มิตรภาพต่างวัยบนเส้นทางสายขอนแก่น หลวงพระบาง (๗) ในเบื้องต้นที่ผมตัดสินใจมาเยือนหลวงพระบางตามคำชักชวนของคุณสุมาลี สุวรรณกร ซึ่งได้ชวนไว้เมื่อตอนไปเที่ยวแม่เมาะร่วมกับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนั้นได้ตั้งความหวังเอาไว้ลึก ๆ ว่า อยากได้ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวหลวงพระบางในรูปแบบชนบทที่ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ตามที่ลาดเนินเขา หรือได้กลับไปเยี่ยมชมทุ่งนาที่เขียวขจี เหมือนเช่นอดีตแห่งหมู่บ้านที่ผมได้เคยสัมผัสเมื่อวัยเยาว์ แต่เมื่อได้มาเยือนหลวงพระบาง ณ ห้วงเวลานี้ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายภายใต้กลิ่นอายแห่งอารยะธรรมสมัยใหม่คือเสน่ห์ที่ได้พบเห็น แต่ที่ประทับใจลึก ๆ นั่นก็คือภาษาของชาวหลวงพระบางที่ละม้ายคล้ายคลึงกับภาษาไทยย้อชาวอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ที่มีภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แต่หากได้สัมผัสกับหลวงพระบางอีกสองสามวันผมอาจมีความประทับใจหลายสิ่งหลายอย่างมาบอกท่านผู้อ่านก็เป็นได้ครับ เยือนวัดอาฮาม : ปู่เยอ ย่าเยอ ผู้ปกปักรักษาเมืองหลวงพระบาง จากบริเวณหน้าอุโบสถวัดวิชุนราชจะมีทางเดินเชื่อมโยงผ่านประตูโขงขนาดเล็กเข้าสู่วัดอาฮามซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับวัดวิชุนราช สำหรับวัดอาฮามนั้นถือได้ว่าเป็นสะดือเมืองของหลวงพระบาง เดิมชื่อว่าบ้านหอเสื้อเมือง เป็นสถานที่เก็บชุด ปู่เยอ-ย่าเยอ ซึ่งจะมีการจัดงานรดน้ำในงานบุญเดือน 5 งานสงกรานต์ชาวหลวงพระบาง หรืออีกนัยหนึ่งนั้นถือเป็นวันปีใหม่ของชาวลาว หอกลองภายในวัดอาฮาม ตามตำนานนั้นวัดอาฮามก่อสร้างในปี พ.ศ. 2361 โดยพระเจ้ามันธาตุราช สำหรับบริเวณที่ก่อสร้างวัดนั้นเป็นบริเวณที่เจ้าฟ้างุ้มตั้งหอเมืองเมื่อครั้งที่สถาปนานครศรีสัตนาคนหุตล้านช้างห่มขาว ภายหลังเมื่อครั้งที่พระเจ้าโพธิสะราชขึ้นครองราชย์สมบัติได้รื้อศาลที่เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีในหลวงพระบาง เพื่อให้คนลาวนั้นเลิกนับถือเกี่ยวกับผี ภายหลังจึงมีการสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อเก็บชุด ปู่เยอ ย่าเยอ ที่เป็นที่นับถือของชาวหลวงพระบาง ภายใน หอเทวดาหลวง หรือ หอเสื้อเมือง ที่อยู่ในวัดอาฮามนั้นชาวหลวงพระบางมีความเชื่อว่าเป็นสถานที่สิงสถิตย์ของปู่เยอ-ย่าเยอ ซึ่งชาวลาวมีความเชื่อว่าเป็นมนุษย์คู่แรกของโลกที่ปกปักรักษาผืนดิน ผู้คนและสายน้ำของชาวหลวงพระบางตลอดมา มีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับปู่เยอ - ย่าเยอเมื่อครั้งอดีตว่าเมื่อครั้งที่มนุษย์ลงมาจากแดนสวรรค์ใหม่ ๆ นั้นภายในเมืองหลวงพระบางเกิดมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมเมืองจนพระอาทิตย์ไม่สามารถสาดส่องลงมายังพื้นดินได้ จึงทำให้ชาวหลวงพระบางได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาทำให้ปู่เยอ ย่าเยอ ออกมาขุดต้นไม้ขนาดใหญ่ออกทิ้งจนหมด จึงทำให้ดวงอาทิตย์ส่องลงมาให้ความสว่างกับชาวหลวงพระบางเป็นปกติเช่นเดิม นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวหลวงพระบางจึงนับถือปู่เยอ ย่าเยอ ว่าเป็นผู้ปกป้องรักษา และถือเป็นเทวดาประจำเมืองมาจนถึงปัจจุบัน สิมและศาสนาสถานในวัดอาฮาม ชาวหลวงพระบางจะมีพิธีไหว้และถวายสังฆทาน ในช่วงก่อนวันสงกรานต์ จากนั้นจะมีขบวนแห่ปู่เยอ ย่าเยอ และสิงห์แก้วสิงห์คำจากภายในตัวเมืองเพื่อไปตักน้ำจากแม่น้ำคาน ซึ่งชาวหลวงพระบางมีความเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตย์ของท้าวคำหล้า หลังจากนั้นจะมีขบวนแห่รอบเมืองเพื่อให้ชาวหลวงพระบางได้รดน้ำปู่เยอ ย่าเยอตลอดสองเส้นทางได้อย่างทั่วถึง ความเชื่อเกี่ยวกับภูติผีวิญญาณหรือสิ่งอยู่เหนือธรรมชาตินั้นมีมีให้ปรากฎเห็นได้ทั่วไปในวัฒนธรรมและประเพณีพื้นถิ่นของผู้คนสองฝั่งโขง เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้รำลึกถึงบรรพบุรุษและดวงวิญญาณที่เป็นที่เคารพนับถือมาจนถึงปัจจุบัน แต่ลึก ๆ ลงไปในวิถีปฏิบัติแล้วคือเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในสังคมนั้นให้มีความรักใคร่ปรองดองและมีความสามัคคีในหมู่คณะ และทำให้ประเพณีและวัฒนธรรมนั้นอยู่คงคู่กับสังคมนั้นตลอดไป เยือนหอพิพิธภัณฑ์เมือง : ถิ่นลำนำขับทุ้มหลวงพระบาง การเดินทางท่องเที่ยวภายในเมืองหลวงพระบางนั้นมีให้เลือกตามความรสนิยมของผู้มาเยือน หากต้องการเยี่ยมชมมนต์เสน่ห์ของหลวงพระบางเพียงลำพังอาจเลือกใช้วิธีเดินทางด้วยสองเท้ารอบเมืองในวันที่อากาศไม่ร้อนมากนัก อาจมีแผนที่บอกรายละเอียดเป็นเพื่อนเดินทางตามใจปรารถนา เหนื่อยนักพักระหว่างทางหรือพักอาหารเครื่องดื่มตามร้านอาหารรายทางซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามรายทางภายในตัวเมือง และมีให้เลือกตามรสนิยมของแต่ละคน หยุดบันทึกภาพในแง่มุมที่สนใจ อาจเป็นวัดวาอาราม วิถีชีวิตของผู้คน เรียกได้ว่าใช้เวลาหลายวันกว่าที่จะเก็บเกี่ยวรายละเอียดให้ครบถ้วน ส่วนท่านที่ชื่นชอบการปั่นจักรยานหรือมอเตอร์ไซด์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ชาวหลวงพระบางมักนิยมถีบจักรยานหรือรถมอเตอร์ไซด์เป็นพาหนะหลักในการเดินทาง ภายในตัวเมืองหลวงพระบางจึงมีทั้งรถจักรยานและรถมอเตอร์ไซด์วิ่งกันขวักไขว่ เป็นเสน่ห์ลึก ๆ ที่ประทับใจสำหรับผู้มาเยือนรวมทั้งตัวผมด้วย ร้านค้าย่านบ้านเจ็กเมืองหลวงพระบาง จากวัดวิชุนราชรถจัมโบ้เพื่อนที่แสนดีพาพวกเราออกจากบริเวณหน้าวัดวิชุนราชมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่พระราชวังเจ้ามหาชีวิต (Royal Palace Mus eum) ซึ่งเคยเป็นวังที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เจ้ามหาชีวิตของลาวในอดีต ตลอดเส้นทางจากวัดวิชุนราชเลียบลำน้ำคานไปจนถึงถึงบริเวณทางขึ้นพระธาตุพูสี มองเห็นย่านเมืองเก่าหลวงพระบางตามรายทาง บางส่วนได้รับการปรับปรุงให้เป็นบ้านพักอาศัยและร้านอาหารเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน จากถนนเลียบแม่น้ำคานมาถึงย่านชุมชนค้าขายที่ชาวหลวงพระบางเรียกว่า หมู่บ้านเจ๊ก ย่านถิ่นอาศัยของชาวจีนในอดีต ปัจจุบันมีการดัดแปลงเป็นที่พักอาศัย ร้านอาหาร และร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกที่ได้รับการออกแบบตกแต่งภายในร้านไว้บ่งบอกถึงรสนิยมของผู้มาเลือกซื้อหาได้เป็นอย่างดี ร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกย่านบ้านเจ็ก ถึงบริเวณหน้าหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง มองเห็นทิวต้นตาลเป็นแนวยาวสองข้างถนนที่มุ่งสู่หอพิพิธภัณฑ์ ส่วน ด้านตรงข้ามจะตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นพระธาตุพูสี ซึ่งมีต้นจำปาขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ในการเยี่ยมสถานที่แต่ละแห่งผู้เป็นไกด์จะแจ้งกำหนดเวลาในการเยี่ยมสถานที่แต่ละครั้งเพื่อเป็นสัญญาณนัดหมายในการเดินทางไปยังสถานที่ตามกำหนดไว้โปรแกรมต่อไป เรื่องการนัดหมายเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากคาดแคล้วเวลากันเพียงคนเดียวก็ต้องเสียเวลารอกันทั้งคณะ เวลาสำหรับการเยี่ยมชมหอพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนเข้าสู่หน้าหอพิพิธภัณฑ์คณะเราถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐานก่อนจะแยกออกเป็นสองคณะ คณะหนึ่งสมัครใจเข้าชมภายในหอพิพิธภัณฑ์ ส่วนอีกคณะขอเยี่ยมชมภูมิทัศน์และสิ่งก่อสร้างภายในอาณาบริเวณหอพิพิธภัณฑ์ ผมและคณะอีกส่วนหนึ่งสมัครใจขอชมทัศนียภาพภายนอกหอพิพิธภัณฑ์ โดยแวะบริเวณด้านซ้ายมือซึ่งเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ (ท่านไกรสร) เจ้ามหาชีวิตผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประเทศลาวเมื่อปี พ.ศ. 2490 อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประเทศลาวในปี พ.ศ. 2490 เลยจากอนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์เข้าไปจะมองเห็นตึกทรงฝรั่งเศสตั้งอยู่ในดงมะพร้าวรอบข้าง สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของโรงละครแห่งชาติของลาว บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมการแสดงของลาวเมื่อครั้งอดีต ในวันที่คณะเราไปเยี่ยมชมแว่วเสียงขับทุ้มหลวงพระบางดังมาจากภายในโรงละคร ถ้อยสำเนียงการขับขานลำนำพื้นบ้านบ่งบอกถึงอดีตแห่งชาติพันธุ์ ส่งสายใยแห่งความผูกพันมาถึงปัจจุบัน โรงละครแห่งชาติของลาว ท่วงทำนองช่างคุ้นเคยกับบทเพลงลูกทุ่งแบบไทย ๆ หนึ่งในจำนวนนั้นคือเพลง ลำกล่อมทุ่ง ขับร้องโดยนักร้องสาวจากเมืองอุบลราชธานี ไพลิน พรพิบูลย์ เพลงนี้ครูสุรินทร์ ภาคศิริแต่งไว้เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักแม่น้ำมูล เมื่อหลายปีก่อน หากเป็นนักร้องอีสานยุคต่อมาที่นำท่วงทำนองแบบนี้มาขับขานแบบลูกทุ่งไทยอีสานเห็นจะเป็นผลงานของราชินีหมอลำบานเย็น รากแก่น ผ่านการเขียนคำร้องโดยครูดอย อินทนนท์ ส่วนรุ่นใหม่จริง ๆ เท่าที่เคยฟังมาเพลง แสงเดือนถามข่าว แสงดาวนำทาง ขับร้องโดยไผ่ พงศธร เขียนคำร้องโดยวสุ ห้าวหาญ น่าจะได้แรงบันดาลใจจากท่วงทำนองขับทุ้มหลวงพระบาง ฟังแล้วคะนึงถึงบ้านเกิดได้อย่างประหลาดใจ สายธารแห่งวัฒนธรรมร้องรำทำเพลงสองฝั่งโขงต่างเกื้อหนุนและส่องนำทางซึ่งกันและกัน เพียงแต่ว่าจะนำไปประยุกต์และดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมการร้องรำของแต่ละประเทศได้มากน้อยเพียงใด สิ่งสำคัญก็คือการเข้าใจถึงแก่นแท้ในรากเหง้าของความเป็นพื้นถิ่นที่หลายคนถวิลหา เหมือนกับคณะเราที่คั้นด้นมาถึงพื้นที่ที่รักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษให้ชาวโลกได้ชื่นชม และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้สึกดี ๆ มาเล่าสู่คุณผู้อ่านครับ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ศิลปะ : ดนตรี : เพื่อชีวิต | ||
![]() |
||
เส้นทางสายศิลปะ ดนตรี เพื่อชีวิต ที่เห็นและเป็นอยู่ |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 |