*/
<< | กุมภาพันธ์ 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 |
ปกติแล้ว การทำสัญญาเป็นนักเรียนทุนไม่ว่าของหน่วยงานไหนก็ตาม เอกสารสัญญามักถูกเขียนมาโดยหน่วยงานนั้นๆ แล้วผู้รับทุนก็ยอมรับและถือปฏิบัติสืบต่อกันมาว่าต้อง “ชดใช้ทุน” และะการได้ทุนเล่าเรียนไม่ว่าระดับใด เราก็ถือว่าเป็นการประหยัดให้แก่ครอบครัว บางครอบครัวมีฐานะยากจน นอกจากนี้การได้ทุนของรัฐบาลหรือหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ยังถือเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองและครอบครัวอีกด้วย สัญญารับทุนเล่าเรียนของรัฐบาลก็มักไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก คือ 1.เมื่อไปเรียนจบก็ต้องกลับมาชดใช้ทุน เนื่องจากบ้านเรามีอยู่หลายสาขาอาชีพที่ยังขาดแคลนบุคลากร การชดใช้ทุนจึงถูกกำหนดเป็นระยะเวลาของการมาทำงานเพื่อชดใช้ทุน อาจจะเป็น 1 เท่า 2 เท่า หรือ 3 เท่าก็แล้วแต่จะถูกระบุไว้ในสัญญา 2. ถ้าไม่ทำตามข้อ 1 ก็จะต้องชดใช้ทุนเป็นตัวเงินจำนวนกี่เท่าก็ว่าไป และหากผู้รับทุนทำไม่ได้ทั้งข้อ 1 และ 2 ก็จะต้องเรียกเงินทุนคืนโดยเรียกจาก "ผู้ค้ำประกัน" ซึ่งในสัญญามักเป็นข้าราชการระดับ 5 ขึ้นไป เป็นต้น และ 3. กลับไปทำงานชดใช้ทุนในหน่วยงานที่กำหนดไว้ในสัญญา บางทีก็เป็นหน่วยราชการที่อยู่ไกลจากแสงสีหรือความเจริญ ปัจจัยข้อนี้มักเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลต่อการคงอยู่หรือไม่คงอยู่ของ "ผู้ชดใช้ทุน" เช่น แพทย์ อาจลาออกเพราะทนไม่ได้กับความทุรกันดาร
"การเบี้ยวทุน" หรือไม่ยอมกลับมาชดใช้ทุน เกิดขึ้นทุกๆ ปี เช่น นักเรียนแพทย์อาจถูกโรงพยาบาลเอกชนยอมจ่ายเงินชดใช้ทุนแทนให้ แต่ปัญหาการขาดแคลนแพทย์หรือบุคลากรจากการตั้งงบประมาณขอทุนในแต่ละปีก็ยังเป็นปัญหาขาดแคลนอยู่ การได้เงินมาชดใช้หนี้ทุนไม่ได้ทำให้ภาวะขาดแคลนแพทย์นั้นหายไป บุคลากรอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดปัญหาเป็นข่าวใหญ่ตอกรณีของทันตแพทย์คนหนึ่ง "เบี้ยวทุน" แล้วยังผลักภาระการชดใช้ทุนให้แก่ผู้ค้ำประกัน จนเกิดเป็นข่าวดัง ในรายนี้ ยิ่งประเด็น "การเบี้ยวทุน" โดยระบุสาเหตุว่าเกิดมาจาก “สัญญารับทุนที่ไม่เป็นธรรม”นั้น ยิ่งไม่เคยได้ยิน เพราะเมื่อเราลงนามสัญญารับทุน ย่อมถือว่าเราได้อ่านข้อความในสัญญาถี่ถ้วนดีแล้ว (แม้ท่านจะไม่ได้อ่านโดยละเอียดก็ตาม) แต่เมื่อเทียบกับตอนที่เราอยากได้ทุนนั้น “อะไรก็ยอมได้ทุนอย่าง” หรือ สัญญานั้นเป็นธรรมแล้ว ณ เวลานั้น
เมื่อเกิดเรื่องนี้ขึ้น ผู้เขียน (จขบ.) มีคำถามว่า ….. 1. ทำไมมหาวิทยาลัยมหิดลจึงจะไปฟ้องร้องความเสียหายคืนหรือแม้แต่จะฟ้องล้มละลายจากหมอฟันคนนั้น ก็ตาม ในเมื่อ ม.มหิดลก็ได้รับเงินค่าปรับคืนไปจนพอใจแล้ว จะมาเยียวยาไปใยในเมื่อคดีนี้กำลังจะหมดอายุความในอีกไม่กี่วันนี้ 2. ทำไมระบบการให้ทุนของประเทศไทยจึงต้องมีผู้ค้ำประกัน ในเมื่อกระบวนการคัดเลือกผู้ได้ทุนหรือการสอบคัดเลือกเข้าเรียนเกือบทุกสถาบันแทบไม่มีความน่าเชื่อถือได้เลยว่าจะได้คนดีจริงๆ การมีคนค้ำประกันก็เป็นผลักความเสี่ยงให้แก่คนค้ำประกันอยู่นั่นเอง 3. เหตุไฉน "ทุนอานันทมหิดล" (ทุนของในหลวง) ผู้เขียนเคยทราบว่า เป็นปณิธานที่พระองค์ที่ไม่ต้องการให้มีการชดใช้ทุน หรือแม้แต่การบังคับให้กลับมาทำงานใช้ทุนคืนตามระยะเวลาต่างๆ แต่ทว่าผู้ที่ได้รับทุนเหล่านี้ไปก็ล้วนกลับมาทำงานใช้ทุนอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ต่อแผ่นดิน จึงมีคำถามว่า ทุนรัฐบาลต่างๆ จะสามารถทำแบบ "ทุนอานันทมหิดล" ได้หรือไม่ ถ้าทำได้อาจจะมี"คนเบี้ยวทุน"มากมายก็เป็นได้..? 4. ทำไมการคัดเลือกคนได้รับทุนต่างๆ (หรือแม้กระทั่งสอบแอดมิสชั่นเข้าเรียน มหาวิทยาลัย)จึงวัดได้แต่ความเก่งของผู้รับทุน ซึ่งแทบจะไม่สามารถวัดคุณสมบัติทางจริยธรรม คุณธรรมกันได้เลยจริงๆ หรือแม้แต่การจำแนกคนดีออกจากคนไม่ดีก็แทบทำไม่ได้ 5. การที่ใช้บุคคลค้ำประกันเข้าเรียน เข้าทำงาน หรือเข้ารับทุน เป็นสิ่งควรดำเนินการต่อไปหรือไม่ ควรเปลี่ยนวิธีการตรวจสอบการรับทุนทั้งระบบหรือไม่ ประเทศเรายังมีบุคลากรสาขาอาชีพไหนที่ขาดแคลนหรือต้องการคนที่มีวิทยากรทันสมัย 6. ทำอย่างไร ระบบการคัดเลือกคนเข้าเรียนของบ้านเราจึงจะได้คนที่ดีจริง มีคุณธรรมกันจริงๆ เช่น ได้หมอที่มีความเป็นมนุษย์ ได้ทนายความที่มีอุดมการณ์ ได้พยาบาลที่มีความเมตตาต่อคนไข้ ได้อัยการที่มีความเที่ยงธรรม ฯลฯ ตลอดจนได้คนรับทุนที่ไม่ได้มุ่งแต่ทำข้อสอบให้ผ่านได้เข้าไปเรียน แต่แล้วก็ไปลอกข้อสอบ ลอกการบ้าน (การลอกการบ้านเป็นปัญหาที่บ้านเรามองกันแบบผ่านๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และอาจะเป็นสัญญาณๆ หนึ่งที่ได้คนที่ไม่มีคุณธรรม) แล้วคนเหล่านั้นก็เบี้ยวทุน 7. ทำอย่างไร คนไทยเราจึงจะมีจริยธรรมที่สูงขึ้น เพื่อยกระดับสังคมให้น่าอยู่ สำหรับทางออกของสัญญาการรับทุนเล่าเรียนต่างๆ กฎหมายและสัญญากำหนดให้ผู้ค้ำประกันมีสถานะเป็น "ผู้กู้ร่วม" เช่นเดียวกันกับประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ฉบับเดิมเช่นนั้นหรือ? การบังคับเรียกเงินทุนคืนจากผู้ค้ำประกันสามารถทำได้เท่าที่เจ้าของทุนจะกระทำต่อลูกหนี้และผู้กู้ร่วมเช่นนั้นหรือ?
ในเมื่อประเทศเราแก้ ป.พ พ.เกี่ยกับผู้ค้ำประกันให้เกิดความเป็นธรรมตามกฎหมายแก้ไข ป.พ.พ.ฉบับนี้แล้ว ทำไมเราจึงไม่แก้ลักษณะการบังคับใช้กฎหมายและสัญญาเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันเหล่านี้ด้วย หรือมีสัญญารับทุนเล่าเรียนที่เป็นธรรมต่อผู้ค้ำประกันบ้างหรือไม่?
ลองคิดกันเล่นๆ ดูนะครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |