*/
<< | กรกฎาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ข่าวเรื่องดาราสาวไทยคนหนึ่งคิดสั้นโดยกินยานอนหลับ เพื่อหวังฆ่าตัวตายเซ่นรักล่มกับอดีตแผนหนุ่มนักร้องดัง เรื่องนี้เป้นกล่าวขานโจษจันทน์กันไปทั่วเมือง บางคนก็วิพากษ์วิจารณ์ไปไกลจนถึงขั้นประณามกันในโลกโซเชียลว่าดาราสาวหาทางออกให้กับตัวเองไม่เหมาะสม บ้างก็ใส่อคติเติมอารมณ์ไปมากมาย ฯลฯ ข้อเสียของคนที่เป็นถึงดาราหรือเป็นคนที่มีชื่อเสียงของสังคมเมื่อแสดงพฤติกรรมอะไรออกมามักจะเป็นแบบอย่างให้แก่เยาวชนให้เกิดการทำตามหรือ “พฤติกรรมเลียนแบบ” จากคนดัง วัยรุ่นบางคนอาจจะผิดหวังในความรัก แล้วก็เกิดเป็น "พฤติกรรมเลียนแบบดารา"
ดารานักร้องบางคนมีชื่อเสียงมีแฟนเพลงมากมาย ชีวิตของเขาน่าจะมีความสมบูรณ์พูนสุขเพียงพอ บางคนมีหน้าที่การงานที่มั่นคง ครอบครัวไม่น่าจะมีปัญหาอันใด แต่ทำไมเขาจึงคิดฆ่าตัวตาย ทั้งๆ ที่เขาน่าจะหวงแหนชีวิตอันมีค่าของพวกเขา เพราะยังสร้างคุณค่าให้แก่สังคมและตัวเองได้อีกมาก แต่การฆ่าตัวตายของพวกดารานักร้องก็ดูเหมือนว่า การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่ไม่ไกลจากตัวเรานัก ที่บ้านเรา...การพยายามฆ่าตัวตายมักไม่ค่อยมีปัญหาเป็นข่าวใหญ่โต แตกต่างจากในประเทศเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น ที่มีดารานักร้อง คนมีชื่อเสียงฆ่าตัวตายกันในอัตราที่สูง เช่น อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ก็ฆ่าตัวตาย ส่วนดาราฮอลีวูดก็นิยมฆ่าตัวตายด้วยวิธีการเสพยาเกินขนาด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม วิธีคิด การแข่งขัน หรือ ความคาดหวังในสังคมเขาสูงกว่าสังคมบ้านเรา เมื่อการประพฤติผิดจริยธรรมของดารา คนมีชื่อเสียง นักการเมือง เมื่อถูกจับได้ ก็พยายามหาทางออกให้แก่ตัวเองด้วยการฆ่าตัวตายเพื่อจบชีวิตตนเองออกไปจากวงสังคม บ้านเรา มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาใหญ่ ผู้นับถือถือ มีคำสอนให้รู้จักละวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ความสุขอยู่ที่ใจ การฆ่าตัวตายจึงไม่ใช่ปัญหาใหญ่เมื่อเทียบกับประเทศทีมีบริบททางสังคมต่างไปจากไทยเรา
การฆ่าตัวตาย (Suicide) เป็นมิติทางกาย-จิต-สังคม (bio-psycho-social) ของแต่ละคน และแต่ละสังคม ซึ่งจะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด มูลเหตุการณ์ฆ่าตัวตายของไทยจึงแตกต่างจากชาวเกาหลีใต้หรือชาวญี่ปุ่น หรือแม้แต่ในประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคก็แตกต่างกันเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สถิติการฆ่าตัวตายในภาคเหนือมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุด โดยจังหวัดเชียงรายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด จังหวัดนราธิวาสมีอัตราการฆ่าตัวตายต่ำที่สุด (ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต)
สถิติการฆ่าตัวตายของคนไทย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ประมาณ 5.77 คนต่อประชากรแสนคน หรือมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณ 3,612 คนต่อปี เฉลี่ยมีคนฆ่าตัวตายถึง 12 คนต่อวัน หรือเฉลี่ย 1 คนต่อในทุกๆ 2 ชั่วโมง กลุ่มอายุ และเพศของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแล้วจะพบว่า ช่วงอายุของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จในประเทศไทยอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี มากที่สุด และถ้าแบ่งตามเพศ จะพบว่า เพศชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าเพศหญิงถึง 4 เท่า แต่เพศหญิงมี แนวโน้มที่คิดจะฆ่าตัวตายได้ง่าย และมีจำนวนมากกว่าเพศชาย (ข้อมูลของกรมสุขภาพจิต) “การฆ่าตัวตายสำเร็จของคน 1 คน จะมีผลกระทบต่อคนอื่นอีกอย่างน้อย 5 คน ได้แก่ พ่อ แม่ พี่น้อง เพื่อนสนิท คนรัก” ดังนั้น ถ้ามีการฆ่าตัวตายสำเร็จปีละประมาณ 4,000 คน จะมีผู้รับผลกระทบที่ต้องทุกข์ทนกับการสูญเสียถึงปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 คน” คนไทยมีวิธีการฆ่าตัวตายต่าง ๆ กัน อย่างที่ปรากฎตามข่าวในแต่ละวันทั่วไป ด้วยเช่น การผูกคอตาย และกินยาฆ่าตัวตายเป็นวิธีการฆ่าตัวตายของชาวบ้านทั่วๆ ไป การใช้ปืนยิงตัวตายมักเป็นผู้ที่มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง เช่น ตำรวจ กระโดดตึกตายมักเกิดขึ้นกับนักศึกษา เป็นต้น
จิตแพทย์ระบุว่า การฆ่าตัวตาย (Suicide) และโรคซึมเศร้า (Depression) มีความเกี่ยวข้องกัน โดยการฆ่าตัวตายในแง่ของจิตเวชศาสตร์นั้นถือเป็นอาการผิดปกติอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดร่วมกับปัญหาบางอย่าง การฆ่าตัวตายที่พบบ่อยมากอีกประเภทหนึ่งเกิดจากโรคซึมเศร้า บางคนมีปัญหาบุคลิกภาพ เมื่อมีปัญหาขัดใจกับใคร ก็จะทำร้ายตัวเอง เพื่อเรียกร้องความสนใจ บางคนเป็นโรคจิต ประเภทหูแว่ว โดยมีเสียงแว่วสั่งให้ฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ที่ไม่จัดว่าเป็นโรคจิตหรือโรคประสาท เป็นโรคที่รักษาให้หายได้ การฆ่าตัวตายด้วยสาเหตุจากโรคซึมเศร้ามักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เพราะผู้ป่วยมีเจตนาต้องการจบชีวิตจริงๆ แต่บางคนส่งสัญญานบอกให้คนอื่นล่วงหน้า เพียงแต่ต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น มีการเตรียมตัวตาย ฝากฝังลูกเมียไว้กับคนใกล้ชิด อาจมีการเขียนบันทึกหรือจดหมายลาตายไว้ล่วงหน้า มีการพูดคุยกับคนใกล้ชิด อาจทำพินัยกรรมไว้ทั้งที่ยังอายุไม่มาก หรือการบริจาคร่างกายโดยไม่เคยมีเจตนาเช่นนี้มาก่อน สิ่งเหล่านี้มักพบได้เมื่อมีการสอบถามรายละเอียดหลังการฆ่าตัวตายสำเร็จ โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่สังเกตได้ง่ายๆ วินิจฉัยไม่ยาก โดยเริ่มจากชอบเก็บตัวเงียบ ปลีกตัวออกจากเพื่อนฝูงทีละเล็กทีละน้อย จิตใจไม่ร่าเริง ไม่ชอบสนุกสนาน อารมณ์ไม่แจ่มใส หดหู่ เศร้า ท้อแท้ หมดหวัง เบื่อไปหมดแม้กิจกรรมที่เคยชอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว นอนไม่หลับ หรือตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถหลับต่อได้จนถึงเช้ามืด ตอนเช้าอารมณ์จะซึมเศร้ามาก พอสายๆ อาการจะดีขึ้น ไม่มีสมาธิหรือทำกิจกรรมได้นาน จิตใจวอกแวก คิดเรื่องโน้นเรื่องนี้วนเวียน วิตกกังวลง่าย ลังเล ขาดความมั่นใจตนเอง ความจำเสียไป เป็นคนขี้ลืม ความคิดและการพูดช้าลง เหนื่อยหน่ายอ่อนเพลียไม่มีแรง ไม่มีแรงกระตุ้นให้ทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ไม่พบหน้าใคร อยากอยู่เงียบๆคนเดียว รู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า ทำอะไรก็ผิดพลาด แล้วก็โทษว่าเป็นความผิดหรือความบกพร่องของตนเอง เบื่อชีวิตและคิดอยากตาย อาการที่รุนแรงที่สุดของโรคนี้คือ การฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้ารักษาได้ผลดี เนื่องจากสาเหตุของโรคเกิดจากการแปรปรวนของสารเคมีที่สมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ การใช้ยาจึงได้ผล แพทย์จะให้ยานานประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จนมีอาการปกติ การรักษาแบบจิตบำบัดแบบประคับประคองก็จะช่วยเสริมให้การรักษาได้ผลดี แพทย์จึงต้องนัดผู้ป่วยมาพบเพื่อพูดคุยกันเป็นระยะๆ แนะนำการปฏิบัติตัว แพทย์จะ ต้องพูดคุยกับญาติด้วยเพื่อสร้างความเข้าใจ และร่วมมือกันดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง บทบาทสำคัญของคนที่อยู่ใกล้ชิดผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าคือ การสังเกตอาการและช่วยดูแลเรื่องการกินยาให้สม่ำเสมอ บางทีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเห็นว่าตัวเองดีขึ้นแล้วเลยหยุดยาเอง อาการจะกลับเป็นอีก เวลาผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้ามากอาจไม่สนใจตัวเอง ไม่รีบมาหาแพทย์ คนใกล้ชิดจะช่วยได้โดยการรีบพามาพบแพทย์อย่างรวดเร็ว เราทุกคนอาจมีส่วนช่วยเหลือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการซึมเศร้าได้ ถ้าเห็นว่าคนใกล้ชิดเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ให้ลองถามอาการต่างๆของโรคซึมเศร้าข้างต้น ถ้ามีอาการมากกว่าครึ่งหนึ่งของอาการทั้งหมด ควรรีบแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์โดยเร็ว การเริ่มรักษาเร็วจะช่วยให้อาการสงบเร็วและป้องกันการฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ญาติพี่น้องของผู้ป่วยอาจมีโอกาสจะเป็นโรคซึมเศร้าได้ด้วยเช่นกัน วิธีการป้องกัน คือ การส่งเสริมการเลี้ยงดูให้เด็กพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตดี บุคลิกภาพดี ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคซึมเศร้าลงได้ และไม่หาทางออกให้แก่ตนเองด้วยวิธีการฆ่าตัวตาย
ในแง่มุมของศาสนาในทุกศาสนาที่มีต่อเรื่องการฆ่าตัวตาย ถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรง หรือเป็นบาปอย่างมหันต์ การทำลายชีวิตตนเองเป็นเรื่องที่ให้อภัยกันไม่ได้ ทุกศาสนามองว่า ชีวิตมนุษย์นั้นสูงส่ง และมีคุณค่า ไม่ควรทำลายกันไม่ว่าด้วยน้ำมือของใครก็ตาม หรือ ..... ซ้าเติมกัน เพราะจะเป็นแรงกระตุ้นให้พวกเขาหาทางจบชีวิตลงได้รวดเร็วและง่ายดายมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากมีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันว่า คนที่เคยพยายามฆ่าตัวเองตายครั้งแรกแต่ไม่สำเร็จ จะมีอัตราของการพยายามฆ่าตัวตายสำเร็จในครั้งต่อไปสูงกว่าคนที่พยายามฆ่าตัวตายในครั้งแรก ............................................
ข้อมูลอ้างอิง - กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข - นพ.พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |