. การออกไปแสดงตนในลักษณะจิตอาสา หรือจิตสาธารณะของชาวโอเคเนชั่นตามสถานที่ต่าง ๆ ในแต่ละครั้ง เรามักจะมีกิจกรรมหลาย ๆ อย่างพร้อมกันไปในทริปเดียว เพราะการรวมตัวบล็อกเกอร์ให้ได้จำนวนมาก ๆ และเดินทางมาจากหลากพื้นที่ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายดายนัก อย่างกรณีเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ และวันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ นั้น กิจกรรมหลักที่กำหนดไว้ คือทำโป่งให้ช้างที่ป่าสลักพระ...ในวันเสาร์ และทัศนศึกษาแหล่งซากดึกดำบรรพ์ของจังหวัดกาญจนบุรี...ในวันอาทิตย์ . . วันอาทิตย์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๖ . (ภาพภาษาหลากสี) ก่อนลาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ ชาวโอเคเนชั่น น้อมจิตใจถวายกองผ้าป่ากับพระโจ้ อุทิศส่วนกุศลให้พี่นุ . . มอบเงิน..สิ่งของต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านเหล่านั้นดูแลป่า ดูแลสัตว์ป่าแทนพวกเรา . . กิจกรรมถ่ายภาพ...เป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก... สิริรวมอายุได้ ๓๐๐ ปี พอดี.....เรียกชื่อภาพนี้ว่า "สาว ๓๐๐ ปี" ...ฮา !.... . . สองนี้คนรวมกัน ครึ่งร้อยนิด ๆ .... . . ผมชอบแอบถ่ายนางเอกภาพยนต์คนนี้มาก น้องยุ้ยสวยทุกอิริยาบท..สร้างความชื่นฉ่ำใจแก่ผู้พบเห็น . . ...๔ คน ๔ จังหวัดมาเจอกัน......กาญจนบุรี...สมุทรปราการ...ตรัง...กระบี่ . . สักนิดเหอะนะ...(ภาพนี้ถ่ายโดยช่างภาพชื่อ..กำหนัน..) . . มีฮาเล่ย์สักคัน...ซ้อน ๓ กันไปเลยครับท่าน..... . . . . ความสุขสดใสของชาวโอเคเนชั่น คือการได้ถ่ายภาพร่วมกัน บันทึกความรู้สึกไว้ว่าครั้งหนึ่งเรารู้จักกัน ได้เจอะเจอตัวเป็น ๆ อาจจะเป็นเพียงมิตรภาพช่วงสั้น ๆ ของความเป็นจริงแห่งชีวิต แต่ความผูกพันในโลกโซเชียลมีเดีย พวกเรามีให้ต่อกันเกือบทุก ๆ วัน กดไลท์กันบ้าง...การให้คอมเมนท์กันบ้าง...การจิ้มคุยกันในไลน์กันบ้าง...หรือโทรศัพท์คุยกันบ้าง.. รวมไปถึงการนัดเจอกันกลุ่มเล็ก ๆ สำหรับผู้ที่ชอบหรือสนใจในสิ่งที่เหมือน ๆ กัน แต่สายใยบาง ๆ เส้นหนึ่งที่พวกเราจะมีให้กันเสมอ คือ "การคิดถึงกันอย่างไม่มีเหตุผล" . . . เก้าโมงเช้า รถทุกคันมุ่งหน้าไปทางอำเภอศรีสวัสดิ์ วันนี้พวกเรามีกิจกรรม "ทัศนศึกษาแหล่งซากดึกดำบรรพ์" . . "คมฉาน ตะวันฉาย" ประสานงานนัดหมายเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี เจอกับพวกเรา ณ ที่ทำการ อบต.ท่ากระดาน ผมทราบมาว่า วันนี้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี มาให้การต้อนรับชาวโอเคเนชั่นเป็นจำนวนมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน . . ผมตกใจ เมื่อได้เห็น "ท่านผอ.นิวัติ บุญนพ" (เสื้อเหลือง) ผู้อำนวยการส่วนประสานงานและสนับสนุนทางวิชาการ ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี นอกจากนี้ ยังมี "ท่านผอ.สุรีย์ ธีระรังสิกุล" (คนกลาง) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์ "ท่าน ผอ.อัปสร สอาดสุด" (เสื้อแขนยาวลายสก๊อต) นักธรณีวิทยาชำนาญการพิเศษ ซึ่งท่านเป็นผู้อำนวยการส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์ มาให้การต้อนรับพวกเราด้วยตัวท่านเอง น่าภาคภูมิใจมาก ๆ ครับ "คมฉาน ตะวันฉาย" นี่ไม่ธรรมดา นัดหมายผู้ใหญ่ได้เยอะแยะ อย่างที่ผมบอกไว้ในเบื้องต้นว่า งานนี้พี่อัฏของเราประสานงานโดยเอาชื่อ "คมฉาน ตะวันฉาย" เป็นประกันทีเดียว . . (ภาพโดยคุณชาลี) ที่ อบต.ท่ากระดาน คุณชาลี พี่อัฏ ต๋อย พร เอก และผม เคยเข้ามาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ครั้งที่มาสำรวจเส้นทางเพื่อโครงการขุนช้างสลักพระ . . ครั้งนั้น มาเจอกับ "ท่านนายกไพบูลย์ สุวรรณ์" นายก อบต.ท่ากระดาน ท่านให้รายละเอียดต่อพวกเรามากมาย . . ท่านนายกไพบูลย์ฯ เลี้ยงกาแฟ และขนมใส่ใส้ที่อร่อยที่สุดกับผู้มาเยือน วันนั้น "น้องพร" ทานขนมใส่ใส้ไปกี่ห่อน้อ.....? เอาเป็นว่าหมดจานนี้ก็แล้วกัน.. แต่วันนี้ ผมไม่ได้เจอกับท่านนายกไพบูลย์ฯ และไม่ได้ทานขนมใส่ใส้.... ทราบทีหลังว่า ท่านอยู่ในช่วงของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นายก อบต. ทำให้ไม่สามารถมาต้อนรับพวกเราได้ . . ชาวโอเคเนชั่น ลงจากรถและเดินไปที่เต้นท์ เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี . . ลงทะเบียน บันทึกชื่อจริงนามสกุลจริงที่ปรากฏในบัตรประชาชนกันซะหน่อย ตามระเบียบของทางราชการ . . โดยมี ทีมงานประชาสัมพันธ์ จากศูนย์สารสนเทศทรัพยากรธรณี ยิ้มแย้มแจ่มใส คอยอำนวยความสะดวกตลอดเวลา . . รับเอกสาร คู่มือสำหรับการทัศนศึกษา และรับอุปกรณ์แว่นขยายขนาดเล็กสำหรับดูซากฟอสซิล ก่อนจะไปส่องซากฟอสซิล หยิบกล้องมาทดลองส่องพระกันซะก่อน . . ในขณะที่ทุกคนกำลังชุลมุนชุลเกกันอยู่นั้น ท่าน ผอ.อัปสรฯ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์ ฉวยโอกาสบรรยายให้ฟังเบื้องต้นเกี่ยวกับ "ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด และซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์" ว่ามันคืออะไร? . . ท่าน ผอ.นิวัติฯ ผู้อำนวยการส่วนประสานและสนับสนุนทางวิชาการ หยิบตัวอย่าง "ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด" มาให้ชม บล็อกเกอร์อื่น ๆ จะเข้าใจหรือไม่นั้น ผมไม่ทราบ แต่ผมเห็นว่า "เด็กน้อย" คนนั้นเข้าใจ... . . . โดยส่วนตัวของผมมีอาชีพเป็นข้าราชการ ผมให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นหลัก เพราะผมมีความเชื่อว่า กิจการในทุก ๆ ด้านจะสำเร็จลงได้เพราะคนหรือมนุษย์เป็นผู้กระทำให้สำเร็จหรือกระทำให้ล้มเหลว ผมจึงศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ เรื่องของจิตมนุษย์ มาตลอดเวลา ต่อมาเมื่อผมละวางเรื่องมนุษย์ไปบ้าง ผมหันไปสนใจ เรื่องหิน เรื่องปราสาทหิน เรื่องเมฆ เรื่องดินฟ้าอากาศ เรื่องฟอสซิล เป็นเรื่องไกลตัวของผมเกินไปที่จะไปเข้าใจได้ แต่ผมก็ให้ความสนใจในระดับหนึ่งเหมือนกันนะครับ ผมเคยไปที่ "สุสานหอยที่จังหวัดกระบี่" ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราฯ ผมไปเที่ยวมาตั้งแต่เขายังไม่ตั้งอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตนธารา-หมู่เกาะพีพี ซะอีก(เพราะเขาเพิ่งจะตั้งเมื่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๒๖) ไปดูแล้วผมก็ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจตั้งแต่ชื่อของสุสานหอยว่า มัน ๗๕ ล้านปี หรือ ๔๕ ล้านปีกันแน่ หอยขมพวกนั้นมันมาทับถมกันทำไม? ทับถมกันได้อย่างไร? คำถามเหล่านี้มันอยู่ในความรู้สึกของผม แต่ไม่มีใครจะสามารถอธิบายอย่างง่าย ๆ ให้ผมเข้าใจได้ . . เมื่อวันที่ ๑๔ ก.ค. ๒๕๕๖ ครั้งที่เดินทางมาท่ากระดานกับคุณชาลี และพี่อัฏครั้งแรก ก็ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ให้ผม แต่สิ่งที่ผมได้รับเพียงมีคนบอกว่า อยากจะให้แหล่งซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ท่ากระดานนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของผู้ที่สนใจ เมื่อกลับจากกาญจนบุรีครั้งนั้น ผมพยายามที่จะหาวิธีการเขียนเรื่องนี้ในบล็อก บอกตามตรงว่าว่าเขียนไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้น ลงท้ายอย่างไรดี . . การย้อยรอยกลับมาเป็นครั้งที่ ๒ นี้ ผมจึงอยากจะพบกับองค์ความรู้ให้มากที่สุด และอย่างที่บอกว่า ผมตกใจ เมื่อได้เห็นท่าน ผอ.นิวัติฯ และท่าน ผอ.อัปสรฯ เพราะนี่คือองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ของกรมทรัพยากรธรณี และผมก็ได้มาพบท่านแล้ว วันนี้ผมจึงขอตั้งใจฟัง ตั้งใจดู อย่างที่ไม่เคยตั้งใจมาก่อน . . จากที่ทำการ อบต.ท่ากระดาน คณะเจ้าหน้าที่ นำพวกเราไปดูแหล่งทรากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิค ที่ตำบลช่องสะเดา อ.เมือง . ตั้งอยู่บริเวณเขาใกล้มัสยิดอัลมุฮาญิริน บ้านท่าตาโอน ตำบลช่องสะเดา ริมทางหลวงหมายเลข ๓๑๙๙ เส้นทางไปเขื่อนศรีนครินทร์นั่นแหละครับ . . จอดรถไว้ข้าง ๆ มัสยิด และเดินอ้อมไปทางด้านหลัง แถวเชิงเขา . . ก่อนจะไปดูซากฟอสซิล ท่านผอ.นิวัติฯ บรรยายให้ฟังเกี่ยวกับการเกิดชั้นหินของเปลือกโลก โดยใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นยางหลากสี เปรียบเทียบว่าเป็นแผ่นหินแต่ชั้น ซึ่งจะอยู่กันแบนราบ . . ผอ.นิวัติฯ บีบแผ่นยางเข้าหากัน แล้วบรรยายให้เห็นว่า รอยคดโค้งของหิน เกิดจากแรงบดอัดที่มากระทำต่อหินขณะที่หินมีคุณสมบัติยืดหยุ่น ชั้นหินจะย่นยู่เข้าหากันในลักษณะของลูกคลื่น . . (ภาพก้อนหินริมฝั่งสาละวิน) ขณะที่ผมยืนฟังบรรยายเรื่องชั้นหินที่เมืองกาญจน์ จากปากของท่าน ผอ.นิวัติฯ แต่ห้วงความคิดของผม ย้อนกลับไปสู่ก้อนหินริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน...............นู้น...... . . (ภาพก้อนหินริมฝั่งสาละวิน) ครั้งที่ผมได้เห็นแผ่นหินริมฝั่งสาละวินคดงอเป็นชั้น ๆ ผมถามตัวเองว่า หินคดงอเพราะเหตุใด? ทำไมหินจึงคดงออย่างนั้น? ผมพกความสงสัยมาตั้งหลายปี เพิ่งจะมาเข้าใจเอาวันนี้เองครับ . . ท่าน ผอ.นิวัติฯ ยังอธิบายให้ฟังถึง "รอยเลื่อน" ต่าง ๆ ในประเทศไทย แนวรอยเลื่อนที่พบเป็นแนวรอยเลื่อนตามแนวระดับ ขนาดของรอยเลื่อนมีตั้งแต่ 3 - 4 เซนติเมตร จนถึงขนาดที่มีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร เช่น รอยเลื่อนเชียงแสน พาดผ่านทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนแพร่ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดแพร่ รอยเลื่อนแม่ทา บริเวณจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รอยเลื่อนเถิน จังหวัดตาก ขนานกับแนวรอบเลื่อนแพร่ทางด้านทิศตะวันตก รอยเลื่อนแม่ปิง เมย อุทัยธานี รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในร่องแม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแม่กลอง รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ บริเวณลำน้ำแควน้อยตลอดสาย ถึงประเทศพม่า รอยเลื่อนระนอง ตามแนวแม่น้ำกระบุรี รอยเลื่อนคลองมะรุย พาดผ่านด้านทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ตไปถึงบ้านดอน . ซึ่งสถานที่ที่พวกเรายืนอยู่ เรายืนอยู่บนรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์พอดี ฟังแล้วก็รู้สึกเสียวเล็ก ๆ ครับ . . สนุกไหมครับท่านผู้ชม เจอผู้รู้จริงบรรยาย บรรยายแบบให้ชาวบ้านโง่ ๆ อย่างผมเข้าใจได้ ถือว่าไร้เทียมทานแล้วครับ ผมยังคิดต่ออีกว่า การที่เราจะเข้าใจเรื่องใดสักอย่างหนึ่ง ความพึงพอใจที่จะเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน ผมเป็นคนประเภทน้ำพร่องแก้ว คือเป็นคนไม่ค่อยจะรู้อะไรเลย และไม่ค่อยจะสนใจอะไรเลย เมื่อถึงเวลาที่ผมจะทำความเข้าใจอะไรสักอย่าง ผมเพียง "ตั้งอกตั้งใจ" ฟังเรื่องที่เขาเล่าหรือบรรยาย ตามด้วย "การค้นคว้า" เพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ผมก็เข้าใจ ผมเพียงเข้าใจเท่านั้นนะครับ เพราะผมเป็นคนไม่รู้จักจำ สมองในวันนี้ของผมจะจดจำสิ่งใหม่ ๆ แทบไม่ได้เลยครับ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งดีที่ธรรมชาติของร่างกายกำหนดไว้เช่นนั้น หากผมต้องจำสิ่งที่ได้พบเห็นทั้งหมด ผมคงจะเป็นโรคประสาทไปนานแล้ว.....ก็ได้... . . . บรรยากาศวันนั้นดีมากครับ...อากาศไม่ร้อนนัก...ลมพัดเบา ๆ วิทยากรใช้เครื่องขยายเสียงบรรยายไปเรื่อย ๆ ....ผู้สนใจฟอสซิลก็ก้ม ๆ เงย ๆ หาฟอสซิลมาส่องด้วยกล้องแว่นขยายที่ได้รับแจก ช่างภาพสาวหนุ่ม บันทึกภาพกันไปตามมุมที่ตนเองต้องการ . .
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่อง "ซากดึกดำบรรพ์" อย่างคร่าว ๆ ผมขอให้ท่านผู้อ่านแยกแยะคำที่เรียก "ซากดึกดำบรรพ์ในจังหวัดกาญจนบุรี" ออกเป็น ๒ คำเสียก่อน คือ "ฟิวซูลินิด" และ "นอติลอยด์" "ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิด" จะพบที่ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ส่วน "ซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์" จะพบที่ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อแยกให้ออกจากกัน ความสับสนจะลดน้อยลง . . เอาละซี...เจอภาษา เจอคำจำเพาะ ที่นักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักวิชาการ เขาตั้งขึ้นเพื่อเรียกชื่อสิ่งต่าง ๆ แล้วน่าเบื่อ ผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่ชอบจำ ไม่ชอบอ่าน และเรียกไม่ถูกเอาเสียเลย พานให้กลายเป็นโรคเบื่อเรื่องที่สำคัญ ๆ เหล่านี้ ท่านเป็นเหมือนผมไหมครับ? ขณะที่เขียนเรื่องนี้เหมือนกันครับ ผมต้องเขียนไป พักไป บางช่วงของอารมณ์อยากจะเขียนให้ปรู๊ดเดียวจบ....แต่บางช่วงของอารมณ์ อยากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนอนหลับ . . เอาเถอะยังไง ๆ มาถึงค่อนเรื่องแล้ว มาว่าเรื่องของ "ฟิวซูลินิด" ต่อดีกว่า ท่าน ผอ.นิวัติฯ บอกว่า "ฟิวซูลินิด" เป็นสัตว์ทะเลเซลล์เดียวจัดอยู่ใน "ไฟลัมโพรโทซัว" อันดับ "ฟอแรมมินิเฟอรา" อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น และบริเวณน้ำตื้น ลักษณะภายนอกมีรูปร่างยาว หัวท้ายแหลม ลักษณะคล้ายกับเมล็ดข้าวสาร มีขนาดเล็ก คือยาวประมาณ ๑ - ๑.๕ เซนติเมตร ทำให้คนทั่วไปคิดว่า เป็นข้าวสารหิน จึงนิยมเรียกว่า "คตข้าวสาร" พบมากใน "ยุคคาร์บอนิเฟอรัสและยุคเพอร์เมียน" สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ "ปลายยุคเพอร์เมียน" นิยมใช้เป็น "ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี" เนื่องจากแต่ละสกุลมีช่วงชีวิตสั้น เกิดแพร่หลายเป็นบริเวณกว้าง มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสามารถกำหนดอายุได้แน่นอน . . . . . . (ภาพโดยน้องตูน) มะอึก...หูฟังวิทยากรบรรยาย....มือถ่ายรูป....ตาสอดส่ายหาก้อนหินที่มีฟอสซิล.. . . (ภาพโดยน้องตูน) หินก้อนนี้น่าจะใช่..เป็นหินทรายเนื้อปูน สีเทาแกมน้ำตาล และมีจุดสีดำ ๆ อยู่ในเนื้อหิน . (ภาพโดยไอซี่) น่านแหละช่ายเลย...."ฟิวซูลินิด"....."ฟิวซูลินิด"...... ท่องไว้....... "ฟิว...ซู...ลิ...นิด"...."ฟิว.....ซู.....ลิ......นิด"..... . . แม่มะยงก็ส่องกล้องเป็นเหมือนกัน ความสนุกสนานของการดูฟอสซิล อยู่ตรงนี้แหละครับ "หามันให้เจอ และมองมันให้เห็น" . . หรือเจอแล้ว ใช่หรือไม่ ? นำมาถามผู้รู้...และส่องดู... (มันเป็นเนื้อชิน หรือเนื้อว่านครับ....ท่านกัปตันแจ๊ค?) . . ครูแดง คุณไก่ น้องแจน และคุณชาลี...ให้ความสนใจ...เช่นเดียวกับพวกเราทุก ๆ คน... . . พักสายตาสักนิด ด้วยการชมภาพ "ผึ้งกำลังบินอยู่กลางอากาศ" ภาพนี้..ผมตั้งใจถ่ายมากครับ ...เล็งอยู่ตั้งนาน....ได้ภาพผึ้งกำลังบินสวย ๆ เป็นตัวแรกในชีวิตการถ่ายภาพ . . สรุป...สำหรับท่านที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับ "ซากดึกดำบรรพ์ฟิวซูลินิค" หากท่านเดินทางไปเที่ยวเมืองกาญจน์ และใช้เส้นทางไปทางเขื่อนศรีนครินทร์ ใช้เวลาเพียงนิดเดียวสำหรับความรู้ แวะที่บ้านตาโอน ตำบลช่องสะเดานะครับ.... ที่พิกัด 0523829 ตะวันออก...1579438 เหนือ... โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีลูกหลาน หรือนักเรียนนักศึกษา ควรแวะชมเพื่อปลูกฝังความรู้ให้กับเขา สำหรับผู้สูงอายุ ท่านมักจะไม่สนใจกับสิ่งเหล่านี้เท่าไหร่นักหรอกครับ... . . . จากตำบลช่องสะเดา คณะของเราย้อนกลับตามทางเดิมอีกครั้ง ไปที่ตำบลท่ากระดาน ขับรถผ่าน อบต.ท่ากระดาน ลอดซุ้มวัดท่ากระดานไปนะครับ จุดนี้ จะไปดู "ซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์" . . มีป้ายบอกแหล่ง "ซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์" ชัดเจน . . ทีมงานประชาสัมพันธ์กรมทรัพยากรธรณี ให้การต้อนรับอย่างดีเหมือนเดิม ใกล้เที่ยงแล้ว มีการแจกอาหารกล่องอย่างดีเป็นอาหารกลางวันสำหรับพวกเรา . . แต่ละคนเหมือนจะไม่หิว แต่เปิดกล่องอาหารและทานกันทันทีแบบว่า อยากจะทานให้เสร็จเรื่องเสร็จราว...ประมาณนั้น . . บล์อกเกอร์ปอมปอม ยังสนุกสนานกับการเก็บบรรยากาศครับ . . .......อาหย่อย........ . . ขณะที่ชาวโอเคเนชั่นกำลังทานอาหาร ท่าน ผอ.นิวัติฯ ก็เริ่มบรรยายให้ความรู้ต่อ ผมรีบวางช้อนและซ่อม และฟัง... . . ท่าน ผอ.นิวัติฯ บอกว่า "นอติลอยด์" เป็นกลุ่มของหอยทะเล จัดอยูใน "ไฟลัมมอลลัสกา" ในชั้นย่อยนอติลอยดี มีเปลือกหุ้มภายนอก เปลือกหรือกระดองมีรูปร่างค่อนข้างหลากหลาย "นอติลอยด์" มีอยู่เป็นจำนวนมากในช่วงต้นของ "ยุคพาลีโอโซอิก" ในปัจจุบัน พบเพียง ๖ ชนิดเท่านั้น ท่าน ผอ.นิวัติฯ บรรยายให้ความรู้อย่างละเอียดอีกมาก แต่ผมสรุปเคร่า ๆ มาแค่นนี้นะครับ หากต้องการรู้เรื่องราวมากกว่านี้ ต้องเข้าคอสเล็ก ๆ แล้วล่ะครับ หรือถามลุงกูเกิล มีรายละเอียดเพียบ....อ่านกันไม่หวาดไม่ไหว
. . ฝรั่งและพระ ให้ความสนใจมาก . . ครูแดง และพี่วิทย์ ก็ตั้งใจฟังอย่างดี . . ส่วน "พลซุ่มยิง" ไปนั่งรอบนซากดึกดำบรรพ์อย่างพร้อมเพรียงครับ . . เมื่อมาดู "ซากดึกดำบรรพ์" ที่ท่ากระดาน นอกจากเราจะได้รู้จักคำว่า "นอติลอยด์" แล้ว มีอีกคำ ๆ หนึ่ง ที่ควรจะได้รู้จัก "สโตรมาโตไลท์" ลองอ่านช้า ๆ นะครับ "สะ - โตร - มา - โต - ไลท์" .
ท่าน ผอ. นิวัติฯ บรรยายเรื่อง "สโตรมาโตไลท์" ได้สนุกและน่าติดตามมากครับ แถมยิงมุกเรื่องเมื่อยมือจากการต้องถือโทรโข่ง ซึ่งมีน้ำหนักเป็นสิบกิโลอยู่ตั้งนาน ไม่มีใครช่วย สาวเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ถือกระดาษเพียงแผ่นเดียว ยังเมื่อยมือเลยครับ
. . "สโตรมาโตไลท์" มีรูปร่างคล้ายตาข่าย เกิดจากแบ็คทีเรียและสาหร่ายเซลเดียวพวก "ไซยาโนแบคทีเรีย" ที่อาศัยอยู่บริเวณทะเลตื้น ๆ มีการเจริญเติบโตแบบแทรกผ่านตะกอนที่มาตกทับถม เพื่อให้ได้รับแสงแดดที่อยู่ด้านบน การเจริญเติบโตของแบคคทีเรียเหล่านี้จะเชื่อมเม็ดตะกอนให้ติดกันและพอกหนาขึ้น ทำให้เกิดลักษณะคล้าย ๆ ตาข่ายแทรกอยู่ทั่วไปในเนื้อหิน และ "สโตรมาโตไลท์" นี้ จัดเป็นซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก เมื่อ ๕๐๐ ล้านปีก่อน สมัยนั้นบล็อกเกอร์ท่านใดเกิดทัน....ยกมือขี้น.... . . มีตัวอย่างซากฟอสซิล "สโตรมาโตไลท์" มาให้ดูกันถึงโต๊ะอาหารเชียวนะครับ . . . เบื่อหรือยังครับกับ "ซากดึกดำบรรพ์นอตินอยด์" และ "ซากดึกดำบรรพ์สโตรมาโตไลท์" ? พักสายตามาดูของสวย ๆ งาม ๆ กันบ้างดีกว่า .
"ต๋อย-วันศุกร์" มีความเข้มบนใบหน้า ตา หู จมูก ปาก คิ้ว แก้ม สวยเด่นชัดเจน ใครเห็นก็ต้องอยากเก็บภาพนี้ไว้ . . ผมถ่ายออกมาไม่เด่นนัก ต้องดูฝีมือของอาจารย์ของผมครับ...(ไอซี่) ใครเห็นก็ต้องบอกว่าสวย แถมนิสัยใจคอดีเยี่ยมอีกต่างหาก . . . กลับมาที่เรื่อง "ซากดึกดำบรรพ์" ที่บ้านท่ากระดานกันต่อดีกว่าครับ..ใกล้จบแล้ว... เมื่อชาวโอเคเนชั่น ทานอิ่มท้อง และฟังบรรยายเรื่องราวจนอิ่มหูแล้ว เราก็ลงไปดูสถานที่จริง . . บริเวณ "แหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านท่ากระดาน" ประกอบด้วยหินปูน และหินปูนเนื้อดิน "ยุคออร์โดวิเชียน" ดินมีลักษณะสีเทา และสีน้ำตาลปนแดง เนื้อหินปูนบางบริเวณมีลักษณะคล้ายหินอ่อน และมีชั้นบางของหอนทรายแป้งแทรกสลับ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑๒ ไร่ . . หินทุก ๆ ก้อนในบริเวณนี้ มีซากฟอสซิลอยู่ทุกก้อน มองไปตรงไหนก็เจอครับ . . ทุก "ซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์" ผ่านการปรับแต่งให้มองเห็นชัดเจน และมีภาพถ่ายประกอบไว้ใกล้ ๆ . . มองแล้วก็เหมือนปลาหมึกกล้วย ที่เรานำมาทำปลาหมึกยัดใส้นั่นแหละครับ . . งดงาม น่าทึ่งยี่งนัก . . ในส่วนของ "ซากดึกดำบรรพ์สโตรมาโตไลท์" ปรากฏอยู่ในแผ่นหินอย่างสวยงาม . . บางท่านเกิดจินตนาการมองเห็นเป็นรอยพญานาค ว่าเข้าไปโน่น... . . "ไม้กลายเป็นหิน" ก็มีนะครับ ท่อนเบ้อเริ่ม น่าจะขอไปทำเสาเรือน . . ชื่นชมบรรยากาศฟอสซิล ๕๐๐ ล้านปีกันพอสมควร ชาวโอเคก็ถ่ายภาพหมู่เป็นที่ระลึก . . "น้องน้ำ" ประชาสัมพันธ์คนสวยของกรมทรัพยากรธรณี กล่าวขอบคุณพี่ ๆ ทุก ๆ คนที่มาเยือน . . การทำประชาสัมพันธ์ของดีที่ไกลตัวของโลกของประเทศในลักษณะนี้ ผมในฐานะที่เคยเป็นเจ้าที่ประชาสัมพันธ์ของรัฐ บอกตามตรงว่า เป็นเรื่องที่ยากเย็นพอสมควร เพราะการที่จะหาใครสักคนมาสนใจเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องลำบาก ไหนจะสู้ข่าวคาวของดารา หรือข่าวการเมืองได้ แต่ผมก็พึงพอใจที่ได้เห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว . . ท่านผู้สนใจที่มาเจอบทความเรื่องนี้ และอยากจะไปชม "ซากดึกดำบรรพ์ลอตอนอยด์" ที่ท่ากระดาน หรือท่านที่ไปเที่ยวพักผ่อนแถว ๆ ที่น้ำตกเอราวัณ หรือที่เขื่อนศรีนครินทร์ ลองขับรถอ้อมขอบเขื่อนขึ้นไปทางอำเภอศรีสวัสดิ์อีกนิดเดียว ท่านจะถึง "แหล่งซากดึกดำบรรพ์นอตินอยด์" หรือท่านที่ไปพักผ่อนตามแพสำราญเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ อาจจะบอกให้ทัวร์ หรือเจ้าของแพแนะนำท่านก็ได้นะครับ หากขับรถไปเอง ที่พิกัด 0513951 ตะวันออก 1597750 เหนือ ใช้เวลาสักแป๊บ กับสิ่งที่ผ่านมาถึง ๕๐๐ ล้านปี ไม่เสียเวลามากหรอกครับ . . . ทุก ๆ ก้าวที่เราเหยียบย่างลงไปในธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต จะเป็นขนาดใหญ่ ขนาดเล็กก็ว่ากันไป สิ่งมีชีวิตเหล่านั้น ต่างทำหน้าที่ของเขาเพื่อโลกใบนี้ทั้งนั้น . การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องของกฏธรรมชาติที่ไม่มีใครหนีพ้น หอยสักตัว ปลาหมึกสักตัว เมื่อตายไปแล้วยังทิ้งซากให้ผู้คนได้ศึกษา แต่มนุษยชาติ หัวกลม ๆ คอหยักๆ ตัวเป็น ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเหล่านั้นอย่างสิ้นเปลืองนั้น เขาได้ทำประโยชน์กลับคืนธรรมชาติกันบ้างหรือยัง? หากว่ายัง.....ก็ยังไม่สายนะครับ... .
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ตุลาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |