงเขตอารามหลังวัด รั้วรอบขอบชิดเป็นกำแพงปูนคอนกรีตที่เคยเป็นซากปรักหักพัง ล้มระเกะระกะ ก็ได้รับการซ่อมแซมเข้าที่เข้าทางเป็นที่เรียบร้อย แทบไม่ปรากฎหลักฐานของความเสียหายในอดีต เราสังเกตเห็นแววตาของชาวบ้านรายหนึ่งที่ยืนสงบนิ่งบนจุดที่เคยคลื่นลมทะเลได้แสดงความเกรี้ยวกราดของมัน วันนี้เขาทอดสายตามองไปยังท้องทะเลที่เงียบสงบ คล้ายราวกับว่าเขากำลังประเมินสถานการณ์คลื่นลมวันนี้ว่าจะพาเรือประมงพื้นบ้านออกทะเลไปหาปลามาเลี้ยงครอบครัวได้ตามปกติหรือไม่ ส่วนโรงเรียนบ้านแหลมตะลุมพุก ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมเลี้ยวขวาก่อนจะออกไปสู่ชายหาดที่เป็นจุดร้านอาหารเข้ามาตั้งบริการนักท่องเที่ยวและปลายแหลมตะลุมพุกที่เป็นจุดท่องเที่ยวทางนิเวศวิทยาก็ได้รับการจัดสร้างอาคารหลบภัย เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูฐานล่างกว้างกว่ายอดด้านบน ใช้เป็นที่หลบภัยจากคลื่นลม(วาตภัย)และการกัดเซาะชายฝั่ง
ในวันนี้ ...เราได้เห็นว่า ชาวบ้านได้พื้นดินกลับคืนมา บ้านเรือนก็มีการก่อสร้างและซ่อมแซมจนแทบไม่เห็นร่องรอยของซากปรักหักพังเดิม ผู้เขียนได้พบกับหญิงชาวบ้าน 2 ราย กำลังนั่งคุยกัน จึงเข้าไปสอบถามถึงผลกระทบของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เขาพร้อมใจกันตอบคำถามแก่เราว่า "ปัญหานั้นไม่มีแล้ว" แต่เขาไม่ได้บอกว่าสาเหตุใดที่คลื่นลมได้สงบหรือบรรเทาเบาบางลง เราสอบถามถึงเรื่องแนวเขื่อนหินทิ้งที่ทางราชการมาสร้างไว้นี้ว่า ได้ช่วยแก้ปัญหาได้ดีขึ้นหรือไม่ หญิงชาวบ้านทั้งสองตอบอย่างกังวลใจว่า "ก็ดี ... แต่แนวหินมันก็ยุบตัวต่ำลงเรื่อยๆ แต่ก่อนมันสูงกว่านี้นะ" เขาหมายถึงว่า แนวเขื่อนหินทิ้งซึ่งตั้งอยู่ตามแนวยาวบนแนวชายหาดนั้นมีการทรุดตัวลงทีละนิดๆ และหากคลื่นลมทะเลสูงและรุนแรงเหมือนเช่นแต่ก่อน ระดับความสูงของแนวเขื่อนขณะนี้อาจไม่สามารถปกป้องบ้านเรือนให้แก่พวกเขาเอาไว้ได้ สรุปว่า พวกเขายังมีความกังวลใจที่อาจจะยังเกิดปัญหาต่อไปในอนาคต แม้จะมีความสุขเกิดขึ้นมาแล้วในระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่คลื่นลมสงบและทางราชการเข้ามาสร้างแนวเขื่อนหินทิ้งไว้ป้องกันคลื่นให้แก่ชาวบ้าน เราถามว่า แล้วที่ชาวบ้านเคยขอใช้พื้นที่ในเขตป่าโกงกางที่เป็นพื้นที่ป่าสงวนในเขตปากแม่น้ำปากพนังนั้นเป็นอย่างไร ชาวบ้านตอบว่า "ไม่มีใครได้เข้าไปอยู่" เราจึงสรุปเป็นข้อสันนิษฐานว่า 1) ผลการขอใช้พื้นที่ป่านั้นไม่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือไม่ก็..... 2) วิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับการออกทะเลหาปลา จำเป็นต้องอาศัยอยู่ตามแนวชายหาดมากกว่าที่พวกเขาจะย้ายเข้าไปอยู่ลึกเข้าไปในแนวป่าโกงกาง และบัดนี้คลื่นลมสงบ ประกอบกับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะจากการสร้างแนวเขื่อนหินทิ้งทำให้ปัญหาได้ยุติลงไปชั่วคราว จนชาวบ้านสามารถก่อตั้งซ่อมแซมบ้านเรือนได้ดังเดิม จึงได้ข้อสรุปนั้นว่า "ไม่มีใครได้เข้าไปอยู่" ตามคำกล่าวของชาวบ้านหญิงสองคนนั้น …? (ภาพด้านขวาเป็นเขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่าฯ ที่ประชาชนเคยขอเข้าไปในพื้นที่ตั้งบ้านเรือนเพื่อหลบวาตภัย) จากการลงสำรวจพื้นที่ “แหลมตะลุมพุก” ในช่วง 5 ปี ตั้งแต่ต้นปี 2553 เป็นต้นมา ผู้เขียนได้เข้าไปถึงพื้นที่ที่เกิดปัญหาประมาณปีละ 1-3 ครั้ง จากภาพที่พบเห็นมาโดยตลอดนั้น ทำให้เราสันนิษฐานว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงน่าจะเกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติที่เกิดจากกระแสคลื่นลมที่มีความรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก หรือที่เรียกว่า เอลนิญโญ่ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ส่วนสาเหตุที่มาจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพธรรมชาติของพื้นที่ เช่น การปรับพื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การสร้างโครงสร้างชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะรอดักทราย (Groin) และคลื่นตามปากแม่น้ำต่างๆ (Jetty) รวมทั้งสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะ เช่น กำแพงกันคลื่น เขื่อนคอนกรีต เขื่อนหินทิ้ง (Seawall) เขื่อนกันคลื่น (Offshore Breakwater) ที่สร้างขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่อการกัดเซาะตามแนวชายฝั่งทะเลที่เกิดจากฝีมือมนุษย์นั้น แต่ก็น่าจะเป็นปัจจัยเสริมมากกว่า เนื่องจากว่าธรรมชาติ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ แม้จะมีข้อมูลว่า “น้ำมือมนุษย์” มีส่วนอย่างมากในการก่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้นก็ตาม แต่ธรรมชาติก็ยังเป็นตัวกำหนดสภาพแวดล้อมที่สำคัญ โดยมี “น้ำมือมนุษย์” เป็นตัวเร่งให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายนั้นให้พบจุดจบเร็วมากขึ้น ........... ?? …………………………………………. (ประตูระบายน้ำอุทกวิภาคประสิทธิ์ ในโครงการพระราชดำริพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง) (แม่น้ำปากพนัง แบ่งตัวเมืองปากพนังออกเป็นสองฟาก คือฝั่งตะวันออกซึ่งติดอ่าวไทย กับฝั่งตะวันตก) (แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของแหลมตะลุมพุกในวันนี้-2557)
หมายเหตุ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |