*/
<< | มิถุนายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
คนไทยกำลังมีความกังวลเรื่อง ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนที่ค่อนข้างแพง ซึ่งถือเป็นปัญหาและอุปสรรคของการเข้าถึงระบบสุขภาพอีกอย่างหนึ่งของบ้านเรา ข่าวสารนี้ยิ่งเมื่อมีการโพสต์ข้อความลงในโลกออนไลน์ก็ยิ่งเป็นกระแสส่งข้อมูลต่อๆ กันมากขึ้น ก็เหมือนข้อเท็จจริงจะยิ่งถูกตีแผ่ออกมาเรื่อยๆ จนกระทั่งโรงพยาบาลเอกชนเองก็ต่างพากันร่ำรวยขึนแบบเงียบๆ วันนี้ผู้เขียน(จขบ.) จึงขอหยิบยกเรื่อง ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแพงมาสนทนากัน หากแต่สำหรับคนที่มีฐานะร่ำรวย หรือมีเจ้าภาพจ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนให้ เช่น บริษัทประกัน ซึ่งก็คงไม่ต้องวิตกถึงประเด็นนี้ให้มากนัก
(ภาพตัวอย่างของค่ารักษาพยาบาลที่มีการโพสต์ลงในโลกออนไลน์)
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ ก็เกิดจากคนในโลกสังคมออนไลน์ปลุกกระแสขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน เช่นเดียวกันกับเรื่องที่มีคนโพสต์บิลค่าอาหารแพงจากร้านอาหารบางแห่ง เรื่องพ่อค้าหลอกขายทุเรียนดิบ เป็นต้น ประเด็นค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแพงเกินจริงอย่างอย่างไม่สมเหตุสมผลก็เช่นเดียวกัน จนกระทั่งมีกลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ระบุว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนแล้วถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยการเรียกเก็บเงินในราคาที่สูงมาก บางรายเป็นหลักหมื่นหลักแสนบาท จึงได้มีข้อเสนอว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราน่าจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางที่จะมาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจังสักที เพื่อควบคุมค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน และไม่ให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบมากจนเกินไป เวลาต่อมาเครือข่ายดังกล่าวก็มีการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อสนับสนุนเรื่องนี้กว่า 33,000 รายชื่อ แล้วเข้ายื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็เงียบหายไป จนกระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเริ่มมีความเคลื่อนไหว ซึ่งเราก็คงจะต้องรอดูและให้กำลังใจกันต่อไปว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงกันได้มากน้อยแค่ไหนในเรื่องค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนแพงเกินจริงในวันนี้ ...?
ข้อกล่าวหาต่อธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนที่สาหัสสากรรจ์ในเรื่องนี้ คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อคนไข้เข้ารับการรักษาและเมื่อมีบิลออกมาให้ไปจ่ายหรือจ่ายค่ารักษาไปแล้วนั้น ปรากฎว่ามีบางรายการที่แพงเกินไปในสายตาของผู้รับบริการ เช่น ค่ายา ค่าห้องพัก และค่าแล็บส่งตรวจเลือด-ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งถูกเฉลี่ยแล้วนำมารวมหรือคิดค่าต้นทุนแฝงอยู่ในรายการต่างๆ เช่น ค่าใช้เครื่องมือแพทย์ที่มีราคาแพง ค่าบำรุงรักษาเครื่องมือ และรวมถึงค่าตัวแพทย์ในการรักษาพยาบาลนั้นด้วย ค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักมีราคาที่ค่อนข้างแพง ซึ่งเมื่อพิจารณาตามบิลใบเสร็จฯ ที่ปรากฏในโลกออนไลน์แล้วมักถูกบวกเพิ่มหรือพอกไว้ในบางรายการ เนื่องจากบิลเรียกเก็บเงินนั้นไม่สามารถเขียนระบุตรงๆ ว่าเป็นค่าใช้จ่ายของเครื่องมือแพทย์(ที่มีราคาแพง) หรือค่าตัวหมอ ซึ่งอาจเป็นหมอที่เป็น “มือปืนรับจ้าง” มาจากที่อื่น จึงเป็นการพอกลงในรายการ (Bill) อย่างไม่สมเหตุสมผล หากโรงพยาบาลเอกชนไม่บวกเพิ่มค่าใช้จ่ายเหล่านั้น ก็อาจทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนอยู่ไม่ได้ หรือดำเนินธุรกิจต่อไปไม่ได้ แต่...ปัจจัยสำคัญคือ ต้องมีคนป่วยที่มีฐานะเพียงพอที่พร้อมจ่ายเงินเข้ามารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน นี่จึงเป็นเหตุให้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเราอยู่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็ยังพยายามลดค่าใช้จ่ายจากการใช้บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ต่างๆ เท่าที่จำเป็นจริงๆ เช่น ใช้เจ้าหน้าที่ที่ฝึกให้ทำงานกับเครื่องมือแพทย์เหล่านั้นเป็น โดยไม่ได้ใช้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอย่างถูกกฎหมาย เป็นต้น เมื่อเข้าไปใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง บางเวลา เราอาจพบว่า มีแพทย์กับมีพยาบาลจริงๆ แค่คนหรือสองคน นอกจากนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยแทบทั้งสิ้น หรือถ้าหากผู้ป่วยต้องการให้โรงพยาบาลดูแลเป็นพิเศษก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม บางทีก็คิดบวกเพิ่มจากราคาตัวยาหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ เหตุผลอย่างหนึ่งคือ ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยไม่ได้สร้างแพทย์ขึ้นมาเอง