. . เรื่องราวที่ผมเล่าสู่กันฟังในบทนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2555 ทั้งหมดครับ . วันนั้น...เป็นวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ . ซึ่งปรากฏผลว่า เบอร์ 4 "กรุณา ชิดชอบ" โกยคะแนนอย่างถล่มทลาย เข้ามาเป็นเชียร๋ลีดเดอร์..เอ๊ย ! ! เป็นนายก อบจ.บุรีรัมย์ อีก 1 สมัย และวันนั้น...เป็นวันที่ผมได้ลัดเลาะไปตามชุมชนต่าง ๆ ในบุรีรัมย์ จึงมีโอกาสเห็นการเมืองสนุก ๆ ที่ซุกซ่อนอยู่ในปราสาทหิน . . อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ผมผ่านคราใด ต้องแวะซื้อ "กุ้งจ่อม" ทุกครั้ง กุ้งจ่อมประโคนชัยอร่อยแค่ไหน? ผมบอกไม่ได้เต็มปาก รู้เพียงว่ากุ้งจ่อมประโคนชัยมีชื่อเสียงโด่งดัง ที่สำคัญแม่ยายผมชอบทานเป็นพิเศษ อำเภอประโคนชัย ผมไปเที่ยวมาแล้วหลายครั้ง มีปราสาทหินที่มีชื่อเสียงและสวยงามหลายปราสาท เช่นปราสาทหินเมืองต่ำ ปราสาทหินบ้านบุ ปราสาทหินหนองกงหรืออีกชื่อหนึ่งคือกุฎีฤษีหนองบัวราย ทุก ๆ ปราสาทที่เอ่ยชื่อมาข้างต้น ผมและชาวโอเคเนชั่นส่วนหนึ่งไปดูกันมาแล้ว แต่มิใช่เพียงแค่นั้น ประโคนชัย ยังมีอีกหลาย ๆ สิ่งที่น่าสนใจ และผมยังไม่เคยได้พบเห็น วันเวลาที่ผ่านมา ผมเพียงโฉบผ่านประโคนชัย แต่ครั้งนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผมได้นอนพักที่บ้านละเวี้ย โดยอาจารย์เจี๊ยบให้เหตุผลว่า จะได้มีเวลาเดินดูปราสาทกันเยอะ ๆ . . . . บ้านละเวี้ย (Ban Lavia) อาจารย์เจี๊ยบบอกผมว่า.....เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากการอพยพของชาวบ้านละเวี้ย ส่วนใหญ่เป็นชาวเขมรสูงหรือเขมรบุรีรัมย์ (ขแมร์ลือ) และชาวไท ลาว (ลาวอีสาน) จากอีสานตะวันออก เหนือ อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนตรงบริเวณบ้านหลักทางทิศใต้ แล้วขยับขยายขึ้นมาทางทิศเหนือตามลำเสวที่โคกเนินบ้านละเวี้ย . มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า บ้านละเวี้ยก่อตั้งมานานกว่า 200 กว่าปี มีตา-ยาย คู่หนึ่ง อาศัยอยู่ที่บ้านบัวราย (บ้านหลัก) อพยพมาแผ้วถางป่าตรงบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านละเวี้ยในปัจจุบัน ที่บริเวณแถบนี้มีต้นมะเดื่อขึ้นอยู่มากมาย ในภาษาขแมร์จะเรียกมะเดื่อว่า "ละเวี้ย"
สองตายายมาพักอาศัยใต้ต้นมะเดื่อใหญ่ 2 ต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่ร่มรื่น มีสัตว์ป่านานาชนิดมาอาศัย ในขณะที่สองตายายกำลังแผ้วถางป่า ก็ได้พบใบพัทธสีมา 8 หลัก เป็นที่ประหลาดใจกับสองตายาย เห็นว่าคงเคยเป็นโคกวัดเก่ามาก่อน ชาวบ้านหลักจึงชวนกันอพยพมาตั้งหลักแหล่งรอบ ๆ บริเวณที่ร่มรื่นหลายครอบครัว และเรียกชื่อหมู่บ้านตามต้นไม้ใหญ่ว่า "บ้านละเวี้ย" .
ปัจจุบันยังคงเหลือใบพัทธสีมาศิลปะแบบอยุธยาตอนกลาง ปลายแตกหักอยู่หน้าโบสถ์วัดละเวี้ย (วัดอุทุมพร) อยู่ 4 5 หลัก ส่วนใบเสมาที่สวยงามสมบูรณ์ ชาวบ้านเล่าว่าถูกนำออกไปเที่ยวเมืองนอกเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว) !!! http://www.oknation.net/blog/voranai/2011/12/11/entry-1 . บรรยากาศยามเช้ารอบ ๆ บ้านละเวี้ยสดชื่น บริสุทธิ์ ผมสูดอากาศเข้าเต็มปอดหลังจากการหลับสนิทมา 9 ชั่วโมงเต็ม ๆ การเดินทางชมปราสาทในสไตน์ของอาจารย์เจี๊ยบ บอกตรง ๆ ว่า โหด มัน ฮา ดูหินเป็นเรื่องใหญ่ ไม่สนใจรายละเอียดรายทาง มองข้ามความบันเทิงเรื่องอื่น ๆ หมดสิ้น . . เราร่ำลา "ครูวิยะ ศรีพรหม" เพื่อนรุ่นน้องจุฬาฯของอาจารย์เจี๊ยบซึ่งเป็นเจ้าของบ้านตั้งแต่เช้ามืด และแวะชมใบเสมาที่วัดละเวี๊ย "ปัจจุบันยังคงเหลือใบพัทธสีมาศิลปะแบบอยุธยาตอนกลาง ปลายแตกหักอยู่หน้าโบสถ์วัดละเวี้ย (วัดอุทุมพร) อยู่ 4 5 หลัก ส่วนใบเสมาที่สวยงามสมบูรณ์ ชาวบ้านเล่าว่าถูกนำออกไปเที่ยวเมืองนอกเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว) !!! " ผมหยิบคำของอาจารย์เจี๊ยบมาตอกย้ำอีกครั้งหนึ่ง . . เรื่องใบเสมา เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ท่านบล็อกเกอร์ "คมฉาน ตะวันฉาย" หรือพี่อัฎเคยตั้งปุจฉาไว้ว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย อาจารย์เจี๊ยบ จึงเขียนสรุปเป็นข้อ ๆ เคร่า ๆ ไว้ว่า . เรื่องเป็นเสมา เป็นคติผสมผสาน กันหลายรอบหลายยุค - ยุคแรก เรียกว่า "วัฒนธรรมหินตั้ง" จะเจอกระจายตัวทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยันจีนตอนใต้ ช่วงนี้ยังคงไม่ได้เรียกว่าเสมา ใช้ล้อมพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ถูกอุปโลกน์ให้เป็น ของชุมชนหนึ่ง . . ปราสาทหลังแรกที่เราได้พบในเช้าวันนี้ คือ "ปราสาทละลมทม" การดูปราสาทของผมกับอาจารย์เจี๊ยบ แต่ละสถานการณ์จะไม่เหมือนกัน บางครั้งเรามองในแง่ประวัติศาสตร์ บางครั้งเรามองในแง่สถาปัตย์กรรม บางครั้งมองในแง่วิถีชุมชน พูดง่าย ๆ ว่ามองไปเรื่อย ๆ คิดไปเรื่อย ๆ ไม่ไปติดยึดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากนัก อย่างเช้านี้ กว่าจะหาตัวปราสาทละลมทมพบ เราต้องขับรถไปในทุ่งนาของชาวบ้าน สนุกสนานดีครับ . ปราสาทละลมทม ตั้งอยู่ที่บ้านศรีสุข ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด มีสภาพชำรุดพังลงมาทั้งหลัง ยังไม่ได้รับการบูรณะซ่อมแซม ดูปราสาทที่พังลงมานอนกับพื้นนี่แหละครับสนุกดี เพราะต้องใช้จินตนาการมาก ๆ ดูแล้วจะวาดภาพเบื้องหน้าอย่างไรก็ได้ แล้วแต่เราจะคิดครับ . . . นักเดินทาง หรือนักท่องเที่ยว มักจะไม่ให้ความสนใจกับปราสาทที่พังกองกับพื้น เพราะมองแล้วไม่เจริญหูเจริญตาเท่าไหร่ แต่นักสำรวจ ชอบที่จะไปเดินย่ำอยู่ตามกองเศษหินเศษดินเหล่านี้ บางครั้งได้พบกระเบื้องแปลก ๆ สักชิ้นที่ไม่เคยได้เห็น ก็มีความสุขแล้วครับ . . ดูโรงงานถลุงเหล็กที่วัดโคกประเดียก . อาจารย์เจี๊ยบให้ความรู้กับผมอีกว่า ในสมัยโบราณ แถบถิ่นอิสานใต้นี้ มีการหลอมเหล็กถลุงเหล็กมาใช้กันเอง มีเตาหลอมเหล็กมากมาย ผมให้ความสนใจ อาจารย์เจี๊ยบจึงพาไปดูแหล่งที่เคยถลุงเหล็ก โดยเราแวะไปที่ "วัดโคกประเดียก" บ้านโคกประเดียก ตำบลละเวี้ย อำเภอประโคนชัย สภาพพื้นที่วัดเป็นโคกสูง มีต้นไม้ร่มรื่น เราได้เห็นขี้ตะกรันเหล็กบนพื้นดินมากมาย ผมจะไม่กล่าวถึงการถลุงเหล็กนะครับ เพราะเป็นเรื่องที่ยืดยาวมากทีเดียว นอกจากเตาถลุงเหล็กแล้ว อิสานใต้ ยังมีเตาสำหรับเผาเครื่องปั้นดินเผาหลายแห่ง ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ ใบที่สมบูรณ์จะอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ ส่วนที่กอง ๆ อยู่กับพื้น คือเศษกระเบื้องแตก ๆ หัก ๆ เท่านั้น . . . หลังจากที่ขับรถอยู่ในทุ่งนามาหลายชั่วโมง อาจารย์เจี๊ยบหักรถเลี้ยวขึ้นถนนใหญ่ ในตอนนั้นผมเริ่มหลงทิศแล้วว่าเรากำลังจะไปทางไหนกันแน่ พลันสายตาเหลือไปเห็นป้ายข้างทาง เขียนชัดเจนว่า "ปราสาท" ยังงี้ต้องแวะครับ . ปราสาทหลังนี้ หากไม่ตั้งใจจะแวะดู ก็ไม่มีอะไรน่าสนใจนัก เพราะเป็นเพียงเนินดินกองอยู่ข้างถนน มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมครึ้มไปทั่ว มีก้อนหินโผล่ให้เห็นเพียงเล็กน้อย . เมื่อเดินอ้อมมาอีกด้านหนึ่ง ผมได้พบกับก้อนหินใหญ่น้อยมากมาย ผมจินตนาการว่า สถานที่แห่งนี้คงจะเป็นสถานที่วางรูปเคารพของชุมชนในสมัยนั้น . อาจารย์เจี๊ยบสอนให้ผมดูวิธีการเข้ากรอบประตูหน้าต่างของช่างโบราณ มองแล้วน่าทึ่งมาก ๆ ครับ . เที่ยวชมปราสาทในหมู่บ้านจนเพลินครับ เราหันหัวรถเข้าสู่ตัวเมืองอำเภอบ้านกรวด ผมเริ่มรู้สึกหิว หันไปดูป้ายชื่อหมู่บ้าน เอ้า ! เที่ยงแล้วนี่หว่า......พักฉันเพลดีกว่า.... . . การชมปราสาทหินวันนี้ยังไม่จบสิ้นกระบวนความครับ ต้องเล่ากันต่อในตอนต่อไป เอ็นทรีขอพักไว้แค่เที่ยงวัน หากนำเสนอยืดยาวเกินไป เกรงใจท่านผู้อ่าน แต่...สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะร่วมเดินทางทัวร์วัฒนธรรมที่เรณูนคร และแขวงคำม่วนประเทศลาว ในสไตน์อาจารย์เจี๊ยบ ยังมีที่นั่งสำหรับท่านที่สนใจนะครับ เต็มครบจำนวนเมื่อไหร่ ผมจะปิดทันทีครับ http://www.oknation.net/blog/panakom/2012/03/12/entry-3 . |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มีนาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |