กระเบื้องเมืองเก่า สูญหาย แต่ไม่ลบเลือน ประวัติการทำกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา เล่ากันว่าชาวจีนอพยพเป็นผู้ริเริ่ม ต่อมาคนไทยรับช่วงต่อและได้ขยายการทำออกไปอย่างกว้างขวาง จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ กรุงเทพฯ และประเทศมาเลเซีย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอจะสืบค้นได้ แสดงถึงความเจริญแพร่หลายตั้งแต่ปลายรัชกาลที ๓ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ดังปรากฏในใบบอกเมืองสงขลา และเอกสารอื่น ๆ ว่า กระเบื้องดินเผาเมืองสงขลามีการนำไปใช้ในกิจการที่สำคัญ ดังนี้ พ.ศ. ๒๓๙๗ (ร.๔) โปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์เมืองสงขลาทำกระเบื้องหน้าวัวปูพื้น ๕๐๐๐๐ แผ่นใช้ปูบริเวณรอบอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม พ.ศ.๒๔๐๖ (ร.๔) มีรายการส่งกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลา ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรก เกณฑ์เมืองสงขลาทำกระเบื้องดินปูพื้น ๒๐๐๐ แผ่นและขนาดเล็กอีก ๒๐๐๐ แผ่น ครั้งที่ ๒ เกณฑ์เมืองสงขลา ทำกระเบื้องหน้าวัวปูพื้น ๔ ชนิด ๆ ละ ๒๐๐๐ แผ่น ๘๐๐๐ แผ่น นำไปพระราชวัง จันทรเกษมที่อยุธยา ครั้งที่ ๓ เจ้าพระยาสงขลา (บุญสังข์) ส่งกระเบื้องมุงหลังคาตัวผู้ตัวเมียอย่างละ ๑๐๐๐๐ แผ่น รวม ๒๐๐๐๐ แผ่น พ.ศ.๒๔๑๙ (ร.๕) เมืองสงขลามีใบบอกส่งกระเบื้องเกณฑ์ ๕ ครั้ง จำนวนกระเบื้องทั้งหมด ๖๘๐๐๐ แผ่น พ.ศ.๒๔๕๓ (ร.๕) มีการนำเอกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลาไปใช้มุงหลังคาพระวิหารหลวง ในการซ่อมแซมพระบรมธาตุไชยา และในอดีตกระเบื้องดินเผาสงขลา ยังมีประวัติส่งออกไปยังเมืองปีนัง จนเป็นที่ยอมรับและให้เกียรติและเรียกกระเบื้องในรูปแบบนี้ว่า Singora tile แหล่งผลิตกระเบื้องดินเผาเมืองสงขลาที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณชายฝั่งทะเลสาบทิศตะวันตกของเมือง ตั้งแต่บริเวณท่าอิฐ ท่าสะอ้าน ขึ้นไปจนถึงบริเวณบ้านท่านางหอม ตำบลน้ำน้อย บริเวณวัดโคกเบี้ยว หมู่ที่ ๖ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา และบ้านบางโหนด หมู่ที่ ๑ -๒ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ ปี พ.ศ.๒๕๒๗ พบว่า มีเตาเผากระเบื้องทั่วบริเวณดังกล่าวไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เตา มีเตาที่อยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมใช้งานได้ประมาณ ๕๐ เตา นอกนั้นชำรุดเหลือแต่ซากเตาและร่องรอยเตา มีผู้ประกอบการอยู่ ๓ ครอบครัว อยู่ในเขตบ้านท่านางหอม ๒ ครอบครัวและบ้านบางโหนด หนึ่งครอบครัว แต่ในปัจจุบันมีการผลิตกระเบื้องดินเผาอยู่แห่งเดียวในจังหวัดสงขลา คือ ที่บ้านท่านางหอม แผนที่แสดงผังทางเดินบ้านหลังที่ยังใช้กระเบื้องดินเผา
บ้านนครใน
บ้านนครในเป็นบ้านที่มีความเก่าแก่ซึ่งการนำกระเบื้องดินเผามาใช้นั้นก็มีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก เหตุผลที่นำมาใช้ก็เพื่ออนุรักษ์ความเป็นไทย ให้มีความเข้ากับสภาพของย่านเมืองเก่าและที่นี้ก็เปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์จะต้องทำให้มีความเก่าแก่และกลมกลืนกับย่านนี้ เพราะแถบนี้ก็มีอายุ100กว่าปีและในบ้านนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นวัตถุโบราณทั้งสิน
สำหรับกระเบื้องดินเผาที่เห็นในบ้านนครในหลังนี้กระเบื้องที่นี้เป็นกระเบื้องที่เพิ่งนำมาเปลี่ยน แต่ก็สั่งทำให้เหมือนเก่ามากที่สุด ซึ่งกระเบื้องเก่าได้เกิดการเสื่อมสภาพ พี่ก็ไม่สารารถรู้ได้ว่าเคยใช้มานานเท่าไหร่แล้ว กระเบื้องดินเผาสามารถใช้ได้นานกว่ากระเบื้องในปัจจุบันเพราะกระเบื้องพวกนั้นจะเปราะบางแต่กระเบื้องดินเผาจะมีความหนาและละเอียดมากกว่าและจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเสื่อมสภาพอาจจะตกแตกจึงเปลี่ยนใหม่
คิดว่าขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าบ้านแต่ละหลังและแปลนการสร้างบ้านว่าจะนำมาประยุกต์ให้เข้ากับแบบบ้านไหม ซึ่งกระเบื้องดินเผานี้เหมาะสำหรับบ้านโทนสีน้ำตาลโทนสีส้ม กระเบื้องดินเผาน่าจะมีต่อไปในอนาคต ไม่สูญหายไปแน่นอนในพื้นที่อื่นอาจจะระบุไม่ได้แต่มั่นใจว่าในย่านเมืองเก่านี้ยังคงมีต่อไปอย่างแน่นอน บ้านนครใน
กระเบื้องดินเผาตามที่ลุงพอจะรู้ คือมีต้นกำเนิดอยู่ที่เกาะยอและเป็นแหล่งที่มีดินดีที่สุด ซึ่งจะมีเต่าเผาเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ที่สวนประวัติศาสตร์ และในพื้นที่เกาะยอ ซึ่งชาวบ้านในสมัยก่อนๆ ได้คิดวิธีการแปลงสภาพผ่านกระบวนการต่างๆมาเป็นกระเบื้องบ้าง อิฐ กระเบื้องขัดบ้าง สำหรับเมืองเก่าสงขลานี้มีมานานมากแล้ว ถือเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่สำคัญ บ้านเรือนในแถบนี้ก็เป็นบ้านทรงจีนสมัยโบราณและยังมีการมุงหลังคาจากกระเบื้องดินเผาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้มีมากแล้ว
สำหรับในบ้านนครในนี้ กระเบื้องดินเผาเก่าได้หมดสภาพจึงสั่งทำมาใหม่ มาประยุกต์ให้เหมือนเดิมมากที่สุด เพื่อคงความเป็นเมืองเก่าสงขลาไว้ กระเบื้องดินเผาสามารถใช้ได้เป็น100 กว่าปี หากไม่เกิดการเสื่อมสภาพ ภัยธรรมชาติ พายุต่างๆ เพราะมีความหนาและความคงทน
ลุงคิดว่าน่าจะมีการใช้น้อยลง เพราะกระเบื้องดินเผานี้ทำได้ยาก ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็สูง ถึงผลิตได้ก็มีคุณภาพน้อยกว่าในอดีต และที่ยังมีอยู่ในแถบนี้ก็เพื่อย้อนให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นถึงความสวยงามในอดีต
บ้านป้าสุดา เจริญกลกิจ
บ้านเลขที่ 109 ถนน นครใน บ้านหลังนี้สร้างใน พ.ศ ใดไม่ปรากฏในหลักฐานแต่ในเมื่อหลายปีมาแล้ว กรมศิลปกรได้มาตรวจสอบดูบอกว่า อายุไม่ต่ำกว่า 200 กว่าปีแล้ว
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระเบื้องดินเผาที่นำมาใช้ ป้าคิดว่าบ้านหลังอื่นๆจะมีการนำกระเบื้องนี้มาใช้รึเปล่า ในอนาคตต่อไป ? ถ้ากระเบื้องนี้มีการรื้อถอนคงจะต้องนำกระเบื้องสมัยใหม่มาใช้ กระเบื้องแบบนี้คงจะมีแล้ว เพราะ กระเบื้องแบบนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยป้ายังไม่เกิด กระเบื้องที่นำมาใช้ส่วนใหญ่นำประเทศจีน
ไม่ได้มีการเปลี่ยนใหม่ แต่ได้มีการซ่อมกระเบื้องที่ชำรุดและเสื่อมสภาพ โดยการนำปูนไปฉาบไว้ แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนกระเบื้องแต่อย่างใด ถ้าคิดจะเบื้องเปลี่ยนกระเบื้องคงจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะโครงสร้างของบ้านใช้ไม้ขนาดใหญ่ ถ้าจะรื้อถอนก็คงจะลำบาก
แต่ในอนาคตคงเป็นเรื่องของลูกหลานแล้ว
ผู้ให้สัมภาษณ์ : บ้านป้าสุดา เจริญกลกิจ เจ้าของบ้านอายุ 82 ปี
บ้านลุงไพฑูรย์ กปิลกาญจน์ บ้านเลขที่ 95 ถนน นครใน กระเบื้องนี้มีตั้งแต่ทวดหลวงสุขเกษม มีมาตั้งแต่สมัยปู่ทวดของพ่อหลวงสุขเกษมคนนี้ ระยะเวลาของกระเบื้อง ประมาณเกือบ 200 ปีมาแล้ว
ไม่มีการเปลี่ยนเลย แต่เมื่อสักประมาณ 4 ปีที่แล้ว มีพายุมาก็มีการเลื่อนตัวของกระเบื้อง ปูนเสื่อม มีการสร้างรื้อกระเบื้องขึ้นมาใหม่ฉาบปูนแล้วก็เอากระเบื้องเดิมเรียงเข้าไปใหม่
สภาพการใช้งานของกระเบื้องปัจจุบันกับกระเบื้องนี้อันไหนใช้งานดีกว่าและทนทานมากกว่า กระเบื้องนี้มีความคงทนมากกว่า ก็เลยใช้มามากกว่า 200 ปี จากที่ฟังมา เขาเล่าว่ารับมาจากประเทศจีน
ก็ยังคงใช้แบบนี้ต่อไป ผู้ให้สัมภาษณ์ : บ้านลุงไพฑูรย์ กปิลกาญจน์ เจ้าของบ้านอายุ 60 ปี
แม้ในปัจจุบันกระเบื้องดินเผาจะเหลือน้อยเต็มที แต่กลุ่มคนเมืองเก่าสงขลาก็ยังยืนยันจะรักษาและเล็งเห็นถึงคุณค่าของกระเบื้องดินเผาที่สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษให้ดำรงอยู่ต่อไปคู่เมืองเก่าสงขลาอีกนานเท่านาน. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |