การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศเมียนมาร์ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จากแนวนโยบายการปฏิรูปประเทศของนายเต็ง เส่ง หลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อต้นปี 2554 ล่าสุด ได้รับการขานรับจากนานาชาติในระดับหนึ่ง ที่สำคัญคือ สามารถดึงความสนใจจากต่างชาติกลับสู่เมียนมาร์ภายในระยะเวลาอันสั้น โดยปรากฎจาก 2 แนวทางหลัก คือ การปฏิรูปทางการเมืองและตามมาด้วยการปฎิรูปเศรษฐกิจ สิ่งที่ชัดเจนมากที่สุดในด้านการเมือง คือการปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ออกจากสถานที่กักกันให้เป็นอิสระ สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการส่งเสริมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ยังมีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง เปิดเจรจากับชนกลุ่มน้อยเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ให้อิสระแก่สื่อสารมวลชนมากขึ้น ประกาศถอดชื่อบุคคลออกจากบัญชีดำที่สามารถเดินทางเข้า-ออกประเทศได้ถึง 2,082 คน จาก 6,165 คน และล่าสุดมีการปรับคณะรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญหลายกระทรวง เช่น กระทรวงข่าวสาร กระทรวงเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพื่อเร่งรัดให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจที่เร็วขึ้น ดังนั้นเราจึงเห็นว่าการปฏิรูปทางการเมืองของเมียนมาร์ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการด้านการเมืองที่ดีขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับอดีตที่เน้นแต่ด้านความมั่นคงของรัฐบาลเป็นหลัก อีกด้านหนึ่งที่มีความสำคัญต่อประชาชนชาวเมียนมาร์และต่างชาติ คือการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ ในส่วนนี้ก็ต้องถือว่ามีความคืบหน้าไปพอสมควร เพราะเห็นได้ชัดเจนว่าเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น โดย IMF ประมาณการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจเมียนมาร์ในปี 2555 และ 2556 จะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 6 ตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยลำดับ แม้ในวันนี้เมียนมาร์ยังคงมีอุปสรรคสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ยังขาดแคลนและล้าสมัย เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน รวมถึงการขาดบุคลากรและแรงงานที่มีฝีมือ แต่ก็ดูว่ารัฐบาลพม่าได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้เป็นลำดับต้นๆ สิ่งที่น่าจับตามองในช่วงนี้ คือการออกกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันไปล่วงหน้า เพราะมีบางฝ่ายเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่น่าจะเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเสรีแน่นอน แต่ยังคงระดับการปกป้อง (Protection) ของธุรกิจภายใน ในระดับที่สูง ซึ่งรวมไปถึงการคุ้มครอง SME ภาคเกษตร ปศุสัตว์ และธุรกิจค้าปลีก ส่วนประเด็นในเรื่องการถือครองที่ดินของต่างชาติ น่าจะมีผลดีขึ้นกว่าเดิม จากที่กำหนดไว้ที่ 30 ปี ได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 50 ปี และต่อได้อีก 2 ครั้ง ไม่เกินครั้งละ 10 ปี ส่วนผลจะออกมาอย่างไร คงต้องรอสภาผ่านกฎหมายนี้ก่อน สำหรับการตัดสินใจลงทุนในเมียนมาร์ อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญหลัก 2 เรื่องคู่กันไปเสมอ คือ การเมืองในประเทศและพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช่ด้านเศรษฐกิจเพียงด้านเดียวเท่านั้น และสิ่งที่ชาวต่างชาติปรารถนาเพื่อเป็นหลักประกันการลงทุนก็คือ การมีระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและกฎหมายการคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งโดยทฤษฏีแล้ว เรื่องนี้จะป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ ถึงวันนี้เมียนมาร์จะเริ่มเปิดประเทศเข้าสู่เวทีเศรษฐกิจเสรีมากขึ้น แต่เนื่องจากการปิดประเทศมายาวนานถึง 50 กว่าปี ได้ทำให้ตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศยังอยู่ในระดับที่น้อยมาก จากตัวเลขของ UNCTAD ในปี 2554 พบว่าการลงทุนจากต่างชาติมีเพียง 756 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ใกล้เคียงกับกัมพูชา 783 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และไม่ยังสามารถเทียบกับเวียดนามที่มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 8.2 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาได้ ที่สำคัญ ในวันนี้เมียนมาร์มีแค่เพียงตัวเลขของโครงการที่ได้รับอนุมัติการลงทุน ที่ดูเสมือนมีการลงทุนเพิ่มขึ้นมาก แต่ในความเป็นจริงยังมีการนำเม็ดเงินเข้าไปลงทุนน้อยมาก ดังนั้น เชื่อว่าภายหลังกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศผ่านสภา น่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการลงทุนที่แท้จริงได้ จากนี้ไป เมียนมาร์จะไปทางไหน อย่างไร ผมคิดว่า ในสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน เมียนมาร์คงไม่หวนกลับไปหาอดีตอีก และเชื่อว่าตราบใดที่นายเต็ง เส่ง ยังเป็นผู้นำอยู่ เมียนมาร์จะเดินต่อไปข้างหน้าได้ เพราะนายเต็ง เส่ง เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความชัดเจนในเป้าหมายที่จะพัฒนาประเทศและนำพาชาวเมียนมาร์พ้นจากความยากจน สิ่งที่รัฐบาลเมียนมาร์ได้ทำไปแล้วคือ ได้สร้างความเชื่อมั่นแก่นานาชาติ ให้กลับคืนสู่เมียนมาร์อีกครั้งอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้เส้นทางข้างหน้าของรัฐบาลเมียนมาร์ยังเต็มไปด้วยอุปสรรค ทั้งจากการเมืองภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะแรงกดดันจากต่างประเทศที่ต้องการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของเมียนมาร์ ระหว่างที่ผมติดตามพัฒนาการทางการเมืองและเศรษฐกิจของเมียนมาร์ ก็ลุ้นให้รัฐบาลเมียนมาร์ประสบผลสำเร็จในการปฏิรูปประเทศตามนโยบายที่วางเอาไว้ ผมเชื่อว่าจากนี้ไปการปฏิรูปประเทศของเมียนมาร์จะเดินไปตามแผนอย่างมั่นคง ไม่เร่งรัดจนสร้างปัญหาใหม่ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรช้าเกินไป จนมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ หากเมียนมาร์ทำสำเร็จ เชื่อว่าจะสามารถขึ้นมาอยู่แนวหน้าของอาเซียนได้ แต่ถ้าพลาดพลั้งไปก็คงกลับไปมีสภาพเหมือนเดิม หากเกิดขึ้นจริง ผู้ที่จะเสียหายมากก็คือผู้เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กันยายน 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 |