แต่อาศัยลักษณะการ “ซื้อตัว” หรือใช้แพทย์หมุนเวียนจากโรงพยาบาลรัฐมาตรวจรักษาพยาบาลคนไข้ ซึ่งก็ย่อมส่งผลกระทบถึงการขาดแคลนแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ และข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงคือ โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่มีกำไรทุกๆ ปี จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น มีกำไรคืนให้แก่เจ้าของเงิน ดังนั้น เมื่อลงทุนในเรื่อง ยา เครื่องมือแพทย์ เงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร ค่าก่อสร้างอาคารโรงพยาบาล ห้องพักผู้ป่วย ฯลฯ ก็ย่อมต้องมีการคืนทุน เพราะโรงพยาบาลเอกชนถือเป็นธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ต้องแสวงหาความได้เปรียบจากการแข่งขัน (จากผู้ป่วยของโรงพยาบาลรัฐ) และแสวงหากำไรสูงสุด นโยบายของรัฐที่มุ่งหมายจะให้ประเทศเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาค (Medical Hub) ก็มีนัยะแอบแฝงและย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสุขภาพของประชาชนภายในประเทศอีกด้วย
เมื่อผู้ป่วยพร้อมที่จะเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน อาจแสดงว่าเขาพร้อมที่จะรับภาระจ่ายเงิน (โดยไม่ต้องเกี่ยงงอน) แต่ในสถานการณ์จริงๆ แล้วกลับไม่เป็นนั้น แม้ว่าหมอจะแจ้งแผนการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่คนไข้/ญาติว่าจะเลือกวิธีการรักษาใดแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าหมอจะแจ้งแผนการรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งมีค่าใช้จ่ายเท่าไรให้แก่คนไข้/ญาติทราบแล้วก็ตาม แม้ว่าผู้ป่วยพร้อมที่จ่ายเงินทุกบาททุกสตางค์ แต่โรงพยาบาลเอกชนทุกๆ แห่งก็ไม่ควรจะเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลแพงจนเกินไป หรือใช้เครื่องมือแพทย์ หรือใช้ยาที่เกินความจำเป็น แม้ผู้ป่วยบางรายจะใช้สิทธิ์รักษาพยาบาลแบบที่มีเจ้าภาพ เช่นบริษัทประกันออกเงินให้ก็ตาม แต่...โรงพยาบาลก็ควรเรียกเก็บเงินอย่างสมเหตุสมผล ราคาที่เท่าๆ กันหรือใกล้เคียงกันทั่วทั้งประเทศ จริงๆ แล้ว ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนก็ไม่ต่างอะไรจาก “ผีถึงป่าช้า” คือต้องจ่ายเงินตามที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ออกจากโรงพยาบาล มีผู้ป่วยหลายรายจำต้องขอย้ายออกมารักษาต่อในโรงพยาบาลรัฐเมื่อเขาไม่มีเงินพอที่จะจ่ายต่อไปอีก โดยเปลี่ยนมาใช้สิทธิการรักษาที่มีติดตัวอยู่กันทุกคน เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพ( 30 บาทรักษาทุกโรค) ผู้ป่วยในระบบประกันตน (บัตรประกันสังคม) ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา นักเรียนนักศึกษา เด็ก คนพิการ ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมประชากรไทยได้ทั้งหมดแล้ว พิจารณากันอย่างที่เรากำลังยกให้โรงพยาบาลเอกชนเป็นจำเลยของสังคม ก็ดูเหมือนว่า โรงพยาบาลเอกชนกำลังเอาเปรียบสังคมในทุกๆ ด้าน เปรียบเสมือนตัวด้วงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากตัวหนอน เมื่อน้ำเลี้ยงในตัวหนอนหมดลง ก็ผลักไสออกไป เพื่อให้แต่ชีวิตของตัวเองอยู่ได้ แล้วหากินน้ำเลี้ยงจากหนอนตัวใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าตัวเองจะหมดอายุขัย โดยไม่เคยเหลียวแลสาธารณชน และรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งแต่เรื่องการดำเนินธุรกิจ
ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนโดยตรง มีแต่เพียง พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ที่กำหนดให้โรงพยาบาลและสถานพยาบาลจะต้องแจ้งราคาค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น กับอีกหลายช่องว่างที่ผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นนั้น จึงมีคำถามว่า ถึงเวลาแล้วยังที่ประเทศไทยควรจะมีกฎระเบียบในเรื่องนี้อย่างชัดเจน (เช่นเดียวกับที่กรมบัญชีกลางกำหนดราคาค่ายา ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ให้แก่สถานพยาบาลของรัฐ) หรือควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนโดยตรง เพื่อให้โรงพยาบาลเอกชนมีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลอย่างเป็นธรรม ไม่เห็นแต่แก่ได้ ตักตวงผลประโยชน์บนความเจ็บป่วยของประชาชน หากพวกเขาคิดจะก่อตั้งโรงพยาบาลเอกชนเพื่อคิดค่ารักษาแพงๆ เพื่อให้ธุรกิจโรงพยาบาลมีผลกำไรมากๆ ก็ให้เขาตั้งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะที่รับการรักษาชาวต่างชาติ หรือรับรักษาแต่ผู้ป่วยที่มีฐานะร่ำรวยเพียงอย่างเดียว เพราะคนต่างชาติเหล่านั้นเขาเห็นค่าของเงินบ้านเราถูกกว่ารักษาที่ประเทศของเขา เราเห็นผู้ป่วยบางรายขอย้ายออกจากโรงพยาบาลเอกชนแล้วมารับการรักษาต่อในโรงพยาบาลรัฐ .... เกิดความรู้สึกไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นด้วยกรณีใดๆ ก็แล้วแต่ .... และไม่ว่าในกระเป๋าสตางค์ของเขาจะมีเสียงเขย่าหรือไม่ก็ตาม
………………………………………….. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |